นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. กล่าวระหว่างเปิดงานสัมมนาเรื่อง"การทุจริตเชิงนโยบาย : มาตรการในทางกฎหมายเพื่อการควบคุมและป้องกันปัญหาการทุจริตเชิงนโยบายในประเทศไทย" ว่า การคอร์รัปชัน เป็นปัญหาเรื้อรังในระบบเศรษฐกิจทั่วโลก นับวันจะมีพัฒนาการที่ซับซ้อนมากขึ้น ทำให้การตรวจสอบทำได้ยาก
สำหรับประเทศไทย การคอร์รัปชันฝังรากลึกลงในทุกภาคส่วน แม้ว่าจะพยายามแก้ปัญหาโดยตั้งหน่วยงานเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริต แต่ก็ทำได้ไม่เต็มที่ เพราะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่างมีความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้มีอิทธิพลทางการเมือง และยังพบว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนจากโครงการ หรือนโยบายของรัฐบาล ที่เรียกว่าการทุจริตเชิงนโยบาย ซึ่งเป็นการทุจริตที่มีการทับซ้อน ใช้อำนาจรัฐผ่านการดำเนินนโยบาย การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันของไทย จึงถูกหยิบยกเป็นวาระแห่งชาติ ภายใต้การดำเนินงานของ กรธ. ที่มีกลไกในร่างรธน.ฉบับประชามติ และ กม.ลูก ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
นายอุดม รัฐอมฤต โฆษก กรธ. กล่าวว่า การทุจริตเชิงนโยบาย เป็นการทุจริตอย่างมีระบบ มีแบบแผนที่ดำเนินการโดยองค์ความรู้ และบุคลากรที่มีอำนาจ "ยกตัวอย่างโครงการรับจำนำข้าวที่ใช้เงินจำนวนมาก สมัยรัฐบาลนั้นจะต้องศึกษา แต่การศึกษาจะต้องมีผู้มีประสบการณ์ที่ทราบดีแล้วว่า โครงการนี้จะมีผลกระทบอย่างไร โดยเฉพาะการศึกษาเชิงวิชาการ แม้ในช่วงเกิดการส่อการทุจริตในโครงการ สภาผู้แทนฯก็ได้ตรวจสอบ แต่กลับไม่เป็นผล ตรงนี้เป็นช่องว่างในการตรวจสอบนโยบายขนานใหญ่ ชี้ให้เห็นว่า การอภิปรายของฝ่ายค้านไม่เป็นผล ตรงนี้เราต้องดูว่าจะทำอย่างไร ต้องยอมรับว่าโปรเจกต์ใหญ่ๆของรัฐอยู่ที่ใคร รัฐเสียเงินจำนวนมากไปกับภาพลบโครงการทุจริตเชิงนโยบาย เพราะการจัดการกับผู้กำหนดเชิงนโยบายไม่ชัดเจน ดังนั้น ต้องกำหนดโทษกับผู้กำหนดนโยบาย ที่ทำให้ประเทศเกิดผลเสียขนานใหญ่ด้วย
นายปกป้อง ศรีสนิท อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การป้องกันการทุจริตที่ดี คือการปราบปรามที่มีประสิทธิภาพ การแก้ไขปัญหา จะต้องตัดไฟตั้งแต่ต้นลม คือการกำหนดให้การสมคบคิดจะกระทำทุจริตเชิงนโยบาย เป็นฐานความผิดทางอาญา โดยไม่ต้องรอให้เกิดความเสียหายจากการดำเนินนโยบายก่อน จากปัจจุบันที่การลงโทษทางอาญา จะลงโทษได้ก็ต่อเมื่อผู้กระทำได้ลงมือและก่อให้ความผิดสำเร็จแล้วเป็นส่วนใหญ่ เพราะถ้าสามารถควบคุมได้ตั้งแต่ขั้นตอนการสมคบ จะทำให้การปราบปรามการทุจริต มีประสิทธิภาพมากขึ้น
การวางมาตรการเช่นนี้จะสามารถควบคุมการทุจริตได้ในสองมิติ ได้แก่ 1. การออกนโยบายที่มีวัตถุประสงค์มิชอบด้วยกฎหมาย เพราะมีลักษณะผลประโยชน์ขัดกัน และ 2. การออกนโยบายที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่มีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งจะช่วยให้การควบคุมการทุจริตเชิงนโยบายเกิดขึ้นได้ยาก
สำหรับประเทศไทย การคอร์รัปชันฝังรากลึกลงในทุกภาคส่วน แม้ว่าจะพยายามแก้ปัญหาโดยตั้งหน่วยงานเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริต แต่ก็ทำได้ไม่เต็มที่ เพราะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่างมีความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้มีอิทธิพลทางการเมือง และยังพบว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนจากโครงการ หรือนโยบายของรัฐบาล ที่เรียกว่าการทุจริตเชิงนโยบาย ซึ่งเป็นการทุจริตที่มีการทับซ้อน ใช้อำนาจรัฐผ่านการดำเนินนโยบาย การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันของไทย จึงถูกหยิบยกเป็นวาระแห่งชาติ ภายใต้การดำเนินงานของ กรธ. ที่มีกลไกในร่างรธน.ฉบับประชามติ และ กม.ลูก ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
นายอุดม รัฐอมฤต โฆษก กรธ. กล่าวว่า การทุจริตเชิงนโยบาย เป็นการทุจริตอย่างมีระบบ มีแบบแผนที่ดำเนินการโดยองค์ความรู้ และบุคลากรที่มีอำนาจ "ยกตัวอย่างโครงการรับจำนำข้าวที่ใช้เงินจำนวนมาก สมัยรัฐบาลนั้นจะต้องศึกษา แต่การศึกษาจะต้องมีผู้มีประสบการณ์ที่ทราบดีแล้วว่า โครงการนี้จะมีผลกระทบอย่างไร โดยเฉพาะการศึกษาเชิงวิชาการ แม้ในช่วงเกิดการส่อการทุจริตในโครงการ สภาผู้แทนฯก็ได้ตรวจสอบ แต่กลับไม่เป็นผล ตรงนี้เป็นช่องว่างในการตรวจสอบนโยบายขนานใหญ่ ชี้ให้เห็นว่า การอภิปรายของฝ่ายค้านไม่เป็นผล ตรงนี้เราต้องดูว่าจะทำอย่างไร ต้องยอมรับว่าโปรเจกต์ใหญ่ๆของรัฐอยู่ที่ใคร รัฐเสียเงินจำนวนมากไปกับภาพลบโครงการทุจริตเชิงนโยบาย เพราะการจัดการกับผู้กำหนดเชิงนโยบายไม่ชัดเจน ดังนั้น ต้องกำหนดโทษกับผู้กำหนดนโยบาย ที่ทำให้ประเทศเกิดผลเสียขนานใหญ่ด้วย
นายปกป้อง ศรีสนิท อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การป้องกันการทุจริตที่ดี คือการปราบปรามที่มีประสิทธิภาพ การแก้ไขปัญหา จะต้องตัดไฟตั้งแต่ต้นลม คือการกำหนดให้การสมคบคิดจะกระทำทุจริตเชิงนโยบาย เป็นฐานความผิดทางอาญา โดยไม่ต้องรอให้เกิดความเสียหายจากการดำเนินนโยบายก่อน จากปัจจุบันที่การลงโทษทางอาญา จะลงโทษได้ก็ต่อเมื่อผู้กระทำได้ลงมือและก่อให้ความผิดสำเร็จแล้วเป็นส่วนใหญ่ เพราะถ้าสามารถควบคุมได้ตั้งแต่ขั้นตอนการสมคบ จะทำให้การปราบปรามการทุจริต มีประสิทธิภาพมากขึ้น
การวางมาตรการเช่นนี้จะสามารถควบคุมการทุจริตได้ในสองมิติ ได้แก่ 1. การออกนโยบายที่มีวัตถุประสงค์มิชอบด้วยกฎหมาย เพราะมีลักษณะผลประโยชน์ขัดกัน และ 2. การออกนโยบายที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่มีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งจะช่วยให้การควบคุมการทุจริตเชิงนโยบายเกิดขึ้นได้ยาก