พล.ต.อ.วัชพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) กล่าวถึงความคืบหน้าการไต่สวนคดีสินบน โรลส์-รอยซ์ ว่า ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการสอบพยานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่เพียงแค่พยานเอกสารเท่านั้น และกำลังรวบรวมพยานหลักฐานทั้งหมด เพื่อให้เกิดความชัดเจน โดยอนุกก. ผู้รับผิดชอบคดีจะเสนอมาอีกครั้ง ว่าจะมีการไต่สวนใครเพิ่ม
ทั้งนี้ ยืนยันว่าป.ป.ช.มีกรอบการทำงานโดยให้คณะอนุกก. รายงานความคืบหน้ามายังคณะกรรมการป.ป.ช. ทุกๆ 2 เดือน พร้อมย้ำว่า ป.ป.ช.จะเร่งดำเนินการไต่สวนคดีนี้ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีนี้ ตามที่เลขาธิการฯ ออกมาระบุก่อนหน้านี้
พล.ต.อ.วัชรพล ยังกล่าวถึงวาระการดำรงตำแหน่งของ กรรมการป.ป.ช. ว่า ข้อเสนอที่ ป.ป.ช.เสนอไปยัง กรธ. คือขอให้ ป.ป.ช. ชุดปัจจุบัน ปฏิบัติหน้าที่ต่อจนครบวาระ
สำหรับร่างรธน.ใหม่ ได้กำหนดคุณสมบัติของกรรมการป.ป.ช.ไว้ใน มาตรา 232 ว่า 1. รับราชการ หรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่า อธิบบดีผู้พิพากษา มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการป.ป.ช. 2.รับราชการ หรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดี หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการป.ป.ช.
ส่วนคุณสมบัติต้องห้าม บัญญัติไว้ใน มาตรา 216 ว่า ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 202 ไว้ว่า เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง ในระยะ 10 ปี ก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา ซึ่งจากข้อบัญญัติตามร่างรธน.ดังกล่าว จะทำให้กรรมการป.ป.ช.ชุดปัจจุบัน มีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ที่ต้องพ้นจากตำแหน่งรวม 7 คน จากทั้งหมด 9 คน หากไม่มีการเขียนคุ้มครองไว้ในกม.ประกอบรธน.
สำหรับกรรมการป.ป.ช. 7 คน ที่อยู่ในข่ายต้องพ้นจากตำแหน่ง ประกอบด้วย 1 . พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ2. นายปรีชา เลิศกมลมาศ3. พล.ต.อ.สถาพร หลาวทอง 4. นายณรงค์ รัฐอมฤต 5. น.ส.สุภา ปิยะจิตติ 6. นายวิทยา อาคมพิทักษ์ 7. พล.อ.บุณยวัจน์ เครือหงส์
ทั้งนี้ ยืนยันว่าป.ป.ช.มีกรอบการทำงานโดยให้คณะอนุกก. รายงานความคืบหน้ามายังคณะกรรมการป.ป.ช. ทุกๆ 2 เดือน พร้อมย้ำว่า ป.ป.ช.จะเร่งดำเนินการไต่สวนคดีนี้ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีนี้ ตามที่เลขาธิการฯ ออกมาระบุก่อนหน้านี้
พล.ต.อ.วัชรพล ยังกล่าวถึงวาระการดำรงตำแหน่งของ กรรมการป.ป.ช. ว่า ข้อเสนอที่ ป.ป.ช.เสนอไปยัง กรธ. คือขอให้ ป.ป.ช. ชุดปัจจุบัน ปฏิบัติหน้าที่ต่อจนครบวาระ
สำหรับร่างรธน.ใหม่ ได้กำหนดคุณสมบัติของกรรมการป.ป.ช.ไว้ใน มาตรา 232 ว่า 1. รับราชการ หรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่า อธิบบดีผู้พิพากษา มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการป.ป.ช. 2.รับราชการ หรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดี หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการป.ป.ช.
ส่วนคุณสมบัติต้องห้าม บัญญัติไว้ใน มาตรา 216 ว่า ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 202 ไว้ว่า เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง ในระยะ 10 ปี ก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา ซึ่งจากข้อบัญญัติตามร่างรธน.ดังกล่าว จะทำให้กรรมการป.ป.ช.ชุดปัจจุบัน มีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ที่ต้องพ้นจากตำแหน่งรวม 7 คน จากทั้งหมด 9 คน หากไม่มีการเขียนคุ้มครองไว้ในกม.ประกอบรธน.
สำหรับกรรมการป.ป.ช. 7 คน ที่อยู่ในข่ายต้องพ้นจากตำแหน่ง ประกอบด้วย 1 . พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ2. นายปรีชา เลิศกมลมาศ3. พล.ต.อ.สถาพร หลาวทอง 4. นายณรงค์ รัฐอมฤต 5. น.ส.สุภา ปิยะจิตติ 6. นายวิทยา อาคมพิทักษ์ 7. พล.อ.บุณยวัจน์ เครือหงส์