ผู้จัดการรายวัน 360 - ทหารเตรียมส่ง “แก๊งโกตี๋” ให้กองปราบฯวันนี้ “สมบัติ” เผยค้น 4,000 คอนเทนเนอร์ครบแล้ว แต่ไม่พบสิ่งผิดกฎหมาย ไม่ยืนยัน 2 ตู้ล่องหน “ประวิตร” เผยกำลังทำเอกสารขอตัว “โกตี๋” กับ สปป.ลาว ไม่ห่วงเผ่นประเทศที่ 3 ซัด “เพื่อไทย” ตั้งแง่ กก.รับฟังฯไม่อิสระ ยันทหารไม่ขัดแย้งกับใคร ป.ย.ป.นัดประชุมใหญ่ 22 เม.ย. “มาร์ค” เชื่ออาวุธสงครามโผล่เยอะ ไม่กระทบปรองดอง
วานนี้ (23 มี.ค.) พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจบุกเข้าตรวจค้นพื้นที่เป้าหมาย เครือข่าย นายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ หรือ โกตี๋ แกนนำกลุ่มเสื้อแดงฮาร์ดคอร์ ซึ่งมีฐานอยู่ใน จ.ปทุมธานี และขณะนี้กำลังหลบหนีคดีหมิ่นเบื้องสูงอยู่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) พร้อมกับยึดอาวุธสงครามจำนวนมากว่า เมื่อวันที่ 22 มี.ค.ที่ผ่านมา ศาลได้อนุมัติหมายจับ นายวุฒิพงศ์ ไปเรียบร้อยแล้วในข้อหาครอบครองยุทธภัณฑ์ และความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ส่วนผู้ร่วมขบวนการที่ถูกจับกุมตัวแล้ว 9 ราย ขณะนี้ทั้งหมดถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวเพื่อซักถามอยู่ โดยในวันที่ 24 มี.ค. เจ้าหน้าที่ทหารจะนำตัวผู้ต้องหาทั้งหมดมาส่งมอบให้กับพนักงานสอบสวนกองปราบปราม (บก.ป.) เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งจะมีการแจ้งข้อกล่าวหาตามขั้นตอนต่อไป นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างการสืบสวนขอหมายจับผู้ร่วมขบวนการเพิ่มเติมอีก 10 ราย ในเรื่องอั้งยี่ซ่องโจร
ด้าน พ.ต.อ.สุวัฒน์ แสงนุ่ม รอง ผบก.ป. เปิดเผยว่า หลังจากที่เจ้าหน้าที่ทหารนำตัวบุคคลในเครือข่ายโกตี๋ทั้ง 9 คน มาส่งมอบให้พนักงานสอบสวนแล้ว เบื้องต้นทางกองปราบฯจะมีการเตรียมเจ้าหน้าที่ในการรับมอบตัว มีการตรวจสอบร่างกาย และพนักงานสอบสวนเพื่อสอบปากคำประกอบสำนวน ก่อนจะแจ้งข้อกล่าวหาตามแต่ละความผิด อาทิ ครอบครองอาวุธสงคราม และเครื่องกระสุน ที่นายทะเบียนไม่สามารถออกให้ได้, มีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครอง เป็นต้น ซึ่งในแต่ละคนจะมีข้อหาไม่เหมือนกัน โดยจะแยกตามของกลางที่สามารถตรวจยึดได้จากบ้านพักที่พบ ก่อนจะควบคุมตัวขออำนาจศาลอาญารัชดาฝากขังในวันเดียวกันต่อไป
** ค้นคอนเทนเนอร์ครบ-ไม่พบผิด กม.
พล.ต.ต.สมบัติ มิลินทจินดา รอง ผบช.ภ.1 เปิดเผยถึงความคืบหน้าการตรวจค้นตู้คอนเทนเนอร์ในลานเก็บของ บริษัทเกรทติ้ง ฟอร์จูน คอนเทนเนอร์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด เลขที่ 10 หมู่ 12 ต.บางพลี อ.บางพลีใหญ่ จ.สมุทรปราการ ที่เชื่อมโยงกับนายโกตี๋ว่า เจ้าหน้าที่ได้ค้นจนครบหมดแล้วกว่า 4,000 ตู้ แต่ไม่เจอสิ่งผิดกฎหมายแต่อย่างใด ทั้งนี้สำหรับกระแสข่าวที่บอกว่ายังมีตู้คอนเทนเนอร์หายไปอีกประมาณ 2 ตู้นั้น ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบวามีสูญหายไปจริงหรือไม่ ยังยืนยันไม่ได้แต่อย่างใด
** ไม่ห่วง “โกตี๋” เผ่นประเทศที่3
ที่องค์การทหารผ่านศึก (อผศ.) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีรัฐ ฝ่ายความมั่นคง และ รมว.กลาโหม เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังทำเอกสารเพื่อยื่นไปทาง สปป.ลาว เพื่อขอตัว นายวุฒิพงศ์ เป็นผู้ร้ายข้ามแดนอยู่ ไม่ต้องไปเร่งรีบ อยู่ระหว่างการรวบรวมหลักฐานและดูความเชื่อมโยงระหว่างผู้ต้องหาทั้ง 9 คน หลังจากมีความชัดเจนแล้ว ทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการตามขั้นตอน
“ทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการตามขั้นตอน ดังนั้น ปล่อยให้เจ้าหน้าที่ได้ทำงานก่อน และไม่ต้องห่วงว่าจะหนีไปประเทศที่ 3 หรือที่ 4” พล.อ.ประวิตร ระบุ
** ซัด “เพื่อไทย” อย่าเยอะ
ส่วนกรณีที่พรรคเพื่อไทยเสนอให้ตั้งคณะอนุกรรมการอิสระเพื่อรวบรวมความคิดเห็นข้อเสนอของประชาชนในเรื่องของการสร้างความปรองดอง และให้ยุบคณะกรรมการคณะอนุกรรมการพิจารณาบูรณาการ ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง เนื่องจากเห็นว่าไม่มีความเป็นอิสระและเป็นกลางนั้น พล.อ.ประวิตร กล่าวอย่างมีอารมณ์ว่า "ขณะนี้ไม่เป็นอิสระตรงไหน อะไรคืออิสระ และความต้องการอยู่ตรงไหน ใช่เรื่องของการแสดงความคิดหรือไม่ การเสนอตั้งคณะกรรมการอิสระ ใครคือคณะกรรมการอิสระ ขอให้ช่วยบอกมาหน่อย เป็นคณะกรรมการป้องกันปราบปรามการทุริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หรือหน่วยงานอื่นที่เป็นอิสระ"
พล.อ.ประวิตร กล่าวต่อว่า คณะกรรมการปรองดองที่รัฐบาลตั้งขึ้นมา เป็นผู้ที่มีความคิดอิสระ โดยมีทั้งผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ และทำหน้าที่เพียงรับฟังเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ทำอะไรเลย มารับฟังข้อเสนอเท่านั้น แล้วจะให้ไปเอาใครอีก และผู้ที่รับฟังก็มีทหารชั้นยศพลโท พลเอก แต่มีบางพรรค เราถามเพียง 10 ข้อ ยังไม่ตอบเลย ตอบมาแค่ 2-3 ข้อ นอกนั้นบอกไม่มีความคิดเห็น แล้วจะเอาอย่างไรกันอีก ซึ่งตนไม่อยากเอ่ยว่าเป็นพรรคไหน
เมื่อถามว่า พรรคการเมืองออกมาแสดงความเห็นต่าง จะส่งผลกระทบต่อการปรองดองหรือไม่ พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า คณะกรรมการที่ตั้งจากรัฐบาล ไม่ได้ดำเนินการอะไรเลย แต่พรรคการเมืองไปตั้งแง่กันเอง ซึ่งคณะกรรมการทั้งหมดมีความเป็นอิสระในการฟัง ไม่มีการตอบโต้ใดๆเลย รวมถึงการโต้เถียงฟังเพียงอย่างเดียว แล้วจะเอาใครอีก คณะกรรมการเป็นผู้หลักผู้ใหญ่กันทั้งนั้น มีความคิดเป็นของตัวเอง ไม่เช่นนั้น คงไม่เติบโตมาจนถึงขณะนี้
“ส่วนที่พรรคเพื่อไทยมองว่ามีทหารมานั่งเป็นประธานทุกชุดนั้น ทหารไม่ได้ไปขัดแย้งกับใคร เราให้ข้อมูลทั้งหมดจะอยู่ที่อนาคตว่า จะอยู่ร่วมกันอย่างใดอย่างสันติ ไม่ต้องมารื้อฟื้นเรื่องเก่าๆ เรื่องเกิดเมื่อไหร่ก็ไม่รู้แล้วมาบอกว่า นี่เป็นต้นเหตุของความขัดแย้งใช้ได้ที่ไหน ผมบอกตั้งแต่ต้นแล้วว่าในอนาคต ไม่ต้องมาพูดถึงเรื่องการนิรโทษกรรมต่างๆ และผมก็เคยพูดเรื่องกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยไปแล้ว ก็ว่ากันไป และต่อไปในอนาคตที่หมดวาระรัฐบาลชุดนี้ไปแล้ว จะทำอะไรก็เป็นเรื่องของรัฐสภาและนายกฯในชุดนั้น" พล.อ.ประวิตร กล่าว
เมื่อถามว่า การปรองดองต้องมีความไว้เนื้อเชื่อใจ แต่พรรคการเมืองดูเหมือนจะไม่ไว้ใจทหาร พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ทหารไปทำอะไร ไม่ให้ไว้เนื้อเชื่อใจ และทหารไปเกี่ยวกับการปรองดองอย่างไร ทหารไปนั่งฟังเฉยๆ แล้วจะให้ไปทำอะไร ถ้าไม่ไว้เนื้อเชื่อใจทหาร และตนก็ไม่เคยบอกว่า ตนไม่ไว้เนื้อเชื่อใจใคร แล้วถ้าตนพูดบ้าง แต่นี้ยังไม่เคยพูดเลย มีแต่ฝ่ายพรรคการเมืองที่พูดอยู่ข้างเดียว
** “เพื่อไทย” ตื้อจะเอาคนกลาง
นายชัยเกษม นิติสิริ แกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยไม่เคยปฏิเสธเรื่องการสร้างความปรองดอง เพียงแต่เห็นว่า เมื่อจบขั้นตอนของกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ควรจะมีคณะกรรมการอิสระ เข้ามาทำหน้าที่ ตามแนวทาง ที่ระบอบประชาธิปไตยสากล ใช้เป็นกลไกขับเคลื่อน ในการสร้างความปรองดอง สำหรับการรับฟังความคิดเห็นที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองต่างๆ นายชัยเกษมยืนยันว่า ข้อมูลดังกล่าว เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการสร้างความปรองดอง และสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลในการรวบรวม ความคิดเห็น ให้คณะกรรมการอิสระที่จะเข้ามาทำหน้าที่ หลังการรับฟังความคิดเห็นเสร็จสิ้น นำข้อมูลไปดำเนินการต่อ ที่สำคัญหลักในการสร้างความปรองดอง จะต้องไม่ละเลย เหยื่อผู้ถูกกระทำ จากความขัดแย้งและวิกฤตทางการเมือง ซึ่งหากผู้มีอำนาจที่ถูกมองว่าเป็นคู่ขัดแย้งเข้ามาทำหน้าที่รวบรวมความเห็น อาจไม่ได้ รับความเชื่อมั่นจาก ผู้สูญเสีย ดังนั้น การเลือก กรรมการอิสระ ที่ทุกฝ่ายยอมรับ เข้ามาดำเนินการต่อจาก การรับฟังความเห็นในขั้นตอนแรก ก็จะเป็นประโยชน์ และทำให้การปรองดองสามารถเกิดขึ้นได้จริง
“สิ่งที่เราแสดงความกังวล หากเดินตามแนวทางของผู้มีอำนาจ คือขั้นตอน การรวบรวมความเห็น หากทำโดย คนที่ ฝ่ายรัฐบาล แต่งตั้งขึ้น อาจไม่ได้ความคิดเห็นที่หลากหลาย เพราะที่สุดแล้วเชื่อว่า คณะกรรมการชุดรวบรวมความเห็น จะนำข้อมูลเฉพาะ ด้านที่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายรัฐ ไปดำเนินการเท่านั้น และข้อเสนอ ที่เห็นต่างจากภาครัฐ อาจไม่ได้รับการตอบรับ หรือนำไปปฏิบัติ” นายชัยเกษม กล่าว
** สั่งแยกขัง “กี้ร์ - 12 นปช.”
นายวชิรวิทย์ วชิรเลอพันธุ์ ผบ.เรือนจำพิเศษพัทยา เปิดเผยถึงการคุมขัง นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มเสื้อแดง พร้อมพวกรวม 13 คน ซึ่งถูกศาลอุทธรณ์สั่งคำคุกคนละ 4 ปี กรณีบุกขัดขวางการประชุมอาเซียนซัมมิท ที่โรงรอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท พัทยา เมื่อปี 2552 ว่า ผู้ต้องขังทั้งหมดถูกคุมขังในแดน 3 แต่แยกห้องนอนให้กระจายกันไปอยู่ในห้องต่างๆ ซึ่งเป็นไปตามหลักที่จะไม่ให้คู่คดีเดียวกันนอนด้วยกัน อาจมีบางห้องที่ต้องกระจายไปห้องละ 2-3 คน เนื่องจากเรือนจำมีพื้นที่จำกัด และมีผู้ต้องขังเดิมที่คุมขังอยู่ในห้องขังต่างๆแล้ว โดยการควบคุมตัวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ผู้ต้องขังสามารถปรับตัวได้ดี เนื่องจากเคยผ่านการคุมขังมาก่อน ซึ่งตนก็ได้ไปพูดคุยกับทุกคนว่า เป็นการเข้ามาอาศัย จนกว่าจะได้รับการประกันตัว ขณะนี้จึงยังไม่มีการจัดกิจกรรมให้เข้าร่วม ให้เวลาปรับตัวก่อน จากนั้นจึงจะพิจารณากิจกรรมที่เหมาะสมต่อไป สำหรับการตรวจสอบสุขภาพผู้ต้องขังกลุ่มดังกล่าวไม่พบว่ามีโรคร้ายแรงหรืออาการเจ็บป่วยที่น่ากังวลแต่อย่างไร
** “มาร์ค” เชื่อจับอาวุธฯไม่กระทบปรองดอง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การจับอาวุธสงครามได้จำนวนมากในช่วงนี้ คงไม่กระทบกับการสร้างความปรองดอง เพราะเรื่องดังกล่าวต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ใครทำผิดก็ต้องได้รับการลงโทษ ซึ่งไม่สามารถนำเรื่องการสร้างความปรองดองมากล่าวอ้างไม่ให้คนทำผิดต้องรับผิดได้ ทั้งนี้ ส่วนตัวมองว่าการปราบปรามไม่ให้นำอาวุธสงครามมาใช้เคลื่อนไหวทางการเมือง จะเป็นหลักประกันที่ดีว่าในอนาคต ปัญหาที่เกิดขึ้นจะไม่ลุกลามบานปลายเหมือนในอดีต จากบทเรียนที่ผ่านมาพบว่าเมื่อมีอาวุธสงครามมาเกี่ยวข้องจะทำให้การจัดการปัญหายากขึ้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ต้องจัดการปัญหาอย่างจริงจัง
"ผมไม่ได้ห้ามความคิดเห็นที่แตกต่าง แต่การแสดงออกทางความคิดต้องอยู่บนหลักที่เคารพสิทธิของผู้อื่น กระทำโดยสงบปราศจากอาวุธ ผมคิดว่าการบังคับใช้กฎหมายก็ต้องเดินหน้าไปควบคู่ไปกับการสร้างความปรองดอง ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จัทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ได้พูดชัดเจนแล้วว่าการสร้างความปรองดองต้องเกิดขึ้น และความผิดที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
** ป.ย.ป.นัดประชุมใหญ่ 20 เม.ย.
นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความปรองดอง (ป.ย.ป.) กล่าวถึงการประชุม ป.ย.ป.นัดต่อไปว่า จะมีการประชุมครั้งใหญ่ในวันที่ 20 เม.ย.นี้ เพื่อรายงานความคืบหน้าการทำงาน 4 คณะย่อยใน ป.ย.ป. ส่วนคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศคาดว่าในสัปดาห์หน้าจะมีการทำเวิร์กชอปร่วมกันระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิในคณะ กรรมาธิการของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นอกจากนี้ นายสุวิทย์ กล่าวถึงความคืบหน้าการนำคนรุ่นใหม่มาร่วมใน ป.ย.ป.ว่า มีความคืบหน้าไปมาก โดยเริ่มจากสมาชิกกลุ่มบิซคลับ กลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ของสภาหอการค้าไทย และสภาอุตสาหกรรม โดยให้การบ้านไปทำในหัวข้อ "ประเทศไทยของคุณควรเป็นอย่างไร" เพื่อให้คนรุ่นใหม่มีส่วนร่วมในการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติและจะหาโอกาสพบนายกรัฐมนตรีเพื่อเสนอความเห็นต่อไป.
วานนี้ (23 มี.ค.) พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจบุกเข้าตรวจค้นพื้นที่เป้าหมาย เครือข่าย นายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ หรือ โกตี๋ แกนนำกลุ่มเสื้อแดงฮาร์ดคอร์ ซึ่งมีฐานอยู่ใน จ.ปทุมธานี และขณะนี้กำลังหลบหนีคดีหมิ่นเบื้องสูงอยู่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) พร้อมกับยึดอาวุธสงครามจำนวนมากว่า เมื่อวันที่ 22 มี.ค.ที่ผ่านมา ศาลได้อนุมัติหมายจับ นายวุฒิพงศ์ ไปเรียบร้อยแล้วในข้อหาครอบครองยุทธภัณฑ์ และความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ส่วนผู้ร่วมขบวนการที่ถูกจับกุมตัวแล้ว 9 ราย ขณะนี้ทั้งหมดถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวเพื่อซักถามอยู่ โดยในวันที่ 24 มี.ค. เจ้าหน้าที่ทหารจะนำตัวผู้ต้องหาทั้งหมดมาส่งมอบให้กับพนักงานสอบสวนกองปราบปราม (บก.ป.) เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งจะมีการแจ้งข้อกล่าวหาตามขั้นตอนต่อไป นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างการสืบสวนขอหมายจับผู้ร่วมขบวนการเพิ่มเติมอีก 10 ราย ในเรื่องอั้งยี่ซ่องโจร
ด้าน พ.ต.อ.สุวัฒน์ แสงนุ่ม รอง ผบก.ป. เปิดเผยว่า หลังจากที่เจ้าหน้าที่ทหารนำตัวบุคคลในเครือข่ายโกตี๋ทั้ง 9 คน มาส่งมอบให้พนักงานสอบสวนแล้ว เบื้องต้นทางกองปราบฯจะมีการเตรียมเจ้าหน้าที่ในการรับมอบตัว มีการตรวจสอบร่างกาย และพนักงานสอบสวนเพื่อสอบปากคำประกอบสำนวน ก่อนจะแจ้งข้อกล่าวหาตามแต่ละความผิด อาทิ ครอบครองอาวุธสงคราม และเครื่องกระสุน ที่นายทะเบียนไม่สามารถออกให้ได้, มีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครอง เป็นต้น ซึ่งในแต่ละคนจะมีข้อหาไม่เหมือนกัน โดยจะแยกตามของกลางที่สามารถตรวจยึดได้จากบ้านพักที่พบ ก่อนจะควบคุมตัวขออำนาจศาลอาญารัชดาฝากขังในวันเดียวกันต่อไป
** ค้นคอนเทนเนอร์ครบ-ไม่พบผิด กม.
พล.ต.ต.สมบัติ มิลินทจินดา รอง ผบช.ภ.1 เปิดเผยถึงความคืบหน้าการตรวจค้นตู้คอนเทนเนอร์ในลานเก็บของ บริษัทเกรทติ้ง ฟอร์จูน คอนเทนเนอร์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด เลขที่ 10 หมู่ 12 ต.บางพลี อ.บางพลีใหญ่ จ.สมุทรปราการ ที่เชื่อมโยงกับนายโกตี๋ว่า เจ้าหน้าที่ได้ค้นจนครบหมดแล้วกว่า 4,000 ตู้ แต่ไม่เจอสิ่งผิดกฎหมายแต่อย่างใด ทั้งนี้สำหรับกระแสข่าวที่บอกว่ายังมีตู้คอนเทนเนอร์หายไปอีกประมาณ 2 ตู้นั้น ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบวามีสูญหายไปจริงหรือไม่ ยังยืนยันไม่ได้แต่อย่างใด
** ไม่ห่วง “โกตี๋” เผ่นประเทศที่3
ที่องค์การทหารผ่านศึก (อผศ.) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีรัฐ ฝ่ายความมั่นคง และ รมว.กลาโหม เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังทำเอกสารเพื่อยื่นไปทาง สปป.ลาว เพื่อขอตัว นายวุฒิพงศ์ เป็นผู้ร้ายข้ามแดนอยู่ ไม่ต้องไปเร่งรีบ อยู่ระหว่างการรวบรวมหลักฐานและดูความเชื่อมโยงระหว่างผู้ต้องหาทั้ง 9 คน หลังจากมีความชัดเจนแล้ว ทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการตามขั้นตอน
“ทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการตามขั้นตอน ดังนั้น ปล่อยให้เจ้าหน้าที่ได้ทำงานก่อน และไม่ต้องห่วงว่าจะหนีไปประเทศที่ 3 หรือที่ 4” พล.อ.ประวิตร ระบุ
** ซัด “เพื่อไทย” อย่าเยอะ
ส่วนกรณีที่พรรคเพื่อไทยเสนอให้ตั้งคณะอนุกรรมการอิสระเพื่อรวบรวมความคิดเห็นข้อเสนอของประชาชนในเรื่องของการสร้างความปรองดอง และให้ยุบคณะกรรมการคณะอนุกรรมการพิจารณาบูรณาการ ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง เนื่องจากเห็นว่าไม่มีความเป็นอิสระและเป็นกลางนั้น พล.อ.ประวิตร กล่าวอย่างมีอารมณ์ว่า "ขณะนี้ไม่เป็นอิสระตรงไหน อะไรคืออิสระ และความต้องการอยู่ตรงไหน ใช่เรื่องของการแสดงความคิดหรือไม่ การเสนอตั้งคณะกรรมการอิสระ ใครคือคณะกรรมการอิสระ ขอให้ช่วยบอกมาหน่อย เป็นคณะกรรมการป้องกันปราบปรามการทุริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หรือหน่วยงานอื่นที่เป็นอิสระ"
พล.อ.ประวิตร กล่าวต่อว่า คณะกรรมการปรองดองที่รัฐบาลตั้งขึ้นมา เป็นผู้ที่มีความคิดอิสระ โดยมีทั้งผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ และทำหน้าที่เพียงรับฟังเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ทำอะไรเลย มารับฟังข้อเสนอเท่านั้น แล้วจะให้ไปเอาใครอีก และผู้ที่รับฟังก็มีทหารชั้นยศพลโท พลเอก แต่มีบางพรรค เราถามเพียง 10 ข้อ ยังไม่ตอบเลย ตอบมาแค่ 2-3 ข้อ นอกนั้นบอกไม่มีความคิดเห็น แล้วจะเอาอย่างไรกันอีก ซึ่งตนไม่อยากเอ่ยว่าเป็นพรรคไหน
เมื่อถามว่า พรรคการเมืองออกมาแสดงความเห็นต่าง จะส่งผลกระทบต่อการปรองดองหรือไม่ พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า คณะกรรมการที่ตั้งจากรัฐบาล ไม่ได้ดำเนินการอะไรเลย แต่พรรคการเมืองไปตั้งแง่กันเอง ซึ่งคณะกรรมการทั้งหมดมีความเป็นอิสระในการฟัง ไม่มีการตอบโต้ใดๆเลย รวมถึงการโต้เถียงฟังเพียงอย่างเดียว แล้วจะเอาใครอีก คณะกรรมการเป็นผู้หลักผู้ใหญ่กันทั้งนั้น มีความคิดเป็นของตัวเอง ไม่เช่นนั้น คงไม่เติบโตมาจนถึงขณะนี้
“ส่วนที่พรรคเพื่อไทยมองว่ามีทหารมานั่งเป็นประธานทุกชุดนั้น ทหารไม่ได้ไปขัดแย้งกับใคร เราให้ข้อมูลทั้งหมดจะอยู่ที่อนาคตว่า จะอยู่ร่วมกันอย่างใดอย่างสันติ ไม่ต้องมารื้อฟื้นเรื่องเก่าๆ เรื่องเกิดเมื่อไหร่ก็ไม่รู้แล้วมาบอกว่า นี่เป็นต้นเหตุของความขัดแย้งใช้ได้ที่ไหน ผมบอกตั้งแต่ต้นแล้วว่าในอนาคต ไม่ต้องมาพูดถึงเรื่องการนิรโทษกรรมต่างๆ และผมก็เคยพูดเรื่องกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยไปแล้ว ก็ว่ากันไป และต่อไปในอนาคตที่หมดวาระรัฐบาลชุดนี้ไปแล้ว จะทำอะไรก็เป็นเรื่องของรัฐสภาและนายกฯในชุดนั้น" พล.อ.ประวิตร กล่าว
เมื่อถามว่า การปรองดองต้องมีความไว้เนื้อเชื่อใจ แต่พรรคการเมืองดูเหมือนจะไม่ไว้ใจทหาร พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ทหารไปทำอะไร ไม่ให้ไว้เนื้อเชื่อใจ และทหารไปเกี่ยวกับการปรองดองอย่างไร ทหารไปนั่งฟังเฉยๆ แล้วจะให้ไปทำอะไร ถ้าไม่ไว้เนื้อเชื่อใจทหาร และตนก็ไม่เคยบอกว่า ตนไม่ไว้เนื้อเชื่อใจใคร แล้วถ้าตนพูดบ้าง แต่นี้ยังไม่เคยพูดเลย มีแต่ฝ่ายพรรคการเมืองที่พูดอยู่ข้างเดียว
** “เพื่อไทย” ตื้อจะเอาคนกลาง
นายชัยเกษม นิติสิริ แกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยไม่เคยปฏิเสธเรื่องการสร้างความปรองดอง เพียงแต่เห็นว่า เมื่อจบขั้นตอนของกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ควรจะมีคณะกรรมการอิสระ เข้ามาทำหน้าที่ ตามแนวทาง ที่ระบอบประชาธิปไตยสากล ใช้เป็นกลไกขับเคลื่อน ในการสร้างความปรองดอง สำหรับการรับฟังความคิดเห็นที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองต่างๆ นายชัยเกษมยืนยันว่า ข้อมูลดังกล่าว เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการสร้างความปรองดอง และสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลในการรวบรวม ความคิดเห็น ให้คณะกรรมการอิสระที่จะเข้ามาทำหน้าที่ หลังการรับฟังความคิดเห็นเสร็จสิ้น นำข้อมูลไปดำเนินการต่อ ที่สำคัญหลักในการสร้างความปรองดอง จะต้องไม่ละเลย เหยื่อผู้ถูกกระทำ จากความขัดแย้งและวิกฤตทางการเมือง ซึ่งหากผู้มีอำนาจที่ถูกมองว่าเป็นคู่ขัดแย้งเข้ามาทำหน้าที่รวบรวมความเห็น อาจไม่ได้ รับความเชื่อมั่นจาก ผู้สูญเสีย ดังนั้น การเลือก กรรมการอิสระ ที่ทุกฝ่ายยอมรับ เข้ามาดำเนินการต่อจาก การรับฟังความเห็นในขั้นตอนแรก ก็จะเป็นประโยชน์ และทำให้การปรองดองสามารถเกิดขึ้นได้จริง
“สิ่งที่เราแสดงความกังวล หากเดินตามแนวทางของผู้มีอำนาจ คือขั้นตอน การรวบรวมความเห็น หากทำโดย คนที่ ฝ่ายรัฐบาล แต่งตั้งขึ้น อาจไม่ได้ความคิดเห็นที่หลากหลาย เพราะที่สุดแล้วเชื่อว่า คณะกรรมการชุดรวบรวมความเห็น จะนำข้อมูลเฉพาะ ด้านที่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายรัฐ ไปดำเนินการเท่านั้น และข้อเสนอ ที่เห็นต่างจากภาครัฐ อาจไม่ได้รับการตอบรับ หรือนำไปปฏิบัติ” นายชัยเกษม กล่าว
** สั่งแยกขัง “กี้ร์ - 12 นปช.”
นายวชิรวิทย์ วชิรเลอพันธุ์ ผบ.เรือนจำพิเศษพัทยา เปิดเผยถึงการคุมขัง นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มเสื้อแดง พร้อมพวกรวม 13 คน ซึ่งถูกศาลอุทธรณ์สั่งคำคุกคนละ 4 ปี กรณีบุกขัดขวางการประชุมอาเซียนซัมมิท ที่โรงรอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท พัทยา เมื่อปี 2552 ว่า ผู้ต้องขังทั้งหมดถูกคุมขังในแดน 3 แต่แยกห้องนอนให้กระจายกันไปอยู่ในห้องต่างๆ ซึ่งเป็นไปตามหลักที่จะไม่ให้คู่คดีเดียวกันนอนด้วยกัน อาจมีบางห้องที่ต้องกระจายไปห้องละ 2-3 คน เนื่องจากเรือนจำมีพื้นที่จำกัด และมีผู้ต้องขังเดิมที่คุมขังอยู่ในห้องขังต่างๆแล้ว โดยการควบคุมตัวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ผู้ต้องขังสามารถปรับตัวได้ดี เนื่องจากเคยผ่านการคุมขังมาก่อน ซึ่งตนก็ได้ไปพูดคุยกับทุกคนว่า เป็นการเข้ามาอาศัย จนกว่าจะได้รับการประกันตัว ขณะนี้จึงยังไม่มีการจัดกิจกรรมให้เข้าร่วม ให้เวลาปรับตัวก่อน จากนั้นจึงจะพิจารณากิจกรรมที่เหมาะสมต่อไป สำหรับการตรวจสอบสุขภาพผู้ต้องขังกลุ่มดังกล่าวไม่พบว่ามีโรคร้ายแรงหรืออาการเจ็บป่วยที่น่ากังวลแต่อย่างไร
** “มาร์ค” เชื่อจับอาวุธฯไม่กระทบปรองดอง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การจับอาวุธสงครามได้จำนวนมากในช่วงนี้ คงไม่กระทบกับการสร้างความปรองดอง เพราะเรื่องดังกล่าวต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ใครทำผิดก็ต้องได้รับการลงโทษ ซึ่งไม่สามารถนำเรื่องการสร้างความปรองดองมากล่าวอ้างไม่ให้คนทำผิดต้องรับผิดได้ ทั้งนี้ ส่วนตัวมองว่าการปราบปรามไม่ให้นำอาวุธสงครามมาใช้เคลื่อนไหวทางการเมือง จะเป็นหลักประกันที่ดีว่าในอนาคต ปัญหาที่เกิดขึ้นจะไม่ลุกลามบานปลายเหมือนในอดีต จากบทเรียนที่ผ่านมาพบว่าเมื่อมีอาวุธสงครามมาเกี่ยวข้องจะทำให้การจัดการปัญหายากขึ้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ต้องจัดการปัญหาอย่างจริงจัง
"ผมไม่ได้ห้ามความคิดเห็นที่แตกต่าง แต่การแสดงออกทางความคิดต้องอยู่บนหลักที่เคารพสิทธิของผู้อื่น กระทำโดยสงบปราศจากอาวุธ ผมคิดว่าการบังคับใช้กฎหมายก็ต้องเดินหน้าไปควบคู่ไปกับการสร้างความปรองดอง ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จัทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ได้พูดชัดเจนแล้วว่าการสร้างความปรองดองต้องเกิดขึ้น และความผิดที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
** ป.ย.ป.นัดประชุมใหญ่ 20 เม.ย.
นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความปรองดอง (ป.ย.ป.) กล่าวถึงการประชุม ป.ย.ป.นัดต่อไปว่า จะมีการประชุมครั้งใหญ่ในวันที่ 20 เม.ย.นี้ เพื่อรายงานความคืบหน้าการทำงาน 4 คณะย่อยใน ป.ย.ป. ส่วนคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศคาดว่าในสัปดาห์หน้าจะมีการทำเวิร์กชอปร่วมกันระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิในคณะ กรรมาธิการของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นอกจากนี้ นายสุวิทย์ กล่าวถึงความคืบหน้าการนำคนรุ่นใหม่มาร่วมใน ป.ย.ป.ว่า มีความคืบหน้าไปมาก โดยเริ่มจากสมาชิกกลุ่มบิซคลับ กลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ของสภาหอการค้าไทย และสภาอุตสาหกรรม โดยให้การบ้านไปทำในหัวข้อ "ประเทศไทยของคุณควรเป็นอย่างไร" เพื่อให้คนรุ่นใหม่มีส่วนร่วมในการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติและจะหาโอกาสพบนายกรัฐมนตรีเพื่อเสนอความเห็นต่อไป.