ผู้จัดการรายวัน360-สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทย บำเพ็ญกุศลพิธีกงเต็ก ถวายพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชวันนี้ ด้านคณะกรรมการจัดสร้างพระเมรุมาศ หารือขยายชั้นบุษบกพระเมรุมาศเพิ่ม 3 เมตร พร้อมลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าการก่อสร้าง กรมศิลปากร ดึงศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด-สีบัวทอง-หนองลาด ร่วมจัดสร้างปั้นครุฑยุดนาค-เทพชุมนุม 108 องค์รอบฐานท้องไม้พระเมรุ
บรรพชิต องสรภาณ อนัมพจน์ ประชาสัมพันธ์คณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการเตรียมการพิธีบำเพ็ญกุศล (พิธีกงเต็ก) ถวายพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ในวันที่ 21 มี.ค.นี้ ว่า การเตรียมการพิธีกงเต็กขณะนี้ เรียกว่าสมบูรณ์ พร้อมจะประกอบพิธีตามโบราณราชประเพณีอย่างสมพระเกียรติ โดยจะมีผู้เข้าร่วมพิธีประมาณ 700 คน
ทั้งนี้ พิธีที่สำคัญ คือ การนำดวงวิญญาณไปขอขมากรรม ขออโหสิกรรมกับพระรัตนตรัยหลังข้ามสะพานโอฆสงสาร เนื่องจากดวงวิญญาณนั้น ขณะยังมีชีวิตอยู่อาจไปล่วงเกินกับพระรัตนตรัยโดยไม่รู้ตัว การข้ามสะพานโอฆสงสาร ก็คือ นำดวงวิญญาณข้ามไปขอขมานั่นเอง
สำหรับเครื่องกระดาษ ที่ถือเป็นของคู่กันกับประเพณีการทำกงเต็กของราชวงศ์มาตั้งแต่โบราณของจีน ในครั้งนี้มีพระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล ขนาด 7 คูณ 3 เมตรกว่า ซึ่งเสร็จเรียบร้อยดีแล้ว รวมกับเครื่องกระดาษอื่นๆ ที่ทำอย่างสมฐานะ รอประกอบขึ้นพร้อมกันอีกครั้งในวันนี้
นอกจากนี้ เครื่องประกอบพิธีต่างๆ อาทิ เครื่องตั้งบูชา สั่งทำขึ้นใหม่ทั้งหมดจากประเทศจีน สั่งทำลายฉลุไทยจักรี เป็นการผสมผสานประยุกต์กับจีน ถือเป็นครั้งแรกที่ไม่เคยมีมาก่อน ในส่วนของสะพานที่ใช้ในพิธีข้ามสะพานโอฆสงสารนั้น เป็นสะพานเก่าที่ใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3
โดยในการนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ฉลองพระองค์ทหารเรือในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาใช้ธงพุ่มอัญเชิญดวงพระวิญญาณ
ด้านพล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการฝ่ายจัดสร้างพระเมรุมาศ สิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุมาศ และบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและพระยานมาศ และคณะกรรมการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กล่าวว่า วันศุกร์ที่ 24 มี.ค.นี้ ตนพร้อมคณะคณะกรรมการฝ่ายจัดสร้างพระเมรุมาศฯ จะลงพื้นที่ท้องสนามหลวง เพื่อตรวจเยี่ยมการก่อสร้างพระเมรุมาศ และติดตามความคืบหน้าด้านขยายแบบ และศิลปกรรมประกอบพระเมรุมาศยังอาคารวิธานสถาปกศาลา และโรงขยายแบบต่างๆ เพื่อรับทราบข้อมูลการปฏิบัติงานจริง ต่อจากนั้น จะประชุมที่โรงละครแห่งชาติ โดยจะสรุปภาพรวมการดำเนินงาน และการพิจารณาแบบของการขยายช่วงชั้นของบุษบกพระเมรุมาศให้สูงขึ้นประมาณ 3 เมตร ที่สำนักสถาปัตยกรรมดำเนินการออกแบบเพิ่มเติมป้องกันการกินอากาศ เพื่อให้ยอดของพระเมรุมาศมีความสง่างาม
ส่วนกรณีที่มีการแชร์ข้อมูลผ่านทางสื่อโซเซียลมีเดียว่า ได้มีการกำหนดวันถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ ในช่วงปลายปีนั้น ตนขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลข่าวสารและข้อเท็จจริงที่ถูกต้องจากทางรัฐบาลเพียงอย่างเดียว เพราะจนถึงขณะนี้ ยังไม่มีการกำหนดวันที่จะมีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพออกมาแต่อย่างใด
นายสมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร นายช่างศิลปกรรมอาวุโส กลุ่มงานศิลป์ประยุกต์และเครื่องเคลือบดินเผา สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กล่าวว่า การจัดสร้างประติมากรรมประกอบพระเมรุมาศ ประกอบด้วย ครุฑประดับหัวเสาเทพพนม เทพชุมนุม ราวบันไดนาค และครุฑยุดนาค จำนวนเกือบ 200 ชิ้นงาน แบ่งเป็นการจัดสร้างครุฑยุดนาค ประดับรอบท้ององค์ประธาน จำนวน 28 องค์ สูง 60 เซนติเมตร เทวดานั่งส้นพนมมือ และเทวดานั่งขัดสมาธิ จำนวน 28 องค์ และเทพชุมนุมรอบฐานท้องไม้พระเมรุมาศ ชั้นล่าง จำนวน 108 องค์ โดยได้ประสานงานให้อาจารย์ สุดสาคร ชายเสม เป็นผู้ออกแบบทั้งหมด
ส่วนเทพชุมนุมทั้ง 108 องค์นั้น จะมีรูปแบบที่ไม่ซ้ำกันเลย ทั้งส่วนของใบหน้าและเครื่องทรง เช่น นักสิทธิ์ วิทยาธร กุมภัณฑ์ ยักษ์ทศกัณฐ์ คนธรรพ์ ผู้ออกแบบนำตัวละครเด่น จากเรื่องรามเกียรติ์ มาออกแบบ และประยุกต์ให้งดงาม เช่นเดียวกับครุฑที่ไม่ได้ออกแบบตามอย่างโบราณ แต่จะดูมีกล้ามเนื้อเพื่อให้เข้ากับประติมากรรมประดับพระเมรุมาศตัวอื่นๆ เป็นศิลปะสมัยรัชกาลที่ 9 ดูเสมือนจริง
นอกจากนี้ อาจารย์สุดสาคร ยังได้ออกแบบและควบคุมการจัดสร้างราวบันไดนาค 1 เศียร โดยชั้นที่ 1 มีความยาว 150 เซนติเมตร นาค 3 เศียร ชั้นที่ 2 ขนาดความยาว 250 เซนติเมตร และนาค 5 เศียร ชั้นที่ 3 และ 4 ตัวเป็นนาค หน้าเป็นมนุษย์ และนาคทรงเครื่อง ขนาดความยาว 335 เซนติเมตร และ 510 เซนติเมตร จำนวนรวม 32 ตัว ส่วนการดำเนินงานจัดสร้างทั้งหมดมอบหมายให้โครงการก่อสร้างศิลปาชีพ เกาะเกิด จ.พระนครศรีอยุธยา ศูนย์ศิลปาชีพ สีบัวทอง จ.อ่างทอง และศูนย์ศิลปาชีพหนองลาด จ.สิงห์บุรี เข้ามาดำเนินการอยู่ในความควบคุมอาจารย์สุดสาคร ที่มีประสบการณ์จัดสร้างฉากโขนพระราชทาน โดยตนยังได้ติดตามความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเริ่มปั้นหุ่นต้นแบบมีกำหนดแล้วเสร็จก่อนเดือนส.ค.นี้
บรรพชิต องสรภาณ อนัมพจน์ ประชาสัมพันธ์คณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการเตรียมการพิธีบำเพ็ญกุศล (พิธีกงเต็ก) ถวายพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ในวันที่ 21 มี.ค.นี้ ว่า การเตรียมการพิธีกงเต็กขณะนี้ เรียกว่าสมบูรณ์ พร้อมจะประกอบพิธีตามโบราณราชประเพณีอย่างสมพระเกียรติ โดยจะมีผู้เข้าร่วมพิธีประมาณ 700 คน
ทั้งนี้ พิธีที่สำคัญ คือ การนำดวงวิญญาณไปขอขมากรรม ขออโหสิกรรมกับพระรัตนตรัยหลังข้ามสะพานโอฆสงสาร เนื่องจากดวงวิญญาณนั้น ขณะยังมีชีวิตอยู่อาจไปล่วงเกินกับพระรัตนตรัยโดยไม่รู้ตัว การข้ามสะพานโอฆสงสาร ก็คือ นำดวงวิญญาณข้ามไปขอขมานั่นเอง
สำหรับเครื่องกระดาษ ที่ถือเป็นของคู่กันกับประเพณีการทำกงเต็กของราชวงศ์มาตั้งแต่โบราณของจีน ในครั้งนี้มีพระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล ขนาด 7 คูณ 3 เมตรกว่า ซึ่งเสร็จเรียบร้อยดีแล้ว รวมกับเครื่องกระดาษอื่นๆ ที่ทำอย่างสมฐานะ รอประกอบขึ้นพร้อมกันอีกครั้งในวันนี้
นอกจากนี้ เครื่องประกอบพิธีต่างๆ อาทิ เครื่องตั้งบูชา สั่งทำขึ้นใหม่ทั้งหมดจากประเทศจีน สั่งทำลายฉลุไทยจักรี เป็นการผสมผสานประยุกต์กับจีน ถือเป็นครั้งแรกที่ไม่เคยมีมาก่อน ในส่วนของสะพานที่ใช้ในพิธีข้ามสะพานโอฆสงสารนั้น เป็นสะพานเก่าที่ใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3
โดยในการนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ฉลองพระองค์ทหารเรือในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาใช้ธงพุ่มอัญเชิญดวงพระวิญญาณ
ด้านพล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการฝ่ายจัดสร้างพระเมรุมาศ สิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุมาศ และบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและพระยานมาศ และคณะกรรมการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กล่าวว่า วันศุกร์ที่ 24 มี.ค.นี้ ตนพร้อมคณะคณะกรรมการฝ่ายจัดสร้างพระเมรุมาศฯ จะลงพื้นที่ท้องสนามหลวง เพื่อตรวจเยี่ยมการก่อสร้างพระเมรุมาศ และติดตามความคืบหน้าด้านขยายแบบ และศิลปกรรมประกอบพระเมรุมาศยังอาคารวิธานสถาปกศาลา และโรงขยายแบบต่างๆ เพื่อรับทราบข้อมูลการปฏิบัติงานจริง ต่อจากนั้น จะประชุมที่โรงละครแห่งชาติ โดยจะสรุปภาพรวมการดำเนินงาน และการพิจารณาแบบของการขยายช่วงชั้นของบุษบกพระเมรุมาศให้สูงขึ้นประมาณ 3 เมตร ที่สำนักสถาปัตยกรรมดำเนินการออกแบบเพิ่มเติมป้องกันการกินอากาศ เพื่อให้ยอดของพระเมรุมาศมีความสง่างาม
ส่วนกรณีที่มีการแชร์ข้อมูลผ่านทางสื่อโซเซียลมีเดียว่า ได้มีการกำหนดวันถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ ในช่วงปลายปีนั้น ตนขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลข่าวสารและข้อเท็จจริงที่ถูกต้องจากทางรัฐบาลเพียงอย่างเดียว เพราะจนถึงขณะนี้ ยังไม่มีการกำหนดวันที่จะมีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพออกมาแต่อย่างใด
นายสมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร นายช่างศิลปกรรมอาวุโส กลุ่มงานศิลป์ประยุกต์และเครื่องเคลือบดินเผา สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กล่าวว่า การจัดสร้างประติมากรรมประกอบพระเมรุมาศ ประกอบด้วย ครุฑประดับหัวเสาเทพพนม เทพชุมนุม ราวบันไดนาค และครุฑยุดนาค จำนวนเกือบ 200 ชิ้นงาน แบ่งเป็นการจัดสร้างครุฑยุดนาค ประดับรอบท้ององค์ประธาน จำนวน 28 องค์ สูง 60 เซนติเมตร เทวดานั่งส้นพนมมือ และเทวดานั่งขัดสมาธิ จำนวน 28 องค์ และเทพชุมนุมรอบฐานท้องไม้พระเมรุมาศ ชั้นล่าง จำนวน 108 องค์ โดยได้ประสานงานให้อาจารย์ สุดสาคร ชายเสม เป็นผู้ออกแบบทั้งหมด
ส่วนเทพชุมนุมทั้ง 108 องค์นั้น จะมีรูปแบบที่ไม่ซ้ำกันเลย ทั้งส่วนของใบหน้าและเครื่องทรง เช่น นักสิทธิ์ วิทยาธร กุมภัณฑ์ ยักษ์ทศกัณฐ์ คนธรรพ์ ผู้ออกแบบนำตัวละครเด่น จากเรื่องรามเกียรติ์ มาออกแบบ และประยุกต์ให้งดงาม เช่นเดียวกับครุฑที่ไม่ได้ออกแบบตามอย่างโบราณ แต่จะดูมีกล้ามเนื้อเพื่อให้เข้ากับประติมากรรมประดับพระเมรุมาศตัวอื่นๆ เป็นศิลปะสมัยรัชกาลที่ 9 ดูเสมือนจริง
นอกจากนี้ อาจารย์สุดสาคร ยังได้ออกแบบและควบคุมการจัดสร้างราวบันไดนาค 1 เศียร โดยชั้นที่ 1 มีความยาว 150 เซนติเมตร นาค 3 เศียร ชั้นที่ 2 ขนาดความยาว 250 เซนติเมตร และนาค 5 เศียร ชั้นที่ 3 และ 4 ตัวเป็นนาค หน้าเป็นมนุษย์ และนาคทรงเครื่อง ขนาดความยาว 335 เซนติเมตร และ 510 เซนติเมตร จำนวนรวม 32 ตัว ส่วนการดำเนินงานจัดสร้างทั้งหมดมอบหมายให้โครงการก่อสร้างศิลปาชีพ เกาะเกิด จ.พระนครศรีอยุธยา ศูนย์ศิลปาชีพ สีบัวทอง จ.อ่างทอง และศูนย์ศิลปาชีพหนองลาด จ.สิงห์บุรี เข้ามาดำเนินการอยู่ในความควบคุมอาจารย์สุดสาคร ที่มีประสบการณ์จัดสร้างฉากโขนพระราชทาน โดยตนยังได้ติดตามความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเริ่มปั้นหุ่นต้นแบบมีกำหนดแล้วเสร็จก่อนเดือนส.ค.นี้