"วิลาศ" อัด ป.ป.ช. ทำคดีโกงรถ-เรือดับเพลิงกทม. โครตอืด ส่งผลให้ 4 ขรก.หลุดคดีอาญากม.ฮั้ว เหตุขาดอายุความ จี้ "อัศวิน" เอาผิดวินัย พร้อมถามหาความรับผิดชอบ ฐานตั้ง"พ.ต.อ.พิชัย" นั่งรองปลัดกทม. ทั้งที่มีมลทิน
วานนี้ (19มี.ค.) นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีต ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ( ป.ป.ช.) ออกมาชี้แจง กรณีดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดซื้อรถดับเพลิง และเรือดับเพลิง พร้อมอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย ของกทม. ที่มีข้าราชการของกทม.เข้าไปเกี่ยวข้อง ล่าช้าจนทำให้ไม่สามารถดำเนินคดีอาญา กรณีกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 หรือ พ.ร.บ.ฮั้ว ตามมาตรา 7 และ มาตรา16 ได้ เนื่องจากขาดอายุความ ทำให้นายสุวิทย์ ศิลาทอง น.ส.สุทิพย์ ทิพย์สุวรรณ์ พ.ต.อ.พิชัย เกรียงวัฒนศิริ และ พ.ต.ท.รักศิลป์ รัตนวราหะ พ้นความผิดในกรณีนี้ แม้ว่าจะมีการส่งเรื่องให้ผู้ว่าฯกทม. ดำเนินการพิจารณาโทษทางวินัยกับบุคคลกลุ่มนี้ แต่ความผิดตาม พ.ร.บ.ฮั้ว กลับขาดอายุความจนไม่สามารถดำเนินคดีได้ โดยสามารถดำเนินคดีอาญาได้เพียงความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 เท่านั้น
"ผมขอตั้งข้อสังเกตว่า คดีนี้ในส่วนของสำนวนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับนักการเมือง ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้พิพากษาไปแล้ว แต่ทำไมการไต่ส่วนข้อเท็จจริงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ กลับเป็นไปด้วยความล่าช้า จนทำให้ความผิดต่อกฎหมายฮั้วขาดอายุความไป ใครจะรับผิดชอบ และการทำงานที่ล่าช้าของ ป.ป.ช. เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การปราบปรากมารทุจริตไร้ประสิทธิภาพ"
นายวิลาศ ยังได้ตั้งคำถามไปถึง พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม. ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้ง พ.ต.อ.พิชัย เป็นรองปลัดกทม.ว่า จะดำเนินการต่อไปอย่างไร หลังจากที่ ป.ป.ช.ได้ชี้มูลแล้วว่ามีความผิดที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 82 วรรคสาม มาตรา 85 วรรคสอง และมาตรา 98วรรคสอง ประกอบพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการ กทม. พ.ศ. 2528 มาตรา 8 โดยก่อนหน้านี้ก็มีผู้ท้วงติงแล้วว่า ไม่ควรตั้ง พ.ต.อ.พิชัยเนื่องจากมีคดีที่ค้างการพิจารณาอยู่ใน ป.ป.ช. แต่ พล.ต.อ.อัศวิน ก็ไม่รับฟังคำท้วงดังกล่าว อ้างว่าศาลยังไม่ได้ตัดสิน มาตรฐานเช่นนี้ จะสอดคล้องกับนโยบายที่ต้องการสกัดกั้นคนทุจริตไม่ให้เข้ามาอำนาจ อย่างไร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. ได้ทำหนังสือลงวันที่ 28 ก.พ.60 ที่ ปช 0015/487 ถึงผู้ว่าฯกทม. ขอให้พิจารณาโทษทางวินัยกับ นายสุวิทย์ น.ส.สุทิพย์ พ.ต.อ.พิชัย และ พ.ต.ท.รักศิลป์ เนื่องจากในขณะที่เป็นเป็นกรรมการจัดซื้อรถดับเพลิง และเรือดับเพลิง มีการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ มีมูลฐานความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ ฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติ ครม.หรือนโยบายของรัฐบาล อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง และฐานกระทำการอื่นใด และได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ตามพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 82 วรรคสาม มาตรา 85วรรคสอง และมาตรา 98วรรคสอง ประกอบพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 8
นอกจากนี้ ป.ป.ช. ยังชี้มูลความผิดอาญากับบุคคลทั้ง 4 ฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใดๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ หรือเจ้าของทรัพย์นั้น และฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติ หรือละเวนการปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 และมาตรา 157 โดยส่งให้อัยการสูงสุดดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรณีที่บุคคลทั้ง 4 กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 92 และมาตรา 70 แล้วแต่กรณีต่อไป
อย่างไรก็ตาม ป.ป.ช.ไม่สามารถดำเนินคดีอาญากับบุคคลทั้ง 4 ในฐานความผิดที่เป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 7 ได้เนื่องจากขาดอายุความไปแล้ว
วานนี้ (19มี.ค.) นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีต ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ( ป.ป.ช.) ออกมาชี้แจง กรณีดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดซื้อรถดับเพลิง และเรือดับเพลิง พร้อมอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย ของกทม. ที่มีข้าราชการของกทม.เข้าไปเกี่ยวข้อง ล่าช้าจนทำให้ไม่สามารถดำเนินคดีอาญา กรณีกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 หรือ พ.ร.บ.ฮั้ว ตามมาตรา 7 และ มาตรา16 ได้ เนื่องจากขาดอายุความ ทำให้นายสุวิทย์ ศิลาทอง น.ส.สุทิพย์ ทิพย์สุวรรณ์ พ.ต.อ.พิชัย เกรียงวัฒนศิริ และ พ.ต.ท.รักศิลป์ รัตนวราหะ พ้นความผิดในกรณีนี้ แม้ว่าจะมีการส่งเรื่องให้ผู้ว่าฯกทม. ดำเนินการพิจารณาโทษทางวินัยกับบุคคลกลุ่มนี้ แต่ความผิดตาม พ.ร.บ.ฮั้ว กลับขาดอายุความจนไม่สามารถดำเนินคดีได้ โดยสามารถดำเนินคดีอาญาได้เพียงความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 เท่านั้น
"ผมขอตั้งข้อสังเกตว่า คดีนี้ในส่วนของสำนวนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับนักการเมือง ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้พิพากษาไปแล้ว แต่ทำไมการไต่ส่วนข้อเท็จจริงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ กลับเป็นไปด้วยความล่าช้า จนทำให้ความผิดต่อกฎหมายฮั้วขาดอายุความไป ใครจะรับผิดชอบ และการทำงานที่ล่าช้าของ ป.ป.ช. เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การปราบปรากมารทุจริตไร้ประสิทธิภาพ"
นายวิลาศ ยังได้ตั้งคำถามไปถึง พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม. ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้ง พ.ต.อ.พิชัย เป็นรองปลัดกทม.ว่า จะดำเนินการต่อไปอย่างไร หลังจากที่ ป.ป.ช.ได้ชี้มูลแล้วว่ามีความผิดที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 82 วรรคสาม มาตรา 85 วรรคสอง และมาตรา 98วรรคสอง ประกอบพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการ กทม. พ.ศ. 2528 มาตรา 8 โดยก่อนหน้านี้ก็มีผู้ท้วงติงแล้วว่า ไม่ควรตั้ง พ.ต.อ.พิชัยเนื่องจากมีคดีที่ค้างการพิจารณาอยู่ใน ป.ป.ช. แต่ พล.ต.อ.อัศวิน ก็ไม่รับฟังคำท้วงดังกล่าว อ้างว่าศาลยังไม่ได้ตัดสิน มาตรฐานเช่นนี้ จะสอดคล้องกับนโยบายที่ต้องการสกัดกั้นคนทุจริตไม่ให้เข้ามาอำนาจ อย่างไร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. ได้ทำหนังสือลงวันที่ 28 ก.พ.60 ที่ ปช 0015/487 ถึงผู้ว่าฯกทม. ขอให้พิจารณาโทษทางวินัยกับ นายสุวิทย์ น.ส.สุทิพย์ พ.ต.อ.พิชัย และ พ.ต.ท.รักศิลป์ เนื่องจากในขณะที่เป็นเป็นกรรมการจัดซื้อรถดับเพลิง และเรือดับเพลิง มีการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ มีมูลฐานความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ ฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติ ครม.หรือนโยบายของรัฐบาล อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง และฐานกระทำการอื่นใด และได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ตามพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 82 วรรคสาม มาตรา 85วรรคสอง และมาตรา 98วรรคสอง ประกอบพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 8
นอกจากนี้ ป.ป.ช. ยังชี้มูลความผิดอาญากับบุคคลทั้ง 4 ฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใดๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ หรือเจ้าของทรัพย์นั้น และฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติ หรือละเวนการปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 และมาตรา 157 โดยส่งให้อัยการสูงสุดดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรณีที่บุคคลทั้ง 4 กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 92 และมาตรา 70 แล้วแต่กรณีต่อไป
อย่างไรก็ตาม ป.ป.ช.ไม่สามารถดำเนินคดีอาญากับบุคคลทั้ง 4 ในฐานความผิดที่เป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 7 ได้เนื่องจากขาดอายุความไปแล้ว