มีคำถามมากมายเรื่องกรณีที่ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์เอาเงินองค์กรไปลงทุนโดยการซื้อหุ้นกู้บริษัทซีพีเอฟประมาณ 200 ล้านบาท ว่าถูกต้องตามเจตนารมณ์และต้องตามกฎหมายของการก่อตั้งองค์กรหรือไม่
มีฝ่ายบอกว่าทำไม่ได้ ขณะที่บางฝ่ายอ้างว่าทำได้แต่ไม่เหมาะสมเพราะภาพลักษณ์ของหุ้นกู้ที่ซื้อคือซีพีเอฟซึ่งผมว่าเป็นเรื่องที่ตลกมาก เพราะดูเหมือนจะพยายามเบี่ยงเป้าไปที่ซีพี ทั้งๆ ที่เขาไม่ได้มีความผิดอะไร คือหุ้นกู้ของเขาเสนอขายอยู่ในตลาด ดังนั้น ใครจะไปซื้อไม่ใช่เรื่องอะไรของเขา
แม้วันนี้ ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้อำนวยการไทยพีบีเอสจะลาออกแล้ว แต่อ้างเหตุผลที่ตัวเองลาออกว่าถึงแม้ขั้นตอนการดำเนินการถูกต้องทั้งหมด และเป็นประโยชน์ต่อองค์กร แต่กระทบต่อความรู้สึกของประชาชนเป็นอย่างมากรวมถึงเครือข่ายที่ทำงานกับไทยพีบีเอส ซึ่งผมรับฟังข้อกังวลทั้งหมดและน้อมรับ และขออภัยต่อการดำเนินการที่กระทบต่อความรู้สึกของประชาชน ด้วยเหตุนี้จึงขอรับผิดชอบด้วยการลาออก
และแม้กรรมการนโยบายจะแถลงยืนยันภายหลังการลาออกของกฤษดาว่า สามารถดำเนินการได้ตามกฎหมายและระเบียบของ ส.ส.ท.ก็ยังมีคำถามว่า ความเห็นนี้ผ่านการโหวตด้วยเสียงข้างมากหรือกรรมการทุกคนมีมติเห็นต้องกัน คำถามที่ตามมาก็คือว่า ถ้ามีข้อขัดแย้งในสาระสำคัญและเจตนารมณ์ของพ.ร.บ.ควรให้ใครตัดสิน เพราะนักกฎหมายซึ่งเคยเป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญท่านหนึ่งบอกว่าทำไม่ได้
ต้องไม่ลืมนะครับว่า ไทยพีบีเอสนั้นได้เงินอุดหนุนจากภาษีเหล้าบุหรี่ปีละประมาณ 2,000 ล้านบาท กฎหมายออกแบบให้เป็นอิสระในระดับสำคัญจากรัฐจากทุน คือคุณไม่ต้องไปดิ้นรนหาเงิน แต่มีเงินลอยมาให้ใช้โดยมีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่กำกับไว้ในพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 หมวดกับจัดตั้งและเงินกองทุน
แต่สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เป็นฝ่ายที่เชื่อว่าการกระทำของผู้บริหารไทยพีบีเอสในการไปซื้อหุ้นกู้นั้นชอบด้วยกฎหมาย โดยสมเกียรติอ้างว่า มาตรา 11 ของกฎหมายไทยพีบีเอส เขียนไว้ชัดเจนว่า รายได้ของไทยพีบีเอส มาจาก 7 แหล่ง โดยแหล่งหนึ่ง คือ (7) ดอกผลที่เกิดจากเงิน หรือทรัพย์สิน โดยสมเกียรติขยายความว่าหมายถึงผลตอบแทนจากการลงทุน และพยายามอธิบายว่า ซีพีเอฟนั้นมีฐานะการเงินที่มั่นคง แต่สมเกียรติบอกว่า แม้จะทำได้ไม่ผิด แต่ก็ควรขายคืนไปโดยอ้างว่าควรลงทุนในองค์กรที่มีธรรมาภิบาลที่ดี
ผมได้ไปตอบในเฟซบุ๊กของสมเกียรติว่า มาตรา 11 เรื่องดอกผลนั้นตีความเป็นหุ้นกู้ได้ไง หุ้นกู้อาจจะมีดอกผลดีกว่าแบงก์ แต่มีความเสี่ยงในทางทฤษฎี จะไปสร้างตรรกะว่า ซีพีมั่นคงไม่มีความเสี่ยงเพื่อให้การตะแบงครั้งนี้ถูกต้องไม่ได้ แล้วมีภาระอะไรที่ผู้บริหารต้องเอาเงินไปลงทุนเพื่อหาผลกำไรครับ
สมเกียรติได้เข้ามาตอบว่า การลงทุนไหนๆ ก็มีความเสี่ยงแน่ครับ แต่ในวงการก็ทราบกันว่า ฐานะการเงินของเครือนี้เข้มแข็ง คุณสุรวิชช์ คิดว่า เครือซีพีเขาจะยอมให้เกิด default หรือครับ?
ผมได้ตอบกลับไปว่า เมื่อมีความเสี่ยงแล้วเข้ามาตรา 11 ได้อย่างไร การเขียนกฎหมายนั้น เขาเขียนข้อห้ามทำอะไรไว้ แต่เราไปตีความว่าได้เพราะซีพีมั่นคง ดังนั้น เหตุผลที่ซีพีมั่นคงจึงเข้ากับบทบัญญัติของกฎหมายได้นี่ มันแปลกนะครับ
สมเกียรติตอบกลับมาว่า ถ้าจะได้ดอกผล ก็ต้องลงทุนนะครับ ถ้าลงทุน ก็ต้องมีความเสี่ยงครับ จะมากจะน้อยก็ต้องพิจารณาให้รอบคอบครับ
ผมจึงตอบกลับไปอีกครั้งว่า การลงทุนมีความเสี่ยง แล้วตรงไหนที่อนุญาตให้เอาเงินไปลงทุนที่มีความเสี่ยง แม้กระทั่งตรงไหนที่อนุญาตให้เอาเงินไปลงทุน
ส่วนตัวผมนั้นคิดว่า แม้แต่มาตรา 11 (7) ที่ว่า “ดอกผลที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินขององค์การ” ก็เอามาอ้างไม่ได้ดังข้อโต้แย้งข้างบน แต่สมเกียรติอ้างว่าทำตามวงเล็บนี้ แต่ถามว่าเราดูมาตรานี้มาตราเดียวหรือแล้วมาตราอื่น เราไม่ดูมาตรา 7 ที่เขียนถึงวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือ เราไม่ดูมาตรา 8 ที่เขียนถึงหน้าที่ขององค์กรหรือ ตรงนั้นเขียนไว้ชัดแจ้งว่า วัตถุประสงค์ขององค์กรและอำนาจหน้าที่มีอะไรบ้าง อำนาจอนุมัติวงเงินของฝ่ายบริหารมีเท่าไหร่
เอาเถอะครับไม่รู้ว่า สมเกียรติถูกหรือผมถูก และแม้กฤษดาจะลาออกแล้ว ก็ควรต้องให้กฤษฎีกาชี้มาให้ชัดว่า ตกลงฝ่ายบริหารเอาเงินไปลงทุนในหุ้นกู้แบบนี้ได้หรือไม่
ไม่ใช่กลายเป็นว่าแก๊สโซฮอล์หรือซีพีเอฟผิด
ก่อนอื่นต้องอธิบายนะครับว่า ทพ.กฤษดา ก่อนเป็นผู้อำนวยการไทยพีบีเอสนั้น เดิมเป็นผู้จัดการ สสส.แต่ได้ลาออกเมื่อคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) ที่มี พล.อ.ชาตอุดม ติตถะสิริ เป็นประธาน เข้ามาตรวจสอบ และพบว่าการใช้จ่ายงบประมาณของ สสส.ในบางโครงการไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุนตาม พ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 จากนั้นจึงมาสมัครเป็นผู้อำนวยการไทยพีบีเอสแล้วได้รับเลือก
ทีนี้พอกฤษดาได้รับเลือกเข้ามาเป็นผู้อำนวยการไทยพีบีเอสก็มีคำถามอีกว่า มีคุณสมบัติตรงตามกฎหมายของการจัดตั้งองค์กรหรือไม่
โดยพ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 มาตรา 32 (3) ที่ระบุว่า ผู้อำนวยการไทยพีบีเอส ต้องมีคุณสมบัติ “มีความรู้ความเข้าใจและมีความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ในกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ หรือการสื่อสารมวลชน”
ตอนนั้นกรรมการนโยบายอ้างว่า ได้หารือเพิ่มเติมประเด็นนี้กับผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย มีข้อสรุปว่า คุณสมบัติของผู้ที่ได้รับเลือกเป็นผู้อำนวยการ ส.ส.ท.คนใหม่ มิได้ขัดกับมาตรา 32 (3)
ตรงนี้เป็นคำถามว่าผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเป็นใคร เมื่อหน่วยงานของรัฐมีข้อสงสัยเรื่องกฎหมายโดยหลักต้องถามไปที่สำนักกฤษฎีกาไม่ใช่หรือ จะอ้างว่าไปถามนักกฎหมายใครก็ได้หรือ
นอกจากนั้นกรรมการนโยบายยังอ้างว่า กรณีที่มีความเข้าใจโดยทั่วไปว่า ผู้อำนวยการ ส.ส.ท.ต้องมีประสบการณ์ตรงด้านสื่อนั้น เนื่องจากปัจจุบันสภาพภูมิทัศน์สื่อมีการเปลี่ยนแปลงและเทคโนโลยีทางการสื่อสารก้าวหน้าขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้มีผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจและมีความเชี่ยวชาญเกิดขึ้นมากมาย โดยไม่จำเป็นที่จะต้องทำงานสังกัดองค์กรสื่อสารมวลชนหรือมีประสบการณ์ด้านสื่อสารมวลชนโดยตรง
ฟังแล้วมันตลกไหมครับ อ้างว่าเพราะภูมิทัศน์ของสื่อมันเปลี่ยนไป ดังนั้น คนที่ผ่านงานด้านรณรงค์เพื่อต่อต้านเหล้าบุหรี่จึงมีคุณสมบัติมีความรู้ความเข้าใจ และมีความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ในกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ หรือการสื่อสารมวลชน
แต่วันนี้แม้กฤษดาจะลาออกแล้วก็ยังคงทิ้งคำถามว่าใช้เงินขององค์กรผิดวัตถุประสงค์หรือไม่ ซึ่งคงต้องทำเรื่องนี้ให้กระจ่างหลังจากเคยถูกตั้งคำถามเดียวกันตอนเป็นผู้จัดการ สสส.มาแล้ว
ติดตามผู้เขียนได้ที่ https://www.facebook.com/surawich.verawan
มีฝ่ายบอกว่าทำไม่ได้ ขณะที่บางฝ่ายอ้างว่าทำได้แต่ไม่เหมาะสมเพราะภาพลักษณ์ของหุ้นกู้ที่ซื้อคือซีพีเอฟซึ่งผมว่าเป็นเรื่องที่ตลกมาก เพราะดูเหมือนจะพยายามเบี่ยงเป้าไปที่ซีพี ทั้งๆ ที่เขาไม่ได้มีความผิดอะไร คือหุ้นกู้ของเขาเสนอขายอยู่ในตลาด ดังนั้น ใครจะไปซื้อไม่ใช่เรื่องอะไรของเขา
แม้วันนี้ ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้อำนวยการไทยพีบีเอสจะลาออกแล้ว แต่อ้างเหตุผลที่ตัวเองลาออกว่าถึงแม้ขั้นตอนการดำเนินการถูกต้องทั้งหมด และเป็นประโยชน์ต่อองค์กร แต่กระทบต่อความรู้สึกของประชาชนเป็นอย่างมากรวมถึงเครือข่ายที่ทำงานกับไทยพีบีเอส ซึ่งผมรับฟังข้อกังวลทั้งหมดและน้อมรับ และขออภัยต่อการดำเนินการที่กระทบต่อความรู้สึกของประชาชน ด้วยเหตุนี้จึงขอรับผิดชอบด้วยการลาออก
และแม้กรรมการนโยบายจะแถลงยืนยันภายหลังการลาออกของกฤษดาว่า สามารถดำเนินการได้ตามกฎหมายและระเบียบของ ส.ส.ท.ก็ยังมีคำถามว่า ความเห็นนี้ผ่านการโหวตด้วยเสียงข้างมากหรือกรรมการทุกคนมีมติเห็นต้องกัน คำถามที่ตามมาก็คือว่า ถ้ามีข้อขัดแย้งในสาระสำคัญและเจตนารมณ์ของพ.ร.บ.ควรให้ใครตัดสิน เพราะนักกฎหมายซึ่งเคยเป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญท่านหนึ่งบอกว่าทำไม่ได้
ต้องไม่ลืมนะครับว่า ไทยพีบีเอสนั้นได้เงินอุดหนุนจากภาษีเหล้าบุหรี่ปีละประมาณ 2,000 ล้านบาท กฎหมายออกแบบให้เป็นอิสระในระดับสำคัญจากรัฐจากทุน คือคุณไม่ต้องไปดิ้นรนหาเงิน แต่มีเงินลอยมาให้ใช้โดยมีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่กำกับไว้ในพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 หมวดกับจัดตั้งและเงินกองทุน
แต่สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เป็นฝ่ายที่เชื่อว่าการกระทำของผู้บริหารไทยพีบีเอสในการไปซื้อหุ้นกู้นั้นชอบด้วยกฎหมาย โดยสมเกียรติอ้างว่า มาตรา 11 ของกฎหมายไทยพีบีเอส เขียนไว้ชัดเจนว่า รายได้ของไทยพีบีเอส มาจาก 7 แหล่ง โดยแหล่งหนึ่ง คือ (7) ดอกผลที่เกิดจากเงิน หรือทรัพย์สิน โดยสมเกียรติขยายความว่าหมายถึงผลตอบแทนจากการลงทุน และพยายามอธิบายว่า ซีพีเอฟนั้นมีฐานะการเงินที่มั่นคง แต่สมเกียรติบอกว่า แม้จะทำได้ไม่ผิด แต่ก็ควรขายคืนไปโดยอ้างว่าควรลงทุนในองค์กรที่มีธรรมาภิบาลที่ดี
ผมได้ไปตอบในเฟซบุ๊กของสมเกียรติว่า มาตรา 11 เรื่องดอกผลนั้นตีความเป็นหุ้นกู้ได้ไง หุ้นกู้อาจจะมีดอกผลดีกว่าแบงก์ แต่มีความเสี่ยงในทางทฤษฎี จะไปสร้างตรรกะว่า ซีพีมั่นคงไม่มีความเสี่ยงเพื่อให้การตะแบงครั้งนี้ถูกต้องไม่ได้ แล้วมีภาระอะไรที่ผู้บริหารต้องเอาเงินไปลงทุนเพื่อหาผลกำไรครับ
สมเกียรติได้เข้ามาตอบว่า การลงทุนไหนๆ ก็มีความเสี่ยงแน่ครับ แต่ในวงการก็ทราบกันว่า ฐานะการเงินของเครือนี้เข้มแข็ง คุณสุรวิชช์ คิดว่า เครือซีพีเขาจะยอมให้เกิด default หรือครับ?
ผมได้ตอบกลับไปว่า เมื่อมีความเสี่ยงแล้วเข้ามาตรา 11 ได้อย่างไร การเขียนกฎหมายนั้น เขาเขียนข้อห้ามทำอะไรไว้ แต่เราไปตีความว่าได้เพราะซีพีมั่นคง ดังนั้น เหตุผลที่ซีพีมั่นคงจึงเข้ากับบทบัญญัติของกฎหมายได้นี่ มันแปลกนะครับ
สมเกียรติตอบกลับมาว่า ถ้าจะได้ดอกผล ก็ต้องลงทุนนะครับ ถ้าลงทุน ก็ต้องมีความเสี่ยงครับ จะมากจะน้อยก็ต้องพิจารณาให้รอบคอบครับ
ผมจึงตอบกลับไปอีกครั้งว่า การลงทุนมีความเสี่ยง แล้วตรงไหนที่อนุญาตให้เอาเงินไปลงทุนที่มีความเสี่ยง แม้กระทั่งตรงไหนที่อนุญาตให้เอาเงินไปลงทุน
ส่วนตัวผมนั้นคิดว่า แม้แต่มาตรา 11 (7) ที่ว่า “ดอกผลที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินขององค์การ” ก็เอามาอ้างไม่ได้ดังข้อโต้แย้งข้างบน แต่สมเกียรติอ้างว่าทำตามวงเล็บนี้ แต่ถามว่าเราดูมาตรานี้มาตราเดียวหรือแล้วมาตราอื่น เราไม่ดูมาตรา 7 ที่เขียนถึงวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือ เราไม่ดูมาตรา 8 ที่เขียนถึงหน้าที่ขององค์กรหรือ ตรงนั้นเขียนไว้ชัดแจ้งว่า วัตถุประสงค์ขององค์กรและอำนาจหน้าที่มีอะไรบ้าง อำนาจอนุมัติวงเงินของฝ่ายบริหารมีเท่าไหร่
เอาเถอะครับไม่รู้ว่า สมเกียรติถูกหรือผมถูก และแม้กฤษดาจะลาออกแล้ว ก็ควรต้องให้กฤษฎีกาชี้มาให้ชัดว่า ตกลงฝ่ายบริหารเอาเงินไปลงทุนในหุ้นกู้แบบนี้ได้หรือไม่
ไม่ใช่กลายเป็นว่าแก๊สโซฮอล์หรือซีพีเอฟผิด
ก่อนอื่นต้องอธิบายนะครับว่า ทพ.กฤษดา ก่อนเป็นผู้อำนวยการไทยพีบีเอสนั้น เดิมเป็นผู้จัดการ สสส.แต่ได้ลาออกเมื่อคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) ที่มี พล.อ.ชาตอุดม ติตถะสิริ เป็นประธาน เข้ามาตรวจสอบ และพบว่าการใช้จ่ายงบประมาณของ สสส.ในบางโครงการไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุนตาม พ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 จากนั้นจึงมาสมัครเป็นผู้อำนวยการไทยพีบีเอสแล้วได้รับเลือก
ทีนี้พอกฤษดาได้รับเลือกเข้ามาเป็นผู้อำนวยการไทยพีบีเอสก็มีคำถามอีกว่า มีคุณสมบัติตรงตามกฎหมายของการจัดตั้งองค์กรหรือไม่
โดยพ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 มาตรา 32 (3) ที่ระบุว่า ผู้อำนวยการไทยพีบีเอส ต้องมีคุณสมบัติ “มีความรู้ความเข้าใจและมีความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ในกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ หรือการสื่อสารมวลชน”
ตอนนั้นกรรมการนโยบายอ้างว่า ได้หารือเพิ่มเติมประเด็นนี้กับผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย มีข้อสรุปว่า คุณสมบัติของผู้ที่ได้รับเลือกเป็นผู้อำนวยการ ส.ส.ท.คนใหม่ มิได้ขัดกับมาตรา 32 (3)
ตรงนี้เป็นคำถามว่าผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเป็นใคร เมื่อหน่วยงานของรัฐมีข้อสงสัยเรื่องกฎหมายโดยหลักต้องถามไปที่สำนักกฤษฎีกาไม่ใช่หรือ จะอ้างว่าไปถามนักกฎหมายใครก็ได้หรือ
นอกจากนั้นกรรมการนโยบายยังอ้างว่า กรณีที่มีความเข้าใจโดยทั่วไปว่า ผู้อำนวยการ ส.ส.ท.ต้องมีประสบการณ์ตรงด้านสื่อนั้น เนื่องจากปัจจุบันสภาพภูมิทัศน์สื่อมีการเปลี่ยนแปลงและเทคโนโลยีทางการสื่อสารก้าวหน้าขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้มีผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจและมีความเชี่ยวชาญเกิดขึ้นมากมาย โดยไม่จำเป็นที่จะต้องทำงานสังกัดองค์กรสื่อสารมวลชนหรือมีประสบการณ์ด้านสื่อสารมวลชนโดยตรง
ฟังแล้วมันตลกไหมครับ อ้างว่าเพราะภูมิทัศน์ของสื่อมันเปลี่ยนไป ดังนั้น คนที่ผ่านงานด้านรณรงค์เพื่อต่อต้านเหล้าบุหรี่จึงมีคุณสมบัติมีความรู้ความเข้าใจ และมีความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ในกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ หรือการสื่อสารมวลชน
แต่วันนี้แม้กฤษดาจะลาออกแล้วก็ยังคงทิ้งคำถามว่าใช้เงินขององค์กรผิดวัตถุประสงค์หรือไม่ ซึ่งคงต้องทำเรื่องนี้ให้กระจ่างหลังจากเคยถูกตั้งคำถามเดียวกันตอนเป็นผู้จัดการ สสส.มาแล้ว
ติดตามผู้เขียนได้ที่ https://www.facebook.com/surawich.verawan