นายกรัฐมนตรี เผยให้เจ้าหน้าที่สอบไทยพีบีเอสซื้อหุ้นกู้ บ.เจริญโภคภัณฑ์อาหารแล้ว บอกไม่มีอำนาจชี้ผิดถูกส่งเดช "วิษณุ" รับไม่รู้จึงตอบไม่ได้ในระเบียบทำได้หรือไม่ จ่อทำหนังสือถาม แต่ชี้ซื้อหุ้นไม่ต้องรายงานรัฐ ด้านไทยพีบีเอส สุดต้านแรงกดดันทางสังคม ยอมยุติการลงทุนซื้อหุ้นกู้ ซีพีเอฟ" ขณะที่ "กฤษดา" ยื่นหนังสือลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบแล้ว
วานนี้ (15 มี.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 11.30 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีที่องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือ ไทยพีบีเอส ซื้อตราสารหนี้ (หุ้นกู้) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ว่า กรณีดังกล่าวได้ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเขาตรวจสอบอยู่ ไม่ใช่นายกฯ จะต้องทำเอง หรือชี้ผิดถูกใครส่งเดชได้
ด้าน นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ทราบรายละเอียดเรื่องนี้ จึงตอบไม่ได้ว่าในระเบียบของทีวีสาธารณะ สามารถที่นำงบประมาณที่รัฐให้ไปซื้อหุ้นเอกชนได้หรือไม่ แต่จะทำหนังสือถามไปยังสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสในเร็ววันนี้เพื่อสอบถาม ทั้งนี้ ตนทำหน้าที่กำกับนโยบาย แต่ไม่ได้ดูในรายละเอียด และไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยว เพราะไทยทีบีเอสถือเป็นอิสระ และการซื้อหุ้นกู้ของไทยพีบีเอสก็ไม่ต้องรายงานต่อรัฐบาล เพราะถือเป็นการปฏิบัติตามปกติ
ไทยพีบีเอส ยุติลงทุนซื้อหุ้นกู้ "ซีพีเอฟ"
*** ไทยพีบีเอสยุติการซื้อหุ้นกู้ "ซีพีเอฟ"
วันเดียวกันนี้ เว็บไซต์ไทยพีบีเอส ได้เผยแพร่คำแถลงการณ์ขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือ ไทยพีบีเอส กรณีซื้อตราสารหนี้ (หุ้นกู้) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ว่า จากกรณีที่มีการแสดงความคิดเห็นจากสังคม ถึงการบริหารสินทรัพย์สภาพคล่องของ ส.ส.ท. ด้วยการนำสินทรัพย์สภาพคล่อง (รายได้ที่ยังไม่ถึงกำหนดใช้จ่าย) ไปซื้อตราสารหนี้ เพื่อทำให้สินทรัพย์สภาพคล่องนั้นสร้างรายได้และถูกนำไปพัฒนาองค์กร ซึ่งกรณีนี้มีผู้ชมผู้ฟังส่วนหนึ่ง ได้ตั้งข้อสังเกตถึงความเหมาะสมของการลงทุนดังกล่าว และกังวลว่าจะกระทบความเป็นอิสระในการทำหน้าที่สื่อสาธารณะ
ทั้งนี้ ผู้บริหาร ส.ส.ท. ขอขอบคุณในทุกข้อคิดความเห็นจากทุกภาคส่วน และรู้สึกเสียใจ ขออภัยที่สร้างความกังวลใจให้กับประชาชนที่ติดตามไทยพีบีเอสมาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม ผู้บริหาร ส.ส.ท ขอเรียนชี้แจงว่า การบริหารสินทรัพย์สภาพคล่องมีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อให้การบริหารเงินรายได้ที่รอถึงกำหนดจ่าย มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะมากที่สุด ภายใต้กรอบที่กฎหมายกำหนด โดยมีการจัดการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน เป็นเงื่อนไขกำกับการลงทุน คือ ลงทุนในตราสารหนี้ที่มีการจัดอันดับเครดิตในระดับ A (จัดอันดับโดย TRIS) ซึ่งหมายถึงตราสารที่มีความเสี่ยงในระดับต่ำ มีความสามารถในการชำระดอกเบี้ยและคืนเงินต้นในเกณฑ์สูง
โดยคำชี้แจงดังกล่าวระบุอีกว่า กลไกการบริหารสินทรัพย์สภาพคล่อง ระเบียบ ส.ส.ท.กำหนดให้คณะกรรมการบริหารมีหน้าที่จัดทำกรอบนโยบายลงทุนเสนอให้คณะกรรมการนโยบายอนุมัติในทุกปีงบประมาณ โดยเสนอขออนุมัติพร้อมกับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ เมื่อผ่านความเห็นชอบแล้ว ฝ่ายบริหารจึงดำเนินการบริหารจัดการในรูปแบบต่าง ๆ ภายใต้กรอบที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งเงินฝากในสถาบันการเงิน ตราสารหนี้ (พันธบัตรและหุ้นกู้)
สำหรับการบริหารสินทรัพย์สภาพคล่องในปีงบประมาณ 2560 ก็ดำเนินการตามกรอบนโยบายลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการนโยบาย และการตัดสินใจเลือกลงทุนในตราสารหนี้บริษัทใดบริษัทหนึ่งนั้น ฝ่ายบริหารจะมีการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษาทางการเงิน โดยลงทุนในตราสารหนี้เท่านั้น ไม่มีนโยบายลงทุนในหุ้นสามัญหรือตราสารทุนประเภทอื่นๆ อย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุผลการบริหารความเสี่ยงทางการเงินที่ต่ำกว่า และบริหารจัดการสภาพคล่องได้ดีกว่า
อย่างไรก็ตาม เพื่อยืนยันในหลักการของสื่อสาธารณะ ที่ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างรอบด้าน เสียงวิพากษ์วิจารณ์และข้อคิดความเห็นต่าง ๆ ต่อการบริหารสินทรัพย์สภาพคล่องของส.ส.ท. จึงเป็นสิ่งที่ฝ่ายบริหาร ส.ส.ท ตระหนัก และเล็งเห็นว่าจำเป็นต้องมีการพิจารณาทบทวนกรอบนโยบายลงทุน รวมทั้งการยุติการลงทุนในตราสารหนี้บางบริษัทที่อาจจะส่งผลให้ภาคประชาชนและสังคมโดยรวมเกิดข้อสงสัยและความคลางแคลงใจ โดยจะมีการนำเสนอให้คณะกรรมการนโยบาย ส.ส.ท. พิจารณาโดยเร็วที่สุด
***“กฤษดา”ไขก๊อก พ้นเก้าอี้ ผอ.ไทยพีบีเอส
รายงานข่าวแจ้งว่า นายกฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือ ไทยพีบีเอส ได้ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อกรณีการซื้อตราสารหนี้ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ โดยคณะผู้บริหาร ส.ส.ท. ได้เห็นชอบดังกล่าว มีผลให้ตำแหน่งรองผู้อำนวยการหมดสภาพตามไปด้วย
วานนี้ (15 มี.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 11.30 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีที่องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือ ไทยพีบีเอส ซื้อตราสารหนี้ (หุ้นกู้) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ว่า กรณีดังกล่าวได้ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเขาตรวจสอบอยู่ ไม่ใช่นายกฯ จะต้องทำเอง หรือชี้ผิดถูกใครส่งเดชได้
ด้าน นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ทราบรายละเอียดเรื่องนี้ จึงตอบไม่ได้ว่าในระเบียบของทีวีสาธารณะ สามารถที่นำงบประมาณที่รัฐให้ไปซื้อหุ้นเอกชนได้หรือไม่ แต่จะทำหนังสือถามไปยังสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสในเร็ววันนี้เพื่อสอบถาม ทั้งนี้ ตนทำหน้าที่กำกับนโยบาย แต่ไม่ได้ดูในรายละเอียด และไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยว เพราะไทยทีบีเอสถือเป็นอิสระ และการซื้อหุ้นกู้ของไทยพีบีเอสก็ไม่ต้องรายงานต่อรัฐบาล เพราะถือเป็นการปฏิบัติตามปกติ
ไทยพีบีเอส ยุติลงทุนซื้อหุ้นกู้ "ซีพีเอฟ"
*** ไทยพีบีเอสยุติการซื้อหุ้นกู้ "ซีพีเอฟ"
วันเดียวกันนี้ เว็บไซต์ไทยพีบีเอส ได้เผยแพร่คำแถลงการณ์ขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือ ไทยพีบีเอส กรณีซื้อตราสารหนี้ (หุ้นกู้) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ว่า จากกรณีที่มีการแสดงความคิดเห็นจากสังคม ถึงการบริหารสินทรัพย์สภาพคล่องของ ส.ส.ท. ด้วยการนำสินทรัพย์สภาพคล่อง (รายได้ที่ยังไม่ถึงกำหนดใช้จ่าย) ไปซื้อตราสารหนี้ เพื่อทำให้สินทรัพย์สภาพคล่องนั้นสร้างรายได้และถูกนำไปพัฒนาองค์กร ซึ่งกรณีนี้มีผู้ชมผู้ฟังส่วนหนึ่ง ได้ตั้งข้อสังเกตถึงความเหมาะสมของการลงทุนดังกล่าว และกังวลว่าจะกระทบความเป็นอิสระในการทำหน้าที่สื่อสาธารณะ
ทั้งนี้ ผู้บริหาร ส.ส.ท. ขอขอบคุณในทุกข้อคิดความเห็นจากทุกภาคส่วน และรู้สึกเสียใจ ขออภัยที่สร้างความกังวลใจให้กับประชาชนที่ติดตามไทยพีบีเอสมาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม ผู้บริหาร ส.ส.ท ขอเรียนชี้แจงว่า การบริหารสินทรัพย์สภาพคล่องมีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อให้การบริหารเงินรายได้ที่รอถึงกำหนดจ่าย มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะมากที่สุด ภายใต้กรอบที่กฎหมายกำหนด โดยมีการจัดการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน เป็นเงื่อนไขกำกับการลงทุน คือ ลงทุนในตราสารหนี้ที่มีการจัดอันดับเครดิตในระดับ A (จัดอันดับโดย TRIS) ซึ่งหมายถึงตราสารที่มีความเสี่ยงในระดับต่ำ มีความสามารถในการชำระดอกเบี้ยและคืนเงินต้นในเกณฑ์สูง
โดยคำชี้แจงดังกล่าวระบุอีกว่า กลไกการบริหารสินทรัพย์สภาพคล่อง ระเบียบ ส.ส.ท.กำหนดให้คณะกรรมการบริหารมีหน้าที่จัดทำกรอบนโยบายลงทุนเสนอให้คณะกรรมการนโยบายอนุมัติในทุกปีงบประมาณ โดยเสนอขออนุมัติพร้อมกับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ เมื่อผ่านความเห็นชอบแล้ว ฝ่ายบริหารจึงดำเนินการบริหารจัดการในรูปแบบต่าง ๆ ภายใต้กรอบที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งเงินฝากในสถาบันการเงิน ตราสารหนี้ (พันธบัตรและหุ้นกู้)
สำหรับการบริหารสินทรัพย์สภาพคล่องในปีงบประมาณ 2560 ก็ดำเนินการตามกรอบนโยบายลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการนโยบาย และการตัดสินใจเลือกลงทุนในตราสารหนี้บริษัทใดบริษัทหนึ่งนั้น ฝ่ายบริหารจะมีการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษาทางการเงิน โดยลงทุนในตราสารหนี้เท่านั้น ไม่มีนโยบายลงทุนในหุ้นสามัญหรือตราสารทุนประเภทอื่นๆ อย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุผลการบริหารความเสี่ยงทางการเงินที่ต่ำกว่า และบริหารจัดการสภาพคล่องได้ดีกว่า
อย่างไรก็ตาม เพื่อยืนยันในหลักการของสื่อสาธารณะ ที่ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างรอบด้าน เสียงวิพากษ์วิจารณ์และข้อคิดความเห็นต่าง ๆ ต่อการบริหารสินทรัพย์สภาพคล่องของส.ส.ท. จึงเป็นสิ่งที่ฝ่ายบริหาร ส.ส.ท ตระหนัก และเล็งเห็นว่าจำเป็นต้องมีการพิจารณาทบทวนกรอบนโยบายลงทุน รวมทั้งการยุติการลงทุนในตราสารหนี้บางบริษัทที่อาจจะส่งผลให้ภาคประชาชนและสังคมโดยรวมเกิดข้อสงสัยและความคลางแคลงใจ โดยจะมีการนำเสนอให้คณะกรรมการนโยบาย ส.ส.ท. พิจารณาโดยเร็วที่สุด
***“กฤษดา”ไขก๊อก พ้นเก้าอี้ ผอ.ไทยพีบีเอส
รายงานข่าวแจ้งว่า นายกฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือ ไทยพีบีเอส ได้ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อกรณีการซื้อตราสารหนี้ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ โดยคณะผู้บริหาร ส.ส.ท. ได้เห็นชอบดังกล่าว มีผลให้ตำแหน่งรองผู้อำนวยการหมดสภาพตามไปด้วย