คลังเดินหน้าลุยอีเพย์เมนต์ ตั้ง 7 แบงก์ติดตั้งเครื่องรูดบัตรเดบิต 5.6 แสนเครื่องทั่วประเทศให้เสร็จภายในไตรมาสแรกปี 61 หวังช่วยลดต้นทุนการชำระเงินของประเทศ และเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์จ่ายค่าสินค้าและบริการแทนเงินสด ระบุค่าธรรมเนียมการใช้บัตร 0.55% ถูกที่สุดในโลก ด้านแบงก์พาณิชย์มั่นใจติดตั้งเครื่องได้ครบตามกำหนดแน่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้้ (13 มี.ค.) ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงการให้บริการวางอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment) ระหว่างคณะอนุกรรมการคัดเลือกและกำกับดูแลผู้ให้บริการวางอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ และผู้มีสิทธิ์ให้บริการวางอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDC) จำนวน 2 ราย ได้แก่ กลุ่ม Consortium ประกอบด้วย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) และกลุ่มกิจการค้าร่วมโครงการอีเพเม้นท์ ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เปิดเผยว่า โครงการการติดตั้งอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อีดีซี) ถือเป็นโครงการอีเพย์เมนต์ระยะ 2 หลังจากเริ่มระยะแรกในระบบพร้อมเพย์ โดยการติดตั้งเครื่องอีดีซี เริ่มในเดือนมี.ค.นี้ รวม 5.6 แสนเครื่อง แบ่งเป็นการติดตั้งในส่วนราชการ 1.8 หมื่นเครื่อง ที่เหลือติดตั้งตามร้านค้าทั่วไป โดยลดค่าธรรมเนียมในการรูดบัตรธนาคารเก็บจากร้านค้าเหลือเพียง 0.55% ถือว่าถูกที่สุดในโลก จากปกติในการรูดบัตรร้านค้าต้องเสียค่าธรรมเนียมให้ธนาคาร 1.5-2.5%
"แนวคิดหลักในการพัฒนารูปแบบการชำระเงินของประเทศไปสู่อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อจะลดรูปแบบการชำระแบบเงินสดลง ซึ่งจะประหยัดต้นทุนของประเทศ อีกทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เคยฝันถึงเรื่องดังกล่าวนี้ มาเป็นเวลาหลาย 10 ปีมาแล้ว แต่ยังไม่สามารถผลักดันได้ เนื่องจากจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน โดยในครั้งนี้ กระทรวงการคลังได้รับเป็นเจ้าภาพและให้ ธปท. เป็นผู้ดำเนินการจนทำให้ทุกอย่างเดินมาได้ถึงขนาดนี้"นายอภิศักดิ์กล่าว
นายอภิศักดิ์กล่าวว่า รัฐบาลมีแผนกระตุ้นการใช้บัตรและชำระเงินด้วยเครื่องอีดีซี โดยจัดแคมเปญแจกรางวัลให้ผู้ใช้และร้านค้ามีสิทธิลุ้นโชคจากการชำระเงินผ่านเครื่องอีดีซีและตู้เอทีเอ็ม เป็นเวลา 1 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนมิ.ย.2560 เป็นรางวัลมูลค่าเดือนละ 7 ล้านบาท รวมมูลค่ารางวัลเป็นเงิน 84 ล้านบาท
นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การลงนามในครั้งนี้ ถือเป็นการวางโครงสร้างพื้นฐานรองรับการชำระเงิน โดยการใช้บัตร (Card Payment) ซึ่งมีเป้าหมายกระจายอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ร้านค้าและหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศรวม 5.6 แสนเครื่องให้เสร็จภายในไตรมาส 1 ของปี 2561 โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะต้องดำเนินการติดตั้งเครื่องอีซีดีของส่วนราชการจำนวน 1.8 หมื่นเครื่องให้เสร็จสิ้นภายในเดือนก.ย.2560
ด้านนายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL กล่าวว่า ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกสิกรไทยในฐานะกลุ่ม "กิจการค้าร่วมโครงการอีเพเม้นต์" ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการติดตั้งเครืองอีดีซี จำนวน 5.5 แสนเครื่องแก่ผู้ประกอบการ ซึ่งจากฐานร้านค้ารับบัตรเครดิตเดิมของทั้ง 2 ธนาคารที่มีส่วนแบ่งตลาดถึง 70% จะช่วยให้การดำเนินโครงการวางอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์สำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยใช้เครือข่ายสาขาของธนาคารเข้ามาช่วยในการกระจายไปสู่ร้านค้า
นายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK กล่าวว่า ธนาคารไม่ได้มีการกำหนดเป้าหมายตายตัวของแต่ละแห่ง แต่จะร่วมมือกันทำ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งจะมีการดูในรายละเอียดเป็นช่วงๆ ส่วนเรื่องของเพดานค่าธรรมเนียมการรับบัตร (Merchant Discount Rate : MDR) ที่สูงสุดไม่เกิน 0.55% จะมีการแข่งขันกันหรือไม่นั้น ก็คงต้องรอดูสถานการณ์สักระยะหนึ่งก่อน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้้ (13 มี.ค.) ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงการให้บริการวางอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment) ระหว่างคณะอนุกรรมการคัดเลือกและกำกับดูแลผู้ให้บริการวางอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ และผู้มีสิทธิ์ให้บริการวางอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDC) จำนวน 2 ราย ได้แก่ กลุ่ม Consortium ประกอบด้วย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) และกลุ่มกิจการค้าร่วมโครงการอีเพเม้นท์ ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เปิดเผยว่า โครงการการติดตั้งอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อีดีซี) ถือเป็นโครงการอีเพย์เมนต์ระยะ 2 หลังจากเริ่มระยะแรกในระบบพร้อมเพย์ โดยการติดตั้งเครื่องอีดีซี เริ่มในเดือนมี.ค.นี้ รวม 5.6 แสนเครื่อง แบ่งเป็นการติดตั้งในส่วนราชการ 1.8 หมื่นเครื่อง ที่เหลือติดตั้งตามร้านค้าทั่วไป โดยลดค่าธรรมเนียมในการรูดบัตรธนาคารเก็บจากร้านค้าเหลือเพียง 0.55% ถือว่าถูกที่สุดในโลก จากปกติในการรูดบัตรร้านค้าต้องเสียค่าธรรมเนียมให้ธนาคาร 1.5-2.5%
"แนวคิดหลักในการพัฒนารูปแบบการชำระเงินของประเทศไปสู่อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อจะลดรูปแบบการชำระแบบเงินสดลง ซึ่งจะประหยัดต้นทุนของประเทศ อีกทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เคยฝันถึงเรื่องดังกล่าวนี้ มาเป็นเวลาหลาย 10 ปีมาแล้ว แต่ยังไม่สามารถผลักดันได้ เนื่องจากจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน โดยในครั้งนี้ กระทรวงการคลังได้รับเป็นเจ้าภาพและให้ ธปท. เป็นผู้ดำเนินการจนทำให้ทุกอย่างเดินมาได้ถึงขนาดนี้"นายอภิศักดิ์กล่าว
นายอภิศักดิ์กล่าวว่า รัฐบาลมีแผนกระตุ้นการใช้บัตรและชำระเงินด้วยเครื่องอีดีซี โดยจัดแคมเปญแจกรางวัลให้ผู้ใช้และร้านค้ามีสิทธิลุ้นโชคจากการชำระเงินผ่านเครื่องอีดีซีและตู้เอทีเอ็ม เป็นเวลา 1 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนมิ.ย.2560 เป็นรางวัลมูลค่าเดือนละ 7 ล้านบาท รวมมูลค่ารางวัลเป็นเงิน 84 ล้านบาท
นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การลงนามในครั้งนี้ ถือเป็นการวางโครงสร้างพื้นฐานรองรับการชำระเงิน โดยการใช้บัตร (Card Payment) ซึ่งมีเป้าหมายกระจายอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ร้านค้าและหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศรวม 5.6 แสนเครื่องให้เสร็จภายในไตรมาส 1 ของปี 2561 โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะต้องดำเนินการติดตั้งเครื่องอีซีดีของส่วนราชการจำนวน 1.8 หมื่นเครื่องให้เสร็จสิ้นภายในเดือนก.ย.2560
ด้านนายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL กล่าวว่า ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกสิกรไทยในฐานะกลุ่ม "กิจการค้าร่วมโครงการอีเพเม้นต์" ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการติดตั้งเครืองอีดีซี จำนวน 5.5 แสนเครื่องแก่ผู้ประกอบการ ซึ่งจากฐานร้านค้ารับบัตรเครดิตเดิมของทั้ง 2 ธนาคารที่มีส่วนแบ่งตลาดถึง 70% จะช่วยให้การดำเนินโครงการวางอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์สำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยใช้เครือข่ายสาขาของธนาคารเข้ามาช่วยในการกระจายไปสู่ร้านค้า
นายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK กล่าวว่า ธนาคารไม่ได้มีการกำหนดเป้าหมายตายตัวของแต่ละแห่ง แต่จะร่วมมือกันทำ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งจะมีการดูในรายละเอียดเป็นช่วงๆ ส่วนเรื่องของเพดานค่าธรรมเนียมการรับบัตร (Merchant Discount Rate : MDR) ที่สูงสุดไม่เกิน 0.55% จะมีการแข่งขันกันหรือไม่นั้น ก็คงต้องรอดูสถานการณ์สักระยะหนึ่งก่อน