ผู้จัดการรายวัน 360 - ม.รังสิต เตรียมเปิดโรงพยาบาลอาร์เอสยูอินเตอร์เนชั่นแนล บนพื้นที่ 11 ไร่ ในย่านศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพฯ มุ่งเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์มาตรฐานระดับสากล ผสานแพทย์แผนตะวันตก-ตะวันออกครบวงจร ใช้เงินลงทุน 1.3-1.4 หมื่นล้านบาท คาดเสร็จปี 63
ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยรังสิต มีแผนลงทุนก่อสร้างโรงพยาบาลอาร์เอสยูอินเตอร์เนชั่นแนล บนพื้นที่ 11 ไร่ ในย่านธุรกิจบนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ ภายในปี 2563 มูลค่าโครงการรวมประมาณ 1.3-1.4 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนเฟสแรก 9 พันล้านบาท เป็นเงินลงทุน 3 พันล้านบาท เป็นเงินกู้ 6 พันล้านบาท ส่วนเฟส 2 ใช้การลงทุนประมาณ 4-5 พันล้านบาท
แนวคิดในการสร้างโรงพยาบาลแห่งนี้ โรงพยาบาลที่ไม่เหมือนโรงพยาบาล เปลี่ยนความเจ็บป่วย สิ้นหวังและสลดหดหู่ เป็นการอยู่กับธรรมชาติในสถานที่สวยงาม โดยกำหนดให้มีพื้นที่สีเขียว ร้อยละ 35 เป็นสถานบริการด้านสุขภาพที่คนมาแล้วมีความสุข ในลักษณะ The most humanized medical care เน้นความเป็นมนุษย์ เอาใจใส่ และเอื้ออาทร
แนวคิดที่สองคือ โรงพยาบาลที่มีศูนย์การแพทย์ขั้นสูงครบวงจรให้บริการเบ็ดเสร็จภายในศูนย์ฯ นั้นๆ ถือเป็นแนวคิดใหม่ในการรักษาพยาบาลในอนาคต แนวคิดที่สามคือ เป็นโรงพยาบาลที่มีองค์ความรู้ทั้งการแพทย์แผนตะวันตกและการแพทย์แผนตะวันออก โดยเฉพาะ Oriental Medicine มีทั้งแพทย์แผนไทย แผนจีน และแผนอินเดีย เน้นเรื่องการปรับสมดุลของร่างกายบนหลักการที่ว่า ถ้าร่างกายสมดุลก็จะจัดการกับโรคภัยไข้เจ็บได้เอง
“ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่เรียกว่า World Class, State of the Arts ซึ่งจะเป็นที่ๆ ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมีความสะดวกที่สุดทางวิชาการ ขณะเดียวกันผู้ที่จะมารับบริการก็ต้องสะดวกที่สุดเช่นกัน นั่นคือโรงพยาบาลในฝันที่เราเริ่มต้นคิดด้วยการบูรณาการทุกด้านไปพร้อมกัน เริ่มด้วยแนวของ JCI เป็นมาตรฐาน ได้บูรณาการการออกแบบโดยนำระบบทุกระบบมาคิดร่วมกัน ซึ่งการออกแบบได้ผ่านขั้นตอนการดำเนินงานผ่าน EIA เรียบร้อยแล้ว โดยได้รับใบอนุญาตก่อสร้างและได้รับความร่วมมือจากคณะแพทย์มากมายเป็นอย่างยิ่ง จึงมีความภูมิใจว่าโรงพยาบาลในระดับอินเตอร์เนชันแนลนี้ไม่ได้ทำเพื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในประเทศไทย แต่ทำเพื่อประเทศไทยเป็นส่วนรวมซึ่งเป็นที่มาของการทำโรงพยาบาลระดับนานาชาติครั้งนี้”
ดร.อาทิตย์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของบุคลากรทางการแพทย์จะให้ความสำคัญกับทีมแพทย์ชาวไทยที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เพื่อรองรับการให้บริการทางการแพทย์กับลูกค้าจากทั่วโลก โดยวางเป้าหมายรองรับลูกค้าชาวไทยร้อยละ 50 ชาวต่างชาติร้อยละ 50 ทั้งกลุ่มผู้ป่วยและนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพทั้งจากตะวันออกกลาง ญี่ปุ่น อาเซียน และกลุ่ม Expat โดยในเฟสแรกจะรองรับผู้ป่วยใน 345 เตียง รวม ICU และ CCU และผู้ป่วยนอก 2 พันคนต่อวัน ส่วนเฟสสองจะเพิ่มการรองรับผู้ป่วยในอีก 240 เตียง
“ประเทศไทยได้รับการยอมรับถึงศักยภาพในด้านการแพทย์ ทั้งในด้านความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การวิจัยทางการแพทย์ และการมีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความสามารถในอันดับต้นๆ ของโลก ทำให้ความต้องการบุคลากรทางการแพทย์ของไทยและความต้องการในการเดินทางเข้ามารักษาพยาบาลในประเทศไทยจากผู้ป่วยชาวต่างชาติมีมากขึ้นทุกปี จึงเป็นที่มาของการก่อตั้งโรงพยาบาลแห่งนี้” ดร.อาทิตย์ กล่าวในที่สุด
ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยรังสิต มีแผนลงทุนก่อสร้างโรงพยาบาลอาร์เอสยูอินเตอร์เนชั่นแนล บนพื้นที่ 11 ไร่ ในย่านธุรกิจบนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ ภายในปี 2563 มูลค่าโครงการรวมประมาณ 1.3-1.4 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนเฟสแรก 9 พันล้านบาท เป็นเงินลงทุน 3 พันล้านบาท เป็นเงินกู้ 6 พันล้านบาท ส่วนเฟส 2 ใช้การลงทุนประมาณ 4-5 พันล้านบาท
แนวคิดในการสร้างโรงพยาบาลแห่งนี้ โรงพยาบาลที่ไม่เหมือนโรงพยาบาล เปลี่ยนความเจ็บป่วย สิ้นหวังและสลดหดหู่ เป็นการอยู่กับธรรมชาติในสถานที่สวยงาม โดยกำหนดให้มีพื้นที่สีเขียว ร้อยละ 35 เป็นสถานบริการด้านสุขภาพที่คนมาแล้วมีความสุข ในลักษณะ The most humanized medical care เน้นความเป็นมนุษย์ เอาใจใส่ และเอื้ออาทร
แนวคิดที่สองคือ โรงพยาบาลที่มีศูนย์การแพทย์ขั้นสูงครบวงจรให้บริการเบ็ดเสร็จภายในศูนย์ฯ นั้นๆ ถือเป็นแนวคิดใหม่ในการรักษาพยาบาลในอนาคต แนวคิดที่สามคือ เป็นโรงพยาบาลที่มีองค์ความรู้ทั้งการแพทย์แผนตะวันตกและการแพทย์แผนตะวันออก โดยเฉพาะ Oriental Medicine มีทั้งแพทย์แผนไทย แผนจีน และแผนอินเดีย เน้นเรื่องการปรับสมดุลของร่างกายบนหลักการที่ว่า ถ้าร่างกายสมดุลก็จะจัดการกับโรคภัยไข้เจ็บได้เอง
“ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่เรียกว่า World Class, State of the Arts ซึ่งจะเป็นที่ๆ ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมีความสะดวกที่สุดทางวิชาการ ขณะเดียวกันผู้ที่จะมารับบริการก็ต้องสะดวกที่สุดเช่นกัน นั่นคือโรงพยาบาลในฝันที่เราเริ่มต้นคิดด้วยการบูรณาการทุกด้านไปพร้อมกัน เริ่มด้วยแนวของ JCI เป็นมาตรฐาน ได้บูรณาการการออกแบบโดยนำระบบทุกระบบมาคิดร่วมกัน ซึ่งการออกแบบได้ผ่านขั้นตอนการดำเนินงานผ่าน EIA เรียบร้อยแล้ว โดยได้รับใบอนุญาตก่อสร้างและได้รับความร่วมมือจากคณะแพทย์มากมายเป็นอย่างยิ่ง จึงมีความภูมิใจว่าโรงพยาบาลในระดับอินเตอร์เนชันแนลนี้ไม่ได้ทำเพื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในประเทศไทย แต่ทำเพื่อประเทศไทยเป็นส่วนรวมซึ่งเป็นที่มาของการทำโรงพยาบาลระดับนานาชาติครั้งนี้”
ดร.อาทิตย์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของบุคลากรทางการแพทย์จะให้ความสำคัญกับทีมแพทย์ชาวไทยที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เพื่อรองรับการให้บริการทางการแพทย์กับลูกค้าจากทั่วโลก โดยวางเป้าหมายรองรับลูกค้าชาวไทยร้อยละ 50 ชาวต่างชาติร้อยละ 50 ทั้งกลุ่มผู้ป่วยและนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพทั้งจากตะวันออกกลาง ญี่ปุ่น อาเซียน และกลุ่ม Expat โดยในเฟสแรกจะรองรับผู้ป่วยใน 345 เตียง รวม ICU และ CCU และผู้ป่วยนอก 2 พันคนต่อวัน ส่วนเฟสสองจะเพิ่มการรองรับผู้ป่วยในอีก 240 เตียง
“ประเทศไทยได้รับการยอมรับถึงศักยภาพในด้านการแพทย์ ทั้งในด้านความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การวิจัยทางการแพทย์ และการมีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความสามารถในอันดับต้นๆ ของโลก ทำให้ความต้องการบุคลากรทางการแพทย์ของไทยและความต้องการในการเดินทางเข้ามารักษาพยาบาลในประเทศไทยจากผู้ป่วยชาวต่างชาติมีมากขึ้นทุกปี จึงเป็นที่มาของการก่อตั้งโรงพยาบาลแห่งนี้” ดร.อาทิตย์ กล่าวในที่สุด