เต่าออมสิน"ได้รับการผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว เจอเหรียญในท้องเกือบ 1 พันเหรียญ หนักกว่า 5 กิโล มีทั้งเหรียญไทยและต่างประเทศ คณะสัตว์แพทยศาสตร์ จุฬาฯ เผยต้องรักษาอาการสารพิษโลหะที่สะสมที่ตับและกระแสเลือดต่อ หลังพบกรดในกระเพาะกัดเหรียญ คาดใช้เวลาอีก 1 เดือนถึงจะกลับมาใช้ชีวิตปกติได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ 6 มี.ค.) ทีมแพทย์จากศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ลงมือผ่าตัดช่วยชีวิตเต่าตนุ ชื่อออมสิน ที่กินเหรียญของนักท่องเที่ยวที่โยนไปในบ่อเลี้ยงตามความเชื่อว่าจะทำให้อายุยืนยาว โดยใช้เวลาผ่าตัดนานกว่า 7 ชั่วโมง และในที่สุดก็ประสบความสำเร็จ สามารถดึงเหรียญออกจากกระเพาะเต่าได้มากถึง 915 เหรียญ น้ำหนักรวมกว่า 5 กิโลกรัม (กก.)
ผศ.น.สพ.ภาสกร พฤกษะวัน อาจารย์ระจำภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ เปิดเผยว่า ขั้นตอนการผ่าตัดได้ใช้วิธีการวางยาสลบทั่วตัวเต่า ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่ใช้กับคน และได้ทำการเปิดกระดองส่วนที่เปราะบางที่สุด และทำการเปิดกระเพาะ จากนั้นได้หยิบเหรียญออกทีละ 2-3 เหรียญ พบว่า มีทั้งเหรียญไทยและเหรียญต่างประเทศ โดยเป็นการผ่าตัดเต่ารายแรกที่ใช้เวลามาก และค่อนข้างยาก ใช้ทีมแพทย์กว่า 10 คน ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
ศ.น.สพ.ดร.รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การผ่าตัดช่วยเต่าเพื่อเอาเหรียญออกถือเป็นครั้งแรกของโลก และอยากจะขอความกรุณาคนที่ยังเชื่อว่า เมื่อโยนเหรียญให้เต่า จะเป็นการทำบุญและมีอายุยืน ขอให้คิดใหม่ เพราะการโยนเหรียญลงบ่อ เป็นการทำบาป ทำให้สัตว์ต้องทรมาณ หากจะทำบุญจริงๆ ก็ควรทำตามตู้หยอดที่มีการจัดไว้ให้จะดีกว่า
รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ กล่าวว่า ช่วงที่ได้รับเต่าตัวนี้มาจากศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือสัตหีบ พบว่า ว่ายน้ำเอียงซ้าย และไม่ใช้ขาข้างซ้าย ซึ่งนึกว่าเป็นอัมพาต พอนำไปเอ็กซเรย์ พบว่ามีมวลก้อนใหญ่อยู่ในท้อง แต่ไม่รู้ว่าคืออะไร จึงได้นำมาซีทีสแกน พบว่า เป็นเหรียญ จึงได้ปรึกษาทีมแพทย์และจะทำการช่วยเหลือด้วยการผ่าตัด
ทั้งนี้ ในระหว่างการผ่าตัด เห็นได้ชัดว่า เต่าหายใจได้คล่องขึ้น ซึ่งหลังจากนี้ จะให้อยู่ดูอาการที่คณะสัตวแพทยศาสตร์ก่อน เพื่อรอดูอาการ หากแผลผ่าตัดหายดีแล้ว ก็ต้องมารักษาพิษโลหะ ที่กระเพาะได้ย่อยและถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายเข้าไปสะสมที่ตัดและกระแสเลือดอีก ซึ่งน่าจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ 6 มี.ค.) ทีมแพทย์จากศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ลงมือผ่าตัดช่วยชีวิตเต่าตนุ ชื่อออมสิน ที่กินเหรียญของนักท่องเที่ยวที่โยนไปในบ่อเลี้ยงตามความเชื่อว่าจะทำให้อายุยืนยาว โดยใช้เวลาผ่าตัดนานกว่า 7 ชั่วโมง และในที่สุดก็ประสบความสำเร็จ สามารถดึงเหรียญออกจากกระเพาะเต่าได้มากถึง 915 เหรียญ น้ำหนักรวมกว่า 5 กิโลกรัม (กก.)
ผศ.น.สพ.ภาสกร พฤกษะวัน อาจารย์ระจำภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ เปิดเผยว่า ขั้นตอนการผ่าตัดได้ใช้วิธีการวางยาสลบทั่วตัวเต่า ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่ใช้กับคน และได้ทำการเปิดกระดองส่วนที่เปราะบางที่สุด และทำการเปิดกระเพาะ จากนั้นได้หยิบเหรียญออกทีละ 2-3 เหรียญ พบว่า มีทั้งเหรียญไทยและเหรียญต่างประเทศ โดยเป็นการผ่าตัดเต่ารายแรกที่ใช้เวลามาก และค่อนข้างยาก ใช้ทีมแพทย์กว่า 10 คน ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
ศ.น.สพ.ดร.รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การผ่าตัดช่วยเต่าเพื่อเอาเหรียญออกถือเป็นครั้งแรกของโลก และอยากจะขอความกรุณาคนที่ยังเชื่อว่า เมื่อโยนเหรียญให้เต่า จะเป็นการทำบุญและมีอายุยืน ขอให้คิดใหม่ เพราะการโยนเหรียญลงบ่อ เป็นการทำบาป ทำให้สัตว์ต้องทรมาณ หากจะทำบุญจริงๆ ก็ควรทำตามตู้หยอดที่มีการจัดไว้ให้จะดีกว่า
รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ กล่าวว่า ช่วงที่ได้รับเต่าตัวนี้มาจากศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือสัตหีบ พบว่า ว่ายน้ำเอียงซ้าย และไม่ใช้ขาข้างซ้าย ซึ่งนึกว่าเป็นอัมพาต พอนำไปเอ็กซเรย์ พบว่ามีมวลก้อนใหญ่อยู่ในท้อง แต่ไม่รู้ว่าคืออะไร จึงได้นำมาซีทีสแกน พบว่า เป็นเหรียญ จึงได้ปรึกษาทีมแพทย์และจะทำการช่วยเหลือด้วยการผ่าตัด
ทั้งนี้ ในระหว่างการผ่าตัด เห็นได้ชัดว่า เต่าหายใจได้คล่องขึ้น ซึ่งหลังจากนี้ จะให้อยู่ดูอาการที่คณะสัตวแพทยศาสตร์ก่อน เพื่อรอดูอาการ หากแผลผ่าตัดหายดีแล้ว ก็ต้องมารักษาพิษโลหะ ที่กระเพาะได้ย่อยและถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายเข้าไปสะสมที่ตัดและกระแสเลือดอีก ซึ่งน่าจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน