"วิลาศ"บี้ นายกฯสอบองค์กรอิสระจัดหลักสูตรพิเศษทัวร์นอก ชี้ขัดมติครม. 23 ก.พ.59 เสนอยกเลิกทุกหลักสูตร เหตุสร้างคอนเนกชันแสวงประโยชน์ กระทบการตัดสินคดี แฉปธ.องค์กรอิสระบางแห่งไปตปท.แล้วกว่า 40 ประเทศ แถมมี 2 องค์กร ทำหนังสือถึงภูฏาน ขอให้เชิญไปดูงาน เจอตอกกลับไม่เชิญก็ไปเองอยู่แล้ว ชูศาลปค.สุงสุดเป็นตัวอย่าง สั่งเลิกทุกหลักสูตร ด้านกรธ. เล็งล็อกองค์กรอิสระจัดหลักสูตรอบรม วาง 2 เงื่อนไข "ห้ามใช้งบหลวงดูงานตปท. - ห้ามคนในร่วมวงสร้างเครือข่าย"
นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีต ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เอาจริง และใส่ใจกับการเดินทางไปศึกษาดูงานต่างประเทศ ของหน่วยงานราชการ และองค์กรอิสระ เนื่องจากเคยออกคำสั่ง วันที่ 3 มี.ค.58 ให้งดเว้นการเดินทางไปต่างประเทศของขรก.ทุกหน่วย เพื่อประหยัดงบฯ แต่หลังจากออกคำสั่งไปแล้ว พบว่าบางหน่วยงานอาจจะมีการชะลอไปบ้าง แต่เมื่อถึงเดือนก.ย.ของทุกปี จะมีการนำขรก.ที่จะเกษียณไปดูงาน ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นประโยชน์กับราชการอย่างไร
แต่หน่วยงานที่ไม่ลดลงเลยคือ องค์กรอิสระ จึงอยากให้มีการแก้ไขอย่างจริงจัง ซึ่งตนเห็นว่ามี 2 อย่าง ที่ควรยกเลิกโดยเด็ดขาดคือ หลักสูตรพิเศษขององค์กรอิสระ และหลักสูตรพิเศษที่หน่วยงานต่างๆ จัดอบรม ไม่ควรให้ไปต่างประเทศ เพราะการจัดอบรมหลักสูตรพิเศษก็เพื่อให้มีความรู้ ไม่จำเป็นต้องอบรมเป็นคอร์สเดินทางไปต่างประเทศ เนื่องจากมีการใช้การเดินทางไปต่างประเทศเป็นตัวชูโรง โดยบางหลักสูตรไป 2-3ประเทศ กลายเป็นว่าใช้การไปต่างประเทศ เป็นตัวชักนำ จึงควรห้ามโดยเด็ดขาด โดยอาจให้เขียนในกฎหมายประกอบรธน. ว่าห้ามไม่ให้องค์กรอิสระ จัดหลักสูตรพิเศษ เพราะเป็นองค์กรที่ให้คุณให้โทษ แต่มีหลักสูตรพิเศษมีงานสายสัมพันธ์ ย่อมกระทบต่อคดีความที่ต้องมีการตัดสิน
"มีหน่วยงานเดียวที่เป็นองค์กรอิสระคือ ศาลปกครองสูงสุด ต้องขอบคุณ นายปิยะ ปะตังทา ประธานศาลปค.สูงสุด ที่ปิดหลักสูตรของศาลปค.สูงสุด โดยยืนยันว่า ในยุคที่เป็นประธานจะไม่ให้มีการอบรมหลักสูตรพิเศษ เพราะคงเข้าใจว่าไม่ได้ทำอะไรจริงๆ ผมคิดว่าองค์กรอิสระควรจะอิสระเฉพาะการปฏิบัติหน้าที่ แต่ระเบียบอื่นๆ ควรใช้เหมือนกับหน่วยราชการอื่น ไม่ใช้มีอำนาจโอนงบกันได้เอง จึงฝากไปถึง นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ให้ตรวจสอบว่าองค์กรอิสระไปต่างประเทศอย่างไรบ้าง ผมตรวจสอบพบว่า ไปต่างประเทศบ้าเลือดมาก มี 2 องค์กร เอาช่วงเฉพาะที่คนๆ หนึ่งเป็นประธานไปมาแล้วกว่า 40 ประเทศ บางประเทศเป็นคอมมิวนิสต์ก็ไปดูเกี่ยวกับการเลือกตั้ง บางประเทศไม่มีคณะกรรมการปราบปรามทุจริตก็ไปดู บางประเทศไม่มีศาลรัฐธรรมนูญ ก็ไปดูงานประเทศนั้น" นายวิลาศกล่าว
นายวิลาศ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 59 มีมติครม. ว่าเนื่องจากในปัจจุบันเป็นช่วงเตรียมการเข้าสู่การปฏิรูปประเทศ และมีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาบุคลากรภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงขอให้หน่วยงานของรัฐที่จัดหลักสูตรการฝึกอบรมต่างๆ โดยใช้งบประมาณของทางราชการ ชะลอการรับภาคเอกชน และข้าราชการที่เกษียณอายุไว้ก่อน แต่หลังจากมีมติครม.ไปแล้ว องค์กรอิสระยังคงจัดหลักสูตรเหมือนเดิม โดยมีเอกชนเรียนเพิ่มขึ้นด้วย เพราะเวลาไปต่างประเทศ ก็จะเก็บจากคนเหล่านี้ให้จ่ายเพิ่มขึ้น ส่วนเอกชนก็คิดแต่สร้างเครือข่ายอย่างเดียว จึงอยากให้ไปตรวจสอบ เพราะไม่ได้ปฏิบัติตามมติ ครม. โดยควรบังคับกับองค์กรอิสระด้วย เพราะในขณะนี้องค์กรอิสระใช้วิธีไม่เปิดรายชื่อผู้เรียน จะไปต่างประเทศก็รู้กันเฉพาะกลุ่ม ขณะที่การจัดโปรแกรมใช้วิธีให้ต่างประเทศทำหนังสือเชิญมา
"ที่น่าเกลียดที่สุดคือ 2 องค์กรอิสระ ทำหนังสือถึงประเทศภูฏานให้ทำหนังสือเชิญไปดูงาน เขาตอบมาว่า ไม่ต้องเชิญพวกคุณก็ไปอยู่แล้ว จึงไม่ทราบว่าคนที่ทำหนังสือไปจะละอายบ้างหรือไม่ ตอนนี้แต่ละหน่วยงานพยายามจัดหลักสูตรพิเศษเพิ่มขึ้น ทำให้มีการวิ่งเต้น เพราะข้าราชการเรียนฟรี มีอีเวนต์ มีผลประโยชน์ จึงเพิ่มไปเรื่อย แม้แต่ กทม.ยังมีหลักสูตรมหานคร โดยเฉพาะกระทรวงการคลัง จัดเกือบทุกกรม" นายวิลาศ กล่าว
ด้านนายชาติชาย ณ เชียงใหม่ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึงการพิจารณากฎหมายประกอบรธน. ที่เกี่ยวข้องกับการจัดหลักสูตรอบรมพิเศษขององค์กรอิสระว่า แรกเริ่มกรธ. มีความคิดจะเขียนในกฎหมายลูก ห้ามองค์กรอิสระจัดหลักสูตรอบรมพิเศษ เพื่อลบข้อครหาเรื่องการสร้างคอนเนกชัน และการใช้เงินไปดูงานต่างประเทศ แต่จากการรับฟังความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กกต. ก็ชี้แจงต่อ กรธ.ว่า การดำเนินงานของหน่วยงาน หลายครั้งต้องใช้ความร่วมมือจากหน่วยงาน องค์กรเอกชน และประชาชน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ จึงต้องจัดอบรมเพื่อสร้างความรู้ความใจในงานของตนเอง จะได้มีเพื่อนช่วยทำงานบ้าง จึงทำให้หลักการเบื้องต้นของกรธ. ในตอนนี้ มองว่าการจัดอบรมหลักสูตรพิเศษขององค์กรอิสระ สามารถทำได้ แต่ต้องวางอยู่บนเงื่อนไข 2 ประการ คือ 1. ห้ามนำเงินงบประมาณแผ่นดินที่เป็นเงินอุดหนุนมาใช้ในหลักสูตรหรือการดูงานต่างประเทศ เช่น กกต.ก็ห้ามใช้เงินกองทุนพัฒนาการเมืองไปดูงานตามหลักสูตรอบรมของตัวเอง แต่หากจะเก็บค่าอบรมเองเพื่อใช้ในการดูงานก็สามารถทำได้ 2. ห้ามบุคลากรในองค์กรอิสระไปร่วมเรียน หรืออบรมในหลักสูตรที่ตนจัดตั้งขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดข้อครหา เรื่องการสร้างเครือข่าย
ทั้งนี้ หลักการดังกล่าว กรธ. ยังไม่ได้นำไปเขียนไว้ในกฎหมายลูก แต่ กรธ.จะนำมาพิจารณาอีกครั้ง เมื่อถึงเวลาที่ต้องส่งร่างกฎหมายลูก ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา
นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีต ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เอาจริง และใส่ใจกับการเดินทางไปศึกษาดูงานต่างประเทศ ของหน่วยงานราชการ และองค์กรอิสระ เนื่องจากเคยออกคำสั่ง วันที่ 3 มี.ค.58 ให้งดเว้นการเดินทางไปต่างประเทศของขรก.ทุกหน่วย เพื่อประหยัดงบฯ แต่หลังจากออกคำสั่งไปแล้ว พบว่าบางหน่วยงานอาจจะมีการชะลอไปบ้าง แต่เมื่อถึงเดือนก.ย.ของทุกปี จะมีการนำขรก.ที่จะเกษียณไปดูงาน ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นประโยชน์กับราชการอย่างไร
แต่หน่วยงานที่ไม่ลดลงเลยคือ องค์กรอิสระ จึงอยากให้มีการแก้ไขอย่างจริงจัง ซึ่งตนเห็นว่ามี 2 อย่าง ที่ควรยกเลิกโดยเด็ดขาดคือ หลักสูตรพิเศษขององค์กรอิสระ และหลักสูตรพิเศษที่หน่วยงานต่างๆ จัดอบรม ไม่ควรให้ไปต่างประเทศ เพราะการจัดอบรมหลักสูตรพิเศษก็เพื่อให้มีความรู้ ไม่จำเป็นต้องอบรมเป็นคอร์สเดินทางไปต่างประเทศ เนื่องจากมีการใช้การเดินทางไปต่างประเทศเป็นตัวชูโรง โดยบางหลักสูตรไป 2-3ประเทศ กลายเป็นว่าใช้การไปต่างประเทศ เป็นตัวชักนำ จึงควรห้ามโดยเด็ดขาด โดยอาจให้เขียนในกฎหมายประกอบรธน. ว่าห้ามไม่ให้องค์กรอิสระ จัดหลักสูตรพิเศษ เพราะเป็นองค์กรที่ให้คุณให้โทษ แต่มีหลักสูตรพิเศษมีงานสายสัมพันธ์ ย่อมกระทบต่อคดีความที่ต้องมีการตัดสิน
"มีหน่วยงานเดียวที่เป็นองค์กรอิสระคือ ศาลปกครองสูงสุด ต้องขอบคุณ นายปิยะ ปะตังทา ประธานศาลปค.สูงสุด ที่ปิดหลักสูตรของศาลปค.สูงสุด โดยยืนยันว่า ในยุคที่เป็นประธานจะไม่ให้มีการอบรมหลักสูตรพิเศษ เพราะคงเข้าใจว่าไม่ได้ทำอะไรจริงๆ ผมคิดว่าองค์กรอิสระควรจะอิสระเฉพาะการปฏิบัติหน้าที่ แต่ระเบียบอื่นๆ ควรใช้เหมือนกับหน่วยราชการอื่น ไม่ใช้มีอำนาจโอนงบกันได้เอง จึงฝากไปถึง นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ให้ตรวจสอบว่าองค์กรอิสระไปต่างประเทศอย่างไรบ้าง ผมตรวจสอบพบว่า ไปต่างประเทศบ้าเลือดมาก มี 2 องค์กร เอาช่วงเฉพาะที่คนๆ หนึ่งเป็นประธานไปมาแล้วกว่า 40 ประเทศ บางประเทศเป็นคอมมิวนิสต์ก็ไปดูเกี่ยวกับการเลือกตั้ง บางประเทศไม่มีคณะกรรมการปราบปรามทุจริตก็ไปดู บางประเทศไม่มีศาลรัฐธรรมนูญ ก็ไปดูงานประเทศนั้น" นายวิลาศกล่าว
นายวิลาศ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 59 มีมติครม. ว่าเนื่องจากในปัจจุบันเป็นช่วงเตรียมการเข้าสู่การปฏิรูปประเทศ และมีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาบุคลากรภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงขอให้หน่วยงานของรัฐที่จัดหลักสูตรการฝึกอบรมต่างๆ โดยใช้งบประมาณของทางราชการ ชะลอการรับภาคเอกชน และข้าราชการที่เกษียณอายุไว้ก่อน แต่หลังจากมีมติครม.ไปแล้ว องค์กรอิสระยังคงจัดหลักสูตรเหมือนเดิม โดยมีเอกชนเรียนเพิ่มขึ้นด้วย เพราะเวลาไปต่างประเทศ ก็จะเก็บจากคนเหล่านี้ให้จ่ายเพิ่มขึ้น ส่วนเอกชนก็คิดแต่สร้างเครือข่ายอย่างเดียว จึงอยากให้ไปตรวจสอบ เพราะไม่ได้ปฏิบัติตามมติ ครม. โดยควรบังคับกับองค์กรอิสระด้วย เพราะในขณะนี้องค์กรอิสระใช้วิธีไม่เปิดรายชื่อผู้เรียน จะไปต่างประเทศก็รู้กันเฉพาะกลุ่ม ขณะที่การจัดโปรแกรมใช้วิธีให้ต่างประเทศทำหนังสือเชิญมา
"ที่น่าเกลียดที่สุดคือ 2 องค์กรอิสระ ทำหนังสือถึงประเทศภูฏานให้ทำหนังสือเชิญไปดูงาน เขาตอบมาว่า ไม่ต้องเชิญพวกคุณก็ไปอยู่แล้ว จึงไม่ทราบว่าคนที่ทำหนังสือไปจะละอายบ้างหรือไม่ ตอนนี้แต่ละหน่วยงานพยายามจัดหลักสูตรพิเศษเพิ่มขึ้น ทำให้มีการวิ่งเต้น เพราะข้าราชการเรียนฟรี มีอีเวนต์ มีผลประโยชน์ จึงเพิ่มไปเรื่อย แม้แต่ กทม.ยังมีหลักสูตรมหานคร โดยเฉพาะกระทรวงการคลัง จัดเกือบทุกกรม" นายวิลาศ กล่าว
ด้านนายชาติชาย ณ เชียงใหม่ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึงการพิจารณากฎหมายประกอบรธน. ที่เกี่ยวข้องกับการจัดหลักสูตรอบรมพิเศษขององค์กรอิสระว่า แรกเริ่มกรธ. มีความคิดจะเขียนในกฎหมายลูก ห้ามองค์กรอิสระจัดหลักสูตรอบรมพิเศษ เพื่อลบข้อครหาเรื่องการสร้างคอนเนกชัน และการใช้เงินไปดูงานต่างประเทศ แต่จากการรับฟังความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กกต. ก็ชี้แจงต่อ กรธ.ว่า การดำเนินงานของหน่วยงาน หลายครั้งต้องใช้ความร่วมมือจากหน่วยงาน องค์กรเอกชน และประชาชน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ จึงต้องจัดอบรมเพื่อสร้างความรู้ความใจในงานของตนเอง จะได้มีเพื่อนช่วยทำงานบ้าง จึงทำให้หลักการเบื้องต้นของกรธ. ในตอนนี้ มองว่าการจัดอบรมหลักสูตรพิเศษขององค์กรอิสระ สามารถทำได้ แต่ต้องวางอยู่บนเงื่อนไข 2 ประการ คือ 1. ห้ามนำเงินงบประมาณแผ่นดินที่เป็นเงินอุดหนุนมาใช้ในหลักสูตรหรือการดูงานต่างประเทศ เช่น กกต.ก็ห้ามใช้เงินกองทุนพัฒนาการเมืองไปดูงานตามหลักสูตรอบรมของตัวเอง แต่หากจะเก็บค่าอบรมเองเพื่อใช้ในการดูงานก็สามารถทำได้ 2. ห้ามบุคลากรในองค์กรอิสระไปร่วมเรียน หรืออบรมในหลักสูตรที่ตนจัดตั้งขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดข้อครหา เรื่องการสร้างเครือข่าย
ทั้งนี้ หลักการดังกล่าว กรธ. ยังไม่ได้นำไปเขียนไว้ในกฎหมายลูก แต่ กรธ.จะนำมาพิจารณาอีกครั้ง เมื่อถึงเวลาที่ต้องส่งร่างกฎหมายลูก ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา