กลุ่มทุนที่สนับสนุนโรงไฟฟ้าถ่านหินได้ใช้ความพยายามและเงินจำนวนมากที่จะทำ 2 อย่างพร้อมๆ กันคือ สร้างวาทกรรม “ถ่านหินสะอาด” และใส่ร้ายป้ายสีต่างๆนานากับพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานแสงอาทิตย์ เช่น ไม่มั่นคง มีน้อย และเวลากลางคืนจะเอาไฟฟ้าที่ไหนมาใช้
บทความนี้ผมจะขอแก้ข้อกล่าวหาดังกล่าว พร้อมกับผลงานวิจัยที่จัดทำโดยกระทรวงพลังงานของประเทศไทยเราเอง ซึ่งผมได้กระทำมาเป็นประจำอย่างต่อเนื่องแต่วันนี้จะมาแบบเบาๆ อ่านสบายๆ รับรองว่าเป็นเรื่องที่ก้าวหน้าและทันสมัย ไม่ใช่เรื่องล้าสมัยเหมือนถ่านหินซึ่งเกิดขึ้นในยุคไดโนเสาร์อย่างแน่นอนครับ
ในเรื่องความมั่นคงของพลังงานแสงอาทิตย์ ผมจะไม่ขอพูดมากในประเด็นนี้ แต่ขอยกเอาเนื้อเพลงที่เคยโด่งดังมากๆ คือเพลง “เก็บตะวัน” ของคุณอิทธิ พลางกูร (ชุด “ให้มันแล้วกันไป” 2531)
“ธรรมดาเวลาฟ้าครึ้ม เมฆหม่น พายุฝน อยู่บนฟากฟ้า คงไม่นานตะวัน สาดแสงแรงกล้า ส่งให้ฟ้า งดงาม หากตะวัน ยังเคียงคู่ฟ้า จะมัวมา สิ้นหวังทำไม เมื่อยังมีพรุ่งนี้ ให้เดินเริ่มใหม่ มั่นคงไว้ ดังเช่นตะวัน”
ดังนั้น หากใครใส่ร้ายว่าพลังงานจากแสงอาทิตย์ไม่มีความมั่นคง ผมว่าคนนั้นคงไม่ใช่คนที่ปกติแล้ว
คราวนี้มาถึงเรื่องการ “เก็บตะวัน” หรือการเก็บพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ ประเด็นที่ผมได้นำเสนอมาตลอดก็คือ การแปลงพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยใช้แผ่นโซลาร์เซลล์
ผมได้พูดถึงต้นทุนในการผลิตว่ามันได้ลดลงมาต่ำมากแล้ว เช่น ในช่วง 7 ปีสุดท้าย (2009-2016) ได้ลดลงมา 85% การประมูลพลังงานแสงอาทิตย์ครั้งล่าสุดเมื่อปลายปี 2559 ผู้ชนะการประมูลเสนอขายไฟฟ้าให้รัฐบาลในราคา 2.87 และ 2.76 บาทต่อหน่วยในประเทศเยอรมนีและประเทศจีน ตามลำดับ (จากรายงาน Rethinking Energy 2017 หน้า 34 สามารถดาวน์โหลดได้-โดย IRENA)
แต่รัฐบาลไทยเรารับซื้อจากโซลาร์ฟาร์มในราคา 4.12 บาทต่อหน่วย และไม่รับซื้อจากหลังคาบ้าน (ฮาไม่ออกใช่ไหมครับ!) ในแง่จำนวน ทั้งๆ ที่ประเทศเยอรมนีซึ่งมีแสงแดดน้อยกว่าไทย แต่สามารถผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดได้ประมาณ 4 เท่าของโรงไฟฟ้าถ่านหินบีแอลซีพีขนาด 1,434 เมกะวัตต์ที่น่าเจ็บใจคือราคาถูกกว่าบ้านเราด้วย
แต่ผมยังไม่เคยพูดถึงเทคโนโลยีการเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปของแบตเตอรี่เลย วันนี้แหละครับจะพูดถึงทั้งในแง่ความก้าวหน้าและต้นทุนการเก็บขอเริ่มเลยนะครับ
วันก่อน ผู้ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคจำนวนหนึ่งได้จัดทัวร์ไปประเทศจีน แล้วกลับมาเล่าให้ฟังว่า “ประเทศจีนตอนนี้ไฮเทคมาก การซื้อของในร้านแทบไม่ต้องพกเงินสด แต่จ่ายผ่านโทรศัพท์มือถือ พวกเราไปเช่าจักรยานมาถีบ จ่ายเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ แล้วเขาก็นำจักรยานมาจอดที่จุดนัดหมาย เราใช้รหัสจากมือถือสามารถปลดล็อกจักรยานได้เลย ไม่ต้องใช้คนเฝ้า ค่าเช่าก็ถูกมาก คิดเป็นเงินไทยก็ชั่วโมงละหนึ่งสลึง เดิมทีหนึ่งบาทแต่เพราะการแข่งขันจึงได้ลดลงมา”
ที่เล่ามาแล้วดูเหมือนว่าจะไม่เกี่ยวกับการเก็บตะวัน แต่กระบวนการจัดการเหมือนกันครับ เหมือนกับที่ผมจะเล่าเรื่องการเก็บพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์กับรถยนต์ไฟฟ้าและพลังงานในบ้านอยู่อาศัยด้วย
เราเคยกังวลกันว่า การชาร์จแบตเตอร์รี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าจะทำให้เสียเวลาในการรอชาร์จ ต้องรอกันหลายชั่วโมง แต่มาวันนี้ไม่ใช่แล้วครับ
เราเปลี่ยนแบตเตอรี่เลยครับ ไม่ต้องรอ เหมือนกับการฝากถอนเงินสดจากตู้เอทีเอ็มของธนาคาร เหมือนกับการจัดการเช่าจักรยานในประเทศจีนเปี๊ยบเลยครับ ขนาดของแบตเตอร์รี่ก็พอๆ กับหนังสือเล่มหนึ่ง ถอดออก-ใส่เข้า เหมือนกับเก็บหนังสือเข้าหิ้งอย่างไรก็อย่างนั้น ไม่ต้องขันน๊อต ไม่ต้องใช้สกรูข้อมูลที่ผมนำมาเสนอนี้ ผมดูจากวิดีโอเท่านั้นนะครับ ยังไม่รู้ราคา แต่เนื้อหาบอกว่าแนวคิดดังกล่าวเป็นจริงแล้ว ไม่ต้องรอถึงอนาคต
หน้าแรกของเว็บไซต์นี้เขาพูดถึง “ยุคใหม่ของการกระจายพลังงาน” ซึ่งกล่าวถึงนวัตกรรมของพลังงานหมุนเวียนและแบตเตอร์รี่ (Energy Storage) ผมขอตัดภาพมาให้ดูบางส่วนครับ
ประเด็นสำคัญที่เทคโนโลยีดังกล่าวได้บรรลุ คือการไม่ต้องรอเวลาชาร์จ และความสะดวกในการใช้งานและติดตั้งซึ่งง่ายเหมือนกับการซื้อน้ำขวดในปั๊มน้ำมัน และสามารถนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
คงเหลือประเด็นเดียวคือเรื่องราคาแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (ซึ่งใช้ได้สำหรับบ้านด้วย) เท่าที่ผมติดตามพบว่า นับตั้งแต่ปี 2008 ได้ลดลงมาจาก $1,000 ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ลงมาเหลือ $268 ในปี 2015 บริษัทเทสลาร์ (Tesla) คาดว่าในปี 2020 จะลงมาเหลือ $100 ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง
ผมมีรายงานจากกรมพลังงานของสหรัฐอเมริกามาเสนอด้วย พร้อมกับคิดราคาให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณาประกอบด้วยครับ ผมคิดออกมาแล้วค่าไฟฟ้าเฉลี่ยไม่ถึง 2.50 บาทต่อหน่วยไฟฟ้า (รวมค่าแบตเตอรี่แล้วซึ่งมีอายุการใช้งาน 20 ปี) แต่ทั้งหมดนี้เป็นการคิดอย่างคร่าวๆ เท่านั้นนะครับ ลองดูวิธีคิดในแผ่นภาพครับ
ยังคงเหลือเรื่องเดียวคือ ผลงานวิจัยที่จัดทำโดยกระทรวงพลังงานของประเทศไทยเราเอง โดยได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลประเทศเยอรมนี แต่กระทรวงพลังงานของเรากลับไม่นำผลการศึกษานี้มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในคณะกรรมการไตรภาคีกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่
ผมเองได้ยกรายงานชิ้นนี้ขึ้นพิจารณาในที่ประชุมกรรมการไตรภาคี แต่ก็ไม่ได้รับการพิจารณาใดๆ มิหนำซ้ำนักวิชาการที่ถูกเสนอชื่อโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยยังกล่าวว่า “รัฐบาลเยอรมนีอย่ามาจุ้นจ้าน!”
ผมตัดเอาผลการศึกษามาให้ดูภาพหนึ่งครับ
เขาสรุปว่า จังหวัดน่าน สามารถใช้พลังงานหมุนเวียนได้ 100% ในปี 2036 โดยการใช้พลังงานแบบผสมผสาน เช่น แสงแดด ชีวมวล พลังน้ำขนาดเล็ก และของเสีย รวมทั้งแบตเตอรี่ขนาด 160 Mwh ด้วย
ซึ่งในปี 2036 หรืออีก 19 ปีข้างหน้า ในวันนั้น ผมว่าราคาแบตเตอรี่น่าจะถูกมากๆ แต่เรื่องราวที่ผมได้เล่าทั้งหมดนี้กลับถูกปิดเงียบโดยพวกที่สนับสนุนถ่านหินซึ่งเป็นของตกยุคมาจากยุคไดโนเสาร์ครับ
จึงเป็นหน้าที่ของประชาชนอย่างเราที่จะต้องร่วมมือกันทำให้ความจริงนี้ปรากฏต่อสาธารณชน ทำให้บ้านเมืองของเรางดงาม ดังเพลงเก็บตะวันที่ว่า ...หากตะวัน ยังเคียงคู่ฟ้า จะมัวมา สิ้นหวังทำไม เมื่อยังมีพรุ่งนี้ ให้เดินเริ่มใหม่ มั่นคงไว้ ดังเช่นตะวัน
บทความนี้ผมจะขอแก้ข้อกล่าวหาดังกล่าว พร้อมกับผลงานวิจัยที่จัดทำโดยกระทรวงพลังงานของประเทศไทยเราเอง ซึ่งผมได้กระทำมาเป็นประจำอย่างต่อเนื่องแต่วันนี้จะมาแบบเบาๆ อ่านสบายๆ รับรองว่าเป็นเรื่องที่ก้าวหน้าและทันสมัย ไม่ใช่เรื่องล้าสมัยเหมือนถ่านหินซึ่งเกิดขึ้นในยุคไดโนเสาร์อย่างแน่นอนครับ
ในเรื่องความมั่นคงของพลังงานแสงอาทิตย์ ผมจะไม่ขอพูดมากในประเด็นนี้ แต่ขอยกเอาเนื้อเพลงที่เคยโด่งดังมากๆ คือเพลง “เก็บตะวัน” ของคุณอิทธิ พลางกูร (ชุด “ให้มันแล้วกันไป” 2531)
“ธรรมดาเวลาฟ้าครึ้ม เมฆหม่น พายุฝน อยู่บนฟากฟ้า คงไม่นานตะวัน สาดแสงแรงกล้า ส่งให้ฟ้า งดงาม หากตะวัน ยังเคียงคู่ฟ้า จะมัวมา สิ้นหวังทำไม เมื่อยังมีพรุ่งนี้ ให้เดินเริ่มใหม่ มั่นคงไว้ ดังเช่นตะวัน”
ดังนั้น หากใครใส่ร้ายว่าพลังงานจากแสงอาทิตย์ไม่มีความมั่นคง ผมว่าคนนั้นคงไม่ใช่คนที่ปกติแล้ว
คราวนี้มาถึงเรื่องการ “เก็บตะวัน” หรือการเก็บพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ ประเด็นที่ผมได้นำเสนอมาตลอดก็คือ การแปลงพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยใช้แผ่นโซลาร์เซลล์
ผมได้พูดถึงต้นทุนในการผลิตว่ามันได้ลดลงมาต่ำมากแล้ว เช่น ในช่วง 7 ปีสุดท้าย (2009-2016) ได้ลดลงมา 85% การประมูลพลังงานแสงอาทิตย์ครั้งล่าสุดเมื่อปลายปี 2559 ผู้ชนะการประมูลเสนอขายไฟฟ้าให้รัฐบาลในราคา 2.87 และ 2.76 บาทต่อหน่วยในประเทศเยอรมนีและประเทศจีน ตามลำดับ (จากรายงาน Rethinking Energy 2017 หน้า 34 สามารถดาวน์โหลดได้-โดย IRENA)
แต่รัฐบาลไทยเรารับซื้อจากโซลาร์ฟาร์มในราคา 4.12 บาทต่อหน่วย และไม่รับซื้อจากหลังคาบ้าน (ฮาไม่ออกใช่ไหมครับ!) ในแง่จำนวน ทั้งๆ ที่ประเทศเยอรมนีซึ่งมีแสงแดดน้อยกว่าไทย แต่สามารถผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดได้ประมาณ 4 เท่าของโรงไฟฟ้าถ่านหินบีแอลซีพีขนาด 1,434 เมกะวัตต์ที่น่าเจ็บใจคือราคาถูกกว่าบ้านเราด้วย
แต่ผมยังไม่เคยพูดถึงเทคโนโลยีการเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปของแบตเตอรี่เลย วันนี้แหละครับจะพูดถึงทั้งในแง่ความก้าวหน้าและต้นทุนการเก็บขอเริ่มเลยนะครับ
วันก่อน ผู้ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคจำนวนหนึ่งได้จัดทัวร์ไปประเทศจีน แล้วกลับมาเล่าให้ฟังว่า “ประเทศจีนตอนนี้ไฮเทคมาก การซื้อของในร้านแทบไม่ต้องพกเงินสด แต่จ่ายผ่านโทรศัพท์มือถือ พวกเราไปเช่าจักรยานมาถีบ จ่ายเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ แล้วเขาก็นำจักรยานมาจอดที่จุดนัดหมาย เราใช้รหัสจากมือถือสามารถปลดล็อกจักรยานได้เลย ไม่ต้องใช้คนเฝ้า ค่าเช่าก็ถูกมาก คิดเป็นเงินไทยก็ชั่วโมงละหนึ่งสลึง เดิมทีหนึ่งบาทแต่เพราะการแข่งขันจึงได้ลดลงมา”
ที่เล่ามาแล้วดูเหมือนว่าจะไม่เกี่ยวกับการเก็บตะวัน แต่กระบวนการจัดการเหมือนกันครับ เหมือนกับที่ผมจะเล่าเรื่องการเก็บพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์กับรถยนต์ไฟฟ้าและพลังงานในบ้านอยู่อาศัยด้วย
เราเคยกังวลกันว่า การชาร์จแบตเตอร์รี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าจะทำให้เสียเวลาในการรอชาร์จ ต้องรอกันหลายชั่วโมง แต่มาวันนี้ไม่ใช่แล้วครับ
เราเปลี่ยนแบตเตอรี่เลยครับ ไม่ต้องรอ เหมือนกับการฝากถอนเงินสดจากตู้เอทีเอ็มของธนาคาร เหมือนกับการจัดการเช่าจักรยานในประเทศจีนเปี๊ยบเลยครับ ขนาดของแบตเตอร์รี่ก็พอๆ กับหนังสือเล่มหนึ่ง ถอดออก-ใส่เข้า เหมือนกับเก็บหนังสือเข้าหิ้งอย่างไรก็อย่างนั้น ไม่ต้องขันน๊อต ไม่ต้องใช้สกรูข้อมูลที่ผมนำมาเสนอนี้ ผมดูจากวิดีโอเท่านั้นนะครับ ยังไม่รู้ราคา แต่เนื้อหาบอกว่าแนวคิดดังกล่าวเป็นจริงแล้ว ไม่ต้องรอถึงอนาคต
หน้าแรกของเว็บไซต์นี้เขาพูดถึง “ยุคใหม่ของการกระจายพลังงาน” ซึ่งกล่าวถึงนวัตกรรมของพลังงานหมุนเวียนและแบตเตอร์รี่ (Energy Storage) ผมขอตัดภาพมาให้ดูบางส่วนครับ
ประเด็นสำคัญที่เทคโนโลยีดังกล่าวได้บรรลุ คือการไม่ต้องรอเวลาชาร์จ และความสะดวกในการใช้งานและติดตั้งซึ่งง่ายเหมือนกับการซื้อน้ำขวดในปั๊มน้ำมัน และสามารถนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
คงเหลือประเด็นเดียวคือเรื่องราคาแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (ซึ่งใช้ได้สำหรับบ้านด้วย) เท่าที่ผมติดตามพบว่า นับตั้งแต่ปี 2008 ได้ลดลงมาจาก $1,000 ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ลงมาเหลือ $268 ในปี 2015 บริษัทเทสลาร์ (Tesla) คาดว่าในปี 2020 จะลงมาเหลือ $100 ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง
ผมมีรายงานจากกรมพลังงานของสหรัฐอเมริกามาเสนอด้วย พร้อมกับคิดราคาให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณาประกอบด้วยครับ ผมคิดออกมาแล้วค่าไฟฟ้าเฉลี่ยไม่ถึง 2.50 บาทต่อหน่วยไฟฟ้า (รวมค่าแบตเตอรี่แล้วซึ่งมีอายุการใช้งาน 20 ปี) แต่ทั้งหมดนี้เป็นการคิดอย่างคร่าวๆ เท่านั้นนะครับ ลองดูวิธีคิดในแผ่นภาพครับ
ยังคงเหลือเรื่องเดียวคือ ผลงานวิจัยที่จัดทำโดยกระทรวงพลังงานของประเทศไทยเราเอง โดยได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลประเทศเยอรมนี แต่กระทรวงพลังงานของเรากลับไม่นำผลการศึกษานี้มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในคณะกรรมการไตรภาคีกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่
ผมเองได้ยกรายงานชิ้นนี้ขึ้นพิจารณาในที่ประชุมกรรมการไตรภาคี แต่ก็ไม่ได้รับการพิจารณาใดๆ มิหนำซ้ำนักวิชาการที่ถูกเสนอชื่อโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยยังกล่าวว่า “รัฐบาลเยอรมนีอย่ามาจุ้นจ้าน!”
ผมตัดเอาผลการศึกษามาให้ดูภาพหนึ่งครับ
เขาสรุปว่า จังหวัดน่าน สามารถใช้พลังงานหมุนเวียนได้ 100% ในปี 2036 โดยการใช้พลังงานแบบผสมผสาน เช่น แสงแดด ชีวมวล พลังน้ำขนาดเล็ก และของเสีย รวมทั้งแบตเตอรี่ขนาด 160 Mwh ด้วย
ซึ่งในปี 2036 หรืออีก 19 ปีข้างหน้า ในวันนั้น ผมว่าราคาแบตเตอรี่น่าจะถูกมากๆ แต่เรื่องราวที่ผมได้เล่าทั้งหมดนี้กลับถูกปิดเงียบโดยพวกที่สนับสนุนถ่านหินซึ่งเป็นของตกยุคมาจากยุคไดโนเสาร์ครับ
จึงเป็นหน้าที่ของประชาชนอย่างเราที่จะต้องร่วมมือกันทำให้ความจริงนี้ปรากฏต่อสาธารณชน ทำให้บ้านเมืองของเรางดงาม ดังเพลงเก็บตะวันที่ว่า ...หากตะวัน ยังเคียงคู่ฟ้า จะมัวมา สิ้นหวังทำไม เมื่อยังมีพรุ่งนี้ ให้เดินเริ่มใหม่ มั่นคงไว้ ดังเช่นตะวัน