ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
สถานการณ์ของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ถือว่ารอดได้อย่างหวุดหวิดหลังจากตัดสินใจให้ยกเลิกรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) และรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ของโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จังหวัดกระบี่ และให้จัดทำใหม่
เพราะถ้าหากรัฐบาลเดินหน้าต่อไป ก็ต้องเผชิญหน้ากับประชาชนที่ทนไม่ได้เพราะรับรู้ว่าปัจจุบันนี้การผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยนั้นล้นเกินไปอย่างมากมายมหาศาล จนแม้กระทั่งทดลองตัดโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ทั้งหมดออกจากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า PDP 2015 ก็จะพบว่าประเทศไทยยังมีไฟฟ้าสำรองล้นเกินความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดไปอย่างน้อย 10 ปี ดังนั้นการสร้างโรงไฟฟ้าไม่ว่าจะใช้ด้วยพลังงานอะไรก็ตาม หากมากจนล้นเกินความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดไปแล้วก็จะมาเป็นต้นทุนภาระค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้นสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนตาดำๆทุกครัวเรือนในประเทศไทย
โดยเฉพาะนโยบายการสร้างโรงไฟฟ้าที่ภาคใต้นั้นเท่ากับเป็นการทำลายฐานมวลชนในภาคใต้จำนวนมากที่สนับสนุนรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเอง เพราะถ้ามวลชนที่สนับสนุนรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาออกมาชุมนุมประท้วงเมื่อไหร่ เพียงแค่ฝ่ายการเมืองตรงกันข้ามกับรัฐบาลทหารผสมโรงเติมมวลชนหรือสร้างสถานกาณ์เข้าไป ก็มีโอกาสสูงเกิดเหตุการณ์จะบานปลายไปไกลกว่าที่หลายคนจะคาดคิดได้
ทั้งนี้ภายหลังจากการที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้อนุมัติทิ้งทวนไปแล้ว การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ลงนามสัญญาซื้อไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติจากบริษัท กัลฟ์ เอนเนอร์ยี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัดสูงถึง 5,000 เมกกะวัตต์ไปแล้ว ได้เป็นผลทำให้แผนการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยนั้นล้นเกินสำรองไปอย่างมหาศาล จนทำให้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ขาดความชอบธรรมที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มเติมไปอีก 10 ปี
และหากไม่สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินก็อาจจะทำให้การลงทุนหุ้นและเหมืองถ่านหินของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ไม่สามารถทำกำไรจากราคาหุ้นได้อย่างคุ้มค้าสูงสุด จริงไหม?
การเดินเกมจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ จึงเหมือน "หมากรุกฆาต" ส่งผลถึงรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ เพราะด้านหนึ่งหากการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินสำเร็จผู้ที่ได้ประโยชน์ก็จะเป็นผู้ขายและนายหน้าขายถ่านหิน เจ้าของเหมืองถ่านหิน รวมถึงผู้ถือหุ้นใน บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ซึ่งได้ลงทุนไปแล้ว แต่ไม่ว่าจะสร้างสำเร็จหรือไม่สำเร็จก็ต้องเผชิญหน้ากับมวลชนที่เคยสนับสนุนรัฐบาลตนเองจากภาคใต้อยู่ดี
ดังนั้นผู้ที่ได้ประโยชน์ทางการเมืองก็จะเป็นนายทักษิณ ชินวัตร และนักเลือกตั้งจริงหรือไม่?
ทั้งนี้ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ปรับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า PDP 2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2555-2573)ให้เพิ่มสัดส่วนโรงไฟฟ้าที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติจริงหรือไม่? อีกทั้งมีการยกเลิกการจำกัดเพดานการผลิตไฟฟ้าของเอกชน สอดรับกับการเปิดประมูลโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ รวมสัญญาซื้อขายประมาณ 25 ปี ซึ่งผู้ที่ได้เปรียบในการประมูลครั้งนั้นนอกจากจะมีที่ดินซึ่งอยู่ในแนววางท่อก๊าซธรรมชาติแล้ว ยังต้องได้รับความร่วมมือในการส่งก๊าซธรรมชาติจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ด้วย จริงไหม?
ภายหลังประกาศผลการประมูล การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ บริษัท กัลฟ์ เอนเนอร์ยี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด อย่างเงียบๆ หลังจากรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศยุบสภาไปแล้ว ซึ่งเป็นช่วงระหว่างการชุมนุมของ กปปส. จึงถือเป็นไพ่ฝากใบสุดท้ายซึ่งทิ้งเอาไว้จากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก่อนถูกยึดอำนาจ !!!
โดยก่อนหน้านั้นไม่กี่เดือน มีข่าวปรากฏว่านายทักษิณ ชินวัตร ได้เจรจาเพื่อจะซื้อหุ้นเหมืองถ่านหินของบริษัทภูมิ (Bumi) ในอินโดนีเซีย แต่ต่อมาก็เงียบหายไป เป็นไปได้หรือไม่ว่าที่นายทักษิณ ชินวัตร ตัดสินใจไม่ซื้อหุ้นเหมืองถ่านหิน ก็เพราะรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อนุมัติทิ้งทวน ได้ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เซ็นสัญญาซื้อไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติให้กับ บริษัท กัลฟ์ เอนเนอร์ยี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ถึง 5,000 เมกกะวัตต์ ไปแล้วใช่หรือไม่?
ในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้มีการลงทุนของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในเหมืองถ่านหินประเทศอินโดนีเซียไปอย่างมากแล้ว และด้วยเพราะบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่ 51% รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงไม่สามารถทอดทิ้งไปได้ และกลายเป็นแรงบีบให้รัฐบาลไทยไม่สามารถล้มเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินได้ ใช่หรือไม่?
แต่จะว่ารัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ติดกับดักไพ่ฝากรัฐบาลยิ่งลักษณ์อย่างเดียวก็ไม่ได้ เพราะในขณะที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ไปซื้อเหมืองถ่านหินจนผูกพันมาถึงรัฐบาลพลเอกประยุทธ์แล้ว วันที่ 25 ตุลาคม 2559 รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กลับสร้างไพ่ตัวใหม่ โดยอนุมัติให้บริษัทลูกของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ไปลงทุนกว่า 1.17 หมื่นล้านบาท เพื่อซื้อหุ้นเพียงแค่ 11-12 % ในเหมืองถ่านหินอะดาโร อินโดนีเซีย อีกด้วยเหตุผลใด?
กลับมาที่ประเด็นของ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด อีกครั้ง ซึ่งหากบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ผลิตไฟฟ้าตามสัญญาแล้ว จะส่งผลทำให้บริษัทแม่คือ บริษัท กัฟล์ เจพี จำกัด กลายเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน IPP รายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย โดยมีกำลังการผลิตติดตั้งรวมประมาณ 8,990 เมกกะวัตต์ ซึ่งการที่มีโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่เกิดขึ้นอยู่ในมือเครือบริษัทกัลฟ์นั้นย่อมส่งผลทำให้รายได้ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ลดสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าลงไปโดยปริยาย
ซึ่งช่างบังเอิญมีข่าวปรากฏว่าครอบครัวของผู้บริหารบางคนของเครือกัลฟ์นั้นมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับนายทักษิณ ชินวัตรอีกด้วย นอกจากนั้นยังมีข้อสงสัยหรือคำถามในดีลนั้นว่าเป็น "เมกกะวัตต์ละล้าน" จริงหรือไม่ !!!!?
และสำหรับประเทศไทยแล้วค่าก่อสร้าง ค่าการบริหารจัดการ และต้นทุนของโรงงานผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ของเอกชนจะผลักภาระมาเป็นต้นทุนค่าไฟฟ้าของประชาชนทั้งประเทศ และเมื่อหมดสัญญาแล้ว ทรัพย์สินที่ลงทุนไปกลับตกเป็นของเอกชนทั้งสิ้น !!! (แย่กว่าสัมปทานปิโตรเลียมเสียอีก)
คำถามมีอยู่ว่า ก๊าซธรรมชาติเป็นทรัพย์สมบัติของชาติ ท่อก๊าซธรรมชาติและสายส่งไฟฟ้า ก็เป็นทรัพย์สมบัติที่ผูกขาดตามธรรมชาติ มีมวลชนต่อต้านน้อย กลับยกการผลิตไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติให้เป็นของเอกชน แต่พอเป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่รัฐถือหุ้น 100% กลับต้องไปผลิตโรงไฟฟ้าถ่านหินให้เผชิญหน้าขัดแย้งกับประชาชนแทน ด้วยเหตุผลใด ?
และถ้าหากรัฐบาลขาดความจริงใจในการแก้ไขปัญหาพลังงานโดยกีดกันมิให้ประชาชนหรือผู้ประกอบการรายย่อยเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เช่น มีพฤติกรรมกำหนดราคาไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนแพงเกินจริงกว่าราคาประมูลในต่างประเทศ เพื่อเป็นข้ออ้างไม่อยากรับซื้อไฟฟ้าหมุนเวียนเพราะทำให้ค่าไฟแพง แต่ควรสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพราะถูกกว่า หรือ มีพฤติกรรมจำกัดผู้ผลิตไฟฟ้าหมุนเวียนให้ตกอยู่กับเฉพาะพรรคพวกตัวเองเพียงไม่กี่ราย ในขณะที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ก็ค่อยๆลดสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าลง โดยไม่เกิดการแข่งขันผลิตไฟฟ้าอย่างสมบูรณ์ ถ้าทำกันแบบนี้จุดจบสุดท้ายแล้วการผลิตไฟฟ้าย่อมถูกกินรวบและผูกขาดฮั้วกันโดยเอกชนรายใหญ่เพียงไม่กี่ราย จริงไหม?
การแก้ปัญหาเรื่องไฟฟ้าจึงต้องให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์ที่จริงใจและถูกต้อง โดยการรื้อแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (PDP 2015) เสียใหม่ โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนและนักวิชาการเข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด!!!
และจากกรณีดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าท่อก๊าซธรรมชาติจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะสร้างการผูกขาดตามธรรมชาติให้กับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แล้ว ยังสามารถกำหนดผู้ที่จะผลิตไฟฟ้าเอกชนได้อีกด้วย เพราะถ้า ปตท.ไม่ขายก๊าซให้ก็ไม่มีทางที่โครงการจะสำเร็จได้
โดยเฉพาะหากนักการเมืองหรือผู้ทรงอิทธิพลทางการเมืองแอบให้นอมินีถือหุ้นในบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ด้วยแล้ว จะไม่ใช่เพียงแค่ผูกขาดทำกำไรสูงสุดจากก๊าซธรรมชาติเพื่อกระเป๋าเงินของผู้ถือหุ้นเท่านั้น แต่จะส่งผลไปถึงการยึดครองการผูกขาดการสร้างโรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติให้กับพรรคพวกตัวเองได้ด้วย จริงหรือไม่?
เหตุการณ์ดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เกิดภายหลังจากการที่ภาคประชาชนลุกขึ้นมาต่อต้านจนรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร ไม่สามารถจะแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)ได้สำเร็จ ด้วยเหตุผลนี้ใช่หรือไม่ จึงมีการใช้กลไกของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งนอกจากจะแปรรูปสำเร็จแล้ว ยังใช้ท่อก๊าซธรรมชาติซึ่งผูกขาดตามธรรมชาติให้มาเป็นของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แล้วมาเอื้อประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้าให้เอกชนแทน เพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าให้เป็นของเอกชนรายใหญ่เพื่อแย่งชิงจากตลาดการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และลดกำลังการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยให้น้อยลงและอ่อนแอลงไปเรื่อยๆในที่สุด จริงหรือไม่?
คำถามข้างต้นนี้อาจนำไปสู่การหาคำตอบเบื้องหลังที่แท้จริง ว่าเหตุใดการทวงคืนท่อก๊าซธรรมชาติจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ให้กลับมาเป็นสมบัติของชาติเป็นไปอย่างยากเย็นแสนเข็ญ เช่นเดียวกันกับการแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมให้ระบบสัมปทานมีความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ก็เพราะมีคนบางกลุ่มได้เตรียม “ไพ่ฝากใบสุดท้าย” ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างความมั่งคั่งให้กับผู้ถือหุ้นเอกชนรายใหญ่เพียงไม่กี่รายผ่านการยึดครองพลังงานแบบครบวงจรทั้งประเทศ ใช่หรือไม่?
ทำให้ต้องย้อนกลับไปยังประเด็นการแปรรูปของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ให้เป็น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยนำท่อก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินติดไปด้วยนั้น ไม่เพียงสร้างปัญหาการผูกขาดเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ถือหุ้น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ สามารถเลือกปฏิบัติเอื้ออำนวยให้โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติของเอกชนแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การกระจายขายหุ้นของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในราคา 35 บาทนั้น มีความเหมาะสมและเป็นธรรมสำหรับประเทศชาติแล้วหรือไม่?
วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2544 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติได้มีคำสั่งที่ 2/2544 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการระดมทุนจากภาคเอกชนในการแปรสภาพ ปตท. (คณะกรรมการระดมทุนฯ) และระบุให้คณะกรรมการระดมทุนฯ มีหน้าที่กำหนดวิธีการเสนอขายหุ้น นักลงทุนเป้าหมาย สัดส่วนการเสนอขาย และแนวทางการกำหนดราคาหุ้นของบริษัท
วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2544 การประชุมคณะกรรมการระดมทุนฯครั้งที่ 3/2544 ในเอกสาร “แผนการระดมทุนของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)” หน้า 18 ที่ปรึกษาทางการเงินได้แจ้งมูลค่าต่อหุ้นของ บมจ.ปตท. ในปี 2544 ซึ่งคำนวณจากทรัพย์สินต่างๆ มีมูลค่าขั้นต่ำ 36.10 บาท ขั้นสูง 67.80 บาท
และในหน้า 19 ปรากฏข้อมูลว่าการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยได้ประเมินมูลค่าหุ้นไว้ขั้นต่ำ 37.50 บาท ขั้นสูง 65 บาท ซึ่งใกล้เคียงกัน
ขอย้ำว่าในรายงานการประชุมในเวลานั้น ยังไม่มีใครกล่าวถึงราคาหุ้นเพียงแค่ 35 บาทเลย!!!
และในหน้าเดียวกัน (หน้า 19) มีการจัดทำตารางการคำนวณเสนอคณะกรรมการระดมทุนฯ ซึ่งมีการกำหนดราคาเสนอขายหุ้นเป็น 3 ระดับราคา คือ 37.50 บาท , 50 บาท และ 65 บาท ซึ่งสำหรับจำนวนเงินที่ต้องการได้รับจากการระดมทุน 30,000 ล้านบาทนั้น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จะต้องออกหุ้นขายเป็นจำนวน 834.1 ล้านหุ้น, 625.6 ล้านหุ้น และ 481.2 ล้านหุ้นตามลำดับ โดยสัดส่วนการถือหุ้นของรัฐหลังการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนจะเหลืออยู่ร้อยละ 70.56, 76.17 และ 80.61 ตามลำดับ
จากรายงานการประชุมดังกล่าวนั้นหมายความว่ากรณีที่ตั้งราคาขายต่ำลงนั้น จะทำให้กระทรวงการคลังต้องขายหุ้นมากขึ้น ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของรัฐ (ซึ่งถือหุ้นแทนประชาชน) ลดลง ถ้าหากราคาหุ้นที่ตั้งนั้นต่ำกว่าจุดสมดุลก็จะทำให้กระทรวงการคลังเสียประโยชน์
ปกติแล้ว การกำหนดราคาขายหุ้นนั้น มีสองวิธีหลัก คือ การอ้างอิงราคาทรัพย์สิน หรือ การอ้างอิงผลกำไร ซึ่งวิธีปฏิบัติทั่วไปในวงการธุรกิจหลักทรัพย์นั้น การกำหนดราคาขายหุ้นจะต้องพิจารณาทั้งสองวิธีควบคู่กัน
ทั้งนี้ ในการประชุมคณะกรรมการระดมทุนฯครั้งที่ 3/2544 เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2544 ในเอกสาร “แผนการระดมทุนของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)” หน้า 24 ระบุว่า วิธีการจัดจำหน่ายหุ้นให้แก่นักลงทุนสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ จะใช้วิธีการประกวดราคาแบบสะสม (Book Building)
วิธีการประกวดราคาแบบสะสม (Book Building) จะต้องมีการกำหนดกรอบราคาเพื่อจะสอบถามนักลงทุนว่า ที่ระดับราคาแต่ละระดับ นักลงทุนจะสนใจซื้อหุ้นจำนวนเท่าใด วิธีการ Book Building จึงเป็นวิธีการเพื่อค้นหาราคาตลาดที่เป็นจุดสมดุล (Price discovery process)
โดยถ้าหากกำหนดราคาขายหุ้นที่ต่ำกว่าจุดสมดุล ก็จะเป็นการเสียโอกาส เพราะจะเท่ากับขายหุ้นออกไปในราคาต่ำกว่าที่ควรจะขายได้ แต่ในทางกลับกัน ถ้าหากกำหนดราคาขายหุ้นที่สูงกว่าจุดสมดุล นักลงทุนก็จะสนใจจองซื้อหุ้นในจำนวนน้อยลง และจะทำให้บริษัทได้รับเงินจากการระดมทุนไม่ครบตามเป้าหมาย
ดังนั้น กรอบราคาที่จะสอบถามนักลงทุนนั้นจะต้องกำหนดราคาต่ำสุด และราคาเพดาน ให้กว้างพอ เพื่อให้ครอบคลุมจุดสมดุล ซึ่งจะเป็นกระบวนการค้นหาราคาตลาดที่เป็นจุดสมดุลที่ถูกต้อง
ต่อมาวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ในการประชุมครั้งที่ 5/2544 คณะกรรมการระดมทุนฯได้กำหนดกรอบราคาให้สอบถามนักลงทุนไว้ต่ำมาก คือระหว่าง 31-35 บาท !!!?
ทั้งๆที่ เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2544 ก็ปรากฏข้อมูลในหนังสือพิมพ์ “ข่าวหุ้น”ว่า นายสมชาย สินทราพรรณทร ผู้ช่วยผู้ว่าการอาวุโส การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า นายพิชัย ชุณหวชิร รองผู้ว่าการการเงินและบัญชี (ซึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการระดมทุนฯ ) ได้เคยระบุว่าราคาขายหุ้นจะอยู่ระหว่าง 40-47บาท
ดังนั้น กรอบราคาระหว่าง 31-35 บาท นอกจากต่ำกว่ามูลค่าขั้นต่ำที่อ้างอิงราคาทรัพย์สินในเอกสารที่เคยเสนอคณะกรรมการระดมทุนฯแล้ว ยังต่ำกว่ากรอบราคาที่ผู้บริหารการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเลขานุการคณะกรรมการะดมทุนฯเปิดเผยต่อสื่อสาธารณะอีกด้วย
ทั้งนี้คณะกรรมการระดมทุนฯอ้างเหตุเลือกกรอบราคาดังกล่าว จากข้อเสนอโดยบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน แต่ข้อเสนอดังกล่าวคำนวนอ้างอิงหลักผลกำไรเพียงอย่างเดียว มิได้ปรากฏว่ามีการเปรียบเทียบกับมูลค่าหุ้นจากหลักราคาทรัพย์สินจริงหรือไม่?
ผลของการกำหนดกรอบราคาที่ต่ำเกินจริงดังกล่าว ผลจากการประกวดราคาแบบสะสม (Book Building) ที่กำหนดกรอบราคาระหว่าง 31-35 บาท จึงปรากฏข้อมูลในรายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินการระดมทุนจากภาคเอกชนในการแปรสภาพ ปตท. ครั้งที่ 6/2544 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ที่มหานครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงเกิดผลว่าสถาบันการเงินในประเทศมีความต้องการหุ้นเกินกว่าจำนวนที่จัดสรรเบื้องต้นกว่า 3 เท่า และนักลงทุนสถาบันต่างประเทศมีความต้องการหุ้นเกินกว่าจำนวนที่จัดสรรเบื้องต้นกว่า 6 เท่า ส่วนประชาชนทั่วไปในไทยที่ต้องใช้วิธีต่อคิวแย่งซื้อหุ้นนั้น โควตาหมดไปในเวลาเพียง 1.17 นาทีเท่านั้น จริงหรือไม่?
ดังนั้น ในการประชุมดังกล่าว คณะกรรมการระดมทุนฯอ้างผลจากการประกวดราคาแบบสะสม (Book Building) ในการกำหนดราคาขายสุดท้ายเท่ากับหุ้นละ 35 บาท ซึ่งการกำหนดช่วง 31-35 บาท ซึ่งนำไปสู่ราคาขายสุดท้ายเท่ากับ 35 บาทนั้น เป็นการแสดงอย่างชัดแจ้งว่า กระบวนการกำหนดราคาหุ้นไม่เป็นการค้นหาราคาตลาดที่เป็นจุดสมดุลอย่างแท้จริง จริงหรือไม่?
เพราะถ้าเป็นกรณีปกติ จุดสมดุลจะต้องอยู่ "ระหว่าง" ราคาต่ำสุดกับราคาเพดาน (31-35 บาท) มิใช่จุดสมดุลไปอยู่ที่ตรงกับราคาเพดานสูงสุดที่ 35 บาท ดังนั้น การที่คณะกรรมการระดมทุนฯกำหนดราคาขายสุดท้ายเท่ากับ 35 บาท จึงเป็นการแสดงว่าการกำหนดช่วงราคาระหว่าง 31-35 บาทนั้น ต่ำเกินไป จริงไหม?
เมื่อปรากฏข้อมูลประจักษ์เช่นนั้นแล้ว คณะกรรมการระดมทุนฯ ควรจะสั่งการให้จัดทำการประกวดราคาแบบสะสม (Book Building) รอบใหม่ โดยกำหนดกรอบราคาที่สูงกว่า 35 บาท แต่ปรากฏว่าได้มีการละเว้นไม่ดำเนินการ จึงเกิดคำถามว่าการกระทำเช่นนี้ได้ทำให้กระทรวงการคลังได้รับความเสียหาย ไม่สามารถขายหุ้นได้ในราคาสูงสุดเท่าที่จะพึงได้หรือไม่?
และสถานการณ์ความต้องการหุ้นของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ดังกล่าวยังเอื้ออำนวยต่อการจัดสรรโควต้าให้สิทธิจองหุ้นแก่บุคคลต่างๆในลักษณะขัดต่อธรรมาภิบาล จะเข้าข่ายเป็นการให้สินบนได้อีกด้วย หรือไม่?
จึงไม่แปลกใจเลยว่ามีคนร่ำรวยอย่างมหาศาลจากการจัดสรรหุ้นซึ่งเป็นทรัพย์สินของชาติในราคาถูกๆครั้งนั้น จริงหรือไม่?
จึงฝากความหวังเอาไว้กับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายกิตติพงษ์ กิตติยารักษ์ ในฐานะเป็นกรรมการอิสระและประธานกรรมการตรวจสอบ ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ทำการตรวจสอบเรื่องนี้ให้กระจ่างต่อประชาชนชาวไทยด้วยเถิด!!!
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
สถานการณ์ของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ถือว่ารอดได้อย่างหวุดหวิดหลังจากตัดสินใจให้ยกเลิกรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) และรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ของโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จังหวัดกระบี่ และให้จัดทำใหม่
เพราะถ้าหากรัฐบาลเดินหน้าต่อไป ก็ต้องเผชิญหน้ากับประชาชนที่ทนไม่ได้เพราะรับรู้ว่าปัจจุบันนี้การผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยนั้นล้นเกินไปอย่างมากมายมหาศาล จนแม้กระทั่งทดลองตัดโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ทั้งหมดออกจากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า PDP 2015 ก็จะพบว่าประเทศไทยยังมีไฟฟ้าสำรองล้นเกินความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดไปอย่างน้อย 10 ปี ดังนั้นการสร้างโรงไฟฟ้าไม่ว่าจะใช้ด้วยพลังงานอะไรก็ตาม หากมากจนล้นเกินความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดไปแล้วก็จะมาเป็นต้นทุนภาระค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้นสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนตาดำๆทุกครัวเรือนในประเทศไทย
โดยเฉพาะนโยบายการสร้างโรงไฟฟ้าที่ภาคใต้นั้นเท่ากับเป็นการทำลายฐานมวลชนในภาคใต้จำนวนมากที่สนับสนุนรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเอง เพราะถ้ามวลชนที่สนับสนุนรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาออกมาชุมนุมประท้วงเมื่อไหร่ เพียงแค่ฝ่ายการเมืองตรงกันข้ามกับรัฐบาลทหารผสมโรงเติมมวลชนหรือสร้างสถานกาณ์เข้าไป ก็มีโอกาสสูงเกิดเหตุการณ์จะบานปลายไปไกลกว่าที่หลายคนจะคาดคิดได้
ทั้งนี้ภายหลังจากการที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้อนุมัติทิ้งทวนไปแล้ว การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ลงนามสัญญาซื้อไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติจากบริษัท กัลฟ์ เอนเนอร์ยี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัดสูงถึง 5,000 เมกกะวัตต์ไปแล้ว ได้เป็นผลทำให้แผนการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยนั้นล้นเกินสำรองไปอย่างมหาศาล จนทำให้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ขาดความชอบธรรมที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มเติมไปอีก 10 ปี
และหากไม่สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินก็อาจจะทำให้การลงทุนหุ้นและเหมืองถ่านหินของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ไม่สามารถทำกำไรจากราคาหุ้นได้อย่างคุ้มค้าสูงสุด จริงไหม?
การเดินเกมจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ จึงเหมือน "หมากรุกฆาต" ส่งผลถึงรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ เพราะด้านหนึ่งหากการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินสำเร็จผู้ที่ได้ประโยชน์ก็จะเป็นผู้ขายและนายหน้าขายถ่านหิน เจ้าของเหมืองถ่านหิน รวมถึงผู้ถือหุ้นใน บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ซึ่งได้ลงทุนไปแล้ว แต่ไม่ว่าจะสร้างสำเร็จหรือไม่สำเร็จก็ต้องเผชิญหน้ากับมวลชนที่เคยสนับสนุนรัฐบาลตนเองจากภาคใต้อยู่ดี
ดังนั้นผู้ที่ได้ประโยชน์ทางการเมืองก็จะเป็นนายทักษิณ ชินวัตร และนักเลือกตั้งจริงหรือไม่?
ทั้งนี้ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ปรับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า PDP 2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2555-2573)ให้เพิ่มสัดส่วนโรงไฟฟ้าที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติจริงหรือไม่? อีกทั้งมีการยกเลิกการจำกัดเพดานการผลิตไฟฟ้าของเอกชน สอดรับกับการเปิดประมูลโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ รวมสัญญาซื้อขายประมาณ 25 ปี ซึ่งผู้ที่ได้เปรียบในการประมูลครั้งนั้นนอกจากจะมีที่ดินซึ่งอยู่ในแนววางท่อก๊าซธรรมชาติแล้ว ยังต้องได้รับความร่วมมือในการส่งก๊าซธรรมชาติจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ด้วย จริงไหม?
ภายหลังประกาศผลการประมูล การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ บริษัท กัลฟ์ เอนเนอร์ยี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด อย่างเงียบๆ หลังจากรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศยุบสภาไปแล้ว ซึ่งเป็นช่วงระหว่างการชุมนุมของ กปปส. จึงถือเป็นไพ่ฝากใบสุดท้ายซึ่งทิ้งเอาไว้จากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก่อนถูกยึดอำนาจ !!!
โดยก่อนหน้านั้นไม่กี่เดือน มีข่าวปรากฏว่านายทักษิณ ชินวัตร ได้เจรจาเพื่อจะซื้อหุ้นเหมืองถ่านหินของบริษัทภูมิ (Bumi) ในอินโดนีเซีย แต่ต่อมาก็เงียบหายไป เป็นไปได้หรือไม่ว่าที่นายทักษิณ ชินวัตร ตัดสินใจไม่ซื้อหุ้นเหมืองถ่านหิน ก็เพราะรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อนุมัติทิ้งทวน ได้ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เซ็นสัญญาซื้อไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติให้กับ บริษัท กัลฟ์ เอนเนอร์ยี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ถึง 5,000 เมกกะวัตต์ ไปแล้วใช่หรือไม่?
ในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้มีการลงทุนของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในเหมืองถ่านหินประเทศอินโดนีเซียไปอย่างมากแล้ว และด้วยเพราะบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่ 51% รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงไม่สามารถทอดทิ้งไปได้ และกลายเป็นแรงบีบให้รัฐบาลไทยไม่สามารถล้มเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินได้ ใช่หรือไม่?
แต่จะว่ารัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ติดกับดักไพ่ฝากรัฐบาลยิ่งลักษณ์อย่างเดียวก็ไม่ได้ เพราะในขณะที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ไปซื้อเหมืองถ่านหินจนผูกพันมาถึงรัฐบาลพลเอกประยุทธ์แล้ว วันที่ 25 ตุลาคม 2559 รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กลับสร้างไพ่ตัวใหม่ โดยอนุมัติให้บริษัทลูกของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ไปลงทุนกว่า 1.17 หมื่นล้านบาท เพื่อซื้อหุ้นเพียงแค่ 11-12 % ในเหมืองถ่านหินอะดาโร อินโดนีเซีย อีกด้วยเหตุผลใด?
กลับมาที่ประเด็นของ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด อีกครั้ง ซึ่งหากบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ผลิตไฟฟ้าตามสัญญาแล้ว จะส่งผลทำให้บริษัทแม่คือ บริษัท กัฟล์ เจพี จำกัด กลายเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน IPP รายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย โดยมีกำลังการผลิตติดตั้งรวมประมาณ 8,990 เมกกะวัตต์ ซึ่งการที่มีโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่เกิดขึ้นอยู่ในมือเครือบริษัทกัลฟ์นั้นย่อมส่งผลทำให้รายได้ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ลดสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าลงไปโดยปริยาย
ซึ่งช่างบังเอิญมีข่าวปรากฏว่าครอบครัวของผู้บริหารบางคนของเครือกัลฟ์นั้นมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับนายทักษิณ ชินวัตรอีกด้วย นอกจากนั้นยังมีข้อสงสัยหรือคำถามในดีลนั้นว่าเป็น "เมกกะวัตต์ละล้าน" จริงหรือไม่ !!!!?
และสำหรับประเทศไทยแล้วค่าก่อสร้าง ค่าการบริหารจัดการ และต้นทุนของโรงงานผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ของเอกชนจะผลักภาระมาเป็นต้นทุนค่าไฟฟ้าของประชาชนทั้งประเทศ และเมื่อหมดสัญญาแล้ว ทรัพย์สินที่ลงทุนไปกลับตกเป็นของเอกชนทั้งสิ้น !!! (แย่กว่าสัมปทานปิโตรเลียมเสียอีก)
คำถามมีอยู่ว่า ก๊าซธรรมชาติเป็นทรัพย์สมบัติของชาติ ท่อก๊าซธรรมชาติและสายส่งไฟฟ้า ก็เป็นทรัพย์สมบัติที่ผูกขาดตามธรรมชาติ มีมวลชนต่อต้านน้อย กลับยกการผลิตไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติให้เป็นของเอกชน แต่พอเป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่รัฐถือหุ้น 100% กลับต้องไปผลิตโรงไฟฟ้าถ่านหินให้เผชิญหน้าขัดแย้งกับประชาชนแทน ด้วยเหตุผลใด ?
และถ้าหากรัฐบาลขาดความจริงใจในการแก้ไขปัญหาพลังงานโดยกีดกันมิให้ประชาชนหรือผู้ประกอบการรายย่อยเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เช่น มีพฤติกรรมกำหนดราคาไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนแพงเกินจริงกว่าราคาประมูลในต่างประเทศ เพื่อเป็นข้ออ้างไม่อยากรับซื้อไฟฟ้าหมุนเวียนเพราะทำให้ค่าไฟแพง แต่ควรสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพราะถูกกว่า หรือ มีพฤติกรรมจำกัดผู้ผลิตไฟฟ้าหมุนเวียนให้ตกอยู่กับเฉพาะพรรคพวกตัวเองเพียงไม่กี่ราย ในขณะที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ก็ค่อยๆลดสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าลง โดยไม่เกิดการแข่งขันผลิตไฟฟ้าอย่างสมบูรณ์ ถ้าทำกันแบบนี้จุดจบสุดท้ายแล้วการผลิตไฟฟ้าย่อมถูกกินรวบและผูกขาดฮั้วกันโดยเอกชนรายใหญ่เพียงไม่กี่ราย จริงไหม?
การแก้ปัญหาเรื่องไฟฟ้าจึงต้องให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์ที่จริงใจและถูกต้อง โดยการรื้อแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (PDP 2015) เสียใหม่ โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนและนักวิชาการเข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด!!!
และจากกรณีดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าท่อก๊าซธรรมชาติจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะสร้างการผูกขาดตามธรรมชาติให้กับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แล้ว ยังสามารถกำหนดผู้ที่จะผลิตไฟฟ้าเอกชนได้อีกด้วย เพราะถ้า ปตท.ไม่ขายก๊าซให้ก็ไม่มีทางที่โครงการจะสำเร็จได้
โดยเฉพาะหากนักการเมืองหรือผู้ทรงอิทธิพลทางการเมืองแอบให้นอมินีถือหุ้นในบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ด้วยแล้ว จะไม่ใช่เพียงแค่ผูกขาดทำกำไรสูงสุดจากก๊าซธรรมชาติเพื่อกระเป๋าเงินของผู้ถือหุ้นเท่านั้น แต่จะส่งผลไปถึงการยึดครองการผูกขาดการสร้างโรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติให้กับพรรคพวกตัวเองได้ด้วย จริงหรือไม่?
เหตุการณ์ดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เกิดภายหลังจากการที่ภาคประชาชนลุกขึ้นมาต่อต้านจนรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร ไม่สามารถจะแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)ได้สำเร็จ ด้วยเหตุผลนี้ใช่หรือไม่ จึงมีการใช้กลไกของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งนอกจากจะแปรรูปสำเร็จแล้ว ยังใช้ท่อก๊าซธรรมชาติซึ่งผูกขาดตามธรรมชาติให้มาเป็นของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แล้วมาเอื้อประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้าให้เอกชนแทน เพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าให้เป็นของเอกชนรายใหญ่เพื่อแย่งชิงจากตลาดการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และลดกำลังการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยให้น้อยลงและอ่อนแอลงไปเรื่อยๆในที่สุด จริงหรือไม่?
คำถามข้างต้นนี้อาจนำไปสู่การหาคำตอบเบื้องหลังที่แท้จริง ว่าเหตุใดการทวงคืนท่อก๊าซธรรมชาติจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ให้กลับมาเป็นสมบัติของชาติเป็นไปอย่างยากเย็นแสนเข็ญ เช่นเดียวกันกับการแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมให้ระบบสัมปทานมีความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ก็เพราะมีคนบางกลุ่มได้เตรียม “ไพ่ฝากใบสุดท้าย” ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างความมั่งคั่งให้กับผู้ถือหุ้นเอกชนรายใหญ่เพียงไม่กี่รายผ่านการยึดครองพลังงานแบบครบวงจรทั้งประเทศ ใช่หรือไม่?
ทำให้ต้องย้อนกลับไปยังประเด็นการแปรรูปของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ให้เป็น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยนำท่อก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินติดไปด้วยนั้น ไม่เพียงสร้างปัญหาการผูกขาดเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ถือหุ้น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ สามารถเลือกปฏิบัติเอื้ออำนวยให้โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติของเอกชนแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การกระจายขายหุ้นของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในราคา 35 บาทนั้น มีความเหมาะสมและเป็นธรรมสำหรับประเทศชาติแล้วหรือไม่?
วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2544 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติได้มีคำสั่งที่ 2/2544 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการระดมทุนจากภาคเอกชนในการแปรสภาพ ปตท. (คณะกรรมการระดมทุนฯ) และระบุให้คณะกรรมการระดมทุนฯ มีหน้าที่กำหนดวิธีการเสนอขายหุ้น นักลงทุนเป้าหมาย สัดส่วนการเสนอขาย และแนวทางการกำหนดราคาหุ้นของบริษัท
วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2544 การประชุมคณะกรรมการระดมทุนฯครั้งที่ 3/2544 ในเอกสาร “แผนการระดมทุนของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)” หน้า 18 ที่ปรึกษาทางการเงินได้แจ้งมูลค่าต่อหุ้นของ บมจ.ปตท. ในปี 2544 ซึ่งคำนวณจากทรัพย์สินต่างๆ มีมูลค่าขั้นต่ำ 36.10 บาท ขั้นสูง 67.80 บาท
และในหน้า 19 ปรากฏข้อมูลว่าการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยได้ประเมินมูลค่าหุ้นไว้ขั้นต่ำ 37.50 บาท ขั้นสูง 65 บาท ซึ่งใกล้เคียงกัน
ขอย้ำว่าในรายงานการประชุมในเวลานั้น ยังไม่มีใครกล่าวถึงราคาหุ้นเพียงแค่ 35 บาทเลย!!!
และในหน้าเดียวกัน (หน้า 19) มีการจัดทำตารางการคำนวณเสนอคณะกรรมการระดมทุนฯ ซึ่งมีการกำหนดราคาเสนอขายหุ้นเป็น 3 ระดับราคา คือ 37.50 บาท , 50 บาท และ 65 บาท ซึ่งสำหรับจำนวนเงินที่ต้องการได้รับจากการระดมทุน 30,000 ล้านบาทนั้น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จะต้องออกหุ้นขายเป็นจำนวน 834.1 ล้านหุ้น, 625.6 ล้านหุ้น และ 481.2 ล้านหุ้นตามลำดับ โดยสัดส่วนการถือหุ้นของรัฐหลังการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนจะเหลืออยู่ร้อยละ 70.56, 76.17 และ 80.61 ตามลำดับ
จากรายงานการประชุมดังกล่าวนั้นหมายความว่ากรณีที่ตั้งราคาขายต่ำลงนั้น จะทำให้กระทรวงการคลังต้องขายหุ้นมากขึ้น ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของรัฐ (ซึ่งถือหุ้นแทนประชาชน) ลดลง ถ้าหากราคาหุ้นที่ตั้งนั้นต่ำกว่าจุดสมดุลก็จะทำให้กระทรวงการคลังเสียประโยชน์
ปกติแล้ว การกำหนดราคาขายหุ้นนั้น มีสองวิธีหลัก คือ การอ้างอิงราคาทรัพย์สิน หรือ การอ้างอิงผลกำไร ซึ่งวิธีปฏิบัติทั่วไปในวงการธุรกิจหลักทรัพย์นั้น การกำหนดราคาขายหุ้นจะต้องพิจารณาทั้งสองวิธีควบคู่กัน
ทั้งนี้ ในการประชุมคณะกรรมการระดมทุนฯครั้งที่ 3/2544 เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2544 ในเอกสาร “แผนการระดมทุนของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)” หน้า 24 ระบุว่า วิธีการจัดจำหน่ายหุ้นให้แก่นักลงทุนสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ จะใช้วิธีการประกวดราคาแบบสะสม (Book Building)
วิธีการประกวดราคาแบบสะสม (Book Building) จะต้องมีการกำหนดกรอบราคาเพื่อจะสอบถามนักลงทุนว่า ที่ระดับราคาแต่ละระดับ นักลงทุนจะสนใจซื้อหุ้นจำนวนเท่าใด วิธีการ Book Building จึงเป็นวิธีการเพื่อค้นหาราคาตลาดที่เป็นจุดสมดุล (Price discovery process)
โดยถ้าหากกำหนดราคาขายหุ้นที่ต่ำกว่าจุดสมดุล ก็จะเป็นการเสียโอกาส เพราะจะเท่ากับขายหุ้นออกไปในราคาต่ำกว่าที่ควรจะขายได้ แต่ในทางกลับกัน ถ้าหากกำหนดราคาขายหุ้นที่สูงกว่าจุดสมดุล นักลงทุนก็จะสนใจจองซื้อหุ้นในจำนวนน้อยลง และจะทำให้บริษัทได้รับเงินจากการระดมทุนไม่ครบตามเป้าหมาย
ดังนั้น กรอบราคาที่จะสอบถามนักลงทุนนั้นจะต้องกำหนดราคาต่ำสุด และราคาเพดาน ให้กว้างพอ เพื่อให้ครอบคลุมจุดสมดุล ซึ่งจะเป็นกระบวนการค้นหาราคาตลาดที่เป็นจุดสมดุลที่ถูกต้อง
ต่อมาวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ในการประชุมครั้งที่ 5/2544 คณะกรรมการระดมทุนฯได้กำหนดกรอบราคาให้สอบถามนักลงทุนไว้ต่ำมาก คือระหว่าง 31-35 บาท !!!?
ทั้งๆที่ เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2544 ก็ปรากฏข้อมูลในหนังสือพิมพ์ “ข่าวหุ้น”ว่า นายสมชาย สินทราพรรณทร ผู้ช่วยผู้ว่าการอาวุโส การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า นายพิชัย ชุณหวชิร รองผู้ว่าการการเงินและบัญชี (ซึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการระดมทุนฯ ) ได้เคยระบุว่าราคาขายหุ้นจะอยู่ระหว่าง 40-47บาท
ดังนั้น กรอบราคาระหว่าง 31-35 บาท นอกจากต่ำกว่ามูลค่าขั้นต่ำที่อ้างอิงราคาทรัพย์สินในเอกสารที่เคยเสนอคณะกรรมการระดมทุนฯแล้ว ยังต่ำกว่ากรอบราคาที่ผู้บริหารการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเลขานุการคณะกรรมการะดมทุนฯเปิดเผยต่อสื่อสาธารณะอีกด้วย
ทั้งนี้คณะกรรมการระดมทุนฯอ้างเหตุเลือกกรอบราคาดังกล่าว จากข้อเสนอโดยบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน แต่ข้อเสนอดังกล่าวคำนวนอ้างอิงหลักผลกำไรเพียงอย่างเดียว มิได้ปรากฏว่ามีการเปรียบเทียบกับมูลค่าหุ้นจากหลักราคาทรัพย์สินจริงหรือไม่?
ผลของการกำหนดกรอบราคาที่ต่ำเกินจริงดังกล่าว ผลจากการประกวดราคาแบบสะสม (Book Building) ที่กำหนดกรอบราคาระหว่าง 31-35 บาท จึงปรากฏข้อมูลในรายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินการระดมทุนจากภาคเอกชนในการแปรสภาพ ปตท. ครั้งที่ 6/2544 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ที่มหานครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงเกิดผลว่าสถาบันการเงินในประเทศมีความต้องการหุ้นเกินกว่าจำนวนที่จัดสรรเบื้องต้นกว่า 3 เท่า และนักลงทุนสถาบันต่างประเทศมีความต้องการหุ้นเกินกว่าจำนวนที่จัดสรรเบื้องต้นกว่า 6 เท่า ส่วนประชาชนทั่วไปในไทยที่ต้องใช้วิธีต่อคิวแย่งซื้อหุ้นนั้น โควตาหมดไปในเวลาเพียง 1.17 นาทีเท่านั้น จริงหรือไม่?
ดังนั้น ในการประชุมดังกล่าว คณะกรรมการระดมทุนฯอ้างผลจากการประกวดราคาแบบสะสม (Book Building) ในการกำหนดราคาขายสุดท้ายเท่ากับหุ้นละ 35 บาท ซึ่งการกำหนดช่วง 31-35 บาท ซึ่งนำไปสู่ราคาขายสุดท้ายเท่ากับ 35 บาทนั้น เป็นการแสดงอย่างชัดแจ้งว่า กระบวนการกำหนดราคาหุ้นไม่เป็นการค้นหาราคาตลาดที่เป็นจุดสมดุลอย่างแท้จริง จริงหรือไม่?
เพราะถ้าเป็นกรณีปกติ จุดสมดุลจะต้องอยู่ "ระหว่าง" ราคาต่ำสุดกับราคาเพดาน (31-35 บาท) มิใช่จุดสมดุลไปอยู่ที่ตรงกับราคาเพดานสูงสุดที่ 35 บาท ดังนั้น การที่คณะกรรมการระดมทุนฯกำหนดราคาขายสุดท้ายเท่ากับ 35 บาท จึงเป็นการแสดงว่าการกำหนดช่วงราคาระหว่าง 31-35 บาทนั้น ต่ำเกินไป จริงไหม?
เมื่อปรากฏข้อมูลประจักษ์เช่นนั้นแล้ว คณะกรรมการระดมทุนฯ ควรจะสั่งการให้จัดทำการประกวดราคาแบบสะสม (Book Building) รอบใหม่ โดยกำหนดกรอบราคาที่สูงกว่า 35 บาท แต่ปรากฏว่าได้มีการละเว้นไม่ดำเนินการ จึงเกิดคำถามว่าการกระทำเช่นนี้ได้ทำให้กระทรวงการคลังได้รับความเสียหาย ไม่สามารถขายหุ้นได้ในราคาสูงสุดเท่าที่จะพึงได้หรือไม่?
และสถานการณ์ความต้องการหุ้นของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ดังกล่าวยังเอื้ออำนวยต่อการจัดสรรโควต้าให้สิทธิจองหุ้นแก่บุคคลต่างๆในลักษณะขัดต่อธรรมาภิบาล จะเข้าข่ายเป็นการให้สินบนได้อีกด้วย หรือไม่?
จึงไม่แปลกใจเลยว่ามีคนร่ำรวยอย่างมหาศาลจากการจัดสรรหุ้นซึ่งเป็นทรัพย์สินของชาติในราคาถูกๆครั้งนั้น จริงหรือไม่?
จึงฝากความหวังเอาไว้กับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายกิตติพงษ์ กิตติยารักษ์ ในฐานะเป็นกรรมการอิสระและประธานกรรมการตรวจสอบ ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ทำการตรวจสอบเรื่องนี้ให้กระจ่างต่อประชาชนชาวไทยด้วยเถิด!!!