ศาลปกครองกลาง แผนกคดีสิ่งแวดล้อม มีคำพิพากษายกฟ้องในคดีที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนกับพวก ซึ่งเป็นชาวบ้าน ต.ตลิ่งชัน ต. เกาะศรีบอยา ต.ปกาสัย ต.คลองขนาน อ.เหนือคลอง ต.ศาลาด่าน ต.เกาะลันตาใหญ่ อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ และนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม รวม 45 คน ยื่นฟ้องกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-2
กรณี ขอให้เพิกถอนการดำเนินโครงการท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้ว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ โดยศาลเห็นว่า กระทรวงทรัพย์ฯ ได้เสนอเรื่องการขยายระยะเวลาใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพย์ฯ เรื่องกำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่ อ.อ่าวลึก อ.เมืองฯ อ.เหนือคลอง อ. คลองท่อม และ อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ ลงวันที่ 15 มี.ค.50 และประกาศกระทรวงทรัพย์ฯ เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่ จ.กระบี่ พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 19 ก.ค. 53 จนคณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พิจารณามีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาบังคับใช้ประกาศกระทรวงทั้ง 2 ฉบับออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค. - ธ.ค. 54 แต่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน กลับเพิ่งพิจารณาในการประชุมครั้งที่ 2/2555 ในวันที่ 16 มี.ค. 55 ก่อนประกาศกระทรวงทั้งสองฉบับสิ้นผลเพียง 10 วัน โดยไม่ได้มีการรับรองมติดังกล่าว เป็นเหตุให้สำนักเลขาธิการครม. ไม่จัดระเบียบวาระให้ครม.พิจารณา และทำให้ประกาศกระทรวงทั้งสองฉบับ สิ้นผลบังคับใช้ไปโดยไม่อาจขยายระยะเวลาบังคับใช้ได้ ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องเร่งด่วน ที่ครม.อาจพิจารณาไปก่อนได้ โดยให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติรับรองมติในภายหลัง หรือในวันเดียวกันได้ เห็นว่า ความล่าช้าของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ดุลพินิจของ สำนักเลขาธิการครม. เป็นขั้นตอนการดำเนินการภายในของฝ่ายปกครองที่ไม่อยู่ในการบังคับบัญชา และการควบคุมของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ เมื่อพิจารณาพฤติกรรมทั้งปวงแล้ว ยังไม่อาจถือได้ว่ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ ละเลยต่อหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ในการขยาย หรือต่ออายุประกาศกระทรวงทั้งสองฉบับล่าช้าเกินสมควร
อีกทั้งเมื่อปัจจุบันได้มีประกาศกระทรวงทรัพย์ฯ เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในท้องที่ อ.อ่าวลึก อ.เมืองฯ อ.เหนือคลอง อ.คลองท่อม และ อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ พ.ศ.2559 ลงวันที่ 16 มี.ค.59 บังคับใช้แล้ว เหตุแห่งการฟ้องคดีจึงหมดไป ไม่มีกรณีที่ศาลจะต้องกำหนดคำบังคับให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้้งหมดที่ขอให้กระทรวงทรัพย์ ฯ ต่ออายุประกาศคุ้มครองพื้นที่สิ่งแวดล้อมใน จ.กระบี่ ตามพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 อีกต่อไป
กรณี ขอให้เพิกถอนการดำเนินโครงการท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้ว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ โดยศาลเห็นว่า กระทรวงทรัพย์ฯ ได้เสนอเรื่องการขยายระยะเวลาใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพย์ฯ เรื่องกำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่ อ.อ่าวลึก อ.เมืองฯ อ.เหนือคลอง อ. คลองท่อม และ อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ ลงวันที่ 15 มี.ค.50 และประกาศกระทรวงทรัพย์ฯ เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่ จ.กระบี่ พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 19 ก.ค. 53 จนคณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พิจารณามีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาบังคับใช้ประกาศกระทรวงทั้ง 2 ฉบับออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค. - ธ.ค. 54 แต่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน กลับเพิ่งพิจารณาในการประชุมครั้งที่ 2/2555 ในวันที่ 16 มี.ค. 55 ก่อนประกาศกระทรวงทั้งสองฉบับสิ้นผลเพียง 10 วัน โดยไม่ได้มีการรับรองมติดังกล่าว เป็นเหตุให้สำนักเลขาธิการครม. ไม่จัดระเบียบวาระให้ครม.พิจารณา และทำให้ประกาศกระทรวงทั้งสองฉบับ สิ้นผลบังคับใช้ไปโดยไม่อาจขยายระยะเวลาบังคับใช้ได้ ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องเร่งด่วน ที่ครม.อาจพิจารณาไปก่อนได้ โดยให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติรับรองมติในภายหลัง หรือในวันเดียวกันได้ เห็นว่า ความล่าช้าของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ดุลพินิจของ สำนักเลขาธิการครม. เป็นขั้นตอนการดำเนินการภายในของฝ่ายปกครองที่ไม่อยู่ในการบังคับบัญชา และการควบคุมของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ เมื่อพิจารณาพฤติกรรมทั้งปวงแล้ว ยังไม่อาจถือได้ว่ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ ละเลยต่อหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ในการขยาย หรือต่ออายุประกาศกระทรวงทั้งสองฉบับล่าช้าเกินสมควร
อีกทั้งเมื่อปัจจุบันได้มีประกาศกระทรวงทรัพย์ฯ เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในท้องที่ อ.อ่าวลึก อ.เมืองฯ อ.เหนือคลอง อ.คลองท่อม และ อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ พ.ศ.2559 ลงวันที่ 16 มี.ค.59 บังคับใช้แล้ว เหตุแห่งการฟ้องคดีจึงหมดไป ไม่มีกรณีที่ศาลจะต้องกำหนดคำบังคับให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้้งหมดที่ขอให้กระทรวงทรัพย์ ฯ ต่ออายุประกาศคุ้มครองพื้นที่สิ่งแวดล้อมใน จ.กระบี่ ตามพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 อีกต่อไป