เมื่อ 3 ปีที่แล้ว (2014) Tony Seba นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกาได้ออกมาประกาศผลงานวิจัยของเขาว่า “พลังงานสะอาดจะทำให้น้ำมัน นิวเคลียร์ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน บริษัทผลิตไฟฟ้าและรถยนต์ในปัจจุบันจะกลายเป็นสิ่งล้าสมัยภายในปี 2030” ซึ่งผมเองได้เคยเขียนและนำไปบรรยายหลายครั้งแล้ว
มาวันนี้ (กุมภาพันธ์ 2017) สถาบันวิจัยของ Imperial College London (คนไทยเราน่าจะคุ้นเคยดี) ร่วมกับ Carbon Tracker ซึ่งเป็นกลุ่มนักคิดด้านการเงินที่ไม่แสวงหากำไรและสนใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ได้ออกรายงานผลการวิจัยชื่อ “Expect the Unexpected” ซึ่งผมขอแปลว่า “การคาดการณ์สิ่งที่ไม่เคยคาดคิด” ซึ่งผลวิจัยสรุปสอดคล้องกับนักวิชาการท่านแรกว่า “ภายในปี 2020 (อีก 4 ปีเท่านั้น) รถยนต์ไฟฟ้าและโซลาร์เซลล์ราคาถูกจะหยุดการเพิ่มขึ้นของพลังงานฟอสซิล”
ผลงานวิจัยชิ้นล่าสุดนี้ ได้ยกตัวอย่างถึงความผิดพลาดของ 5 บริษัทไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรปว่า “ในช่วง 2008-2013 บริษัทได้สูญเสียเงินไปถึง 1 แสนล้านยูโร สาเหตุส่วนใหญ่เป็นเพราะความล้มเหลวในการคาดการณ์ถึงการรุกตัวของเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำที่มีต้นทุนลดลงอย่างมาก (ลดลง 99% ในช่วง 40 ปีสุดท้าย) บริษัทเหล่านี้เพิ่งได้ตระหนักว่า ตนได้เข้าสู่ตลาดคาร์บอนต่ำช้าไปถึง 10 ปี”
คงด้วยเหตุนี้แหละครับ ชื่อรายงานการวิจัยจึงออกมาในลักษณะที่ว่า “เข็มขัดสั้น-คาดไม่ถึง” คือ “Expect the Unexpected”
งานวิจัยชิ้นนี้มีความยาว 52 หน้า เพิ่งออกใหม่เมื่อต้นเดือนนี้เอง ผมเองเพิ่งค้นพบเมื่อวานนี้ยังไม่ได้อ่านอย่างละเอียด ท่านที่สนใจสามารถดาวน์โหลดได้ครับ และจะเป็นประโยชน์มากถ้าท่านสามารถนำมาเผยแพร่ให้สาธารณชนคนไทยได้รับทราบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนในรัฐบาลที่ยังไม่ได้ถูกครอบงำจากพ่อค้าพลังงานสกปรก แต่ชอบหลอกคนไทยว่าเป็น “ถ่านหินสะอาด”
บทความวันนี้ ผมขอเพียงแตะๆ พร้อมกับมีข้อมูลเสริมบ้างเพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจ
ภาพแรกเป็นปกของรายงานวิจัย ส่วนข้อความภาษาไทยเป็นการถอดความของผมเองครับ สำหรับภาพที่สองเป็นข้อสรุปของ Press Association ซึ่งสรุปว่า “รถยนต์ไฟฟ้าและพลังงานแสงอาทิตย์ราคาถูกจะหยุดการเพิ่มขึ้นของพลังงานฟอสซิลภายในปี 2020”
พร้อมกับให้ผลวิจัยเสริมว่า “ภายในปี 2035 บนท้องถนนจะมีรถยนต์ไฟฟ้าถึง 35% และจะเพิ่มขึ้นเป็น 66% ภายในปี 2050”


เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจว่า ทำไมคณะนักวิจัยจึงหาญกล้าพยากรณ์ว่า ภายใน 4 ปีเท่านั้นการใช้พลังงานฟอสซิลจะไม่เพิ่มขึ้น ผมมีข้อมูลการใช้พลังงานประเภทต่างๆ ของโลกในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาให้ดูกันครับ

พบว่า การใช้ถ่านหินซึ่งมีจำนวนมากเป็นอันดับสองรองจากน้ำมันได้ลดลงแล้ว แต่การใช้น้ำมันและก๊าซธรรมชาติยังคงเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ผมเห็นว่าไม่ยากเลยที่คำพยากรณ์ดังกล่าวจะเป็นความจริงในอีก 4 ปี
สิ่งที่ต้องพิจารณาก็คือยอดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า (รวมทั้งราคา) จากการค้นคว้าอย่างรวดเร็วของผมพบว่า
โลกใช้เวลา 5 ปี จึงมีรถยนต์ไฟฟ้าจำนวน 0.5 ล้านคันเมื่อสิ้นเดือนกรกฎาคม 2557 แต่อีก 14 เดือนต่อมาได้เพิ่มเป็น 1 ล้านคัน (กันยายน 2558) และเมื่อสิ้นเดือนธันวาคม 2559 รวมรถยนต์ไฟฟ้าที่จำหน่ายไปแล้วมี 2.032 ล้านคัน (http://www.hybridcars.com/the-world-just-bought-its-two-millionth-plug-in-car/) หรือร้อยละ 0.15 ของจำนวนรถยนต์ทั้งโลก
ถ้าคิดเฉพาะการจำหน่ายรถยนต์ใหม่ พบว่าในปี 2016 ยอดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าเท่ากับ 0.86% ของยอดจำหน่ายรถยนต์ทุกประเภท เพิ่มขึ้นจากปี 2015 ซึ่งเท่ากับ 0.38% เรียกว่าเพิ่มมากกว่า 2 เท่าตัว
ในฐานะนักคณิตศาสตร์ ผมคิดคร่าวๆ ประมาณว่าในปี 2020 จะมีรถยนต์ไฟฟ้าบนท้องถนนของโลกไม่ต่ำกว่า 40 ล้านคัน หรือประมาณ 2.8% นี่เป็นการคิดแบบหัวโบราณสุดๆ แล้วนะครับ ไม่รู้ว่าจะได้เห็นในบ้านเราสักคันไหมหนอ!
ในแง่ราคางานวิจัยชิ้นนี้มีการเปรียบราคาระหว่างรถยนต์ไฟฟ้า และรถยนต์ธรรมดาที่เผาไหม้ภายใน ผมยังไม่ได้ศึกษาให้ละเอียดดีพอ กรุณาดูจากราฟไปพรางๆ ก่อนนะครับ

ในแง่การบำรุงรักษา Elon Musk ผู้บริหารสูงสุดของบริษัท Tesla ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าว่า “สิ่งที่เขาผลิตไม่ใช่รถยนต์ แต่มันคือคอมพิวเตอร์ที่วางอยู่บนล้อ” โดยมีชิ้นส่วนที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่เพียง 18 ชิ้นเท่านั้น ดังนั้น ค่าบำรุงรักษาจึงต่ำมากๆ แถมเชื้อเพลิงก็สามารถชาร์จจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่อยู่บนหลังคาได้
พูดถึงการคาดการณ์ในอนาคต วันก่อนผมได้มีโอกาสฟังการเสวนาของผู้แทนจากสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ท่านบอกว่าทางรัฐบาลได้มอบหมายให้สภาพัฒน์จัดทำกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งมีกลไกหลายตัว หนึ่งในนั้นคือ อัตราการเติบโตของจีดีพีเท่ากับ 5-6% ต่อปี
ผมได้ตั้งคำถามว่า 5-6% มันสูงจะเกินไปไหม เอาหลักการอะไรมาคิดว่าจะต้องโตเท่านี้ เท่าที่ผมติดตามหลายประเทศที่เคยโตเยอะๆ ด้วยตัวเลข 2 หลักก็ได้ลดลงมาแล้ว ประเทศไทยเราก็น่าจะเลยสถานการณ์นั้นไปแล้ว ที่ผ่านมาในช่วง 2-3 ปีมานี้ เราโตแค่ 0.8 ถึง 2.8 หรือ 3% เองการคาดการณ์ที่สูงเกินความจริงจะส่งผลให้แผนของประเทศ เช่น แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (พีดีพี 2015) ก็จะมีปัญหา คือคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะโตเฉลี่ย 3.94% ตลอดช่วง 2558-2573 เมื่อเป็นเช่นนี้จึงต้องสร้างโรงไฟฟ้าไว้รองรับจำนวนมากๆ ส่งผลให้โรงไฟฟ้าเหลืออื้อ
แต่ท่านวิทยากรพยายามจะอธิบายถึงสูตรคิดจีดีพี ผมเสียดายมากที่ไม่มีเวลาในการแลกเปลี่ยน ผมได้นำผลการคาดการณ์ของธนาคารโลกล่าสุดเมื่อมกราคม 2560 มาให้ดูด้วยครับ ซึ่งเขาพยากรณ์ไปถึงปี 2562 ซึ่งก็พบว่า จีดีพีของประเทศเราจะโตเพียงแค่ 3.4% ไม่ใช่ 5-6% ตามกรอบคิดของสภาพัฒน์แต่อย่างใด

ผมเองเคยเขียนตำราคณิตศาสตร์ประยุกต์ชื่อ “คณิตศาสตร์ของการเติบโต” หลักการสำคัญของการเติบโตมี 2 ข้อ คือ “อัตราการเติบโตแปรตามจำนวนประชากรที่มีอยู่ และแปรจำนวนทรัพยากรธรรมชาติที่เหลืออยู่” พูดง่ายๆ ก็คือมันมีจุดอิ่มตัวของมัน จะให้มันโตตามใจนึกของเราไม่ได้ครับ
หลักการนี้ใช้ได้กับหลายเรื่องรวมทั้งเรื่องจำนวนนักท่องเที่ยว จำนวนไฟฟ้าที่ใช้ ที่รัฐบาลไทยมักนำมาอ้างเสมอๆ โดยไม่รู้จักคำว่า“อิ่มตัว” หรือ “พอเพียง” และประเทศไทยกำลังจะผิดพลาดอย่างแรงกับโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ทั่วประเทศจำนวนเกือบ 8 พันเมกะวัตต์ นอกจากจำนวนโรงไฟฟ้าจะมากล้นเกินแล้ว ยังมองข้ามเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำที่ 5 บริษัทไฟฟ้าขนาดยักษ์ในสหภาพยุโรปได้ประสบมาแล้ว
มาวันนี้ (กุมภาพันธ์ 2017) สถาบันวิจัยของ Imperial College London (คนไทยเราน่าจะคุ้นเคยดี) ร่วมกับ Carbon Tracker ซึ่งเป็นกลุ่มนักคิดด้านการเงินที่ไม่แสวงหากำไรและสนใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ได้ออกรายงานผลการวิจัยชื่อ “Expect the Unexpected” ซึ่งผมขอแปลว่า “การคาดการณ์สิ่งที่ไม่เคยคาดคิด” ซึ่งผลวิจัยสรุปสอดคล้องกับนักวิชาการท่านแรกว่า “ภายในปี 2020 (อีก 4 ปีเท่านั้น) รถยนต์ไฟฟ้าและโซลาร์เซลล์ราคาถูกจะหยุดการเพิ่มขึ้นของพลังงานฟอสซิล”
ผลงานวิจัยชิ้นล่าสุดนี้ ได้ยกตัวอย่างถึงความผิดพลาดของ 5 บริษัทไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรปว่า “ในช่วง 2008-2013 บริษัทได้สูญเสียเงินไปถึง 1 แสนล้านยูโร สาเหตุส่วนใหญ่เป็นเพราะความล้มเหลวในการคาดการณ์ถึงการรุกตัวของเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำที่มีต้นทุนลดลงอย่างมาก (ลดลง 99% ในช่วง 40 ปีสุดท้าย) บริษัทเหล่านี้เพิ่งได้ตระหนักว่า ตนได้เข้าสู่ตลาดคาร์บอนต่ำช้าไปถึง 10 ปี”
คงด้วยเหตุนี้แหละครับ ชื่อรายงานการวิจัยจึงออกมาในลักษณะที่ว่า “เข็มขัดสั้น-คาดไม่ถึง” คือ “Expect the Unexpected”
งานวิจัยชิ้นนี้มีความยาว 52 หน้า เพิ่งออกใหม่เมื่อต้นเดือนนี้เอง ผมเองเพิ่งค้นพบเมื่อวานนี้ยังไม่ได้อ่านอย่างละเอียด ท่านที่สนใจสามารถดาวน์โหลดได้ครับ และจะเป็นประโยชน์มากถ้าท่านสามารถนำมาเผยแพร่ให้สาธารณชนคนไทยได้รับทราบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนในรัฐบาลที่ยังไม่ได้ถูกครอบงำจากพ่อค้าพลังงานสกปรก แต่ชอบหลอกคนไทยว่าเป็น “ถ่านหินสะอาด”
บทความวันนี้ ผมขอเพียงแตะๆ พร้อมกับมีข้อมูลเสริมบ้างเพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจ
ภาพแรกเป็นปกของรายงานวิจัย ส่วนข้อความภาษาไทยเป็นการถอดความของผมเองครับ สำหรับภาพที่สองเป็นข้อสรุปของ Press Association ซึ่งสรุปว่า “รถยนต์ไฟฟ้าและพลังงานแสงอาทิตย์ราคาถูกจะหยุดการเพิ่มขึ้นของพลังงานฟอสซิลภายในปี 2020”
พร้อมกับให้ผลวิจัยเสริมว่า “ภายในปี 2035 บนท้องถนนจะมีรถยนต์ไฟฟ้าถึง 35% และจะเพิ่มขึ้นเป็น 66% ภายในปี 2050”
เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจว่า ทำไมคณะนักวิจัยจึงหาญกล้าพยากรณ์ว่า ภายใน 4 ปีเท่านั้นการใช้พลังงานฟอสซิลจะไม่เพิ่มขึ้น ผมมีข้อมูลการใช้พลังงานประเภทต่างๆ ของโลกในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาให้ดูกันครับ
พบว่า การใช้ถ่านหินซึ่งมีจำนวนมากเป็นอันดับสองรองจากน้ำมันได้ลดลงแล้ว แต่การใช้น้ำมันและก๊าซธรรมชาติยังคงเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ผมเห็นว่าไม่ยากเลยที่คำพยากรณ์ดังกล่าวจะเป็นความจริงในอีก 4 ปี
สิ่งที่ต้องพิจารณาก็คือยอดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า (รวมทั้งราคา) จากการค้นคว้าอย่างรวดเร็วของผมพบว่า
โลกใช้เวลา 5 ปี จึงมีรถยนต์ไฟฟ้าจำนวน 0.5 ล้านคันเมื่อสิ้นเดือนกรกฎาคม 2557 แต่อีก 14 เดือนต่อมาได้เพิ่มเป็น 1 ล้านคัน (กันยายน 2558) และเมื่อสิ้นเดือนธันวาคม 2559 รวมรถยนต์ไฟฟ้าที่จำหน่ายไปแล้วมี 2.032 ล้านคัน (http://www.hybridcars.com/the-world-just-bought-its-two-millionth-plug-in-car/) หรือร้อยละ 0.15 ของจำนวนรถยนต์ทั้งโลก
ถ้าคิดเฉพาะการจำหน่ายรถยนต์ใหม่ พบว่าในปี 2016 ยอดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าเท่ากับ 0.86% ของยอดจำหน่ายรถยนต์ทุกประเภท เพิ่มขึ้นจากปี 2015 ซึ่งเท่ากับ 0.38% เรียกว่าเพิ่มมากกว่า 2 เท่าตัว
ในฐานะนักคณิตศาสตร์ ผมคิดคร่าวๆ ประมาณว่าในปี 2020 จะมีรถยนต์ไฟฟ้าบนท้องถนนของโลกไม่ต่ำกว่า 40 ล้านคัน หรือประมาณ 2.8% นี่เป็นการคิดแบบหัวโบราณสุดๆ แล้วนะครับ ไม่รู้ว่าจะได้เห็นในบ้านเราสักคันไหมหนอ!
ในแง่ราคางานวิจัยชิ้นนี้มีการเปรียบราคาระหว่างรถยนต์ไฟฟ้า และรถยนต์ธรรมดาที่เผาไหม้ภายใน ผมยังไม่ได้ศึกษาให้ละเอียดดีพอ กรุณาดูจากราฟไปพรางๆ ก่อนนะครับ
ในแง่การบำรุงรักษา Elon Musk ผู้บริหารสูงสุดของบริษัท Tesla ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าว่า “สิ่งที่เขาผลิตไม่ใช่รถยนต์ แต่มันคือคอมพิวเตอร์ที่วางอยู่บนล้อ” โดยมีชิ้นส่วนที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่เพียง 18 ชิ้นเท่านั้น ดังนั้น ค่าบำรุงรักษาจึงต่ำมากๆ แถมเชื้อเพลิงก็สามารถชาร์จจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่อยู่บนหลังคาได้
พูดถึงการคาดการณ์ในอนาคต วันก่อนผมได้มีโอกาสฟังการเสวนาของผู้แทนจากสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ท่านบอกว่าทางรัฐบาลได้มอบหมายให้สภาพัฒน์จัดทำกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งมีกลไกหลายตัว หนึ่งในนั้นคือ อัตราการเติบโตของจีดีพีเท่ากับ 5-6% ต่อปี
ผมได้ตั้งคำถามว่า 5-6% มันสูงจะเกินไปไหม เอาหลักการอะไรมาคิดว่าจะต้องโตเท่านี้ เท่าที่ผมติดตามหลายประเทศที่เคยโตเยอะๆ ด้วยตัวเลข 2 หลักก็ได้ลดลงมาแล้ว ประเทศไทยเราก็น่าจะเลยสถานการณ์นั้นไปแล้ว ที่ผ่านมาในช่วง 2-3 ปีมานี้ เราโตแค่ 0.8 ถึง 2.8 หรือ 3% เองการคาดการณ์ที่สูงเกินความจริงจะส่งผลให้แผนของประเทศ เช่น แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (พีดีพี 2015) ก็จะมีปัญหา คือคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะโตเฉลี่ย 3.94% ตลอดช่วง 2558-2573 เมื่อเป็นเช่นนี้จึงต้องสร้างโรงไฟฟ้าไว้รองรับจำนวนมากๆ ส่งผลให้โรงไฟฟ้าเหลืออื้อ
แต่ท่านวิทยากรพยายามจะอธิบายถึงสูตรคิดจีดีพี ผมเสียดายมากที่ไม่มีเวลาในการแลกเปลี่ยน ผมได้นำผลการคาดการณ์ของธนาคารโลกล่าสุดเมื่อมกราคม 2560 มาให้ดูด้วยครับ ซึ่งเขาพยากรณ์ไปถึงปี 2562 ซึ่งก็พบว่า จีดีพีของประเทศเราจะโตเพียงแค่ 3.4% ไม่ใช่ 5-6% ตามกรอบคิดของสภาพัฒน์แต่อย่างใด
ผมเองเคยเขียนตำราคณิตศาสตร์ประยุกต์ชื่อ “คณิตศาสตร์ของการเติบโต” หลักการสำคัญของการเติบโตมี 2 ข้อ คือ “อัตราการเติบโตแปรตามจำนวนประชากรที่มีอยู่ และแปรจำนวนทรัพยากรธรรมชาติที่เหลืออยู่” พูดง่ายๆ ก็คือมันมีจุดอิ่มตัวของมัน จะให้มันโตตามใจนึกของเราไม่ได้ครับ
หลักการนี้ใช้ได้กับหลายเรื่องรวมทั้งเรื่องจำนวนนักท่องเที่ยว จำนวนไฟฟ้าที่ใช้ ที่รัฐบาลไทยมักนำมาอ้างเสมอๆ โดยไม่รู้จักคำว่า“อิ่มตัว” หรือ “พอเพียง” และประเทศไทยกำลังจะผิดพลาดอย่างแรงกับโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ทั่วประเทศจำนวนเกือบ 8 พันเมกะวัตต์ นอกจากจำนวนโรงไฟฟ้าจะมากล้นเกินแล้ว ยังมองข้ามเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำที่ 5 บริษัทไฟฟ้าขนาดยักษ์ในสหภาพยุโรปได้ประสบมาแล้ว