ผู้จัดการรายวัน360-"บิ๊กป้อม"ลั่นรัฐบาลไม่ได้ถอย ย้ำยังต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ เหตุจำเป็นต้องดูแลเรื่องพลังงานในภาคใต้ และขอให้ไว้ใจรัฐบาล เผย ครม.วันนี้ เตรียมหารือมติ กพช. ที่ให้เดินหน้าโรงไฟฟ้ากระบี่ ยันไม่มีการเซตซีโร่ แต่จะมีการปรับปรุงรายงาน EHIA ให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น ชี้หากเริ่มทำกันใหม่ อาจเสร็จปี 67 ภาคใต้เสี่ยงเกินไป
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เปิดเผยถึงปัญหาการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าถ่านหินที่ จ.กระบี่ ว่า ปัจจุบันเราประสบปัญหากับความไม่เข้าใจของประชาชน เช่น ความไม่เข้าใจในเรื่องของพลังงานของคนส่วนหนึ่ง แต่ต้องคิดว่ารัฐบาลได้ดำเนินการหาวิธีต่างๆ ในเรื่องของพลังงานเพื่อให้พื้นที่ภาคใต้มีพลังงานใช้ เพราะต่อไปไฟฟ้าที่เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี จ.ภูเก็ต จะต้องไม่ดับ ซึ่งต้องเตรียมการล่วงหน้า ไม่ใช่ว่าจะไม่มีโรงไฟฟ้าที่จะดูแลประชาชนในอนาคตเลย แต่ยังมีประชาชนไม่เข้าใจ ทั้งในเรื่องของสิ่งแวดล้อม เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA และรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือ EHIA ซึ่งฉบับเดิม มีผู้ทรงคุณวุฒิได้ไปศึกษาแล้ว และสรุปว่ามีความจำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน
"โรงไฟฟ้าถ่านหินยุคใหม่ ไม่เหมือนยุคเก่า มีการเผาไหม้ทั้งหมด เนื่องจากถ่านหินมีหลายระดับ เพื่อที่จะนำไปใช้ในเรื่องของการผลิตพลังงาน ซึ่งต้องเข้าใจตรงนี้ ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ รัฐบาลอยากจะทำอะไรก็ทำ รัฐบาลมีผู้ทรงคุณวุฒิ มีผู้เชี่ยวชาญ ในการที่จะให้ความคิดมากมาย เพื่อให้ประเทศเดินไปข้างหน้าให้ได้ โดยมียุทธศาสตร์ที่ถูกต้อง มีการปฏิรูปประเทศ รวมถึงการปฏิรูปในหลายๆ เรื่อง"
พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า ข้อเสนอจากนักวิชาการให้ใช้น้ำมันปาล์มมาผลิตไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าถ่านหิน ตนไม่เถียง อะไรก็สามารถทำได้ เวลานี้รัฐบาลทำมาทั้งหมด ได้มีการทำตามขั้นตอนทุกอย่าง ซึ่งกรณีที่นายกรัฐมนตรีสั่งยกเลิกรายงาน EIA และ EHIA ฉบับเดิมออกไป หลังถูกประชาชนในพื้นที่คัดค้าน ตนคิดว่า ชะลอก็เพื่อดำเนินการ แล้วจะเสนอมาอีก เพราะถ้าไม่ทำโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ภาคใต้ ไฟฟ้าก็จะดับ เพราะมีปริมาณไฟฟ้าไม่เพียงพอ จึงมีความจำเป็นที่สร้างขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ ส่วนจะใช้พลังงานอื่นๆ ทดแทน อาทิ น้ำมันปาล์มนั้น ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน
"ตอนนี้กำลังพิจารณาว่าถ่านหินมีหลายชนิด มีทั้งดี มีทั้งเลว และไม่มีมลภาวะ ผมอยากให้ไว้ใจรัฐบาล ที่ใช้ทั้งนักวิชาการที่เชียวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิในการสำรวจ ไม่ใช่คิดเอง ทำเอง ขอคิดเข้าข้างรัฐบาลบ้าง ไม่ใช่มาโจมตีรัฐบาลว่าต้องทำอย่างนั้น ทำอย่างนี้ ส่วนที่นายกฯ ยอมทบทวน อยากให้เข้าใจว่า เราทำใหม่อย่างไร ต้องมีกระบวนการ EHIA แน่นอน และรัฐบาลไม่ได้ถอย ทุกอย่างทำตามขั้นตอน และทำตามกฎหมาย และขณะนี้ยังไม่มีรายงานว่ามีการเมืองมาเกี่ยวข้อง" พล.อ.ประวิตร กล่าว
พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รมว.พลังงาน กล่าวว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 21 ก.พ. จะมีการเสนอแนะให้จัดทำ EHIAโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ และการรายงาน EIA ในส่วนท่าเรือที่เป็นรูปแบบประชาชนมีส่วนร่วม โดยจะนำข้อมูลต่างๆมาปรับปรุง โดยเฉพาะความเห็นของคณะกรรมการไตรภาคี เพื่อให้เดินหน้าโดยไม่เสียเวลา เพราะหากทำEHIAใหม่เลย โรงไฟฟ้ากระบี่จะเสร็จปี 2567 ทำให้ระหว่างนี้ การใช้ไฟภาคใต้ ก็โตเรื่อย เสี่ยงที่จะบริหารจัดการ อยากให้เอากติกาที่พูดมายอมรับกันโดยอาจทบทวนEHIA ที่เห็นว่าควรปรับปรุง ข้อไหนที่ดีแล้วก็เดินหน้าตามนั้น หากทำวิธีนี้ก็จะเร็ว คือ จะเสร็จได้ในปี 2564-65
ทั้งนี้ การประชุม ครม. จะมีการพิจารณาตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่กำหนดให้เดินหน้าโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ เพราะเดิมให้ชะลอไว้ให้เดินหน้าต่อไปได้ ไม่ได้เป็นการอนุมัติให้ก่อสร้าง เพราะขณะนี้ยังไม่ได้ผ่าน EHIA ก็ต้องทำตามกฏหมาย หากไม่ผ่าน ก็เดินหน้าไม่ได้ ซึ่งการทำรายงานด้านสิ่งแวดล้อมมติ กพช. ได้กำหนดให้นำเอาความเห็นไตรภาคีประกอบ คือ ฟังความเห็นประชาชน ขยายพื้นที่กองทุนรอบโรงไฟฟ้า และดูแลประชาชนให้มากขึ้น
นายสหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ.ต้องรอการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 21 ก.พ.นี้ว่าจะตัดสินใจอย่างไรต่อการเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ เพราะหากต้องทำ EHIA ใหม่จะต้องใช้เวลา 2-2.5 ปี ก็จะยิ่งทำให้โครงการล่าช้าออกไปจากการคาดการณ์ใหม่ว่าจะเสร็จในปี 2564-65 จากเดิมปี 2562 และยิ่งช้ายิ่งมีความเสี่ยง เพราะความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคใต้ขยายตัว 4-5% ต่อปี
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เปิดเผยถึงปัญหาการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าถ่านหินที่ จ.กระบี่ ว่า ปัจจุบันเราประสบปัญหากับความไม่เข้าใจของประชาชน เช่น ความไม่เข้าใจในเรื่องของพลังงานของคนส่วนหนึ่ง แต่ต้องคิดว่ารัฐบาลได้ดำเนินการหาวิธีต่างๆ ในเรื่องของพลังงานเพื่อให้พื้นที่ภาคใต้มีพลังงานใช้ เพราะต่อไปไฟฟ้าที่เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี จ.ภูเก็ต จะต้องไม่ดับ ซึ่งต้องเตรียมการล่วงหน้า ไม่ใช่ว่าจะไม่มีโรงไฟฟ้าที่จะดูแลประชาชนในอนาคตเลย แต่ยังมีประชาชนไม่เข้าใจ ทั้งในเรื่องของสิ่งแวดล้อม เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA และรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือ EHIA ซึ่งฉบับเดิม มีผู้ทรงคุณวุฒิได้ไปศึกษาแล้ว และสรุปว่ามีความจำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน
"โรงไฟฟ้าถ่านหินยุคใหม่ ไม่เหมือนยุคเก่า มีการเผาไหม้ทั้งหมด เนื่องจากถ่านหินมีหลายระดับ เพื่อที่จะนำไปใช้ในเรื่องของการผลิตพลังงาน ซึ่งต้องเข้าใจตรงนี้ ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ รัฐบาลอยากจะทำอะไรก็ทำ รัฐบาลมีผู้ทรงคุณวุฒิ มีผู้เชี่ยวชาญ ในการที่จะให้ความคิดมากมาย เพื่อให้ประเทศเดินไปข้างหน้าให้ได้ โดยมียุทธศาสตร์ที่ถูกต้อง มีการปฏิรูปประเทศ รวมถึงการปฏิรูปในหลายๆ เรื่อง"
พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า ข้อเสนอจากนักวิชาการให้ใช้น้ำมันปาล์มมาผลิตไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าถ่านหิน ตนไม่เถียง อะไรก็สามารถทำได้ เวลานี้รัฐบาลทำมาทั้งหมด ได้มีการทำตามขั้นตอนทุกอย่าง ซึ่งกรณีที่นายกรัฐมนตรีสั่งยกเลิกรายงาน EIA และ EHIA ฉบับเดิมออกไป หลังถูกประชาชนในพื้นที่คัดค้าน ตนคิดว่า ชะลอก็เพื่อดำเนินการ แล้วจะเสนอมาอีก เพราะถ้าไม่ทำโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ภาคใต้ ไฟฟ้าก็จะดับ เพราะมีปริมาณไฟฟ้าไม่เพียงพอ จึงมีความจำเป็นที่สร้างขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ ส่วนจะใช้พลังงานอื่นๆ ทดแทน อาทิ น้ำมันปาล์มนั้น ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน
"ตอนนี้กำลังพิจารณาว่าถ่านหินมีหลายชนิด มีทั้งดี มีทั้งเลว และไม่มีมลภาวะ ผมอยากให้ไว้ใจรัฐบาล ที่ใช้ทั้งนักวิชาการที่เชียวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิในการสำรวจ ไม่ใช่คิดเอง ทำเอง ขอคิดเข้าข้างรัฐบาลบ้าง ไม่ใช่มาโจมตีรัฐบาลว่าต้องทำอย่างนั้น ทำอย่างนี้ ส่วนที่นายกฯ ยอมทบทวน อยากให้เข้าใจว่า เราทำใหม่อย่างไร ต้องมีกระบวนการ EHIA แน่นอน และรัฐบาลไม่ได้ถอย ทุกอย่างทำตามขั้นตอน และทำตามกฎหมาย และขณะนี้ยังไม่มีรายงานว่ามีการเมืองมาเกี่ยวข้อง" พล.อ.ประวิตร กล่าว
พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รมว.พลังงาน กล่าวว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 21 ก.พ. จะมีการเสนอแนะให้จัดทำ EHIAโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ และการรายงาน EIA ในส่วนท่าเรือที่เป็นรูปแบบประชาชนมีส่วนร่วม โดยจะนำข้อมูลต่างๆมาปรับปรุง โดยเฉพาะความเห็นของคณะกรรมการไตรภาคี เพื่อให้เดินหน้าโดยไม่เสียเวลา เพราะหากทำEHIAใหม่เลย โรงไฟฟ้ากระบี่จะเสร็จปี 2567 ทำให้ระหว่างนี้ การใช้ไฟภาคใต้ ก็โตเรื่อย เสี่ยงที่จะบริหารจัดการ อยากให้เอากติกาที่พูดมายอมรับกันโดยอาจทบทวนEHIA ที่เห็นว่าควรปรับปรุง ข้อไหนที่ดีแล้วก็เดินหน้าตามนั้น หากทำวิธีนี้ก็จะเร็ว คือ จะเสร็จได้ในปี 2564-65
ทั้งนี้ การประชุม ครม. จะมีการพิจารณาตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่กำหนดให้เดินหน้าโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ เพราะเดิมให้ชะลอไว้ให้เดินหน้าต่อไปได้ ไม่ได้เป็นการอนุมัติให้ก่อสร้าง เพราะขณะนี้ยังไม่ได้ผ่าน EHIA ก็ต้องทำตามกฏหมาย หากไม่ผ่าน ก็เดินหน้าไม่ได้ ซึ่งการทำรายงานด้านสิ่งแวดล้อมมติ กพช. ได้กำหนดให้นำเอาความเห็นไตรภาคีประกอบ คือ ฟังความเห็นประชาชน ขยายพื้นที่กองทุนรอบโรงไฟฟ้า และดูแลประชาชนให้มากขึ้น
นายสหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ.ต้องรอการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 21 ก.พ.นี้ว่าจะตัดสินใจอย่างไรต่อการเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ เพราะหากต้องทำ EHIA ใหม่จะต้องใช้เวลา 2-2.5 ปี ก็จะยิ่งทำให้โครงการล่าช้าออกไปจากการคาดการณ์ใหม่ว่าจะเสร็จในปี 2564-65 จากเดิมปี 2562 และยิ่งช้ายิ่งมีความเสี่ยง เพราะความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคใต้ขยายตัว 4-5% ต่อปี