ผู้จัดการรายวัน360- แฉกระบวนการประมูลเน็ตประชารัฐทีโอที เล่นไม่ซื่อ แก้ไขตัวเลขผู้เสนออุปกรณ์บางรายการ ทำผิดทีโออาร์โจ๋งครึ่ม เดินหมากเอื้อประโยชน์ให้ผู้เสนอราคาต่ำสุดลำดับ1 กับลำดับ 2 ที่ใช้ยี่ห้อ ZTE เหมือนกันนอนมาให้ได้ พบผู้บริหารระดับสูงมีเอี่ยวกับการประมูลที่ส่อว่าไม่น่าจะโปร่งใส
หลังการเปิดซองราคาจัดซื้ออุปกรณ์รองรับโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านสื่อสัญญาณเคเบิลใยแก้วนำแสง FTTx หรือเรียกสั้นๆว่า 'โครงการเน็ตประชารัฐ' งบประมาณ 4.3 พันล้านบาท ของบริษัท ทีโอที (มหาชน) เมื่อวันที่ 10 ก.พ. ที่ผ่านมา และจะใช้เวลาตามปฎิทิน 10 วัน พิจารณาซึ่งจะรู้ผลภายในวันที่ 20 ก.พ.นี้
รวมทั้งจะสามารถประกาศรายชื่อผู้ชนะในแต่ละสัญญาได้ในวันที่ 23 ก.พ. และคาดว่าจะลงนามสัญญาประมาณต้นเดือนมี.ค. หลังจากนั้นในเดือนพ.ค.จะดำเนินการติดตั้งและส่งมอบได้จำนวนประมาณ 3,000 หมู่บ้าน ซึ่งจะดำเนินการติดตั้งและส่งมอบทุกเดือนโดยคาดว่าภายในเดือนธ.ค.60 จะติดตั้งครบ 24,700 หมู่บ้านตามเป้าหมาย
ถึงภาพรวมจะสร้างความพอใจให้ นายมรกต เธียรมนตรี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที ในฐานะผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิตอล เพราะราคาที่ผู้เข้าประมูลเสนอมานั้น ต่ำกว่าราคากลางที่ตั้งไว้เฉลี่ยแล้วมากกว่า 20%
แต่สำหรับผู้เข้าร่วมประมูลบางราย กลับพบข้อพิรุธในขั้นตอนการเปิดราคาที่มีการแก้ไขตัวเลขช่วยบริษัทบางรายของกรรมการ ทำถึงขนาดช่วยกดเครื่องคิดเลขให้ซึ่งปรากฏให้เห็นชัดเจนบนกระดานเสนอราคา ทั้ง Before และ After รวมทั้งพฤติกรรมบางอย่างของผู้บริหารทีโอที ที่ส่อไปในทางเอื้อประโยชน์ให้เวนเดอร์บางรายจนเห็นได้ชัด และข้อสังเกตถึงกระบวนการจัดซื้อที่ดูเหมือนจะไม่ค่อยโปร่งใส เหมือนกับความตั้งใจที่จะสื่อสารให้คนทั่วไปรับรู้
การประมูลครั้งนี้ ทีโอที จัดซื้อจำนวน 5 ประเภทอุปกรณ์ คือ 1. เคเบิลใยแก้วนำแสง(Optical Fiber Cabel) 2. อุปกรณ์ข่ายสาย ODN 3. อุปกรณ์ Optical Line Terminal (OLT) 4. อุปกรณ์ Switch และ 5. อุปกรณ์ Wireless Access Point โดยบริษัท ฟอร์ทคอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดในสัญญาเคเบิลใยแก้วนำแสง ขณะที่สัญญาที่ 2 อุปกรณ์ข่ายสาย ODN มีผู้เสนอราคาต่ำสุดใน 3 รายการ ๆ ละ 1 บริษัท คือ บริษัท โกลบอล เมช จำกัด, บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไนน์เน็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด สำหรับสัญญาที่ 3 อุปกรณ์ OLTและ สัญญาที่ 4 อุปกรณ์ Switch บริษัท แอ็ดวานซ์ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอที เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด ส่วนสัญญาที่ 5 อุปกรณ์กระจายสัญญาณแบบไร้สาย Wireless Access Point บริษัท เอสวีโอเอ จำกัด (มหาชน) เสนอราคาต่ำสุด
โดยสัญญาที่ 3 อุปกรณ์ OLCถือว่ามีหลักฐานชัดเจนที่สุดว่าเกิดความไม่ชอบมาพากลระดับสึนามิถล่มชายหาด หลังพบว่ามีการเอื้อประโยชน์อย่างเห็นได้ชัด หลังเอไอที เสนอราคาต่ำสุดที่ 685.25 ล้านบาท และมีบริษัท เอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด เสนอราคาต่ำเป็นลำดับที่ 2 ที่ 864 ล้านบาท
แหล่งข่าวที่อยู่ในเหตุการณ์เปิดราคาวันนั้นด้วยระบุว่า ในการพิจารณาผลของทีโอที จะเลือกบริษัทที่เสนอราคาต่ำสุดก่อน ซึ่งหากตกเทคนิค หรือ คุณสมบัติไม่ผ่านตามทีโออาร์ ก็จะเลื่อนไปพิจารณาผู้เสนอราคาต่ำสุดรายถัดไป หมายความว่า ลำดับในการเสนอราคามีความสำคัญมากในการพิจารณา เพราะหากเอ็นอีซีฯ ที่เสนอราคาทั้งตัวเลขพร้อมตัวหนังสือกำกับ ที่ทีโออาร์ระบุว่าให้ยึดตามตัวหนังสือเป็นหลักและต้องเป็นราคาเดียว ที่ปรากฎบนกระดานไวท์บอร์ดครั้งแรกคือลำดับที่ 4 เสนอราคา 1,399 ล้านบาท แต่เมื่อได้รับความช่วยเหลือขั้นเทพ แก้ราคาลดลงมาเหลือ 864 ล้านบาท เท่ากับเป็นการลิดรอนสิทธิ์บริษัทที่อยู่ในลำดับ 2 เดิม ให้เลื่อนลงไปเป็นลำดับ 3 แล้วเอ็นอีซีฯ ขึ้นมาเป็นลำดับ 2 แทน
"ที่น่าสนใจคือ เอไอที กับ เอ็นอีซี ใช้อุปกรณ์ ZTE เหมือนกัน หมายความว่าถ้าต่ำสุดที่ 1 ตก ยังมีต่ำสุดที่ 2 ให้พิจารณาต่อ เรียกว่าจะเอายี่ห้อนี้ให้ได้"
การแก้ไขราคาของเอ็นอีซีฯ โดยไม่สนใจว่าผิดทีโออาร์หรือไม่นั้น กรรมการอ้างว่าราคา 1,399 ล้านบาท ที่มือลั่นเขียนบนกระดานครั้งแรกนั้น เป็นราคาที่รวมข้อเสนอเผื่อเลือก ซึ่งเมื่อ"รองม." เห็นเข้า จึงสั่งให้แก้ไขเพราะเป็นตัวเลขที่สูงเกินไป โดยให้กรรมการช่วยกันกดเครื่องคิดเลขลบรายการเผื่อเลือกหลายแหล่นั้นออกไปให้หมด จนเหลือ 864 ล้านบาท ตามหมากที่วางไว้แค่ต้องการให้เป็นที่ 2 เผื่อไว้แค่นั้น
"วันนั้นก็มีคนถามว่าแก้ตัวเลขอย่างนั้นได้เหรอ ซึ่งกรรมการคุณธรรมก็ตอบว่า แก้ได้ไม่เป็นไร คำถามคือ มันผิดทีโออาร์หรือไม่ และมันเป็นธรรมกับผู้ประมูลรายอื่นหรือไม่ ทำเช่นนี้เป็นการเอื้อประโยชน์หรือเปล่า"
นอกจากเรื่องแก้ไขตัวเลขที่มีหลักฐานบ่งชัดแล้ว ความใกล้ชิด สายสัมพันธ์ หรือ คอนเน็กชั่นระหว่างผู้บริหารทีโอทีกับเอกชน ก็เป็นคำถามมาตลอดเมื่อถามหาความโปร่งใสจากการประมูล เพราะผู้บริหารทีโอทีบางคน ประจักษ์ แจ้งว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการประมูลแทบทุกขั้นตอนไม่ว่าจะเป็นคณะจัดทำเงื่อนไขการประมูลหรือทีโออาร์ คณะกรรมการจัดทำราคากลาง และคณะกรรมการพิจารณาผลการประมูล คนนี้คนเดียวย่อมรู้แน่ชัดว่าราคากลางเป็นเท่าไหร่ และ ควรเสนอราคาเท่าไหร่ก็สามารถชนะได้ เพราะหากดูราคาที่ผู้ประมูลเสนอมาแต่ละรายกับรายต่ำสุด จะเห็นได้ว่าแตกต่างกันระดับน่าตกใจ
จนอาจเข้าใจได้ว่าราคากลางมีการรั่วไหลถึงหูคนภายนอก เพราะโครงการเน็ตประชารัฐหลังเปลี่ยนมือมาให้ทีโอทีดำเนินการจัดซื้อจัดหา มีการประกาศราคากลางภาพรวมของอุปกรณ์ OLC 1,395 ล้านบาทที่ปรากฎบนเว็บเมื่อวันที่ 20 ม.ค.เท่านั้น โดยไม่ได้แยกย่อยราคากลางของอุปกรณ์ที่ประกอบรวมทั้งหมด 4 อุปกรณ์ในรายการนี้
"แค่รู้ราคากลางทั้ง 4 อุปกรณ์ ก็เรียกได้ว่าแทบจะชนะการประมูลแน่นอน เมื่อรวมถึงแผน 2 ที่ทำให้เอ็นอีซีฯ ขึ้นมาเป็นลำดับ 2 ก็เรียกได้ว่านอนมาแล้ว ก็คงเอาแค่ถูกใจโดยไม่ดูความถูกต้อง"
"นอกจากนี้ยังมีการตั้งข้อสังเกตถึงงบประมาณรวมทั้งหมดของโครงการเน็ตประชารัฐ 1.3 หมื่นล้านบาท ที่เดิมแบ่งเป็นอุปกรณ์ประมาณ 7 พันล้านบาท อีก 6 พันล้าน เป็นส่วนของ ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและการบริหารจัดการ แต่ทีโอทีได้เปลี่ยนแปลงวงเงินเพื่อซื้ออุปกรณ์จาก 7 พันล้านบาทเป็น 4.3 พันล้านบาท ซึ่งส่วนที่เหลืออีก 8.7 พันล้านบาทจะเป็นส่วนของค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและการบริหารจัดการ ที่น่าแปลกใจคือในส่วนของอุปกรณ์นั้นทีโอทีทำการเปิดประมูล แต่ส่วนของการติดตั้งนั้นยังไม่มีการเปิดประมูลแต่อย่างใด
หลังการเปิดซองราคาจัดซื้ออุปกรณ์รองรับโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านสื่อสัญญาณเคเบิลใยแก้วนำแสง FTTx หรือเรียกสั้นๆว่า 'โครงการเน็ตประชารัฐ' งบประมาณ 4.3 พันล้านบาท ของบริษัท ทีโอที (มหาชน) เมื่อวันที่ 10 ก.พ. ที่ผ่านมา และจะใช้เวลาตามปฎิทิน 10 วัน พิจารณาซึ่งจะรู้ผลภายในวันที่ 20 ก.พ.นี้
รวมทั้งจะสามารถประกาศรายชื่อผู้ชนะในแต่ละสัญญาได้ในวันที่ 23 ก.พ. และคาดว่าจะลงนามสัญญาประมาณต้นเดือนมี.ค. หลังจากนั้นในเดือนพ.ค.จะดำเนินการติดตั้งและส่งมอบได้จำนวนประมาณ 3,000 หมู่บ้าน ซึ่งจะดำเนินการติดตั้งและส่งมอบทุกเดือนโดยคาดว่าภายในเดือนธ.ค.60 จะติดตั้งครบ 24,700 หมู่บ้านตามเป้าหมาย
ถึงภาพรวมจะสร้างความพอใจให้ นายมรกต เธียรมนตรี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที ในฐานะผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิตอล เพราะราคาที่ผู้เข้าประมูลเสนอมานั้น ต่ำกว่าราคากลางที่ตั้งไว้เฉลี่ยแล้วมากกว่า 20%
แต่สำหรับผู้เข้าร่วมประมูลบางราย กลับพบข้อพิรุธในขั้นตอนการเปิดราคาที่มีการแก้ไขตัวเลขช่วยบริษัทบางรายของกรรมการ ทำถึงขนาดช่วยกดเครื่องคิดเลขให้ซึ่งปรากฏให้เห็นชัดเจนบนกระดานเสนอราคา ทั้ง Before และ After รวมทั้งพฤติกรรมบางอย่างของผู้บริหารทีโอที ที่ส่อไปในทางเอื้อประโยชน์ให้เวนเดอร์บางรายจนเห็นได้ชัด และข้อสังเกตถึงกระบวนการจัดซื้อที่ดูเหมือนจะไม่ค่อยโปร่งใส เหมือนกับความตั้งใจที่จะสื่อสารให้คนทั่วไปรับรู้
การประมูลครั้งนี้ ทีโอที จัดซื้อจำนวน 5 ประเภทอุปกรณ์ คือ 1. เคเบิลใยแก้วนำแสง(Optical Fiber Cabel) 2. อุปกรณ์ข่ายสาย ODN 3. อุปกรณ์ Optical Line Terminal (OLT) 4. อุปกรณ์ Switch และ 5. อุปกรณ์ Wireless Access Point โดยบริษัท ฟอร์ทคอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดในสัญญาเคเบิลใยแก้วนำแสง ขณะที่สัญญาที่ 2 อุปกรณ์ข่ายสาย ODN มีผู้เสนอราคาต่ำสุดใน 3 รายการ ๆ ละ 1 บริษัท คือ บริษัท โกลบอล เมช จำกัด, บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไนน์เน็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด สำหรับสัญญาที่ 3 อุปกรณ์ OLTและ สัญญาที่ 4 อุปกรณ์ Switch บริษัท แอ็ดวานซ์ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอที เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด ส่วนสัญญาที่ 5 อุปกรณ์กระจายสัญญาณแบบไร้สาย Wireless Access Point บริษัท เอสวีโอเอ จำกัด (มหาชน) เสนอราคาต่ำสุด
โดยสัญญาที่ 3 อุปกรณ์ OLCถือว่ามีหลักฐานชัดเจนที่สุดว่าเกิดความไม่ชอบมาพากลระดับสึนามิถล่มชายหาด หลังพบว่ามีการเอื้อประโยชน์อย่างเห็นได้ชัด หลังเอไอที เสนอราคาต่ำสุดที่ 685.25 ล้านบาท และมีบริษัท เอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด เสนอราคาต่ำเป็นลำดับที่ 2 ที่ 864 ล้านบาท
แหล่งข่าวที่อยู่ในเหตุการณ์เปิดราคาวันนั้นด้วยระบุว่า ในการพิจารณาผลของทีโอที จะเลือกบริษัทที่เสนอราคาต่ำสุดก่อน ซึ่งหากตกเทคนิค หรือ คุณสมบัติไม่ผ่านตามทีโออาร์ ก็จะเลื่อนไปพิจารณาผู้เสนอราคาต่ำสุดรายถัดไป หมายความว่า ลำดับในการเสนอราคามีความสำคัญมากในการพิจารณา เพราะหากเอ็นอีซีฯ ที่เสนอราคาทั้งตัวเลขพร้อมตัวหนังสือกำกับ ที่ทีโออาร์ระบุว่าให้ยึดตามตัวหนังสือเป็นหลักและต้องเป็นราคาเดียว ที่ปรากฎบนกระดานไวท์บอร์ดครั้งแรกคือลำดับที่ 4 เสนอราคา 1,399 ล้านบาท แต่เมื่อได้รับความช่วยเหลือขั้นเทพ แก้ราคาลดลงมาเหลือ 864 ล้านบาท เท่ากับเป็นการลิดรอนสิทธิ์บริษัทที่อยู่ในลำดับ 2 เดิม ให้เลื่อนลงไปเป็นลำดับ 3 แล้วเอ็นอีซีฯ ขึ้นมาเป็นลำดับ 2 แทน
"ที่น่าสนใจคือ เอไอที กับ เอ็นอีซี ใช้อุปกรณ์ ZTE เหมือนกัน หมายความว่าถ้าต่ำสุดที่ 1 ตก ยังมีต่ำสุดที่ 2 ให้พิจารณาต่อ เรียกว่าจะเอายี่ห้อนี้ให้ได้"
การแก้ไขราคาของเอ็นอีซีฯ โดยไม่สนใจว่าผิดทีโออาร์หรือไม่นั้น กรรมการอ้างว่าราคา 1,399 ล้านบาท ที่มือลั่นเขียนบนกระดานครั้งแรกนั้น เป็นราคาที่รวมข้อเสนอเผื่อเลือก ซึ่งเมื่อ"รองม." เห็นเข้า จึงสั่งให้แก้ไขเพราะเป็นตัวเลขที่สูงเกินไป โดยให้กรรมการช่วยกันกดเครื่องคิดเลขลบรายการเผื่อเลือกหลายแหล่นั้นออกไปให้หมด จนเหลือ 864 ล้านบาท ตามหมากที่วางไว้แค่ต้องการให้เป็นที่ 2 เผื่อไว้แค่นั้น
"วันนั้นก็มีคนถามว่าแก้ตัวเลขอย่างนั้นได้เหรอ ซึ่งกรรมการคุณธรรมก็ตอบว่า แก้ได้ไม่เป็นไร คำถามคือ มันผิดทีโออาร์หรือไม่ และมันเป็นธรรมกับผู้ประมูลรายอื่นหรือไม่ ทำเช่นนี้เป็นการเอื้อประโยชน์หรือเปล่า"
นอกจากเรื่องแก้ไขตัวเลขที่มีหลักฐานบ่งชัดแล้ว ความใกล้ชิด สายสัมพันธ์ หรือ คอนเน็กชั่นระหว่างผู้บริหารทีโอทีกับเอกชน ก็เป็นคำถามมาตลอดเมื่อถามหาความโปร่งใสจากการประมูล เพราะผู้บริหารทีโอทีบางคน ประจักษ์ แจ้งว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการประมูลแทบทุกขั้นตอนไม่ว่าจะเป็นคณะจัดทำเงื่อนไขการประมูลหรือทีโออาร์ คณะกรรมการจัดทำราคากลาง และคณะกรรมการพิจารณาผลการประมูล คนนี้คนเดียวย่อมรู้แน่ชัดว่าราคากลางเป็นเท่าไหร่ และ ควรเสนอราคาเท่าไหร่ก็สามารถชนะได้ เพราะหากดูราคาที่ผู้ประมูลเสนอมาแต่ละรายกับรายต่ำสุด จะเห็นได้ว่าแตกต่างกันระดับน่าตกใจ
จนอาจเข้าใจได้ว่าราคากลางมีการรั่วไหลถึงหูคนภายนอก เพราะโครงการเน็ตประชารัฐหลังเปลี่ยนมือมาให้ทีโอทีดำเนินการจัดซื้อจัดหา มีการประกาศราคากลางภาพรวมของอุปกรณ์ OLC 1,395 ล้านบาทที่ปรากฎบนเว็บเมื่อวันที่ 20 ม.ค.เท่านั้น โดยไม่ได้แยกย่อยราคากลางของอุปกรณ์ที่ประกอบรวมทั้งหมด 4 อุปกรณ์ในรายการนี้
"แค่รู้ราคากลางทั้ง 4 อุปกรณ์ ก็เรียกได้ว่าแทบจะชนะการประมูลแน่นอน เมื่อรวมถึงแผน 2 ที่ทำให้เอ็นอีซีฯ ขึ้นมาเป็นลำดับ 2 ก็เรียกได้ว่านอนมาแล้ว ก็คงเอาแค่ถูกใจโดยไม่ดูความถูกต้อง"
"นอกจากนี้ยังมีการตั้งข้อสังเกตถึงงบประมาณรวมทั้งหมดของโครงการเน็ตประชารัฐ 1.3 หมื่นล้านบาท ที่เดิมแบ่งเป็นอุปกรณ์ประมาณ 7 พันล้านบาท อีก 6 พันล้าน เป็นส่วนของ ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและการบริหารจัดการ แต่ทีโอทีได้เปลี่ยนแปลงวงเงินเพื่อซื้ออุปกรณ์จาก 7 พันล้านบาทเป็น 4.3 พันล้านบาท ซึ่งส่วนที่เหลืออีก 8.7 พันล้านบาทจะเป็นส่วนของค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและการบริหารจัดการ ที่น่าแปลกใจคือในส่วนของอุปกรณ์นั้นทีโอทีทำการเปิดประมูล แต่ส่วนของการติดตั้งนั้นยังไม่มีการเปิดประมูลแต่อย่างใด