วานนี้ (15ก.พ.) นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ยืนยันว่าจะไม่มีการตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง กรณีโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) เปิดเผยผลสำรวจ เกี่ยวกับการเข้าประชุมของสมาชิกสนช. พบว่ามีสมาชิกอย่างน้อย 7 คนที่ขาดประชุมเป็นประจำซึ่งในจำนวนนี้มีพล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา น้องชายนายกรัฐมนตรีด้วย จนอาจจะเป็นเหตุให้สิ้นสภาพการเป็น สนช. เว้นแต่ได้ยื่นใบลาต่อประธานสภา ว่า เรื่องนี้ มีการยื่นใบลาอย่างถูกต้อง ส่วนที่ไม่ได้ร่วมลงมตินั้นจะนับว่าเป็นการขาดประชุมไม่ได้ และเรื่องนี้ก็ไม่กระทบต่อภาพลักษณ์ของสนช. เพราะผู้ที่ไม่ได้ร่วมลงมติ มีเหตุผลอธิบายได้ทุกกรณี ไม่ได้หายไปเฉยๆ หรือขาดการลงมติโดยไม่ได้ลา
อย่างไรก็ตาม ตนได้กำชับให้สมาชิกทุกคนเข้าร่วมประชุม และตนได้เข้มงวดกับการลาประชุมอยู่แล้ว โดยสมาชิกที่ลาต้องแสดงหลักฐานการไปปฏิบัติราชการที่ชัดเจน
ขณะที่ พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ปฏิบัติหน้าที่รักษาการประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่า ในฐานะที่มีหน้าที่ตรวจสอบด้านจริยธรรม ไม่ได้มีการตรวจสอบเรื่องนี้ เนื่องจากยังไม่มีผู้ร้องเข้ามา และกรณีดังกล่าว ทางสนช. ก็มีการตรวจสอบกันเองอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม หากมีการร้องเรียนเข้ามาก็พร้อมดำเนินการ แต่ผู้ตรวจการแผ่นดินจะหยิบยกขึ้นมาทำเองไม่ได้เพราะกฎหมายระบุว่ากรณีจริยธรรมต้องมีการร้องเรียนเข้ามาจึงจะตรวจสอบได้ โดยเห็นว่าการที่สนช.หลายคนสวมหมวกหลายใบเป็นทั้งข้าราชการและทำหน้าที่สนช.ด้วยนั้นไม่ใช่ข้อจำกัด แต่เป็นเรื่องที่ต้องบริหารจัดการเรื่องเวลาให้เกิดความสมดุล
ด้านนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทยกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า แม้ประธาน สนช.จะมีความพยายามช่วยเหลือ เอื้อประโยชน์กัน ว่ามีการยื่นใบลาแล้วทุกคนนั้น แต่เนื่องจากพฤติการณ์ และการกระทำของ 7 สนช. นั้นเข้าข่ายความผิด หรือขัดหรือแย้งต่อข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและกรรมาธิการ พ.ศ. 2558 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 14 ข้อ 16 ข้อ 17 และข้อ 21 โดยชัดแจ้ง โดยเฉพาะข้อ 14 ที่ กำหนด ว่า "สมาชิกและกรรมาธิการจักต้องอุทิศเวลาให้แก่การประชุม โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน" นอกจากนั้น กรณีดังกล่าวยังขัดต่อค่านิยมหลัก 12 ประการของ หัวหน้าคสช. ข้อ 12 อีกด้วย
ดังนั้น ตนจะนำความไปร้องเรียนต่อ "คณะกรรมการจริยธรรมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผ่านเลขาธิการสภาสนช. เพื่อไต่สวน สอบสวน และลงโทษ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับต่อไป โดยจะเดินทางไปยื่นคำร้องในวันนี้ (16 ก.พ.) เวลา 10.00 น.รัฐสภา
อย่างไรก็ตาม ตนได้กำชับให้สมาชิกทุกคนเข้าร่วมประชุม และตนได้เข้มงวดกับการลาประชุมอยู่แล้ว โดยสมาชิกที่ลาต้องแสดงหลักฐานการไปปฏิบัติราชการที่ชัดเจน
ขณะที่ พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ปฏิบัติหน้าที่รักษาการประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่า ในฐานะที่มีหน้าที่ตรวจสอบด้านจริยธรรม ไม่ได้มีการตรวจสอบเรื่องนี้ เนื่องจากยังไม่มีผู้ร้องเข้ามา และกรณีดังกล่าว ทางสนช. ก็มีการตรวจสอบกันเองอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม หากมีการร้องเรียนเข้ามาก็พร้อมดำเนินการ แต่ผู้ตรวจการแผ่นดินจะหยิบยกขึ้นมาทำเองไม่ได้เพราะกฎหมายระบุว่ากรณีจริยธรรมต้องมีการร้องเรียนเข้ามาจึงจะตรวจสอบได้ โดยเห็นว่าการที่สนช.หลายคนสวมหมวกหลายใบเป็นทั้งข้าราชการและทำหน้าที่สนช.ด้วยนั้นไม่ใช่ข้อจำกัด แต่เป็นเรื่องที่ต้องบริหารจัดการเรื่องเวลาให้เกิดความสมดุล
ด้านนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทยกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า แม้ประธาน สนช.จะมีความพยายามช่วยเหลือ เอื้อประโยชน์กัน ว่ามีการยื่นใบลาแล้วทุกคนนั้น แต่เนื่องจากพฤติการณ์ และการกระทำของ 7 สนช. นั้นเข้าข่ายความผิด หรือขัดหรือแย้งต่อข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและกรรมาธิการ พ.ศ. 2558 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 14 ข้อ 16 ข้อ 17 และข้อ 21 โดยชัดแจ้ง โดยเฉพาะข้อ 14 ที่ กำหนด ว่า "สมาชิกและกรรมาธิการจักต้องอุทิศเวลาให้แก่การประชุม โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน" นอกจากนั้น กรณีดังกล่าวยังขัดต่อค่านิยมหลัก 12 ประการของ หัวหน้าคสช. ข้อ 12 อีกด้วย
ดังนั้น ตนจะนำความไปร้องเรียนต่อ "คณะกรรมการจริยธรรมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผ่านเลขาธิการสภาสนช. เพื่อไต่สวน สอบสวน และลงโทษ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับต่อไป โดยจะเดินทางไปยื่นคำร้องในวันนี้ (16 ก.พ.) เวลา 10.00 น.รัฐสภา