ผู้จัดการรายวัน 360 - "วิษณุ" แจงยึดทรัพย์ "บุญทรง" และพวกทุจริตข้าวจีทูจีได้ทันที เว้นร้องขอศาลให้มีคำสั่งคุ้มครอง รวมถึง "ยิ่งลักษณ์" สามารถยึดหรืออายัดได้เช่นกัน แม้จะมีการยื่นทุเลาคดี แต่ศาลยังไม่มีคำสั่ง ด้าน "พาณิชย์"พูดไม่เคลียร์ ยื่นหนังสือตั้งเรื่องยึดอายัดทรัพย์ให้กรมบังคับคดี แจ้งเพียงส่งเอกสารไปให้บางส่วนแล้ว ขณะที่กรมบังคับคดี ยันยังไม่ได้รับเอกสารใดๆ จากกรมการค้าต่างประเทศ
วานนี้ (14ก.พ.) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการหารือร่วมกับ กรมบังคับคดี และกระทรวงพาณิชย์ เพื่อดำเนินการยึดทรัพย์ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว.พาณิชย์ กับพวกรวม 6 คน กรณีทุจริตระบายข้าวแบบต่อรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) มูลค่า 2 หมื่นล้านบาท ว่า แม้เรื่องนี้จะเป็นคดีทางปกครอง แต่ขอนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้โดยอนุโลม ทำให้อายุความในการบังคับคดีมีกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่มีคำสั่งทางปกครอง ซึ่งระหว่างนี้ หากพบว่ามีทรัพย์สินที่ใดสามารถตามยึดหรืออายัดได้ เว้นแต่จะมีการร้องขอให้ศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราว หรือทุเลาการบังคับคดีอีก และอยู่ที่ศาลด้วยว่าจะรับไว้พิจารณาหรือไม่ โดยวิธีการยึดทรัพย์นั้น กรมการค้าต่างประเทศ จะเป็นผู้ตั้งเรื่อง ส่วนจะเริ่มบังคับคดีเมื่อไรนั้น ยังไม่สามารถตอบได้
สำหรับวิธีการยึดทรัพย์ กรณีของนายบุญทรง และพวก กรมบังคับคดีจะเป็นผู้ยึด หรืออายัด แต่กระทรวงพาณิชย์ จะเป็นนำสืบทรัพย์ เพราะตรงนี้เป็นเรื่องของเจ้าหนี้ ที่จะต้องไปหาว่า ทรัพย์อยู่ที่ใด และบอกให้กรมบังคับคดียึดให้ สืบได้แค่ไหนก็นำยึดแค่นั้น แต่ภายในอายุความ 10 ปี นับตั้งแต่วันที่กระทรวงพาณิชย์ มีคำสั่งทางปกครอง หากพบมีทรัพย์สินอีก ก็สามารถไปนำยึดได้อีก และหากมีการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สิน ตามกฎหมายก็มีช่องดำเนินการ ทั้งนี้ ถ้ามีทรัพย์ไม่พอ ก็ยึดเท่าที่มี
ส่วนกรณีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้นำสืบทรัพย์ จะเป็นกระทรวงการคลัง และกรมบังคับคดี จะเป็นผู้ยึดหรืออายัดทรัพย์ อย่างไรก็ตาม การยึดดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องรายงานให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือ รมว.ยุติธรรม รับทราบ
ผู้สื่อข่าวถามว่ากรณีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ยื่นขอทุเลาการบังคับคดีไว้ขณะนี้ ก่อนยึดทรัพย์ ต้องรอคำสั่งศาลปกครองก่อนหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ทราบว่ามีการยื่นเอาไว้เหมือนกัน แต่ศาลยังไม่ได้มีคำสั่ง ระหว่างนี้จึงสามารถดำเนินการยึด หรืออายัดได้ อย่างไรก็ตามหากกระบวนการยึด หรืออายัดทรัพย์ ได้ดำเนินการไปแล้วบางส่วน ปรากฏว่า ต่อมาศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ทรัพย์สินที่ยึดไปแล้ว ไม่จำเป็นต้องคืน เพียงแต่ยึดเพิ่มเติมไม่ได้
*** "พาณิชย์"ไม่เคลียร์ชงเรื่องให้กรมบังคับคดี
น.ส.วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงความคืบหน้าการส่งหนังสือตั้งเรื่องเพื่อยึดอายัดทรัพย์นักการเมืองและข้าราชการรวม 6 คน กรณีทุจริตขายข้าวในรูปแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) วงเงินความเสียหาย 2 หมื่นล้านบาท ว่า ช่วงเช้าวานนี้ (14 ก.พ.) กระทรวงพาณิชย์ได้เชิญกรมบังคับคดีมาหารือว่าจะต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างในการยื่นตั้งเรื่องเพื่อยึดอายัดทรัพย์ ซึ่งได้ข้อสรุปในเบื้องต้น และได้จัดส่งเอกสารบางส่วนไปให้กรมบังคับคดีแล้ว
ส่วนในช่วงบ่ายวันเดียวกัน นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปหารือในรายละเอียดอีกครั้งว่าจะมีแนวทางการดำเนินการอย่างไร มีเอกสารอะไรบ้าง รวมถึงได้ให้คำแนะนำในการดำเนินการ เพื่อให้เกิดความรอบคอบรัดกุมมากที่สุด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่กรมการค้าต่างประเทศได้เปิดแถลงข่าวร่วมกับกรมบังคับคดี เมื่อวันที่ 11 ก.พ.2560 ถึงแนวทางการดำเนินการเพื่อยึดอายัดทรัพย์กับนักการเมืองและข้าราชการ 6 ราย ในคดีทุจริตขายข้าวจีทูจี โดยในการแถลง มีข้อสรุปว่า กรมการค้าต่างประเทศจะยื่นหนังสือตั้งเรื่องเพื่อให้กรมบังคับคดีดำเนินการยึดอายัดทรัพย์ในวันที่ 14 ก.พ.2560
*** กรมบังคับคดี โต้ไม่ได้รับเอกสาร
ผู้สื่อข่าวได้สอบถามความคืบหน้าไปยัง น.ส.รื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี ซึ่งน.ส.รื่นวดี ได้ตอบว่า กรมบังคับคดียังไม่ได้รับเอกสารใดๆ จากกรมการค้าต่างประเทศ ซึ่งหากได้รับเอกสารครบถ้วนแล้ว จะดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง หรือหากมีการรับมอบอำนาจจากใครมาต้องตรวจสอบความถูกต้องก่อนจะดำเนินการขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ ถ้ามีเอกสารเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ อาทิ สิ่งปลูกสร้างหรือที่ดิน ต้องมีสำเนาโฉนดจากเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเป็นผู้รับรองด้วย
"กรมบังคับคดี ยังไม่มีกรอบระยะเวลาดำเนินการ ต้องรอให้กรมการค้าต่างประเทศยื่นเอกสารมาให้ครบถ้วนเสียก่อน และหากขาดข้อมูลส่วนใด ก็จะมีการทวงถามกลับไปอีกครั้ง ส่วนคดีแพ่งมีอายุความ 10 ปี เริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไรนั้น ต้องสอบถามไปยังกรมการค้าต่างประเทศ เพราะกรมบังคับคดีเป็นเพียงหน่วยงานผู้ปฏิบัติตามและสนับสนุนงานเท่านั้น"น.ส.รื่นวดีกล่าว
สำหรับนักการเมืองและข้าราชการ 6 ราย ได้แก่ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว.พาณิชย์ นายภูมิ สาระผล อดีต รมช.พาณิชย์ นายมนัส สร้อยพลอย อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ นายทิฆัมพร นาทวรทัต อดีตรองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ และนายอัฐฐิติพงศ์ หรือ อัครพงศ์ ทีปวัชระหรือช่วยเกลี้ยง อดีตผู้อำนวยการสำนักการค้าข้าวต่างประเทศ ส่วนนพ.วีระวุฒิ วัจนะพุกกะ อดีตเลขานุการรมว.พาณิชย์ ได้หลบหนีไปนานแล้ว
วานนี้ (14ก.พ.) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการหารือร่วมกับ กรมบังคับคดี และกระทรวงพาณิชย์ เพื่อดำเนินการยึดทรัพย์ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว.พาณิชย์ กับพวกรวม 6 คน กรณีทุจริตระบายข้าวแบบต่อรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) มูลค่า 2 หมื่นล้านบาท ว่า แม้เรื่องนี้จะเป็นคดีทางปกครอง แต่ขอนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้โดยอนุโลม ทำให้อายุความในการบังคับคดีมีกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่มีคำสั่งทางปกครอง ซึ่งระหว่างนี้ หากพบว่ามีทรัพย์สินที่ใดสามารถตามยึดหรืออายัดได้ เว้นแต่จะมีการร้องขอให้ศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราว หรือทุเลาการบังคับคดีอีก และอยู่ที่ศาลด้วยว่าจะรับไว้พิจารณาหรือไม่ โดยวิธีการยึดทรัพย์นั้น กรมการค้าต่างประเทศ จะเป็นผู้ตั้งเรื่อง ส่วนจะเริ่มบังคับคดีเมื่อไรนั้น ยังไม่สามารถตอบได้
สำหรับวิธีการยึดทรัพย์ กรณีของนายบุญทรง และพวก กรมบังคับคดีจะเป็นผู้ยึด หรืออายัด แต่กระทรวงพาณิชย์ จะเป็นนำสืบทรัพย์ เพราะตรงนี้เป็นเรื่องของเจ้าหนี้ ที่จะต้องไปหาว่า ทรัพย์อยู่ที่ใด และบอกให้กรมบังคับคดียึดให้ สืบได้แค่ไหนก็นำยึดแค่นั้น แต่ภายในอายุความ 10 ปี นับตั้งแต่วันที่กระทรวงพาณิชย์ มีคำสั่งทางปกครอง หากพบมีทรัพย์สินอีก ก็สามารถไปนำยึดได้อีก และหากมีการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สิน ตามกฎหมายก็มีช่องดำเนินการ ทั้งนี้ ถ้ามีทรัพย์ไม่พอ ก็ยึดเท่าที่มี
ส่วนกรณีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้นำสืบทรัพย์ จะเป็นกระทรวงการคลัง และกรมบังคับคดี จะเป็นผู้ยึดหรืออายัดทรัพย์ อย่างไรก็ตาม การยึดดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องรายงานให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือ รมว.ยุติธรรม รับทราบ
ผู้สื่อข่าวถามว่ากรณีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ยื่นขอทุเลาการบังคับคดีไว้ขณะนี้ ก่อนยึดทรัพย์ ต้องรอคำสั่งศาลปกครองก่อนหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ทราบว่ามีการยื่นเอาไว้เหมือนกัน แต่ศาลยังไม่ได้มีคำสั่ง ระหว่างนี้จึงสามารถดำเนินการยึด หรืออายัดได้ อย่างไรก็ตามหากกระบวนการยึด หรืออายัดทรัพย์ ได้ดำเนินการไปแล้วบางส่วน ปรากฏว่า ต่อมาศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ทรัพย์สินที่ยึดไปแล้ว ไม่จำเป็นต้องคืน เพียงแต่ยึดเพิ่มเติมไม่ได้
*** "พาณิชย์"ไม่เคลียร์ชงเรื่องให้กรมบังคับคดี
น.ส.วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงความคืบหน้าการส่งหนังสือตั้งเรื่องเพื่อยึดอายัดทรัพย์นักการเมืองและข้าราชการรวม 6 คน กรณีทุจริตขายข้าวในรูปแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) วงเงินความเสียหาย 2 หมื่นล้านบาท ว่า ช่วงเช้าวานนี้ (14 ก.พ.) กระทรวงพาณิชย์ได้เชิญกรมบังคับคดีมาหารือว่าจะต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างในการยื่นตั้งเรื่องเพื่อยึดอายัดทรัพย์ ซึ่งได้ข้อสรุปในเบื้องต้น และได้จัดส่งเอกสารบางส่วนไปให้กรมบังคับคดีแล้ว
ส่วนในช่วงบ่ายวันเดียวกัน นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปหารือในรายละเอียดอีกครั้งว่าจะมีแนวทางการดำเนินการอย่างไร มีเอกสารอะไรบ้าง รวมถึงได้ให้คำแนะนำในการดำเนินการ เพื่อให้เกิดความรอบคอบรัดกุมมากที่สุด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่กรมการค้าต่างประเทศได้เปิดแถลงข่าวร่วมกับกรมบังคับคดี เมื่อวันที่ 11 ก.พ.2560 ถึงแนวทางการดำเนินการเพื่อยึดอายัดทรัพย์กับนักการเมืองและข้าราชการ 6 ราย ในคดีทุจริตขายข้าวจีทูจี โดยในการแถลง มีข้อสรุปว่า กรมการค้าต่างประเทศจะยื่นหนังสือตั้งเรื่องเพื่อให้กรมบังคับคดีดำเนินการยึดอายัดทรัพย์ในวันที่ 14 ก.พ.2560
*** กรมบังคับคดี โต้ไม่ได้รับเอกสาร
ผู้สื่อข่าวได้สอบถามความคืบหน้าไปยัง น.ส.รื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี ซึ่งน.ส.รื่นวดี ได้ตอบว่า กรมบังคับคดียังไม่ได้รับเอกสารใดๆ จากกรมการค้าต่างประเทศ ซึ่งหากได้รับเอกสารครบถ้วนแล้ว จะดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง หรือหากมีการรับมอบอำนาจจากใครมาต้องตรวจสอบความถูกต้องก่อนจะดำเนินการขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ ถ้ามีเอกสารเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ อาทิ สิ่งปลูกสร้างหรือที่ดิน ต้องมีสำเนาโฉนดจากเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเป็นผู้รับรองด้วย
"กรมบังคับคดี ยังไม่มีกรอบระยะเวลาดำเนินการ ต้องรอให้กรมการค้าต่างประเทศยื่นเอกสารมาให้ครบถ้วนเสียก่อน และหากขาดข้อมูลส่วนใด ก็จะมีการทวงถามกลับไปอีกครั้ง ส่วนคดีแพ่งมีอายุความ 10 ปี เริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไรนั้น ต้องสอบถามไปยังกรมการค้าต่างประเทศ เพราะกรมบังคับคดีเป็นเพียงหน่วยงานผู้ปฏิบัติตามและสนับสนุนงานเท่านั้น"น.ส.รื่นวดีกล่าว
สำหรับนักการเมืองและข้าราชการ 6 ราย ได้แก่ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว.พาณิชย์ นายภูมิ สาระผล อดีต รมช.พาณิชย์ นายมนัส สร้อยพลอย อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ นายทิฆัมพร นาทวรทัต อดีตรองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ และนายอัฐฐิติพงศ์ หรือ อัครพงศ์ ทีปวัชระหรือช่วยเกลี้ยง อดีตผู้อำนวยการสำนักการค้าข้าวต่างประเทศ ส่วนนพ.วีระวุฒิ วัจนะพุกกะ อดีตเลขานุการรมว.พาณิชย์ ได้หลบหนีไปนานแล้ว