นายสุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีฯ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ ผอ.สถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) กล่าวว่า การเดินหน้ากระบวนการปรองดองของป.ย.ป.ในขณะนี้ จะต้องไม่คำนึงถึงเฉพาะเป้าหมายปลายทาง จนลืมกระบวนการระหว่างทาง ที่มีความละเอียดอ่อนสูง จนทำให้ไม่บรรลุเป้าหมายได้ ฉะนั้นการออกแบบกระบวนการปรองดอง จึงสำคัญไม่น้อยไปกว่าเป้าหมาย ซึ่งมีประเด็นที่ ป.ย.ป.ควรพิจารณา
1. กระบวนการปรองดอง ต้องเน้นการมีส่วนร่วมทุกภาคฝ่าย เพื่อสร้างความไว้วางใจให้มากที่สุด และต้องรับฟังแม้กระทั่งคนที่เห็นต่าง หรือคนที่ถูกมองว่าเป็นฝ่ายตรงกันข้าม โดยเริ่มจากการเน้นประเด็นที่เห็นตรงกัน ไม่ใช่เริ่มจากความต้องการของแต่ละกลุ่ม 2. ป.ย.ป. ไม่ควรตั้งธงไว้ล่วงหน้าแต่ต้องเริ่มจากการรับฟังความเห็น ข้อเสนอและสังเคราะห์ความคิดเห็นจากทุกส่วน รวมทั้งข้อเสนอของคณะกรรมการชุดต่างๆ ก่อนหน้านี้
3. ไม่ใช้วิธีหักดิบด้วยอำนาจหรือมัดมือชก เหมือนกรณีนิรโทษกรรมสุดซอย เพราะนอกจากจะไม่แก้ปัญหาระยะยาวแล้ว ยังจะสร้างปัญหาใหม่ขึ้นมา ต้องเน้นสร้างความเข้าใจ และฉันทานุมัติทางสังคมให้มากที่สุด 4. ควรมีกลไกสื่อสารทำความเข้าใจกับสังคมอย่างเป็นทางการ ไม่ใช่เน้นความเห็นส่วนตัวของผู้นำเหล่าทัพ จนบางครั้งทำให้เกิดความสับสน หวาดระแวง 5. ควรมีกระบวนการทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยกำหนดกรอบเวลา และแผนงานในแต่ละช่วงให้ชัดเจน เพื่อสามารถประเมินผลงานและความสำเร็จหรือความล้มเหลวได้
**ผอ.ศปป. ลงพื้นที่ ปลุกโจ๋รักชาติ
วานนี้ (12 ก.พ.) ที่โรงแรมราชศุภมิตร R.S.จ.กาญจนบุรี พล.ท.ณัฐ อินทรเจริญ รอง เสธ.ทบ. ในฐานะ ผอ.ศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป(ศปป.) เป็นประธานพิธีปิดกิจกรรมสร้างพัฒนาบุคลากรอาสาสมัครรักประเทศไทย ด้วยทุนทางปัญญาไทย เพื่อตอบสนองนโยบาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ให้เกิดแก่สังคมอย่างยั่งยืน โดยมีผู้แทนจากส่วนราชการในพื้นที่ ครูกำกับนักศึกษาวิชาทหาร ตัวแทนนักศึกษาวิชาทหาร สัสดีจังหวัด เข้าร่วมอบรม
พล.ท.ณัฐ กล่าวว่า โครงการดังกล่าว มุ่งสร้างจิตสำนึกความรักความสามัคคี ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเยาวชน โดยการนำนักศึกษาวิชาทหารที่มีจิตอาสา มาต่อยอดเพื่อสร้างเครือข่าย ซึ่งขณะนี้ดำเนินการมาเป็นรุ่นที่ 3 แล้ว ซึ่งผลตอบรับเป็นไปในทางที่ดี
นอกจากนี้ การขยายเครือข่ายเรายังใช้สื่อสังคมออนไลน์ เช่น facebookในขณะที่ผู้เข้ารับการอบรม จะมีการขยายเครือข่ายทางกายภาพเช่นกัน คนรุ่นใหม่ถือว่าเป็นเป้าหมายของรัฐบาล ถือเป็นการสร้างคนรุ่นใหม่ขึ้นมา เพื่อพัฒนาประเทศชาติต่อไปตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
"เราจะต้องร่วมมือกันเพื่อให้เกิดความปรองดองสมานฉันท์ในทุกพื้นที่ ซึ่งขณะนี้ก็มีความสงบดี เพียงแต่เราจะทำให้เกิดความยั่งยืน ก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง อยากฝากถึงประชาชนว่า ความรักความสามัคคีนั้นเป็นสิ่งที่ดี หากไม่ได้มีความขัดแย้งกันมาก สามารถพูดคุยกันได้ก็อยากให้ใช้ความประนีประนอม เข้าหากัน สำหรับนักการเมืองทุกคน ก็ขอให้ช่วยการบริหารประเทศ และตระหนักในหน้าที่ ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นำมาปฏิบัติ ก็จะทำให้ประเทศเกิดความสงบ และเดินหน้าต่อไปได้ " พล.ท.ณัฐ กล่าว
1. กระบวนการปรองดอง ต้องเน้นการมีส่วนร่วมทุกภาคฝ่าย เพื่อสร้างความไว้วางใจให้มากที่สุด และต้องรับฟังแม้กระทั่งคนที่เห็นต่าง หรือคนที่ถูกมองว่าเป็นฝ่ายตรงกันข้าม โดยเริ่มจากการเน้นประเด็นที่เห็นตรงกัน ไม่ใช่เริ่มจากความต้องการของแต่ละกลุ่ม 2. ป.ย.ป. ไม่ควรตั้งธงไว้ล่วงหน้าแต่ต้องเริ่มจากการรับฟังความเห็น ข้อเสนอและสังเคราะห์ความคิดเห็นจากทุกส่วน รวมทั้งข้อเสนอของคณะกรรมการชุดต่างๆ ก่อนหน้านี้
3. ไม่ใช้วิธีหักดิบด้วยอำนาจหรือมัดมือชก เหมือนกรณีนิรโทษกรรมสุดซอย เพราะนอกจากจะไม่แก้ปัญหาระยะยาวแล้ว ยังจะสร้างปัญหาใหม่ขึ้นมา ต้องเน้นสร้างความเข้าใจ และฉันทานุมัติทางสังคมให้มากที่สุด 4. ควรมีกลไกสื่อสารทำความเข้าใจกับสังคมอย่างเป็นทางการ ไม่ใช่เน้นความเห็นส่วนตัวของผู้นำเหล่าทัพ จนบางครั้งทำให้เกิดความสับสน หวาดระแวง 5. ควรมีกระบวนการทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยกำหนดกรอบเวลา และแผนงานในแต่ละช่วงให้ชัดเจน เพื่อสามารถประเมินผลงานและความสำเร็จหรือความล้มเหลวได้
**ผอ.ศปป. ลงพื้นที่ ปลุกโจ๋รักชาติ
วานนี้ (12 ก.พ.) ที่โรงแรมราชศุภมิตร R.S.จ.กาญจนบุรี พล.ท.ณัฐ อินทรเจริญ รอง เสธ.ทบ. ในฐานะ ผอ.ศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป(ศปป.) เป็นประธานพิธีปิดกิจกรรมสร้างพัฒนาบุคลากรอาสาสมัครรักประเทศไทย ด้วยทุนทางปัญญาไทย เพื่อตอบสนองนโยบาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ให้เกิดแก่สังคมอย่างยั่งยืน โดยมีผู้แทนจากส่วนราชการในพื้นที่ ครูกำกับนักศึกษาวิชาทหาร ตัวแทนนักศึกษาวิชาทหาร สัสดีจังหวัด เข้าร่วมอบรม
พล.ท.ณัฐ กล่าวว่า โครงการดังกล่าว มุ่งสร้างจิตสำนึกความรักความสามัคคี ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเยาวชน โดยการนำนักศึกษาวิชาทหารที่มีจิตอาสา มาต่อยอดเพื่อสร้างเครือข่าย ซึ่งขณะนี้ดำเนินการมาเป็นรุ่นที่ 3 แล้ว ซึ่งผลตอบรับเป็นไปในทางที่ดี
นอกจากนี้ การขยายเครือข่ายเรายังใช้สื่อสังคมออนไลน์ เช่น facebookในขณะที่ผู้เข้ารับการอบรม จะมีการขยายเครือข่ายทางกายภาพเช่นกัน คนรุ่นใหม่ถือว่าเป็นเป้าหมายของรัฐบาล ถือเป็นการสร้างคนรุ่นใหม่ขึ้นมา เพื่อพัฒนาประเทศชาติต่อไปตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
"เราจะต้องร่วมมือกันเพื่อให้เกิดความปรองดองสมานฉันท์ในทุกพื้นที่ ซึ่งขณะนี้ก็มีความสงบดี เพียงแต่เราจะทำให้เกิดความยั่งยืน ก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง อยากฝากถึงประชาชนว่า ความรักความสามัคคีนั้นเป็นสิ่งที่ดี หากไม่ได้มีความขัดแย้งกันมาก สามารถพูดคุยกันได้ก็อยากให้ใช้ความประนีประนอม เข้าหากัน สำหรับนักการเมืองทุกคน ก็ขอให้ช่วยการบริหารประเทศ และตระหนักในหน้าที่ ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นำมาปฏิบัติ ก็จะทำให้ประเทศเกิดความสงบ และเดินหน้าต่อไปได้ " พล.ท.ณัฐ กล่าว