ถ้าเปรียบสังคมมนุษย์ที่รูปร่างเป็นวงกลม และผู้คนในสังคม 1 คนเท่ากับ 1 จุด และเปรียบคนเท่ากับสีขาว คนเลวเท่ากับสีดำ และคนกึ่งดีกึ่งเลวเท่ากับสีเทา สังคมโลกวันนี้ จะมีจุดสีดำและสีเทาเป็นส่วนใหญ่ ส่วนสีขาวมีอยู่น้อย ด้วยเหตุนี้ สังคมมนุษย์จึงยุ่งเหยิงวุ่นวายเต็มไปด้วยความแก่งแย่งชิงความเด่นความดังเป็นเหตุให้เกิดการรบราฆ่าฟันเพื่อแย่งชิงสิ่งที่ตนต้องการ ซึ่งเป็นของคนอื่นมาเป็นของตน
ดังนั้น ศีล 5 หรือที่เรียกว่า นิจศีล ซึ่งมีอยู่ในทุกศาสนา เพียงแต่มีข้อแตกต่างกันบ้างในรายละเอียด เช่น ข้อปาณาติบาตในบางศาสนาห้ามฆ่าสัตว์ทุกชนิด แต่บางศาสนาห้ามเพียงการฆ่ามนุษย์ เป็นต้น ในปัจจุบันมีผู้ถือครบ 5 ข้อได้ยาก และนี่คือเหตุผลที่ว่า สาธุชนคือคนดี ปฏิบัติตามศีล 5 ได้ครบถ้วน จึงเหลืออยู่ในสังคมมนุษย์น้อยลง เมื่อสาธุชนน้อยลงนั่นก็หมายถึงว่า จำนวนปุถุชนคือคนที่หนาด้วยกิเลส หรือจะเรียกว่ากึ่งดีกึ่งเลวก็ได้ได้เพิ่มจำนวนขึ้น จะเห็นได้ชัดเจนดังเช่นในสังคมไทยจากข่าวซึ่งปรากฏเกือบจะรายวันในปัจจุบันนี้ และข่าวที่น่าจะถือได้ว่าสาธุชนลด และปุถุชนเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น ครูข่มขืนเด็กนักเรียน พระภิกษุมั่วสีกา และข่าวที่น่าจะเป็นดัชนีบ่งชี้ว่าคนเลวเพิ่ม และคนดีลดลงก็คือ ข่าวการจัดอันดับประเทศที่มีความโปร่งใสจากการทุจริต คอร์รัปชันในประเทศไทยได้คะแนนลดลงจาก 38 เหลือ 35 ซึ่งหมายถึงว่า ประเทศไทยมีความโปร่งใสน้อยลงนั่นเอง แต่การที่ความโปร่งใสลดลง มิได้หมายความว่าประเทศไทยเอาจริงเอาจังกับการปราบปรามปัญหาทุจริต แต่อาจเกิดจากการขุดคุ้ยทุจริตปรากฏมากขึ้นในรัฐบาลชุดนี้ก็ได้
ทั้งหมดที่นำมากล่าวถึง เป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึ่งที่บ่งชี้ให้เห็นว่าสังคมไทยมีจุดดำเพิ่มขึ้น ส่วนได้เพิ่มขึ้นด้วยเหตุใด และจะลดลงได้อย่างไรนั้น เป็นหน้าที่ของคนไทยและรัฐบาลไทยจะต้องร่วมมือกันศึกษาค้นหาเหตุ และแก้ไขป้องกันต่อไป
การทุจริตคอร์รัปชันเกิดขึ้นได้อย่างไร และจะมีแนวทางป้องกันได้หรือไม่ และด้วยวิธีใด
เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้มองเห็นรากเหง้าแห่งปัญหาทุจริต ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูคำสอนของพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับคนและสัตว์
พระพุทธศาสนาสอนว่า คนประกอบด้วยสองส่วนคือ ร่างกายและจิตใจ ในทำนองเดียวกันกับสัตว์แต่มีความแตกต่างกัน ทั้งในส่วนของร่างกายและจิตใจดังนี้
1. ทางด้านร่างกาย คนมีโครงสร้างของร่างกายสูงขึ้นในแนวดิ่งของพื้นโลก แต่โครงสร้างทางร่างกายของสัตว์ยาวไปตามแนวนอนของพื้นโลก ด้วยเหตุนี้จึงเรียกสัตว์ว่า เดรัจฉาน หรือดิรัจฉาน แปลว่าไปตามขวาง ดังนั้น คำว่า เดรัจฉานจึงเป็นคำด่าสำหรับคน ซึ่งหมายถึงคนขวางโลก
2. ทางด้านจิตใจ คนมีเหตุผลอยู่เหนือความต้องการ ส่วนสัตว์มีความต้องการอยู่ภายใต้การบงการของสัญชาตญาณ หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ คนมีเหตุผลควบคุมการแสดงออกทางกายและวาจา สัตว์มีเพียงสัญชาตญาณควบคุมการแสดงพฤติกรรม ดังนั้น จึงเรียกคนว่ามนุษย์ แปลว่า ผู้มีจิตใจสูง ซึ่งเป็นความหมายตามตัวอักษรคือมนะ แปลว่า ใจ อุษย แปลว่า สูง แต่ถ้าคนไม่มีเหตุผลควบคุมพฤติกรรมก็ไม่ต่างจากสัตว์
การทุจริตคอร์รัปชันเกิดจากคนไม่มีศีล และไม่มีธรรมควบคุมพฤติกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธรรมะ 3 ประการ อันเป็นภูมิคุ้มกันมิให้ความโลภอันเป็นมูลเหตุแห่งการทุจริตเข้าครอบงำ
ธรรมที่ว่านี้เรียกว่า สันโดษ มี 3 ประการคือ
1. ยถาลาภสันโดษคือ ยินดีตามที่ได้ ได้แก่ตนหาสิ่งใดมาได้ ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดีก็ยินดีด้วยสิ่งนั้น
2. ยถาพลสันโดษคือ ยินดีแต่พอแก่กำลัง และวิสัยแห่งการใช้สอยของตน ไม่ใช้สอยแบบฟุ่มเฟือยเกินพอดี
3. ยถาสารุปปสันโดษคือ ยินดีตามสมควรหรือเหมาะแก่เพศภาวะ และฐานะของตน
ธรรมะ 3 ประการนี้ เป็นภูมิคุ้มกันมิให้ความโลภ ความอยากได้เกิดขึ้นและครอบงำจิตใจของผู้มีอำนาจ และมีโอกาสที่จะแสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ จึงเป็นปัจจัยในการป้องกันการโกงได้ในระดับแรกเริ่ม และเป็นระดับที่สำคัญที่สุด เนื่องจากช่วยป้องกันมิให้จิตใจใฝ่หาสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ถึงแม้กฎหมายจะเปิดช่องให้ทำได้ก็ตาม
ด้วยเหตุนี้ จึงควรอย่างยิ่งที่จะจัดให้มีการศึกษา และอบรมเกี่ยวกับคุณธรรม 3 ประการนี้แก่ประชาชนคนไทย เริ่มตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยทำงาน เพื่อเป็นการปลูกฝังคุณธรรม
นอกจากการอบรมทางด้านจิตใจแล้ว ในทางด้านการปกครองก็จะต้องวางระเบียบ และออกแบบระบบเพื่อป้องกันคนเก่งแต่โกง เนื่องจากขาดคุณธรรมกำกับความเก่งมิให้เข้ามาสู่ฐานอำนาจ และสร้างโอกาสในการแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบ ถ้าทำได้ก็จะช่วยป้องกันการทุจริตได้อีกทางหนึ่ง
แต่ถ้าจะให้ผลดีในการป้องกันการทุจริต ก็ควรจะดำเนินการเป็นขั้นเป็นตอนดังต่อไปนี้
1. จัดให้มีการปลูกฝังคุณธรรมในทุกระดับชั้นของการศึกษา โดยสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมไว้ในหมวดสังคมในรูปแบบของตำราเรียน ทั้งภาคบังคับและหนังสือประกอบการเรียน โดยกำหนดให้เป็นวิชาสำคัญที่จะต้องนำไปสอนในการเรียนต่อ และบรรจุเข้าทำงานในส่วนราชการ และองค์กรของรัฐ
2. ปรับปรุงระเบียบ และจัดระบบให้รอบคอบ รัดกุม เพื่อป้องกันการแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบ เป็นการป้องกันควบคู่ไปกับข้อที่ 1
3. ถ้าพบว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นในภาครัฐหรือภาคเอกชน แต่มีคนของรัฐเข้าเกี่ยวข้องด้วย จะต้องรีบดำเนินการนำคนผิดมาลงโทษโดยเร็ว และให้ได้รับโทษสูงสุดเท่าที่กฎหมายบัญญัติไว้
4. ในการเลื่อนขั้นและเลื่อนตำแหน่ง ควรจะเน้นพฤติกรรมควบคู่ไปกับความรู้ ความสามารถในทางด้านวิชาการ เพื่อเลือกคนดีและคนเก่งมารับใช้ประชาชน
ถ้าทำได้ตามนี้ เชื่อว่าคนดีจะเพิ่มขึ้นและคนเลวจะลดลง นั่นก็หมายถึงการทุจริตคอร์รัปชันในภาครัฐจะลดลง และหมดไปในที่สุด แต่ถ้าทำไม่ครบทุกขั้นตอน อย่าหวังว่าจะได้เห็นคนดี คนเก่งเพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน อาจได้เห็นคนเก่ง และคนดีหนีไปอยู่ภาคเอกชนเนื่องจากทนต่อแรงเสียดทานจนคนทนไม่ไหว
ดังนั้น ศีล 5 หรือที่เรียกว่า นิจศีล ซึ่งมีอยู่ในทุกศาสนา เพียงแต่มีข้อแตกต่างกันบ้างในรายละเอียด เช่น ข้อปาณาติบาตในบางศาสนาห้ามฆ่าสัตว์ทุกชนิด แต่บางศาสนาห้ามเพียงการฆ่ามนุษย์ เป็นต้น ในปัจจุบันมีผู้ถือครบ 5 ข้อได้ยาก และนี่คือเหตุผลที่ว่า สาธุชนคือคนดี ปฏิบัติตามศีล 5 ได้ครบถ้วน จึงเหลืออยู่ในสังคมมนุษย์น้อยลง เมื่อสาธุชนน้อยลงนั่นก็หมายถึงว่า จำนวนปุถุชนคือคนที่หนาด้วยกิเลส หรือจะเรียกว่ากึ่งดีกึ่งเลวก็ได้ได้เพิ่มจำนวนขึ้น จะเห็นได้ชัดเจนดังเช่นในสังคมไทยจากข่าวซึ่งปรากฏเกือบจะรายวันในปัจจุบันนี้ และข่าวที่น่าจะถือได้ว่าสาธุชนลด และปุถุชนเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น ครูข่มขืนเด็กนักเรียน พระภิกษุมั่วสีกา และข่าวที่น่าจะเป็นดัชนีบ่งชี้ว่าคนเลวเพิ่ม และคนดีลดลงก็คือ ข่าวการจัดอันดับประเทศที่มีความโปร่งใสจากการทุจริต คอร์รัปชันในประเทศไทยได้คะแนนลดลงจาก 38 เหลือ 35 ซึ่งหมายถึงว่า ประเทศไทยมีความโปร่งใสน้อยลงนั่นเอง แต่การที่ความโปร่งใสลดลง มิได้หมายความว่าประเทศไทยเอาจริงเอาจังกับการปราบปรามปัญหาทุจริต แต่อาจเกิดจากการขุดคุ้ยทุจริตปรากฏมากขึ้นในรัฐบาลชุดนี้ก็ได้
ทั้งหมดที่นำมากล่าวถึง เป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึ่งที่บ่งชี้ให้เห็นว่าสังคมไทยมีจุดดำเพิ่มขึ้น ส่วนได้เพิ่มขึ้นด้วยเหตุใด และจะลดลงได้อย่างไรนั้น เป็นหน้าที่ของคนไทยและรัฐบาลไทยจะต้องร่วมมือกันศึกษาค้นหาเหตุ และแก้ไขป้องกันต่อไป
การทุจริตคอร์รัปชันเกิดขึ้นได้อย่างไร และจะมีแนวทางป้องกันได้หรือไม่ และด้วยวิธีใด
เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้มองเห็นรากเหง้าแห่งปัญหาทุจริต ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูคำสอนของพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับคนและสัตว์
พระพุทธศาสนาสอนว่า คนประกอบด้วยสองส่วนคือ ร่างกายและจิตใจ ในทำนองเดียวกันกับสัตว์แต่มีความแตกต่างกัน ทั้งในส่วนของร่างกายและจิตใจดังนี้
1. ทางด้านร่างกาย คนมีโครงสร้างของร่างกายสูงขึ้นในแนวดิ่งของพื้นโลก แต่โครงสร้างทางร่างกายของสัตว์ยาวไปตามแนวนอนของพื้นโลก ด้วยเหตุนี้จึงเรียกสัตว์ว่า เดรัจฉาน หรือดิรัจฉาน แปลว่าไปตามขวาง ดังนั้น คำว่า เดรัจฉานจึงเป็นคำด่าสำหรับคน ซึ่งหมายถึงคนขวางโลก
2. ทางด้านจิตใจ คนมีเหตุผลอยู่เหนือความต้องการ ส่วนสัตว์มีความต้องการอยู่ภายใต้การบงการของสัญชาตญาณ หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ คนมีเหตุผลควบคุมการแสดงออกทางกายและวาจา สัตว์มีเพียงสัญชาตญาณควบคุมการแสดงพฤติกรรม ดังนั้น จึงเรียกคนว่ามนุษย์ แปลว่า ผู้มีจิตใจสูง ซึ่งเป็นความหมายตามตัวอักษรคือมนะ แปลว่า ใจ อุษย แปลว่า สูง แต่ถ้าคนไม่มีเหตุผลควบคุมพฤติกรรมก็ไม่ต่างจากสัตว์
การทุจริตคอร์รัปชันเกิดจากคนไม่มีศีล และไม่มีธรรมควบคุมพฤติกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธรรมะ 3 ประการ อันเป็นภูมิคุ้มกันมิให้ความโลภอันเป็นมูลเหตุแห่งการทุจริตเข้าครอบงำ
ธรรมที่ว่านี้เรียกว่า สันโดษ มี 3 ประการคือ
1. ยถาลาภสันโดษคือ ยินดีตามที่ได้ ได้แก่ตนหาสิ่งใดมาได้ ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดีก็ยินดีด้วยสิ่งนั้น
2. ยถาพลสันโดษคือ ยินดีแต่พอแก่กำลัง และวิสัยแห่งการใช้สอยของตน ไม่ใช้สอยแบบฟุ่มเฟือยเกินพอดี
3. ยถาสารุปปสันโดษคือ ยินดีตามสมควรหรือเหมาะแก่เพศภาวะ และฐานะของตน
ธรรมะ 3 ประการนี้ เป็นภูมิคุ้มกันมิให้ความโลภ ความอยากได้เกิดขึ้นและครอบงำจิตใจของผู้มีอำนาจ และมีโอกาสที่จะแสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ จึงเป็นปัจจัยในการป้องกันการโกงได้ในระดับแรกเริ่ม และเป็นระดับที่สำคัญที่สุด เนื่องจากช่วยป้องกันมิให้จิตใจใฝ่หาสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ถึงแม้กฎหมายจะเปิดช่องให้ทำได้ก็ตาม
ด้วยเหตุนี้ จึงควรอย่างยิ่งที่จะจัดให้มีการศึกษา และอบรมเกี่ยวกับคุณธรรม 3 ประการนี้แก่ประชาชนคนไทย เริ่มตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยทำงาน เพื่อเป็นการปลูกฝังคุณธรรม
นอกจากการอบรมทางด้านจิตใจแล้ว ในทางด้านการปกครองก็จะต้องวางระเบียบ และออกแบบระบบเพื่อป้องกันคนเก่งแต่โกง เนื่องจากขาดคุณธรรมกำกับความเก่งมิให้เข้ามาสู่ฐานอำนาจ และสร้างโอกาสในการแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบ ถ้าทำได้ก็จะช่วยป้องกันการทุจริตได้อีกทางหนึ่ง
แต่ถ้าจะให้ผลดีในการป้องกันการทุจริต ก็ควรจะดำเนินการเป็นขั้นเป็นตอนดังต่อไปนี้
1. จัดให้มีการปลูกฝังคุณธรรมในทุกระดับชั้นของการศึกษา โดยสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมไว้ในหมวดสังคมในรูปแบบของตำราเรียน ทั้งภาคบังคับและหนังสือประกอบการเรียน โดยกำหนดให้เป็นวิชาสำคัญที่จะต้องนำไปสอนในการเรียนต่อ และบรรจุเข้าทำงานในส่วนราชการ และองค์กรของรัฐ
2. ปรับปรุงระเบียบ และจัดระบบให้รอบคอบ รัดกุม เพื่อป้องกันการแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบ เป็นการป้องกันควบคู่ไปกับข้อที่ 1
3. ถ้าพบว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นในภาครัฐหรือภาคเอกชน แต่มีคนของรัฐเข้าเกี่ยวข้องด้วย จะต้องรีบดำเนินการนำคนผิดมาลงโทษโดยเร็ว และให้ได้รับโทษสูงสุดเท่าที่กฎหมายบัญญัติไว้
4. ในการเลื่อนขั้นและเลื่อนตำแหน่ง ควรจะเน้นพฤติกรรมควบคู่ไปกับความรู้ ความสามารถในทางด้านวิชาการ เพื่อเลือกคนดีและคนเก่งมารับใช้ประชาชน
ถ้าทำได้ตามนี้ เชื่อว่าคนดีจะเพิ่มขึ้นและคนเลวจะลดลง นั่นก็หมายถึงการทุจริตคอร์รัปชันในภาครัฐจะลดลง และหมดไปในที่สุด แต่ถ้าทำไม่ครบทุกขั้นตอน อย่าหวังว่าจะได้เห็นคนดี คนเก่งเพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน อาจได้เห็นคนเก่ง และคนดีหนีไปอยู่ภาคเอกชนเนื่องจากทนต่อแรงเสียดทานจนคนทนไม่ไหว