ผู้จัดการรายวัน360 - "พิชิต" สั่ง ขสมก. ทำแผนแยกหนี้สินที่มีถึง 1 แสนล. พร้อมแจงต้นทุนจริงให้ คนร. อนุมัติด่วน ส่วนระยะยาวต้องปรับตัวแข่งขันเอกชน หาตลาดใหม่ หลับประสบปัญหาเก็บค่าโดยสารต่ำกว่าต้นทุนทำขาดทุน แต่ขึ้นค่าโดยสารจะเป็นทางเลือกสุดท้าย เตรียมรื้อแผนซื้อรถเมล์ใหม่หลัง NGV 489 คันมีปัญหาเพื่อใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบันที่สุด
นายพิชิต อัคราทิตย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายในการดำเนินงานแก่ผู้บริหาร องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ว่า ปัญหาที่สำคัญของขสมก.ขณะนี้คือ ภาระหนี้สินสะสมที่มีประมาณ 1 แสนล้านบาท เนื่องจากรายได้ไม่สมดุลรายจ่าย ทำให้มีผลขาดทุนเฉลี่ย 4,000-5,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งจากสภาพการบริหารจัดการในปัจจุบันจะไม่สามารถอยู่ได้ในระยะยาว ดังนั้น จึงให้ขสมก.แบ่งแยกหนี้สินให้ชัดเจนว่า เกิดจากการบริหารงานของขสมก.เท่าไร และเกิดจากนโยบายรัฐบาลเท่าไร เพื่อพิจารณาแก้ไขให้เหมาะสม และยุติธรรม ซึ่งขสมก.จำเป็นต้องสรุปแผนการปรับโครงสร้างหนี้โดยเร่งด่วน ก่อนเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ต่อไป
ทั้งนี้ ยอมรับว่า การกำหนดค่าโดยสารปัจจุบันต่ำกว่าต้นทุนจริง เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ขสมก.ขาดทุนทุกปี ซึ่งจะต้องแจกแจงให้ชัดเจน เนื่องจากขสมก.จะได้รับเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ (PSO) จากรัฐบาลส่วนหนึ่ง และในระยะยาวขสมก.จะต้องปรับตัวให้มีศักยภาพในการให้บริการที่มีคุณภาพมากขึ้น รวมถึงต้องหาตลาดใหม่ หาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากร เพื่อปรับการบริหารจัดการต้นทุนได้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
" เมื่อมีการปฏิรูปรถเมล์ ซึ่งมีการแยกหน่วยกำกับดูแล (Regulator) ออกจากหน่วยปฎิบัติ (Operator) ซึ่งขสมก.จะเป็นผู้ให้บริการรายหนึ่ง ซึ่งต้องแข่งขันกับผู้ประกอบการเอกชน ต้องทำงานเหมือนเอกชน ปรับโครงสร้างองค์กร แก้ปัญหาหนี้สะสม บริหารจัดการต้นทุน นโยบายต้องการหยุดเลือดไหล อนาคต
แม้ว่าจะมีเงินอุดหนุนบริการเชิงสังคม (PSO) ส่วนหนึ่ง แต่ไม่ครอบคลุม อาจจำเป็นต้องปรับค่าโดยสารให้สมเหตุสมผล ซึ่งจะต้องมีการศึกษารายละเอียดให้รอบคอบและจะเป็นทางเลือกสุดท้าย”
ส่วนปัญหาการจัดซื้อรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 489 คัน นายพิชิต กล่าวว่า ขณะนี้มีปัญหาในขั้นตอนตรวจรับรถ ซึ่ง ขสมก.ตระหนักดีว่า ที่ผ่านมามีข้อกังวลอย่างไร ซึ่งองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ได้ยืนยันไม่กังวลกระบวนการจัดซื้อ แต่มีความเสี่ยงเรื่องตรวจรับรถ ซึ่งทุกอย่างต้องดำเนินการตามกฎหมาย
ในส่วนแผนจัดหารถเมล์NGV จำนวน 3,183 คัน เป็นมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เดิม แต่เนื่องจากระยะเวลาผ่านไป 10 ปี สภาพเทคโนโลยี และการใช้งานมีการเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น อาจต้องมีการทบทวนแผนการจัดหารถใหม่ ส่วนการจัดซื้อรถโดยสารที่ใช้พลังงานไฟฟ้า จำนวน 200 คัน ซี่งขณะนี้ได้เสนอเรื่องไปครม.แล้ว อยู่ในกระบวนการพิจารณา แต่มีข้อสังเกตจากหลายฝ่ายรวมถึงนักวิชาการ เนื่องจากรถเมล์ไฟฟ้าเป็นเทคโนโลยีใหม่ การใช้งานอาจจะมีผลกระทบหรือไม่ และสภาพของไทยมีความเหมาะสมแค่ไหน ซึ่งอาจจะให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาทบทวนแผนให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน
"ตอนนี้ต้องรอดูว่ารถ NGV 489 คันจะรับมอบได้หรือไม่ พร้อมๆกับพิจารณาทบทวนแผนจัดหารถเมล์ใหม่ที่ประชาชนได้ประโยชน์ในระยะยาวว่าควรเป็นรถประเภทใด ซึ่งหากซื้อประเภทใด ประเภทหนึ่งเลย หากใช้งานไประยะหนึ่งแล้วรถเสียอาจจะไม่คุ้มค่า"นายพิชิตกล่าว
ด้านนายสุระชัย เอี่ยมวชิรสกุล ผู้อำนวยการ ขสมก. กล่าวว่า จะเร่งทำแผนแยกต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ รายงานรมช.คมนาคมได้ภายใน 1 เดือน
นายพิชิต อัคราทิตย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายในการดำเนินงานแก่ผู้บริหาร องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ว่า ปัญหาที่สำคัญของขสมก.ขณะนี้คือ ภาระหนี้สินสะสมที่มีประมาณ 1 แสนล้านบาท เนื่องจากรายได้ไม่สมดุลรายจ่าย ทำให้มีผลขาดทุนเฉลี่ย 4,000-5,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งจากสภาพการบริหารจัดการในปัจจุบันจะไม่สามารถอยู่ได้ในระยะยาว ดังนั้น จึงให้ขสมก.แบ่งแยกหนี้สินให้ชัดเจนว่า เกิดจากการบริหารงานของขสมก.เท่าไร และเกิดจากนโยบายรัฐบาลเท่าไร เพื่อพิจารณาแก้ไขให้เหมาะสม และยุติธรรม ซึ่งขสมก.จำเป็นต้องสรุปแผนการปรับโครงสร้างหนี้โดยเร่งด่วน ก่อนเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ต่อไป
ทั้งนี้ ยอมรับว่า การกำหนดค่าโดยสารปัจจุบันต่ำกว่าต้นทุนจริง เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ขสมก.ขาดทุนทุกปี ซึ่งจะต้องแจกแจงให้ชัดเจน เนื่องจากขสมก.จะได้รับเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ (PSO) จากรัฐบาลส่วนหนึ่ง และในระยะยาวขสมก.จะต้องปรับตัวให้มีศักยภาพในการให้บริการที่มีคุณภาพมากขึ้น รวมถึงต้องหาตลาดใหม่ หาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากร เพื่อปรับการบริหารจัดการต้นทุนได้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
" เมื่อมีการปฏิรูปรถเมล์ ซึ่งมีการแยกหน่วยกำกับดูแล (Regulator) ออกจากหน่วยปฎิบัติ (Operator) ซึ่งขสมก.จะเป็นผู้ให้บริการรายหนึ่ง ซึ่งต้องแข่งขันกับผู้ประกอบการเอกชน ต้องทำงานเหมือนเอกชน ปรับโครงสร้างองค์กร แก้ปัญหาหนี้สะสม บริหารจัดการต้นทุน นโยบายต้องการหยุดเลือดไหล อนาคต
แม้ว่าจะมีเงินอุดหนุนบริการเชิงสังคม (PSO) ส่วนหนึ่ง แต่ไม่ครอบคลุม อาจจำเป็นต้องปรับค่าโดยสารให้สมเหตุสมผล ซึ่งจะต้องมีการศึกษารายละเอียดให้รอบคอบและจะเป็นทางเลือกสุดท้าย”
ส่วนปัญหาการจัดซื้อรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 489 คัน นายพิชิต กล่าวว่า ขณะนี้มีปัญหาในขั้นตอนตรวจรับรถ ซึ่ง ขสมก.ตระหนักดีว่า ที่ผ่านมามีข้อกังวลอย่างไร ซึ่งองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ได้ยืนยันไม่กังวลกระบวนการจัดซื้อ แต่มีความเสี่ยงเรื่องตรวจรับรถ ซึ่งทุกอย่างต้องดำเนินการตามกฎหมาย
ในส่วนแผนจัดหารถเมล์NGV จำนวน 3,183 คัน เป็นมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เดิม แต่เนื่องจากระยะเวลาผ่านไป 10 ปี สภาพเทคโนโลยี และการใช้งานมีการเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น อาจต้องมีการทบทวนแผนการจัดหารถใหม่ ส่วนการจัดซื้อรถโดยสารที่ใช้พลังงานไฟฟ้า จำนวน 200 คัน ซี่งขณะนี้ได้เสนอเรื่องไปครม.แล้ว อยู่ในกระบวนการพิจารณา แต่มีข้อสังเกตจากหลายฝ่ายรวมถึงนักวิชาการ เนื่องจากรถเมล์ไฟฟ้าเป็นเทคโนโลยีใหม่ การใช้งานอาจจะมีผลกระทบหรือไม่ และสภาพของไทยมีความเหมาะสมแค่ไหน ซึ่งอาจจะให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาทบทวนแผนให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน
"ตอนนี้ต้องรอดูว่ารถ NGV 489 คันจะรับมอบได้หรือไม่ พร้อมๆกับพิจารณาทบทวนแผนจัดหารถเมล์ใหม่ที่ประชาชนได้ประโยชน์ในระยะยาวว่าควรเป็นรถประเภทใด ซึ่งหากซื้อประเภทใด ประเภทหนึ่งเลย หากใช้งานไประยะหนึ่งแล้วรถเสียอาจจะไม่คุ้มค่า"นายพิชิตกล่าว
ด้านนายสุระชัย เอี่ยมวชิรสกุล ผู้อำนวยการ ขสมก. กล่าวว่า จะเร่งทำแผนแยกต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ รายงานรมช.คมนาคมได้ภายใน 1 เดือน