xs
xsm
sm
md
lg

ตราสารหนี้ (Bill of Exchange) กำลังจะกลับมาพ่นพิษ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: พิเศษ หัวหมาก

Bill of Exchange ขอยืนยันว่าไม่ใช่ตั๋วแลกเงิน เพราะคำว่าExchange เป็นกริยา ที่หมายถึงแลกเปลี่ยน มิได้หมายถึงการแลกเงิน ดังป้ายแสดงแผนกในธนาคารที่ลูกค้านำเงินตราสกุลหนึ่งไปแลกเงินตราอีกสกุลหนึ่ง ที่ป้ายระบุเพียงคำว่าExchangeอันเป็นป้ายสำแดงแผนกที่ไม่ครบถ้วน แต่ลูกค้าทุกคนย่อมยอมรับว่า ภายใต้หลังคาธนาคารนั้นมีเงินตราทุกสกุล ฉนั้นป้ายบอกแผนกแลกเปลี่ยนเงินตราจึงมิได้ลงอักษรครบถ้วน ซึ่ง พรบ ตั๋วเงินที่บัญญัตินามบกพร่อง ธนาคารเริ่มเปลี่ยนแปลงป้ายระบุแผนกที่มีอักษรครบถ้วน คือ “Currencies Exchange”

Bill of Exchangeเป็นตราสารหนี้ หนึ่งในสามชนิดรูปแบบ อันประกอบด้วย;-

1. Cheque(เช็ค) ตราสารหนี้ที่ผู้เป็นลูกหนี้ สั่งจ่ายหนี้เป็นรูปคำสั่งจ่าย(pay order) ถึงธนาคารผู้ควบคุมดูแลบัญชีเงินฝากในรูปบัญชีเดินสะพัด (current account)ทำการเบิกจ่ายให้ผู้ทรงจากบัญชีของผู้สั่งจ่ายตามเช็ค (Cheque)

2, Promissory Note (ตั๋วสัญญาใช้เงิน) เป็นตราสารหนี้ ที่ลูกหนี้ออกให้ในรูปให้สัญญาชำระ กำหนดการชำระตามสัญญาหนี้ผูกพันระหว่างเจ้าหนี้ “Creditor” กับลูกหนี้ “Debtor”เจ้าหนี้ยึดถือเป็นหลักค้ำประกันตามที่ระบุในสัญญาเงินกู้ที่มีต่อกัน (ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้)

3. Bill of Exchange (ใบแจ้งหนี้ ที่ผู้ให้กู้ ระบุจำนวนหนี้และกำหนดวันเวลาชำระคืน ให้ผู้ขอกู้เซ็นยอมรับ แลกกับเงินที่ขอกู้ [Exchange]) อันจะเป็นใบรับสภาพหนี้ (ฉะนั้น Bill of Exchange ในความจริงถือได้เป็น “ใบแจ้งหนี้”ในขั้นต้นจากผู้จะให้กู้เมื่อผู้ขอกู้เซ็นยอมรับในภาวะการจะเป็นหนี้ อันถือได้จะเป็น “ใบรับสภาพหนี้” เพื่อแลก (Exchange)กับจำนวนเงินอันถือเป็นทุนแห่งหนี้ สำหรับใบรับสภาพหนี้ (Accepted Bill of Exchange เจ้าหนี้มีสืทธิ์โอนต่อให้บุคคลที่ สามเพื่อการชำระหนี้ได้ผู้ที่ได้รับโอนย่อมทรงสิทธิ์ได้รับการชำระตามกำหนดดังระบุในใบรับสภาพหนี้ ที่ลูกหนี้เซ็นยอมรับสภาพหนี้(Bona FideHolder of Accepted Bill) จึงขอยืนยันว่า Bill of Exchange ไม่ใช่ตั๋วแลกเงิน ที่ถูกสมคบกัน.. ……..ออก Bills of Exchange ไปเที่ยวเร่ขายช่วงก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจปี 40

Bill of Exchange เริ่มเป็นที่รู้จัก เมื่อรัฐสภาอังกฤษ ออก พรบ ว่าด้วยตราสารหนี้ในรูป Bill of Exchange ที่เรียกว่า 1882 Bill of Exchange Act ในรัชสมัย ราชินีวิคตอเรีย

การใช้ Bill of Exchange (ช่วงแรกๆอยู่ในวงแคบ ใช้สำหรับหนี้สินส่วนตัวเป็นหลักใหญ่) ในลักษณะการเจรจาขอกู้ระหว่างกัน คือผู้ขอกู้ ผู้ให้กู้ยินยอมให้กู้ จึงออกในแจ้งยอดเงินที่จะให้กู้ พร้อมระบุวันเวลากำหนดการชำระคืน ใก้ผู้ขอกู้เซ็นยอมรับ แลกกับเงินที่ตกลงให้กู้ คือนามที่เรียกตราสารหนี้ดังกล่าว นั่นคือ คำว่า “Bill of Exchange” นั่นคือการแจ้งหนี้ล่วงหน้าพร้อมกำหนดเงื่อนไข ให้ผู้กู้เซ็นยอมรับแลกกับการรับมอบจำนวนเงินกู้ ซึ่งก็อยู่ในลักษณะ .ใบรับสภาพหนี้ แทนการร่างสัญญาเงินกู้ เพราะมีขั้นตอนและค่าใช้จ่ายมากกว่า

ความนิยมใช้ Bill of Exchange ช่วงแรกอยู่ในวงแคบ ในวงการธุระกิจการพาณิชย์ นิยมรับขำระเป็นเงินสดมากกว่า Bill of Exchangeธุรกิจการพาณิชย์ระหว่างประเทศ ยังนิยมรูปแบบการชำระด้วยการชำระเงินสดล่วงหน้า ผ่านการโอนส่งผ่านสถาบันการเงิน (โพยก๊วน)บนพื้นฐานสัตย์ซื่อเชื่อถือเป็นหลัก และพัฒนาความเชื่อถือระหว่าสองฝ่าย - ผู้ซื้อผู้ขายต่างภูมิภาค จนเกิดรูป แบบ ส่งสินค้าให้ตามสั่ง ชำระเมื่อรับตราสารกำกับสินค้า (Document against payment หรือ D/P Term) เมื่อสัมพันธุ์การพาณิชย์ได้พัฒนาจนถึงระดับเป็นพันธุ์มิตรที่เชื่อถือต่อกับในระดับดียิ่ง ระบบการชำระก็ปรับเปลี่ยนเชื่อถือซึ่งกันและกันยิ่งขึ้น ถึงขั้นก่อเกิดลักษณะซื้อขายแบบเชื่อในกำหนดระยะการชำระ เช่น 60 วัน. 90 วัน 120 วัน นับจากวันจัดส่งสินค้าให้ (60, 90 or 120 days Documents against acceptance - D/A Term)

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงการค้าระหว่างประเทศขยายตัว ความน่าเชื่อถือขอสถาบันการเงินการธนาคารมีความมั่นคงเป็นที่เชื่อถือมากขึ้น รวมการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศได้พัฒนา รวมถึงระบบประกันภัยทางทะเลได้รับมอบความไว้วางใจ ตราสารหนี้ในรูป Bill of Exchange จึงเป็นตราสารหนี้สำคัญต่อการซื้อขายระหว่างประเทศ เป็นตราสารสำคัญต้องตามกฏหมายระหว่างประเทศ อันเป็นเหตุให้ทุกประเทศต่างตรากฏหมายรองรับ โดยอาศัย พรบ 1882 ว่าด้วย Bill of Exchange ของอังกฤษเป็นแม่บท ภายใต้บทบัญญัตินิติผูกพันที่ตราขึ้นเป็นที่ยอมรับทั่วโลกประกาศใช้โดย”สภาหอการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงปารีส (International Chamber of Commerce Uniform Custom Practice ….)ว่าด้วยการใช้ผูกพันลูกค้าซื้อขายระหว่างประเทศโดยมีธนาคารสองภูมิภาคเป็นห่วงกลางเชื่อมต่อ ภายใต้ตราสารรับรองการชำระ (Letter of Credit)สินค้าซื้อขายระหว่างคู่ค้าต้องอาศัยบริษัทขนส่งทางทะเลรับจ้างจัดส่ง ตราสารรับสินค้าทางทะเล (Ocean Bill ofLading) ที่ออกโดยบริษัทขนส่งทางทะเล (บริษัทเดินเรือทะเล) อันถือได้เอกสารอันเป็นทรัพย์ของผู้ขาย ที่ผู้ขายแนบควบกับใบสำแดงราคาของสินค้า (Invoice) พร้อมใบสำแดงจำนวนบรรจุหีบห่อ (Packing List)ที่ถือเป็นเอกสารกำกับสินค้าที่ขนส่งมางเรือ (shipping documents อันถือได้เป็นทรัพย์สินของผู้ขาย(Suppliers’ Asset)พร้อมใบแจ้งหนี้ (Bill of Exchange) ยื่นต่อธนาคาร ผู้รับมอบหมายเป็นธนาคารตรวจสอบเอกสารการซื้อขายตามที่ระบุในตราสารรับรองการชำระเพื่อการเรียกเก็บ
(Appointed as restricted negotiating bank to handle and checking shipping documents required by Letter of Credit and submit for negotiation under the Letter of Credit)

Bill of Exchange ที่ผู้ขายออกถึงผู้ซื้อ หากการซื้อขายอยู่บนพื้นฐานการชำระภายใต้เงื่อนไขเงินสด ผู้ซื้อสามารถยึดครอง Bill of Exchange ฉบับดังกล่าวแทนใบเสร็จ แต่หากรูปแบบการชำระค่าสินค้าเป็นแบบมีกำหนดเวลาการชำระ (ซื้อเชื่อ) ให้ผู้ซื้อเซ็นยอมรับ (sign acceptance Bill of Exchange) เพื่อแลก(Exchange)รับตราสารทรัพย์จากธนาคารที่ออกตราสารรับรองการชำระ (Letter of Credit) ไปดำเนินพิธีกรรมศุลกากรและตัวแทนบริษัทขนส่ง แลกรับสินค้าที่สั่งซื้อจากท่าเรือ (Bill of Exchange ดังกล่าวจึงกลายเป็นใบรับสภาพหนี้ (ไม่ใช่ตัวแลกเงิน)

บทบัญญัติอันพึงปฏิบัติที่ประกาศใช้โดยสภาหอการค้าระหว่างประเทศ (International Chamber Of Commerce Uniform Custom Practice - ICC UCP) ฉบับต้นๆ บังคับใช้ให้ผู้ขายออกใบแจ้งหนี้ (Bill of Exchange) ตรงถึงผู้ซื้อให้ผู้ซื้อเซ็นยอมรับภาระหนี้แม้นมีตราสารรับรองการชำระ (Letter of Credit) หรืออาจมีเงื่อนไขให้ธนาคารผู้ออกตราสารรับรองการชำระ (LC issuing bank) เซ็นยอมรับร่วม ( Co-sign acceptance)แต่มีปัญหาตามมาในลักษณะขั้นตอนการเซ็นยอมรับซึ่งถือเป็นลูกหนี้ระดับแรก การชำระก็อาจถูกชลอการจ่ายถึงขั้นต้องรอคอยคำพิพากษา ย่อมกระทบถึงบทบัญญัติของสภาหอการค้าระหว่างประเทศทำให้ขาดความเชื่อถือได้

ด้วยเหตุดังกล่าว สภาหอการค้าระหว่างประเทศ จึงปรับเปลี่ยนไข บทบัญญัติอันพึงปฏิบัติ (ICC UCP) นับแค่ฉบับที่ 400 ว่าด้วยตราสารรับรองการชำระ (Documentary Credit) เป็นต้นมา ให้ผู้ขายออกใบแจ้งหนี้ (Bill of Exchange) ครงถึงและผูกพันธนาคารผู้ออกตราสารฯโดยตรง (to be drawn on LC issuing bank as direct obligor

.ในส่วนของผู้ซื้อ หากเป็นการซื้อภายใต้เงื่อนไขการชำระที่มีกำหนดเวลา ตอนไปยื่นรับตราสารควบสินค้า(shipping documents ที่เกิดจากตราสารรับรองการชำระ อันถือเป็นทรัพย์ที่ธนาคารผู้ออกตราสาร (LC issuing bank)เพื่อยื่นแลกใบปล่อยสินค้าจากบริษัทขนส่งและดำเนินพิธีการด้านภาษีศุลกากร หากการซื้อขายในรูปแบบการชำระมีกำหนดเวลา ผู้ซื้อต้องออกใบรับเอกสารอันถือเป็นทรัพย์(ผูกพันธนาคารที่ออกตราสารรับรองการชำระ) แบบเงินเชื่อ (Trust Receipt) พร้อมเซ็นยอมรับภาระหนี้ตามใบแจ้งหนี้ (Bill of Exchange) ที่ธนาคารผู้ออกตราสารรับรองฯ เป็นคนออกให้กับผู้ซื้อเซ็นยอมรับ

ในระบบธนาคาร และลูกค้า นามที่จะเรียก สำหรับการยื่นขอและการออกตราสารรับรองฯ แยกเรียกดังนี้:-

1. ธนาคารที่ออกตราสารรับรองการชำระ เรียกว่า LC issuing Bank

2. ลูกค้า (ผู้สั่งซื้อสินค้า) ที่ยื่นธนาคารขอเปิดตราสารรับรอง เรียกว่า Applicant

3. ผู้ขาย (ผู้รับประโยชน์จากตราสารรับรองฯ) เรียกว่า Beneficiary

4. ธนาคารรับตราสารรับรองฯแจ้งและดำเนินการเรียกรับขำระ เรียกว่า Advising, Negotiating Bank

ประเทศไทยก็เช่นกัน แต่ต่างกันคือการบัญญัติชื่อแห่งตราสารที่ผิดเพี้ยนในเชิงใช้หลักแปลทับศัพท์:

Bill = ตั๋ว

Exchange = แลกเปลี่ยน (อะไร?)

หมายเหตุ:อักษรใดโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ หากต้องการรู้ลักษณะความหมาย เช่น

EXCHANGE โดยสามัญสำนึกต้องข้องเกี่ยวธนาคาร จึงมุ่งตรงไปธนาคาร

เห็นแผนกแลกเงิน(ตรา) แขวนป้ายคำว่า EXCHANGE ขาดความเฉลียวว่า ภายใต้หลังคาธนาคารมีเต็มไปด้วยเงินตรา แผนกแลกเปลี่ยนเงิน(ตรา)ของธนาคาร ป้ายแสดงแผนกจึงมิได้เขียนเต็มคำ”CURRENCIES นำหน้าคำ EXCHANGE”

ด้วยขาดความเฉลียวจึงหลงภูมิใจในความฉลาด จึงบัญญัติชื่อ BILL OF EXCHANGE ในภาษาไทย เป็น “ตั๋วแลกเงิน”ใน พรบ ตั๋วเงิน

ฉนั้น - เช็คคนออกเช็คคือ ลูกหนี้/ผู้สั่งจ่าย เพื่อการชำระหนี้

- ตั๋วสัญญาใช้เงิน ลูกหนี้เป็นคนออก (ให้) สัญญาใช้หนี้เจ้าหนี้

- ต๋วแลกเงิน (ชื่อ BILL OF EXCHANGE)ถูกต้องแล้วที่ลูกหนี้เป็นผู้ออกตั๋วแลกเงิน เพื่อแลกเงินก็ต้องถูกต้อง (สวัสดีนำมาวิกฤติเศรษฐกิจปี 40 ที่เราเคยเผชิญ)

ทราบว่าปัจจุบัน หนี้อันเกิดจาก ตั๋วแลกเงิน (BILL OF EXCHANGE) มีจำนวนมากถึงร่วม สองแสนล้านบาท (200,000ล้านบาท) พร้อมเริ่มแผลงฤทธิ์ ติดสปริง

BILL OF EXCHANGE ภาคสัญชาติไทย มีคุณประโยชน์หลายด้าน ท่านปลัดคลังน่าตรวจสอบว่า กระทรวงท่านขาดรายได้ภาษีไปเท่าไร ภายใต้ตั๋วแลกเงิน (BILL OF EXCHANGE)?เพราะเหตุใด

และทำไม?น่าเชื่อว่าคงไม่ต่างกับระบบ “การเช่าซื้อแบบการเช่าใช้” (HIRE PURCHASE+LEASING)!!

บัญชี PROMPT PAY ที่พวกท่าน (กระทรวงการคลังและแบงค์ชาติ พร้อมธนาคาร ต่างรณรงค์ให้ลูกค้าและที่ยังมิได้เป็นลูกค้า ให้เปิดบัญชี พร้อมเปย์ (PROMPT PAY ACCOUNT) ตั้งแต่ช่วงปลายปี 59 เพราะเป็น บัญชี รับทรัพย์ ขนาดรองผู้ว่าแบงค์ชาติท่านยืนยันว่า เป็นบัญชีรับท่าเดียว และทางกระทรวงการคลังยังออกมาชี้แจงเหตุผลเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการส่งคืนภาษีส่วนลดในส่วนของราชการ พร้อมแจงรายละเอียดทำให้ประชาไทยตกใจกลัว หากไม่มีหรือเป็นเจ้าของ บัญชีพร้อมเปย์ (PROMPT PAY ACCOUNT) ท่านอาจจะได้รับส่วนคืนภาษีจากราชการ พร้อมค่าใช้จ่ายที่ไม่อาจควบคุมได้และอาจกินเวลานานกว่าจะได้รับคืนส่วนลดด้านภาษี และขอยืนยันว่า บัญชีพร้อมเปย์ เป็นบัญชีรับท่าเดียว

ผู้เขียนไม่เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษเหมือนท่านๆนักเรียนนอก ขอน้อมคำนับช่วยแปลและช่วยยืนยันว่าที่ผู้เขียนแปลคำว่า “PROMPT ที่มีความหมายตรงคำไทยว่า “พร้อม” ใช่ไหม? และคำว่า PAY นั้นแปลว่า “จ่าย” ใช่ไหม ฉนั้นบัญชี “พร้อมเปย์ จะเป็นอื่นมิได้ เป็นได้คือ บัญชี “พร้อมจ่ายมิใช่หรือ เหตุไฉนแบงค์ชาติ กับ กระทรวงการคลังจึงลืมคำสั่งให้เหล่าธนาคารบัญญัติชื่อ บัญชีว่า
“บัญชีพร้อมรับเล่า หรือเพราะพวกท่านเป็นนักเรียนนอก บัญชีดังกล่าวต้องห้ามใช้ภาษีไทย จึงให้บัญญัติชื่อบัญชีเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น เลยขออนุโลมให้เรียกว่า “PROMPT PAID” มิได้หรือ และบัญชี “PROMPT PAID” ถูกโจรกรรมโขมยเบิกเงิน ก็ให้ ธนาคารร่วมรับผิดชอบได้ไหม?

คนไทยเรา มีความเป็นคนใจบุญ เมตตาต่อผู้ด้อยโอกาศ คนยากคนจน ท่านด้วยเมตตาจิต เตรียมให้มีโอกาศกู้เงินเพื่อสร้างอาชีพกู้ชีวิต แต่ที่ท่านวางรูปแบบการให้กู้ เป็นภาษาประกิดเพราะท่านเป็นนักเรียนนอกประเทศไทย เช่นให้กู้แบบ:- นาโนไฟแนนซ์ ปิโกไฟแนนซ์

เลยงงเป็นไก่ตาแตก เลยอาศัย ตี๋ข้างบ้านช่วยแปล อ้ายตี๋ก็จนปัญญา ไปถามต่อๆกัน โชคดีผลที่สุดก็ได้ดังนี้: นาโนไฟแนนซ์ หมายถึง เงินกู้ขนาด 1 ส่วนของ 1,000,000,000ส่วน ของ1 ส่วน แต่ยอดเงินไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท (10,000บาท) ปิโกไฟแนนซ์ หมายถึง เงินกู้1 ส่วน ของ 1 ล้าน ล้าน ส่วน ของ 1 ส่วน แต่กู้ได้สูงสุด ห้าพันบาท (5,000 บาท)

เงินกู้ขนาดหนวดกุ้ง ที่กรุณาเสนอให้คนยากคนจน ช่วยได้จริงหรือ???

พิเศษ หัวหมาก 25 มค 60
กำลังโหลดความคิดเห็น