เตรียมรื้อใหญ่ "ผังเมืองชุมชน 77 จังหวัด" ผุดผังระบายนํ้า กำหนดโซนชุมชน-ป่า ยกระดับแก้ปัญหาน้ำท่วม "บิ๊กตู่-มท.1"ไฟเขียวนำร่อง 14 จว.ภาคใต้ หลังรับรายงานมีสิ่งก่อสร้างที่กีดขวางทางน้ำกว่า 400 แห่ง คาดมีแผนรื้อถนนสายหลักของภาคใต้ (ถนนเพชรเกษม) ทั้งสาย เผยแนวทางบังคับใช้กม.ผังเมือง วางระบบระบายน้ำ จ่อ!เวนคืนที่ดิน เล็งใช้ผังระบายน้ำ "ญี่ปุ่น-ฮอลแลนด์" เป็นต้นแบบ ห้ามสร้างอาคารขวางทางนํ้า เว้นแต่ยกใต้ถุนสูง
จากกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะ เดินทางไปตรวจเยี่ยมกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (ส่วนหน้า) จ.สุราษฎร์ธานี ต.หนองไทร อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 26 ม.ค. ที่ผ่านมา นอกจากจะรับทราบสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ และการให้ความช่วยเหลือ ภาพรวมสถานการณ์อุทกภัยแล้ว กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรฯ ได้รายงานผลการสำรวจสิ่งก่อสร้างที่กีดขวางทางน้ำ จากสถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้ครั้งล่าสุด เบื้องต้นพบ 348 แห่ง ซึ่งคาดว่าตัวเลขจะสูงกว่านี้ หากมีการสำรวจเพิ่มเติม โดยการสำรวจครั้งนี้พบว่าที่ จ.นครศรีธรรมราช มากสุด 174 แห่ง เช่น ถนน 42 แห่ง สะพาน ทางลอด รองลงมา จ.พัทลุง 30 แห่ง สุราษฎร์ธานี 25 แห่ง
ขณะที่กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย รายงานว่า ผังเมืองรวมจังหวัด 14 จังหวัดภาคใต้ ล่าสุดมีผังเมืองบังคับใช้เพียง 7 จังหวัด ได้แก่ ระนอง ยะลา นราธิวาส ภูเก็ต นครศรีธรรมราช กระบี่ และตรัง แต่ไม่มีผังเมืองการวางระบบระบายน้ำ
นายกรัฐมนตรี ได้ระบุตอนหนึ่งว่า "การบังคับใช้กม.ผังเมือง การวางระบบระบายน้ำ รวมถึงการขุดแก้มลิงเพื่อหน่วงน้ำ อย่างน้อยสถานที่ราชการ โรงพยาบาล โรงเรียน และสถานประกอบการส่วนธุรกิจที่สำคัญ จะต้องไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย รวมถึงถนน โดยเฉพาะถนนสายหลักของภาคใต้ (ถนนเพชรเกษม) ซึ่งมีเพียงสายเดียว จะต้องใช้สัญจรได้ตามปกติ จุดไหนที่มีปัญหา และผิดกฎหมาย โดยเฉพาะการก่อสร้างขวางทางน้ำ ต้องดำเนินการขั้นเด็ดขาด เพราะอนาคตไม่รู้ว่าธรรมชาติจะมีความรุนแรงยิ่งกว่าตอนนี้หรือไม่ "
**ใช้กม.ผังเมืองวางระบบระบายน้ำ
มีรายงานว่า ก่อนหน้านั้น ในวันที่ 25 ม.ค. ระหว่างเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ย้ำว่า กรณีของผังเมืองรวมภาคใต้ ทั้งหมดจะต้องร้อยเรียงกัน ตั้งแต่แผนงานระยะสั้น ระยะปัจจุบัน และ ระยะยาว ที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนหลายอย่างจะทำได้แค่ไหน อย่างไร ต้องขึ้นอยู่กับเวลา สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงหน้าด้วย เพราะแนวภูเขามีความยาว เมื่อฝนตกน้ำก็ไหลลงข้างล่าง ต่ำลงไปทะเล แล้วผ่านทุกเมือง ทำให้คนส่วนใหญ่ที่อยู่ในพื้นที่ราบได้รับความเดือดร้อน จะแก้ปัญหาด้วยการย้ายเมืองหรือย้ายภูเขาก็ไม่ได้ จึงต้องหาแนวทางลดน้ำที่อยู่ในภูเขาให้ได้ เช่น การหาเส้นทางเบี่ยงเบนน้ำ พัฒนาป่าเขาข้างบน เพื่อให้ซับน้ำ เพราะที่ผ่านมามีการทำลายธรรมชาติมากเกินไป ทำให้การซึมซับน้ำบนภูเขาทำได้น้อย น้ำจึงไหลบ่าลงมาข้างล่าง พร้อมกับมีการทำพนังกันน้ำในพื้นที่ที่เป็นหัวใจสำคัญ เช่น โรงพยาบาล สถานที่ราชการ ภาคธุรกิจสำคัญ ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหา ทั้งการทำพนังกั้นน้ำ การทำฟลัดเวย์ เพื่อเลี่ยงน้ำออกจากพื้นที่ โดยขณะนี้แผนงานที่ได้เริ่มดำเนินการแล้วคือการขุดคลองระบายน้ำขึ้นใหม่ ซึ่งได้ผ่านการศึกษาผ่านการประชาพิจารณ์แล้ว เพื่อจะได้ช่วยระบายน้ำในตอนล่างได้เพิ่มขึ้น
"สิ่งสำคัญที่สุดที่จะต้องทำคือ เรื่องการผังเมือง หากไม่เกิดเหตุการณ์ขึ้น ก็จะไม่ค่อยมีคนสนใจกฎหมาย วันนี้มีคนเดือดร้อน ซึ่งจะต้องหาแนวทางช่วยเหลือคนที่เดือดร้อน และจะต้องแก้ปัญหาระยะยาวด้วย เพราะฉะนั้น ผู้ใดที่อยู่ในพื้นที่ผิดกฎหมาย ก็จะไม่สามารถอยู่ได้ เพราะหากมีคนไปอยู่แล้วสร้างบ้าน ซ่อมบ้านตรงนั้นในที่เดิม จะเป็นปัญหา การใช้จ่ายงบประมาณ จะไม่สามารถทำได้ ซึ่งรัฐบาลจะแก้ปัญหาเรื่องนี้ให้ เพราะบางคนก็ไปทำสวนปาล์ม สวนเกษตรต่างๆ ในพื้นที่ที่ไม่ถูกต้อง การแก้ปัญหาของประเทศจึงทับซ้อนกันอยู่แบบนี้ โดยจะต้องแก้ไขปัญหาให้ได้ ที่ประชุมวันนี้ จึงได้มีการหารือเรื่องผังเมือง แนวทางการบังคับใช้การก่อสร้างอาคาร เพราะเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขทั้งหมด ซึ่งการแก้ไขปัญหาของประเทศไทยที่ทับซ้อนกันอยู่แบบนี้ ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก แต่จะทำให้ดีที่สุด"
**จ่อ! เวนคืนที่ดิน ผุดผังระบายน้ำ
นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ กรมชลประทาน ยอมรับว่า สิ่งกีดขวางลำน้ำ ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการระบายน้ำ ทั้งที่ข้อเท็จจริง สิ่งที่กีดขวางทางน้ำไม่ว่าจะถนน หรืออาคารบ้านเรือน ล้วนมีกม.ควบคุม เช่น กม.ผังเมือง กม.ควบคุมการก่อสร้างอาคารสถานที่ กม.ขุดดินถมดิน กม.เหล่านี้ ล้วนใช้ควบคุมการก่อสร้าง เพื่อไม่ให้รุกล้ำพื้นที่สาธารณะ พื้นที่โล่ง ที่เสี่ยงภัย หรือแม้แต่พื้นที่ขวางทางน้ำ แต่กม.บังคับใช้หลังก่อตั้งชุมชน หนึ่งในข้อจำกัดในทางปฏิบัติ ทั้งนี้แม้ว่าชุมชนจะก่อตั้งก่อนที่จะมีกม.ผังเมือง หรือกม.ควบคุมอาคารสถานที่ แต่หากดูตามการออกแบบผังเมืองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน กลับพบว่าไม่เคยมีการออกแบบทางระบายน้ำไว้ตั้งแต่แรก
นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า รัฐมีอำนาจในการเวนคืนที่ดิน หากพบว่ามีผู้บุกรุก หรืออยู่อาศัยในพื้นที่ตามอำนาจหวงห้าม แต่ที่ผ่านมายังไม่พบว่าเคยมีการเวนคืนที่ดิน เพื่อใช้สำหรับการเปิดพื้นที่ทางระบายน้ำ และวิธีการนี้ เพราะมีข้อจำกัดในทางปฏิบัติ
ทั้งนี้ กรมฯ อยู่ระหว่างดำเนินการวางผังและมาตรการบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำทั่วประเทศทั้ง 25 ลุ่มน้ำ ซึ่งดำเนินการไปแล้ว 5 ลุ่มน้ำ สะแกกรัง แม่กลอง โตนเลสาบ ปราจีนบุรี และ ชายฝั่งทะเลตะวันออก ผลลัพธ์ที่ได้ จะนำมากำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมและมาตรการทางด้านผังเมือง แต่เพื่อให้เกิดการบูรณาการที่ทันสมัย กรมฯ จึงจะร่วมกับทางมูลนิธิอุทกพัฒน์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในการวางผัง และมาตรการบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำใน 14 จังหวัดภาคใต้ อย่างเร่งด่วน โดยจะทำการศึกษา ถึงทิศทางการระบายน้ำในระดับภาพรวมทั้งพื้นที่ที่ต่อเนื่อง แนวเส้นทางคลองสายหลัก การป้องกันพื้นที่เศรษฐกิจหลักของเมือง เพื่อกำหนดเป็นผังระบายน้ำพื้นที่ทางน้ำไหล หรือฟลัดเวย์ และพื้นที่เปิดโล่ง รวมทั้งข้อเสนอแนะ สำหรับสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ขวางทางระบายน้ำโดยกำหนดเป็นมาตรการตามกฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคารโดยห้ามก่อสร้างอาคาร และสิ่งก่อสร้างต่างๆไม่กีดขวางต่อพื้นที่ฟลัดเวย์ รวมทั้งมาตรการตามกฎหมายว่าด้วยขุดดิน ถมดิน ที่จะสามารถห้ามขุดดินและถมดินในพื้นที่ฟลัดเวย์เช่นกัน
**เร่งผังระบายน้ำชุมชน 14 จว.ใต้
แหล่งข่าวจากกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า หลังจากมหาดไทยประกาศผังเมืองรวมจังหวัด ผ่านราชกิจจานุเบกษาไปแล้ว 34 จังหวัด จาก 73 จังหวัด ภายในเดือนม.ค.นี้ จะประกาศเพิ่มอีก 39 จังหวัด ล่าสุดภายหลังนายกฯ และ รมว.มหาดไทย ลงพื้นที่น้ำท่วมได้มีคำสั่งถึงกรมโยธาธิการและผังเมือง ว่า ต่อจากนี้การปรับปรุงผังเมืองชุมชนในทุกจังหวัด จะต้องมีผังระบายน้ำประกอบไปด้วย เพื่อกำหนดโซนให้เป็นพื้นที่รับน้ำป้องกันน้ำท่วม
"นายกฯ สั่งการผ่านพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ให้จัดทำผังระบายน้ำทั้งประเทศ แต่เบื้องต้นให้นำร่อง 14 จว.ภาคใต้ก่อน เช่น พื้นที่ถนนเพชรเกษม รูปแบบจะรื้อใหญ่ผังเมืองรวมชุมชน ผังเมืองจังหวัดทั่วประเทศ" แหล่งข่าวระบุ
**ใช้ผัง"ญี่ปุ่น-ฮอลแลนด์" ต้นแบบ
มีรายงานว่า ขณะนี้กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมชลประทาน ศึกษาระบบลุ่มน้ำ 25 ลุ่มน้ำ ตั้งแต่เหนือลงมาสู่ใต้ รวมทั้งตรวจสอบปริมาณน้ำฝน และพื้นที่ป่า ว่าจะซับน้ำได้มากน้อยแค่ไหน
สาระสำคัญของผังระบายน้ำ จะกำหนดโซนพื้นที่เขตป่าสงวน อุทยาน ป่าพรุ และพื้นที่ที่เป็นทางน้ำไหลผ่าน เป็นเขตอนุรักษ์ ห้ามบุกรุกสร้างสิ่งปลูกสร้างกีดขวางทางน้ำ ขณะที่พื้นที่ที่เป็นเรือกสวนไร่นา กำหนดเป็นเขตสงวนหวงห้ามและอนุรักษ์ หากจะสร้างที่อยู่อาศัย ต้องยกพื้นสูง หรือเปิดช่องให้น้ำไหลผ่านได้นอกจากนี้เจ้าของที่ดิน จะต้องกำหนดสัดส่วนพื้นที่โล่งว่าง เช่น ที่ดิน 1 ไร่ ควรกำหนดพื้นที่ว่างเพื่อทำบ่อหน่วงน้ำ หรือแก้มลิงในช่วงหน้าน้ำ ก่อนระบายลงสู่พื้นที่สาธารณะในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งพื้นที่ว่าง อาจจะมากถึง 50-70% ของพื้นที่ เนื่องจากเป็นพื้นที่เกษตรกรรม และอยู่ชานเมือง
กรมโยธาธิการและผังเมือง ยังมีแนวคิดที่จะนำรูปแบบผังระบายน้ำจากประเทศญี่ปุ่นมาใช้ คือ ดาดฟ้าจะต้องมีที่เก็บน้ำ ก่อนปล่อยลงพื้นสาธารณะเป็นต้น ส่วนพื้นที่เขตเมือง ท้องถิ่น หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องทำพื้นที่ปิดล้อมเขตชุมชน หรือย่านธุรกิจ ไม่ให้น้ำเข้าสู่เมือง เช่น สร้างเขื่อนล้อมรอบริมน้ำ มีประตูระบายน้ำ เหมือนประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น หรือกำหนดให้แต่ละโซนต้องขุดคลองเพิ่มแก้มลิง เช่น ในพื้นที่ จ.สงขลา ส่วนแนวทางการก่อสร้างถนนในผังเมืองทั่วประเทศ จะต้องตรวจสอบผังเมือง และจะต้องไม่สร้างขวางทางน้ำ หากจำเป็นต้องสร้าง จะต้องเจาะช่องให้น้ำไหลผ่านได้ ซึ่งทั่วประเทศ จะกำหนดข้อกำหนดในลักษณะเดียวกัน
จากกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะ เดินทางไปตรวจเยี่ยมกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (ส่วนหน้า) จ.สุราษฎร์ธานี ต.หนองไทร อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 26 ม.ค. ที่ผ่านมา นอกจากจะรับทราบสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ และการให้ความช่วยเหลือ ภาพรวมสถานการณ์อุทกภัยแล้ว กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรฯ ได้รายงานผลการสำรวจสิ่งก่อสร้างที่กีดขวางทางน้ำ จากสถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้ครั้งล่าสุด เบื้องต้นพบ 348 แห่ง ซึ่งคาดว่าตัวเลขจะสูงกว่านี้ หากมีการสำรวจเพิ่มเติม โดยการสำรวจครั้งนี้พบว่าที่ จ.นครศรีธรรมราช มากสุด 174 แห่ง เช่น ถนน 42 แห่ง สะพาน ทางลอด รองลงมา จ.พัทลุง 30 แห่ง สุราษฎร์ธานี 25 แห่ง
ขณะที่กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย รายงานว่า ผังเมืองรวมจังหวัด 14 จังหวัดภาคใต้ ล่าสุดมีผังเมืองบังคับใช้เพียง 7 จังหวัด ได้แก่ ระนอง ยะลา นราธิวาส ภูเก็ต นครศรีธรรมราช กระบี่ และตรัง แต่ไม่มีผังเมืองการวางระบบระบายน้ำ
นายกรัฐมนตรี ได้ระบุตอนหนึ่งว่า "การบังคับใช้กม.ผังเมือง การวางระบบระบายน้ำ รวมถึงการขุดแก้มลิงเพื่อหน่วงน้ำ อย่างน้อยสถานที่ราชการ โรงพยาบาล โรงเรียน และสถานประกอบการส่วนธุรกิจที่สำคัญ จะต้องไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย รวมถึงถนน โดยเฉพาะถนนสายหลักของภาคใต้ (ถนนเพชรเกษม) ซึ่งมีเพียงสายเดียว จะต้องใช้สัญจรได้ตามปกติ จุดไหนที่มีปัญหา และผิดกฎหมาย โดยเฉพาะการก่อสร้างขวางทางน้ำ ต้องดำเนินการขั้นเด็ดขาด เพราะอนาคตไม่รู้ว่าธรรมชาติจะมีความรุนแรงยิ่งกว่าตอนนี้หรือไม่ "
**ใช้กม.ผังเมืองวางระบบระบายน้ำ
มีรายงานว่า ก่อนหน้านั้น ในวันที่ 25 ม.ค. ระหว่างเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ย้ำว่า กรณีของผังเมืองรวมภาคใต้ ทั้งหมดจะต้องร้อยเรียงกัน ตั้งแต่แผนงานระยะสั้น ระยะปัจจุบัน และ ระยะยาว ที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนหลายอย่างจะทำได้แค่ไหน อย่างไร ต้องขึ้นอยู่กับเวลา สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงหน้าด้วย เพราะแนวภูเขามีความยาว เมื่อฝนตกน้ำก็ไหลลงข้างล่าง ต่ำลงไปทะเล แล้วผ่านทุกเมือง ทำให้คนส่วนใหญ่ที่อยู่ในพื้นที่ราบได้รับความเดือดร้อน จะแก้ปัญหาด้วยการย้ายเมืองหรือย้ายภูเขาก็ไม่ได้ จึงต้องหาแนวทางลดน้ำที่อยู่ในภูเขาให้ได้ เช่น การหาเส้นทางเบี่ยงเบนน้ำ พัฒนาป่าเขาข้างบน เพื่อให้ซับน้ำ เพราะที่ผ่านมามีการทำลายธรรมชาติมากเกินไป ทำให้การซึมซับน้ำบนภูเขาทำได้น้อย น้ำจึงไหลบ่าลงมาข้างล่าง พร้อมกับมีการทำพนังกันน้ำในพื้นที่ที่เป็นหัวใจสำคัญ เช่น โรงพยาบาล สถานที่ราชการ ภาคธุรกิจสำคัญ ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหา ทั้งการทำพนังกั้นน้ำ การทำฟลัดเวย์ เพื่อเลี่ยงน้ำออกจากพื้นที่ โดยขณะนี้แผนงานที่ได้เริ่มดำเนินการแล้วคือการขุดคลองระบายน้ำขึ้นใหม่ ซึ่งได้ผ่านการศึกษาผ่านการประชาพิจารณ์แล้ว เพื่อจะได้ช่วยระบายน้ำในตอนล่างได้เพิ่มขึ้น
"สิ่งสำคัญที่สุดที่จะต้องทำคือ เรื่องการผังเมือง หากไม่เกิดเหตุการณ์ขึ้น ก็จะไม่ค่อยมีคนสนใจกฎหมาย วันนี้มีคนเดือดร้อน ซึ่งจะต้องหาแนวทางช่วยเหลือคนที่เดือดร้อน และจะต้องแก้ปัญหาระยะยาวด้วย เพราะฉะนั้น ผู้ใดที่อยู่ในพื้นที่ผิดกฎหมาย ก็จะไม่สามารถอยู่ได้ เพราะหากมีคนไปอยู่แล้วสร้างบ้าน ซ่อมบ้านตรงนั้นในที่เดิม จะเป็นปัญหา การใช้จ่ายงบประมาณ จะไม่สามารถทำได้ ซึ่งรัฐบาลจะแก้ปัญหาเรื่องนี้ให้ เพราะบางคนก็ไปทำสวนปาล์ม สวนเกษตรต่างๆ ในพื้นที่ที่ไม่ถูกต้อง การแก้ปัญหาของประเทศจึงทับซ้อนกันอยู่แบบนี้ โดยจะต้องแก้ไขปัญหาให้ได้ ที่ประชุมวันนี้ จึงได้มีการหารือเรื่องผังเมือง แนวทางการบังคับใช้การก่อสร้างอาคาร เพราะเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขทั้งหมด ซึ่งการแก้ไขปัญหาของประเทศไทยที่ทับซ้อนกันอยู่แบบนี้ ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก แต่จะทำให้ดีที่สุด"
**จ่อ! เวนคืนที่ดิน ผุดผังระบายน้ำ
นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ กรมชลประทาน ยอมรับว่า สิ่งกีดขวางลำน้ำ ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการระบายน้ำ ทั้งที่ข้อเท็จจริง สิ่งที่กีดขวางทางน้ำไม่ว่าจะถนน หรืออาคารบ้านเรือน ล้วนมีกม.ควบคุม เช่น กม.ผังเมือง กม.ควบคุมการก่อสร้างอาคารสถานที่ กม.ขุดดินถมดิน กม.เหล่านี้ ล้วนใช้ควบคุมการก่อสร้าง เพื่อไม่ให้รุกล้ำพื้นที่สาธารณะ พื้นที่โล่ง ที่เสี่ยงภัย หรือแม้แต่พื้นที่ขวางทางน้ำ แต่กม.บังคับใช้หลังก่อตั้งชุมชน หนึ่งในข้อจำกัดในทางปฏิบัติ ทั้งนี้แม้ว่าชุมชนจะก่อตั้งก่อนที่จะมีกม.ผังเมือง หรือกม.ควบคุมอาคารสถานที่ แต่หากดูตามการออกแบบผังเมืองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน กลับพบว่าไม่เคยมีการออกแบบทางระบายน้ำไว้ตั้งแต่แรก
นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า รัฐมีอำนาจในการเวนคืนที่ดิน หากพบว่ามีผู้บุกรุก หรืออยู่อาศัยในพื้นที่ตามอำนาจหวงห้าม แต่ที่ผ่านมายังไม่พบว่าเคยมีการเวนคืนที่ดิน เพื่อใช้สำหรับการเปิดพื้นที่ทางระบายน้ำ และวิธีการนี้ เพราะมีข้อจำกัดในทางปฏิบัติ
ทั้งนี้ กรมฯ อยู่ระหว่างดำเนินการวางผังและมาตรการบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำทั่วประเทศทั้ง 25 ลุ่มน้ำ ซึ่งดำเนินการไปแล้ว 5 ลุ่มน้ำ สะแกกรัง แม่กลอง โตนเลสาบ ปราจีนบุรี และ ชายฝั่งทะเลตะวันออก ผลลัพธ์ที่ได้ จะนำมากำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมและมาตรการทางด้านผังเมือง แต่เพื่อให้เกิดการบูรณาการที่ทันสมัย กรมฯ จึงจะร่วมกับทางมูลนิธิอุทกพัฒน์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในการวางผัง และมาตรการบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำใน 14 จังหวัดภาคใต้ อย่างเร่งด่วน โดยจะทำการศึกษา ถึงทิศทางการระบายน้ำในระดับภาพรวมทั้งพื้นที่ที่ต่อเนื่อง แนวเส้นทางคลองสายหลัก การป้องกันพื้นที่เศรษฐกิจหลักของเมือง เพื่อกำหนดเป็นผังระบายน้ำพื้นที่ทางน้ำไหล หรือฟลัดเวย์ และพื้นที่เปิดโล่ง รวมทั้งข้อเสนอแนะ สำหรับสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ขวางทางระบายน้ำโดยกำหนดเป็นมาตรการตามกฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคารโดยห้ามก่อสร้างอาคาร และสิ่งก่อสร้างต่างๆไม่กีดขวางต่อพื้นที่ฟลัดเวย์ รวมทั้งมาตรการตามกฎหมายว่าด้วยขุดดิน ถมดิน ที่จะสามารถห้ามขุดดินและถมดินในพื้นที่ฟลัดเวย์เช่นกัน
**เร่งผังระบายน้ำชุมชน 14 จว.ใต้
แหล่งข่าวจากกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า หลังจากมหาดไทยประกาศผังเมืองรวมจังหวัด ผ่านราชกิจจานุเบกษาไปแล้ว 34 จังหวัด จาก 73 จังหวัด ภายในเดือนม.ค.นี้ จะประกาศเพิ่มอีก 39 จังหวัด ล่าสุดภายหลังนายกฯ และ รมว.มหาดไทย ลงพื้นที่น้ำท่วมได้มีคำสั่งถึงกรมโยธาธิการและผังเมือง ว่า ต่อจากนี้การปรับปรุงผังเมืองชุมชนในทุกจังหวัด จะต้องมีผังระบายน้ำประกอบไปด้วย เพื่อกำหนดโซนให้เป็นพื้นที่รับน้ำป้องกันน้ำท่วม
"นายกฯ สั่งการผ่านพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ให้จัดทำผังระบายน้ำทั้งประเทศ แต่เบื้องต้นให้นำร่อง 14 จว.ภาคใต้ก่อน เช่น พื้นที่ถนนเพชรเกษม รูปแบบจะรื้อใหญ่ผังเมืองรวมชุมชน ผังเมืองจังหวัดทั่วประเทศ" แหล่งข่าวระบุ
**ใช้ผัง"ญี่ปุ่น-ฮอลแลนด์" ต้นแบบ
มีรายงานว่า ขณะนี้กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมชลประทาน ศึกษาระบบลุ่มน้ำ 25 ลุ่มน้ำ ตั้งแต่เหนือลงมาสู่ใต้ รวมทั้งตรวจสอบปริมาณน้ำฝน และพื้นที่ป่า ว่าจะซับน้ำได้มากน้อยแค่ไหน
สาระสำคัญของผังระบายน้ำ จะกำหนดโซนพื้นที่เขตป่าสงวน อุทยาน ป่าพรุ และพื้นที่ที่เป็นทางน้ำไหลผ่าน เป็นเขตอนุรักษ์ ห้ามบุกรุกสร้างสิ่งปลูกสร้างกีดขวางทางน้ำ ขณะที่พื้นที่ที่เป็นเรือกสวนไร่นา กำหนดเป็นเขตสงวนหวงห้ามและอนุรักษ์ หากจะสร้างที่อยู่อาศัย ต้องยกพื้นสูง หรือเปิดช่องให้น้ำไหลผ่านได้นอกจากนี้เจ้าของที่ดิน จะต้องกำหนดสัดส่วนพื้นที่โล่งว่าง เช่น ที่ดิน 1 ไร่ ควรกำหนดพื้นที่ว่างเพื่อทำบ่อหน่วงน้ำ หรือแก้มลิงในช่วงหน้าน้ำ ก่อนระบายลงสู่พื้นที่สาธารณะในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งพื้นที่ว่าง อาจจะมากถึง 50-70% ของพื้นที่ เนื่องจากเป็นพื้นที่เกษตรกรรม และอยู่ชานเมือง
กรมโยธาธิการและผังเมือง ยังมีแนวคิดที่จะนำรูปแบบผังระบายน้ำจากประเทศญี่ปุ่นมาใช้ คือ ดาดฟ้าจะต้องมีที่เก็บน้ำ ก่อนปล่อยลงพื้นสาธารณะเป็นต้น ส่วนพื้นที่เขตเมือง ท้องถิ่น หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องทำพื้นที่ปิดล้อมเขตชุมชน หรือย่านธุรกิจ ไม่ให้น้ำเข้าสู่เมือง เช่น สร้างเขื่อนล้อมรอบริมน้ำ มีประตูระบายน้ำ เหมือนประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น หรือกำหนดให้แต่ละโซนต้องขุดคลองเพิ่มแก้มลิง เช่น ในพื้นที่ จ.สงขลา ส่วนแนวทางการก่อสร้างถนนในผังเมืองทั่วประเทศ จะต้องตรวจสอบผังเมือง และจะต้องไม่สร้างขวางทางน้ำ หากจำเป็นต้องสร้าง จะต้องเจาะช่องให้น้ำไหลผ่านได้ ซึ่งทั่วประเทศ จะกำหนดข้อกำหนดในลักษณะเดียวกัน