“หนึ่งความคิด”
โดย “สุรวิชช์ วีรวรรณ”
ข่าวสรรพสามิตและตำรวจบุกจับ โรงงานผลิตเบียร์ทำมือ craftsmanship ของ บัณฑิตหนุ่มนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แล้วมีข้อชวนคิดมากมาย
หนุ่มนิติศาสตร์ถูกแจ้งข้อหา 1. มีภาชนะสำหรับทำสุราโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี 2. ทำสุราโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี 3. มีไว้เพื่อขายซึ่งสุราที่รู้ว่าต้องปิดแสตมป์สุรา แต่ไม่ได้ติดแสตมป์สุรา 4. มีไว้ในความครอบครองซึ่งสุราที่รู้ว่าต้องปิดแสตมป์สุราแต่ไม่ได้ติดแสตมป์ ซึ่งเขารับผิดเพียงข้อหา 1 และ 2 เท่านั้น ส่วน 3 และ 4 ไม่รับ ผมว่า นี่เป็นเพราะเขาเข้าใจกฎหมายนั่นเอง ก็กฎหมายไม่ได้เปิดช่องให้เขาไปขอปิดแสตมป์แล้วเขาจะมีความผิดได้อย่างไร
พ.ร.บ.สุรา2493 มาตรา 5 ห้ามมิให้ผู้ใดทําสุรา หรือมีภาชนะหรือเครื่องกลั่นสําหรับทําสุราไว้ในครอบครองเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีการออกใบอนุญาตให้ทําสุราสําหรับใช้ในบ้านเรือน ให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง และเมื่อมีการจำหน่ายด้วยน่าจะผิดตามมาตรา 17 ห้ามมิให้ผู้ใดขายสุราหรือนําสุราออกแสดงเพื่อขายเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานสรรพสามิต ซึ่งมีโทษปรับตามมาตรา 30 จำคุกไม่เกิน 6 เดือนปรับไม่เกิน 5,000บาท และฐานจำหน่ายตามมาตรา 31 ปรับไม่เกิน 5,000 บาท
ซึ่งต่อมาศาลแขวงนนทบุรีมีคำพิพากษาให้จำคุก 6 เดือน ปรับ5,000บาท โดยให้รอลงอาญา 1 ปี คุ้มค่ามากกับการเปิดตัวคราฟท์เบียร์ให้เป็นประเด็นในสังคม
ผมพูดเล่นๆ กับเพื่อนว่านี่เป็นการพลีชีพเพื่อมวลชนแบบสไตล์คนธรรมศาสตร์ที่สอนให้รักประชาชนเหมือนกัน นี่เป็นการสู้เพื่อเสรีภาพในการประกอบอาชีพ นี่เป็นการลุกสู้กับทุนใหญ่ของคนตัวเล็กตัวน้อย และนี่คือการสู้กับอำนาจรัฐที่ร่างกฎหมายไม่เป็นธรรมขึ้นมาปกครองประชาชน ยิ่งเข้าไปหาข้อมูลในกูเกิลแล้วมันมาก มีคนจำนวนหนึ่งต่อสู้เพื่อให้ การผลิตเบียร์ทำมือหรือ ที่เรียกกันว่า คราฟท์เบียร์ ได้รับอนุญาตให้มีการผลิตอย่างถูกกฎหมาย มียอดเซียนและตัวพ่อเกิดขึ้นมากมายในวงการผลิตเบียร์ มีการทำเบียร์มาประชันรสชาติกันในมุมมืด แล้วยังพบว่า กฎหมายไทยอันคร่ำครึและผูกขาดให้กับ ผู้ประกอบการรายใหญ่นั่นเองที่เป็นอุปสรรคต่อเซียนเบียร์ ซึ่งเป็นทั้งการผูกขาดตลาด กีดกันการค้าและการประกอบอาชีพของคนไทย จนการผลิตเบียร์ที่มีวางขายในตลาดอย่างเปิดเผย แต่คนทำคราฟท์เบียร์คล้ายๆ กับอาชญากรที่ต้องทำอย่างลับๆซ่อนๆ
เอาง่ายๆ คราฟท์เบียร์เรื่องชื่อของคนไทย 4 ยี่ห้อ ต้องระเห็จไปตั้งโรงงานในต่างแดนแล้วบรรจุกลับเข้ามาขายในประเทศไทย ชื่อแรก เบียร์ภูเก็ต มีสัญลักษณ์เป็นนกเงือกและแหลมพรหมเทพ ไปตั้งโรงงานในกัมพูชา เบียร์เชียงใหม่ มีสัญลักษณ์เป็นรูปกาแล ไปตั้งโรงงานตรงฝั่งขวาของแม่น้ำโขง เบียร์ ชาละวัน ที่เติบโตจากบริวผับในภูเก็ต ส่งตัวเองไปตั้งโรงงานไกลถึงออสเตรเลีย โดยเบียร์ชาละวันเพิ่งไปได้รางวัลคราฟท์เบียร์ระดับโลก World Beer Awards2016 จากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
แล้วที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือเบียร์สโตนเฮด ของวิชิต ซ้ายกล้า ที่เปรียบเสมือนครูใหญ่แห่งวงการคราฟท์เบียร์ไทย วิชิตสร้างตำนานชิตเบียร์ขึ้นที่เกาะเกร็ด วันนี้ย้ายเกาะไปตั้งฐานอยู่ที่เกาะกง ประเทศกัมพูชา แล้วผลิตเบียร์ส่งกลับมาขายในประเทศไทย นอกจากนั้นก็มีเบียร์มหานคร เบียร์เทพพนม เบียร์อุดมสุข ฯลฯ
คำถามแรกคือ ทำไมรัฐไม่ส่งเสริมให้มีการผลิตเบียร์รายเล็กรายน้อย ทั้งที่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนั้นระบุว่า ในการประกอบอาชีพ รัฐต้องทำให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม การป้องกันหรือขจัดการกีดกันหรือการผูกขาด การคุ้มครองผู้บริโภค การจัดระเบียบการประกอบอาชีพเพียงเท่าที่จำเป็น หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น แต่กฎหมายกลับกำหนดว่า ขนาดโรงเบียร์มี 2ชนิดคือ โรงเบียร์ขนาดใหญ่และโรงเบียร์ขนาดเล็ก โรงเบียร์ขนาดใหญ่ ปริมาณการผลิตไม่ต่ำกว่า 10 ล้านลิตรต่อปี และโรงเบียร์ขนาดเล็ก ประเภทผลิตเพื่อขาย ณ สถานที่ผลิต (Brewpub) เช่นโรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง ปริมาณการผลิตไม่ต่ำกว่า 100,000 ลิตร แต่ไม่เกิน 1 ล้านลิตรต่อปี และห้ามผลิตใส่ขวดหรือบรรจุกระป๋อง ไม่รู้เหมือนกันครับว่าใส่ถุงแล้วผูกหนังสติ๊กได้หรือไม่ แล้วยังมีเรื่องขนาดของพื้นที่ ทำให้ทั้ง 2 ชนิดมีแต่ทุนใหญ่เท่านั้นที่ทำได้
ในความเห็นส่วนตัวผมคิดว่า โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง ซึ่งเจ้าของใหญ่ เสถียร เศรษฐสิทธิ์ ก็คือหุ้นส่วนใหญ่ของคาราบาวแดงนั้นเมื่อรวมกันทั้งเครือข่ายน่าจะเกินสถานะของบริวผับไปแล้ว เขากลายเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ที่สวมเสื้อของบริวผับเท่านั้นเอง ผมเชื่อว่า ถ้าโรงเบียร์เยอรมันตะวันแดงสาขาหนึ่งเป็น 1 บริวผับหรือเป็นโรงเบียร์ขนาดเล็ก น่าสงสัยเหมือนกันนะครับว่า จะมีกำลังเกินเส้นที่กฎหมายกำหนดไม่เกิน 1 ล้านลิตรต่อปีหรือไม่ แต่ว่าไปแล้วฐานะของโรงเบียร์เยอรมันตะวันแดงน่าจะเป็นระดับไมโครเบียร์มากกว่าบริวผับ ขณะที่ตลาดเบียร์ขวดและกระป๋องของเมืองไทยในปี2559มีมูลค่ากว่า 1.8 แสนล้านบาท ผูกขาดอยู่2ค่ายคือ ช้างกับสิงห์ โดยลีโอ เป็นผู้นำตลาดด้วยส่วนแบ่ง 53% รองลงมาได้แก่ ช้าง 38-39% สิงห์ 5-6% ไฮเนเก้น 4-5% ตามลำดับ
ดังนั้น 2 ค่ายใหญ่ระดับแมคโครก็คือ สิงห์กับช้าง และระดับไมโครก็คือ เยอรมันตะวันแดงของค่ายคาราบาวแดง เศรษฐีระดับต้นของประเทศทั้งนั้น
นอกนั้นก็มีบริวผับเล็กๆ ตั้งอยู่อีกหลายแห่ง รวมทั้ง est31ของค่ายสิงห์ ที่ลงมาเล่นตลาดนี้ด้วย ในขณะที่ตอนนี้ตลาดคราฟท์เบียร์มาแรงคราฟท์เบียร์นอกเข้ามาตีตลาดเช่น Hoe Gaarden,Stella Artois, Vedett, Weihenstephaner เป็นต้น
พูดกันตามตรงจากประสบการณ์ตัวเองว่า คราฟท์เบียร์นั้นอร่อยนุ่มลิ้นชื่นคอกว่าเบียร์บรรจุขวดที่ขายกันอยู่ในท้องตลาด คอเบียร์เคยสอนผมว่า ดื่มเบียร์นั้นต้องกินเบียร์สดไม่ใช่เบียร์เก่าเก็บเหมือนกับไวน์
จะเห็นว่าตลาดเบียร์ในเมืองไทยนั้นมีมูลค่ามหาศาลยังเติบโตได้อีก แต่ทำไมไม่เปิดโอกาสให้คนตัวเล็กตัวน้อยที่หลงรักในศิลปะของการทำเบียร์ได้เข้ามาทำมาหากินได้บ้าง
สิ่งที่พูดนี้จึงอยู่เลยขอบเขตข้อห้ามของศาสนาพุทธในศีลห้าที่ห้ามดื่มสุราเมรัย เพราะเบียร์นั้นได้รับอนุญาตให้ผลิตและจำหน่ายได้ในประเทศไทยได้อยู่แล้ว ผมจึงมุ่งพูดถึงการแบ่งปันซึ่งก็เป็นหลักการของพุทธศาสนาให้ผู้ประกอบการรายย่อยทำมาหากินบ้าง แต่กลับมีกฎหมายกีดกันผู้ประกอบการรายย่อย ซึ่งมองไม่เห็นเหตุผลอะไรเลย เพราะเห็นอย่างเดียวว่า ถ้าอนุญาตให้มีผู้ประกอบการรายย่อยได้ ผู้ประกอบการรายใหญ่จะถูกแบ่งความรวยลง แต่ว่าไปแล้วต่อให้มีผู้ประกอบการเบียร์รายย่อยก็ยังเป็นส่วนแบ่งที่เล็กน้อยจากมหาเศรษฐีเท่านั้นเอง
เพราะตลาดของคราฟท์เบียร์นั้นเป็นคนละตลาดกับเบียร์พรีเมียมแบบลีโอ ช้าง ที่ผู้ซื้อเป็นตลาดล่าง แต่คราฟท์เบียร์นั้นจะมีกลุ่มลูกค้าที่เป็นคนทำงานระดับกลางขึ้นบนหรือคนรุ่นใหม่เสียมากกว่า แต่ถ้าเราจะอ้างว่าเป็นเมืองพุทธ ไม่ควรส่งเสริมการดื่มสุรา ไม่ควรขายก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพียงแต่ทุกวันนี้มันขายได้อยู่และผูกขาดกันอยู่ไม่กี่ราย
นอกจากนั้นยังมีการวิจัยพบว่า การดื่มเบียร์ที่พอเหมาะนั้นสามารถต้านอนุมูลอิสระได้ สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานได้ ผู้ที่ดื่มเบียร์จะมีแนวโน้มที่จะป่วยเป็นโรคหัวใจน้อยลง 42% เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ไม่ดื่ม ใบฮ็อพซึ่งเป็นส่วนประกอบของเบียร์มีสารอาหารที่ทราบกันดีว่าช่วยป้องกันโรคบางอย่าง เช่น โรคซึมเศร้า และโรคกระดูกพรุน เป็นต้น
เมื่อมองดูทั้งหมดแล้วเราพบว่าอุปสรรคของคราฟท์เบียร์คือกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการณ์รายใหญ่ ทำให้มือทำคราฟท์เบียร์ระดับตำนานของไทยต้องหนีไปตั้งโรงงานในเกาะกงบ้าง ลาวบ้าง บางเจ้าหนีไปถึงออสเตรเลีย แล้วค่อยบรรจุกระป๋อง ใส่ขวดอิมพอร์ตเข้ามาขายในประเทศไทย เป็นการปิดกั้นคนตัวเล็กตัวน้อยแล้วยกผลประโยชน์ไปให้นายทุนใหญ่ ซึ่งขัดแย้งกับนโยบาย Startup ไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลเอง
รัฐบาลควรถามตัวเองว่าเรื่องนี้ควรจะแก้กฎหมายหรือว่าไล่จับปรับขังจำคุก โดยเปิดทางให้ผู้ประกอบการรายใหญ่เพียง 2-3 รายยึดครองส่วนแบ่งตลาดที่มีมูลค่า 180,000 ล้านบาท จนประเทศไทยได้ชื่อว่ามีช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนเป็นอันดับ 3 ของโลก
...ติดตามผู้เขียนได้ที่ http://www.facebook.com/.surawich.verawan
โดย “สุรวิชช์ วีรวรรณ”
ข่าวสรรพสามิตและตำรวจบุกจับ โรงงานผลิตเบียร์ทำมือ craftsmanship ของ บัณฑิตหนุ่มนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แล้วมีข้อชวนคิดมากมาย
หนุ่มนิติศาสตร์ถูกแจ้งข้อหา 1. มีภาชนะสำหรับทำสุราโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี 2. ทำสุราโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี 3. มีไว้เพื่อขายซึ่งสุราที่รู้ว่าต้องปิดแสตมป์สุรา แต่ไม่ได้ติดแสตมป์สุรา 4. มีไว้ในความครอบครองซึ่งสุราที่รู้ว่าต้องปิดแสตมป์สุราแต่ไม่ได้ติดแสตมป์ ซึ่งเขารับผิดเพียงข้อหา 1 และ 2 เท่านั้น ส่วน 3 และ 4 ไม่รับ ผมว่า นี่เป็นเพราะเขาเข้าใจกฎหมายนั่นเอง ก็กฎหมายไม่ได้เปิดช่องให้เขาไปขอปิดแสตมป์แล้วเขาจะมีความผิดได้อย่างไร
พ.ร.บ.สุรา2493 มาตรา 5 ห้ามมิให้ผู้ใดทําสุรา หรือมีภาชนะหรือเครื่องกลั่นสําหรับทําสุราไว้ในครอบครองเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีการออกใบอนุญาตให้ทําสุราสําหรับใช้ในบ้านเรือน ให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง และเมื่อมีการจำหน่ายด้วยน่าจะผิดตามมาตรา 17 ห้ามมิให้ผู้ใดขายสุราหรือนําสุราออกแสดงเพื่อขายเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานสรรพสามิต ซึ่งมีโทษปรับตามมาตรา 30 จำคุกไม่เกิน 6 เดือนปรับไม่เกิน 5,000บาท และฐานจำหน่ายตามมาตรา 31 ปรับไม่เกิน 5,000 บาท
ซึ่งต่อมาศาลแขวงนนทบุรีมีคำพิพากษาให้จำคุก 6 เดือน ปรับ5,000บาท โดยให้รอลงอาญา 1 ปี คุ้มค่ามากกับการเปิดตัวคราฟท์เบียร์ให้เป็นประเด็นในสังคม
ผมพูดเล่นๆ กับเพื่อนว่านี่เป็นการพลีชีพเพื่อมวลชนแบบสไตล์คนธรรมศาสตร์ที่สอนให้รักประชาชนเหมือนกัน นี่เป็นการสู้เพื่อเสรีภาพในการประกอบอาชีพ นี่เป็นการลุกสู้กับทุนใหญ่ของคนตัวเล็กตัวน้อย และนี่คือการสู้กับอำนาจรัฐที่ร่างกฎหมายไม่เป็นธรรมขึ้นมาปกครองประชาชน ยิ่งเข้าไปหาข้อมูลในกูเกิลแล้วมันมาก มีคนจำนวนหนึ่งต่อสู้เพื่อให้ การผลิตเบียร์ทำมือหรือ ที่เรียกกันว่า คราฟท์เบียร์ ได้รับอนุญาตให้มีการผลิตอย่างถูกกฎหมาย มียอดเซียนและตัวพ่อเกิดขึ้นมากมายในวงการผลิตเบียร์ มีการทำเบียร์มาประชันรสชาติกันในมุมมืด แล้วยังพบว่า กฎหมายไทยอันคร่ำครึและผูกขาดให้กับ ผู้ประกอบการรายใหญ่นั่นเองที่เป็นอุปสรรคต่อเซียนเบียร์ ซึ่งเป็นทั้งการผูกขาดตลาด กีดกันการค้าและการประกอบอาชีพของคนไทย จนการผลิตเบียร์ที่มีวางขายในตลาดอย่างเปิดเผย แต่คนทำคราฟท์เบียร์คล้ายๆ กับอาชญากรที่ต้องทำอย่างลับๆซ่อนๆ
เอาง่ายๆ คราฟท์เบียร์เรื่องชื่อของคนไทย 4 ยี่ห้อ ต้องระเห็จไปตั้งโรงงานในต่างแดนแล้วบรรจุกลับเข้ามาขายในประเทศไทย ชื่อแรก เบียร์ภูเก็ต มีสัญลักษณ์เป็นนกเงือกและแหลมพรหมเทพ ไปตั้งโรงงานในกัมพูชา เบียร์เชียงใหม่ มีสัญลักษณ์เป็นรูปกาแล ไปตั้งโรงงานตรงฝั่งขวาของแม่น้ำโขง เบียร์ ชาละวัน ที่เติบโตจากบริวผับในภูเก็ต ส่งตัวเองไปตั้งโรงงานไกลถึงออสเตรเลีย โดยเบียร์ชาละวันเพิ่งไปได้รางวัลคราฟท์เบียร์ระดับโลก World Beer Awards2016 จากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
แล้วที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือเบียร์สโตนเฮด ของวิชิต ซ้ายกล้า ที่เปรียบเสมือนครูใหญ่แห่งวงการคราฟท์เบียร์ไทย วิชิตสร้างตำนานชิตเบียร์ขึ้นที่เกาะเกร็ด วันนี้ย้ายเกาะไปตั้งฐานอยู่ที่เกาะกง ประเทศกัมพูชา แล้วผลิตเบียร์ส่งกลับมาขายในประเทศไทย นอกจากนั้นก็มีเบียร์มหานคร เบียร์เทพพนม เบียร์อุดมสุข ฯลฯ
คำถามแรกคือ ทำไมรัฐไม่ส่งเสริมให้มีการผลิตเบียร์รายเล็กรายน้อย ทั้งที่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนั้นระบุว่า ในการประกอบอาชีพ รัฐต้องทำให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม การป้องกันหรือขจัดการกีดกันหรือการผูกขาด การคุ้มครองผู้บริโภค การจัดระเบียบการประกอบอาชีพเพียงเท่าที่จำเป็น หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น แต่กฎหมายกลับกำหนดว่า ขนาดโรงเบียร์มี 2ชนิดคือ โรงเบียร์ขนาดใหญ่และโรงเบียร์ขนาดเล็ก โรงเบียร์ขนาดใหญ่ ปริมาณการผลิตไม่ต่ำกว่า 10 ล้านลิตรต่อปี และโรงเบียร์ขนาดเล็ก ประเภทผลิตเพื่อขาย ณ สถานที่ผลิต (Brewpub) เช่นโรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง ปริมาณการผลิตไม่ต่ำกว่า 100,000 ลิตร แต่ไม่เกิน 1 ล้านลิตรต่อปี และห้ามผลิตใส่ขวดหรือบรรจุกระป๋อง ไม่รู้เหมือนกันครับว่าใส่ถุงแล้วผูกหนังสติ๊กได้หรือไม่ แล้วยังมีเรื่องขนาดของพื้นที่ ทำให้ทั้ง 2 ชนิดมีแต่ทุนใหญ่เท่านั้นที่ทำได้
ในความเห็นส่วนตัวผมคิดว่า โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง ซึ่งเจ้าของใหญ่ เสถียร เศรษฐสิทธิ์ ก็คือหุ้นส่วนใหญ่ของคาราบาวแดงนั้นเมื่อรวมกันทั้งเครือข่ายน่าจะเกินสถานะของบริวผับไปแล้ว เขากลายเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ที่สวมเสื้อของบริวผับเท่านั้นเอง ผมเชื่อว่า ถ้าโรงเบียร์เยอรมันตะวันแดงสาขาหนึ่งเป็น 1 บริวผับหรือเป็นโรงเบียร์ขนาดเล็ก น่าสงสัยเหมือนกันนะครับว่า จะมีกำลังเกินเส้นที่กฎหมายกำหนดไม่เกิน 1 ล้านลิตรต่อปีหรือไม่ แต่ว่าไปแล้วฐานะของโรงเบียร์เยอรมันตะวันแดงน่าจะเป็นระดับไมโครเบียร์มากกว่าบริวผับ ขณะที่ตลาดเบียร์ขวดและกระป๋องของเมืองไทยในปี2559มีมูลค่ากว่า 1.8 แสนล้านบาท ผูกขาดอยู่2ค่ายคือ ช้างกับสิงห์ โดยลีโอ เป็นผู้นำตลาดด้วยส่วนแบ่ง 53% รองลงมาได้แก่ ช้าง 38-39% สิงห์ 5-6% ไฮเนเก้น 4-5% ตามลำดับ
ดังนั้น 2 ค่ายใหญ่ระดับแมคโครก็คือ สิงห์กับช้าง และระดับไมโครก็คือ เยอรมันตะวันแดงของค่ายคาราบาวแดง เศรษฐีระดับต้นของประเทศทั้งนั้น
นอกนั้นก็มีบริวผับเล็กๆ ตั้งอยู่อีกหลายแห่ง รวมทั้ง est31ของค่ายสิงห์ ที่ลงมาเล่นตลาดนี้ด้วย ในขณะที่ตอนนี้ตลาดคราฟท์เบียร์มาแรงคราฟท์เบียร์นอกเข้ามาตีตลาดเช่น Hoe Gaarden,Stella Artois, Vedett, Weihenstephaner เป็นต้น
พูดกันตามตรงจากประสบการณ์ตัวเองว่า คราฟท์เบียร์นั้นอร่อยนุ่มลิ้นชื่นคอกว่าเบียร์บรรจุขวดที่ขายกันอยู่ในท้องตลาด คอเบียร์เคยสอนผมว่า ดื่มเบียร์นั้นต้องกินเบียร์สดไม่ใช่เบียร์เก่าเก็บเหมือนกับไวน์
จะเห็นว่าตลาดเบียร์ในเมืองไทยนั้นมีมูลค่ามหาศาลยังเติบโตได้อีก แต่ทำไมไม่เปิดโอกาสให้คนตัวเล็กตัวน้อยที่หลงรักในศิลปะของการทำเบียร์ได้เข้ามาทำมาหากินได้บ้าง
สิ่งที่พูดนี้จึงอยู่เลยขอบเขตข้อห้ามของศาสนาพุทธในศีลห้าที่ห้ามดื่มสุราเมรัย เพราะเบียร์นั้นได้รับอนุญาตให้ผลิตและจำหน่ายได้ในประเทศไทยได้อยู่แล้ว ผมจึงมุ่งพูดถึงการแบ่งปันซึ่งก็เป็นหลักการของพุทธศาสนาให้ผู้ประกอบการรายย่อยทำมาหากินบ้าง แต่กลับมีกฎหมายกีดกันผู้ประกอบการรายย่อย ซึ่งมองไม่เห็นเหตุผลอะไรเลย เพราะเห็นอย่างเดียวว่า ถ้าอนุญาตให้มีผู้ประกอบการรายย่อยได้ ผู้ประกอบการรายใหญ่จะถูกแบ่งความรวยลง แต่ว่าไปแล้วต่อให้มีผู้ประกอบการเบียร์รายย่อยก็ยังเป็นส่วนแบ่งที่เล็กน้อยจากมหาเศรษฐีเท่านั้นเอง
เพราะตลาดของคราฟท์เบียร์นั้นเป็นคนละตลาดกับเบียร์พรีเมียมแบบลีโอ ช้าง ที่ผู้ซื้อเป็นตลาดล่าง แต่คราฟท์เบียร์นั้นจะมีกลุ่มลูกค้าที่เป็นคนทำงานระดับกลางขึ้นบนหรือคนรุ่นใหม่เสียมากกว่า แต่ถ้าเราจะอ้างว่าเป็นเมืองพุทธ ไม่ควรส่งเสริมการดื่มสุรา ไม่ควรขายก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพียงแต่ทุกวันนี้มันขายได้อยู่และผูกขาดกันอยู่ไม่กี่ราย
นอกจากนั้นยังมีการวิจัยพบว่า การดื่มเบียร์ที่พอเหมาะนั้นสามารถต้านอนุมูลอิสระได้ สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานได้ ผู้ที่ดื่มเบียร์จะมีแนวโน้มที่จะป่วยเป็นโรคหัวใจน้อยลง 42% เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ไม่ดื่ม ใบฮ็อพซึ่งเป็นส่วนประกอบของเบียร์มีสารอาหารที่ทราบกันดีว่าช่วยป้องกันโรคบางอย่าง เช่น โรคซึมเศร้า และโรคกระดูกพรุน เป็นต้น
เมื่อมองดูทั้งหมดแล้วเราพบว่าอุปสรรคของคราฟท์เบียร์คือกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการณ์รายใหญ่ ทำให้มือทำคราฟท์เบียร์ระดับตำนานของไทยต้องหนีไปตั้งโรงงานในเกาะกงบ้าง ลาวบ้าง บางเจ้าหนีไปถึงออสเตรเลีย แล้วค่อยบรรจุกระป๋อง ใส่ขวดอิมพอร์ตเข้ามาขายในประเทศไทย เป็นการปิดกั้นคนตัวเล็กตัวน้อยแล้วยกผลประโยชน์ไปให้นายทุนใหญ่ ซึ่งขัดแย้งกับนโยบาย Startup ไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลเอง
รัฐบาลควรถามตัวเองว่าเรื่องนี้ควรจะแก้กฎหมายหรือว่าไล่จับปรับขังจำคุก โดยเปิดทางให้ผู้ประกอบการรายใหญ่เพียง 2-3 รายยึดครองส่วนแบ่งตลาดที่มีมูลค่า 180,000 ล้านบาท จนประเทศไทยได้ชื่อว่ามีช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนเป็นอันดับ 3 ของโลก
...ติดตามผู้เขียนได้ที่ http://www.facebook.com/.surawich.verawan