นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม กล่าวถึง กรณีศาลปกครองกลางเรียกน.ส.ยิ่งลักษณ์ มาไต่สวนว่า การเรียกครั้งนี้เพื่อที่ศาลจะนำข้อมูลไปพิจารณาว่าจะกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา ที่ให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนมูลค่า 35,717 ล้านบาท เอาไว้ก่อน จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา ตามที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยื่นขอหรือไม่
ทั้งนี้ ประเด็นเรื่องค่าเสียหาย 35,717 ล้านบาท ที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ถูกคณะกรรมการรับผิดทางแพ่งเรียกนั้น มีสิ่งที่สังคมต้องรู้เท่าทันคือ
1. ฝ่ายน.ส.ยิ่งลักษณ์ และพรรคเพื่อไทย พยายามสื่อกับสังคมว่า เป็นการดำเนินตามนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา เพื่อต้องการช่วยเหลือชาวนา ดังนั้นการดำเนินตามนโยบายไม่ควรมาคิดเป็นกำไร ขาดทุน ซึ่งสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจก็คือ การดำเนินนโยบายเพื่อช่วยเหลือประชาชนย่อมต้องมีการใช้จ่าย โดยหลักการการช่วยเหลือประชาชนนั้น ไม่มีใครว่า แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นของคดีจำนำข้าว คือ การทุจริตของฝ่ายการเมือง รวมทั้งผู้ใกล้ชิด และปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริต ทำให้เงินถึงมือชาวนาไม่เต็มที่ต่างหาก ที่ต้องมีผู้รับผิดชอบ
2. ฝ่ายน.ส.ยิ่งลักษณ์ พยายามอ้างว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องการเมือง ต้องการกลั่นแกล้งทางการเมือง สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจคือ ทุกนโยบายที่แถลงผ่านรัฐสภานั้น เป็นการเมืองทั้งสิ้น ถ้าดำเนินด้วยความโปร่งใส ประโยชน์ถึงมือประชาชนเต็มที่ ก็ไม่มีใครทำอะไรได้ ขณะเดียวกันแม้จะเป็นรัฐบาลอื่นๆ ที่ดำเนินนโยบายแล้วนำไปสู่การทุจริต สร้างความเสียหาย ก็ต้องถูกดำเนินคดีเช่นเดียวกัน
3. ก่อนหน้านี้ เรื่องการเรียกค่าเสียหาย น.ส.ยิ่งลักษณ์ เคยไปร้องขอความเป็นธรรม ผ่านนายกฯ หลายครั้ง ร้องผ่านปลัดกระทรวงการคลัง เพื่อต้องการสื่อว่า ตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรม ร้องแล้วไม่ได้รับการตอบสนอง เนื่องจากกฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ กำหนดว่า ให้ร้องขอความเป็นธรรมผ่านศาลปกครอง ดังนั้นการร้องผ่านบุคคลที่กล่าวมา จึงเป็นการร้องที่ไม่ถูกกระบวนการ เพียงเพื่อหวังผลทางการเมืองว่าไม่ได้รับความสนใจ แต่เมื่อมาร้องผ่านศาลปกครอง ซึ่งเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ศาลท่านก็รับไว้พิจารณา เพื่อให้ความเป็นธรรม และนัดไต่สวน
4. น.ส.ยิ่งลักษณ์ และพรรคเพื่อไทย พยายามโยงเรื่องค่าเสียหาย 35,717 ล้านบาทว่า ต้องรอคำตัดสินคดีอาญาก่อน รวมทั้งเรียกร้องให้เป็นการฟ้องแพ่งแทน แต่ในความเป็นจริง การกระทำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ส่อไปในทางประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้เกิดความเสียหาย ซึ่งมีความผิดตาม พ.ร.บ.รับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ ต้องดำเนินการตามแนวทางนี้ แม้จะอ้างว่าเป็นการใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร
ทั้งนี้ ประเด็นเรื่องค่าเสียหาย 35,717 ล้านบาท ที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ถูกคณะกรรมการรับผิดทางแพ่งเรียกนั้น มีสิ่งที่สังคมต้องรู้เท่าทันคือ
1. ฝ่ายน.ส.ยิ่งลักษณ์ และพรรคเพื่อไทย พยายามสื่อกับสังคมว่า เป็นการดำเนินตามนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา เพื่อต้องการช่วยเหลือชาวนา ดังนั้นการดำเนินตามนโยบายไม่ควรมาคิดเป็นกำไร ขาดทุน ซึ่งสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจก็คือ การดำเนินนโยบายเพื่อช่วยเหลือประชาชนย่อมต้องมีการใช้จ่าย โดยหลักการการช่วยเหลือประชาชนนั้น ไม่มีใครว่า แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นของคดีจำนำข้าว คือ การทุจริตของฝ่ายการเมือง รวมทั้งผู้ใกล้ชิด และปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริต ทำให้เงินถึงมือชาวนาไม่เต็มที่ต่างหาก ที่ต้องมีผู้รับผิดชอบ
2. ฝ่ายน.ส.ยิ่งลักษณ์ พยายามอ้างว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องการเมือง ต้องการกลั่นแกล้งทางการเมือง สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจคือ ทุกนโยบายที่แถลงผ่านรัฐสภานั้น เป็นการเมืองทั้งสิ้น ถ้าดำเนินด้วยความโปร่งใส ประโยชน์ถึงมือประชาชนเต็มที่ ก็ไม่มีใครทำอะไรได้ ขณะเดียวกันแม้จะเป็นรัฐบาลอื่นๆ ที่ดำเนินนโยบายแล้วนำไปสู่การทุจริต สร้างความเสียหาย ก็ต้องถูกดำเนินคดีเช่นเดียวกัน
3. ก่อนหน้านี้ เรื่องการเรียกค่าเสียหาย น.ส.ยิ่งลักษณ์ เคยไปร้องขอความเป็นธรรม ผ่านนายกฯ หลายครั้ง ร้องผ่านปลัดกระทรวงการคลัง เพื่อต้องการสื่อว่า ตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรม ร้องแล้วไม่ได้รับการตอบสนอง เนื่องจากกฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ กำหนดว่า ให้ร้องขอความเป็นธรรมผ่านศาลปกครอง ดังนั้นการร้องผ่านบุคคลที่กล่าวมา จึงเป็นการร้องที่ไม่ถูกกระบวนการ เพียงเพื่อหวังผลทางการเมืองว่าไม่ได้รับความสนใจ แต่เมื่อมาร้องผ่านศาลปกครอง ซึ่งเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ศาลท่านก็รับไว้พิจารณา เพื่อให้ความเป็นธรรม และนัดไต่สวน
4. น.ส.ยิ่งลักษณ์ และพรรคเพื่อไทย พยายามโยงเรื่องค่าเสียหาย 35,717 ล้านบาทว่า ต้องรอคำตัดสินคดีอาญาก่อน รวมทั้งเรียกร้องให้เป็นการฟ้องแพ่งแทน แต่ในความเป็นจริง การกระทำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ส่อไปในทางประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้เกิดความเสียหาย ซึ่งมีความผิดตาม พ.ร.บ.รับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ ต้องดำเนินการตามแนวทางนี้ แม้จะอ้างว่าเป็นการใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร