** ผ่าง!! องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ(Transparency International : TI) เผยดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันปี 2559 พบว่า ประเทศไทย ที่เคยอยู่อันดับที่ 76 เมื่อปี 2558 ร่วงลงมาอยู่อันดับที่ 101 จากทั้งหมด 176 อันดับ จากเคยได้ 38 คะแนน ปีนี้เหลือ 35 คะแนน นับในอาเซียนเราเหนือกว่าแค่ “ลาว-พม่า-กัมพูชา”ส่วนอันดับ 1 ของภูมิภาคไม่ต้องเดา “สิงคโปร์”นั่นเอง อยู่สูงถึงอันดับ 7 ของโลก ขณะที่“เดนมาร์ก–นิวซีแลนด์”ครองแชมป์ประเทศที่โปร่งใสอันดับ 1 ของโลก ได้คะแนน 90 เต็ม 100 ร่วมกัน ... สะท้อนว่าแม้ไม่มีนักการเมือง พวกขี้ฉ้อก็ยังไม่หมด ตัวเลขที่ TI วัดได้ก็พอๆ กับสมัย “มาร์ค-ปู” นั่นแหละ ... แล้วที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันอย่าง เด็ดขาด ตั้งคณะกรรมการปราบโกงขึ้นมาหยุ่บหยั่บ ฝรั่งเขาไม่อินด้วยหร๊อก
** เมื่อวาน “นายกฯตู่”ก็เพิ่งพูดเหม็บๆว่า ระบบการตรวจสอบหน่วยงานภาครัฐขณะนี้รัดกุมมาก ไม่ไม่เคยรัดกุมแบบนี้มาก่อน แต่ทุกอย่างก็อยู่ที่คน“ถ้าคนจะโกงก็ต้องหาช่องโกงได้”เป๊ะเลยครับท่านนายกฯ สอดคล้องกับกระแสข่าวว่า“ยุค คสช.”ยังมีการเรียกรับผลประโยชน์จากโครงการภาครัฐอยู่เหมือนสมัยนักการเมืองไม่มีผิด ราคาแบบไม่บอกผ่าน 30-40% เหมือนเดิม แล้วที่น่ากลัวไม่ใช่โครงการลงทุนขนาดใหญ่อะไร พวกงบภัยพิบัติ งบประมาณที่อนุมัติรวดเร็วทันใจ กินกันสนุกสนานนักเชียว อย่าง“งบเก็บผักตบชวา”ที่ พิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เคยออกมาแฉว่า หลายหน่วยงานเบิกแต่งบ แต่ผักตบชวาไม่เห็นลดลง
** แม้คนละยุคคนละสมัย แต่พอดัชนีเกี่ยวกับเรื่องโกงออกมาตอนนี้ มันก็ทำให้กรณี“สินบนข้ามชาติ”น่าติดตามขึ้น เห็นหลายหน่วยงานที่มีชื่อไปพัวพันเด้งดึ๋งตั้งคณะกรรมการสอบแบบพร้อมเพรียง แต่ที่แปลกก็เรื่อง“เดดไลน์”ที่เหมือนตั้งกันตามอำเภอใจ บ้างก็ว่า 30 วัน 15 วันเสร็จ บางหน่วยงานบอก 7 วันรู้ผล เออ!! จะคอยดู ... ว่าแล้วก็ต้องขอติง“ท่านผู้ว่าฯพิศิษฐ์”ซักนิ๊ด เท่าที่ติดตามเห็นท่านเอาแต่ง้างดาบ ไม่เห็นลงดาบให้กองเชียร์สะใจซักที โดยเฉพาะเคสใหญ่นี่ทางสะดวกหมด ประทับตราโปร่งใสร้อยเปอร์เซ็นต์แบบค้านสายตาชาวบ้าน เห็นหลักๆ จะเน้นสอย อบต.-อบจ.ไปตามเรื่อง “สิบบนโรลส์-รอยซ์”ที่บอกว่า ได้ชื่อ“ไอ้โม่ง-อีโม่ง”หมดแล้ว ก็จัดให้ถึงใจกองเชียร์หน่อยเถอะ จะได้ลบภาพ“ผงซักฟอก”ที่คอยฟอกขาวให้คดีใหญ่เสียที
** เอ๋... 2 สัปดาห์ก่อนเห็นคนใน คสช. ขมีขมันเรื่อง “ปรองดอง”กันซะดิบดี “ท่านรองฯป้อม”พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่รับเป็น“มร.ปรองดอง” ก็ประกาศเดือนนึงเห็นหน้าเห็นหลัง นี่ปาเข้าไปครึ่งเดือนแล้ว คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดิน ตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ที่มีเรื่องปรองดองเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญก็ยัง “ตั้งไข่”ไม่เสร็จ “เอ็มโอยู-สัตยาบัน”ที่จะให้พรรค-กลุ่มการเมืองไปเซ็น ก็ยังไม่เห็นว่าเนื้อหาหน้าตาเป็นยังไง ทั้งที่ในที่ประชุมครม. 2 สัปดาห์ก่อน “บิ๊กป้อม”ก็อุตส่าห์พรีเซ็นต์ “โปรเจกต์ปรองดอง”เป็นวรรคเป็นเวร ... สงกะสัยว่า“คนเขียนบท”จะเขียนมาไม่สุด นักแสดงเลยมึนๆ ชอบกล
** ไม่ได้ดูถูกนะ แต่การพูดคุยเพื่อหาทางออกเรื่องปรองดอง นี่มัน “มุกเก่าเก็บ”สมัยท่านองคมนตรี “บิ๊กโชย”พล.อ.กัมปนาท รุดดิษฐ์ ขณะนั่งเป็นแม่ทัพภาคที่ 1 อยู่ก็เป็นประธานศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป (ศปป.) เชิญตัวแทนทุกกลุ่มมาเจอกัน อย่าว่าแต่นั่งคุยเลย นั่งโต๊ะเหลา ซดหูฉลามก็เคยมาแล้ว สรุปก็ม่มีวี่แววว่าจะสำเร็จ เวทีพูดคุยที่จะตั้งใหม่ก็คงคือๆ กัน แต่งานนี้ถ้าจุดหมายปลายทางเป็นไปอย่างที่ได้ยินมา ประมาณ“รัฐบาลแห่งชาติ”อะไรเถือกนั้น ... เชื่อว่า“ทหาร – นักการเมือง”ปรองดองกันได้แน่ แต่ประชาชนคนวงนอกก็คงจูนกันยาก ทะเลาะกันตามมีตามเกิดต่อไป
** ตอนนี้กำลังมีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ.... กันอยู่ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้ “สื่อมวลชน”มีสถาบันตรวจสอบการทำงานเชิงวิชาชีพอย่าง “แพทยสภา–สภาทนายความ”หากเป็นไปตามนี้ก็ต้องบอกว่า“ของดี” เพราะที่ผ่านมาทั้งสื่อเอง หรือสังคมภายนอกก็ไม่เชื่อว่า สื่อจะดูแลตรวจสอบ-ควบคุมกันเองได้จริง หลายประเด็นก็พิสูจน์มาแล้วว่า เป็นจริงตามนั้น ที่ถึงเวลาจะสอบใครก็ “บ่มิไก๊”
** แต่เอาเถอะ... ถ้ามันจำเป็น ก็ต้องมี แต่ที่“ไม่เห็นด้วย”และคิดว่าเป็น “หัวใจสำคัญ”คือ มาตรา 41 ในสัดส่วนของกรรมการนั้น ยัดทะนาน“ตัวแทนภาครัฐ”เข้ามาเพียบ ดึงปลัดกระทรวงมานั่งถึง 4 กระทรวง ซึ่งน่าจะขัดแย้งกับ“เสรีภาพสื่อ”ตามรัฐธรรมนูญ ที่รัฐไม่ควรเข้าไปยุ่งย่ามจนเกินไป แถมในบทเฉพาะกาล มาตรา 92 คณะทำงานเพื่อเตรียมการตั้งสภาวิชาชีพฯ มี “ตัวแทนภาคสื่อ”แค่ 4 จาก 13 คน ไม่เท่านั้น ยังมาจากวิทยุโทรทัศน์ 2 คน หนังสือพิมพ์ 1 คน และออนไลน์ 1 คน ที่น่าสนใจคือ การไม่เปิดโอกาสให้ตัวแทนจาก“สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย”เข้าไปมีส่วนร่วม ทั้งที่เป็นองค์กรเก่าแก่ที่สุด และมีสมาชิกเป็นคนส่วนใหญ๋ในวิชาชีพนี้ ... เรื่องนี้ “นักข่าว”น่าจะต้องช่วยกันทวงสิทธิ์ของตัวเอง.
** เมื่อวาน “นายกฯตู่”ก็เพิ่งพูดเหม็บๆว่า ระบบการตรวจสอบหน่วยงานภาครัฐขณะนี้รัดกุมมาก ไม่ไม่เคยรัดกุมแบบนี้มาก่อน แต่ทุกอย่างก็อยู่ที่คน“ถ้าคนจะโกงก็ต้องหาช่องโกงได้”เป๊ะเลยครับท่านนายกฯ สอดคล้องกับกระแสข่าวว่า“ยุค คสช.”ยังมีการเรียกรับผลประโยชน์จากโครงการภาครัฐอยู่เหมือนสมัยนักการเมืองไม่มีผิด ราคาแบบไม่บอกผ่าน 30-40% เหมือนเดิม แล้วที่น่ากลัวไม่ใช่โครงการลงทุนขนาดใหญ่อะไร พวกงบภัยพิบัติ งบประมาณที่อนุมัติรวดเร็วทันใจ กินกันสนุกสนานนักเชียว อย่าง“งบเก็บผักตบชวา”ที่ พิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เคยออกมาแฉว่า หลายหน่วยงานเบิกแต่งบ แต่ผักตบชวาไม่เห็นลดลง
** แม้คนละยุคคนละสมัย แต่พอดัชนีเกี่ยวกับเรื่องโกงออกมาตอนนี้ มันก็ทำให้กรณี“สินบนข้ามชาติ”น่าติดตามขึ้น เห็นหลายหน่วยงานที่มีชื่อไปพัวพันเด้งดึ๋งตั้งคณะกรรมการสอบแบบพร้อมเพรียง แต่ที่แปลกก็เรื่อง“เดดไลน์”ที่เหมือนตั้งกันตามอำเภอใจ บ้างก็ว่า 30 วัน 15 วันเสร็จ บางหน่วยงานบอก 7 วันรู้ผล เออ!! จะคอยดู ... ว่าแล้วก็ต้องขอติง“ท่านผู้ว่าฯพิศิษฐ์”ซักนิ๊ด เท่าที่ติดตามเห็นท่านเอาแต่ง้างดาบ ไม่เห็นลงดาบให้กองเชียร์สะใจซักที โดยเฉพาะเคสใหญ่นี่ทางสะดวกหมด ประทับตราโปร่งใสร้อยเปอร์เซ็นต์แบบค้านสายตาชาวบ้าน เห็นหลักๆ จะเน้นสอย อบต.-อบจ.ไปตามเรื่อง “สิบบนโรลส์-รอยซ์”ที่บอกว่า ได้ชื่อ“ไอ้โม่ง-อีโม่ง”หมดแล้ว ก็จัดให้ถึงใจกองเชียร์หน่อยเถอะ จะได้ลบภาพ“ผงซักฟอก”ที่คอยฟอกขาวให้คดีใหญ่เสียที
** เอ๋... 2 สัปดาห์ก่อนเห็นคนใน คสช. ขมีขมันเรื่อง “ปรองดอง”กันซะดิบดี “ท่านรองฯป้อม”พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่รับเป็น“มร.ปรองดอง” ก็ประกาศเดือนนึงเห็นหน้าเห็นหลัง นี่ปาเข้าไปครึ่งเดือนแล้ว คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดิน ตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ที่มีเรื่องปรองดองเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญก็ยัง “ตั้งไข่”ไม่เสร็จ “เอ็มโอยู-สัตยาบัน”ที่จะให้พรรค-กลุ่มการเมืองไปเซ็น ก็ยังไม่เห็นว่าเนื้อหาหน้าตาเป็นยังไง ทั้งที่ในที่ประชุมครม. 2 สัปดาห์ก่อน “บิ๊กป้อม”ก็อุตส่าห์พรีเซ็นต์ “โปรเจกต์ปรองดอง”เป็นวรรคเป็นเวร ... สงกะสัยว่า“คนเขียนบท”จะเขียนมาไม่สุด นักแสดงเลยมึนๆ ชอบกล
** ไม่ได้ดูถูกนะ แต่การพูดคุยเพื่อหาทางออกเรื่องปรองดอง นี่มัน “มุกเก่าเก็บ”สมัยท่านองคมนตรี “บิ๊กโชย”พล.อ.กัมปนาท รุดดิษฐ์ ขณะนั่งเป็นแม่ทัพภาคที่ 1 อยู่ก็เป็นประธานศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป (ศปป.) เชิญตัวแทนทุกกลุ่มมาเจอกัน อย่าว่าแต่นั่งคุยเลย นั่งโต๊ะเหลา ซดหูฉลามก็เคยมาแล้ว สรุปก็ม่มีวี่แววว่าจะสำเร็จ เวทีพูดคุยที่จะตั้งใหม่ก็คงคือๆ กัน แต่งานนี้ถ้าจุดหมายปลายทางเป็นไปอย่างที่ได้ยินมา ประมาณ“รัฐบาลแห่งชาติ”อะไรเถือกนั้น ... เชื่อว่า“ทหาร – นักการเมือง”ปรองดองกันได้แน่ แต่ประชาชนคนวงนอกก็คงจูนกันยาก ทะเลาะกันตามมีตามเกิดต่อไป
** ตอนนี้กำลังมีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ.... กันอยู่ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้ “สื่อมวลชน”มีสถาบันตรวจสอบการทำงานเชิงวิชาชีพอย่าง “แพทยสภา–สภาทนายความ”หากเป็นไปตามนี้ก็ต้องบอกว่า“ของดี” เพราะที่ผ่านมาทั้งสื่อเอง หรือสังคมภายนอกก็ไม่เชื่อว่า สื่อจะดูแลตรวจสอบ-ควบคุมกันเองได้จริง หลายประเด็นก็พิสูจน์มาแล้วว่า เป็นจริงตามนั้น ที่ถึงเวลาจะสอบใครก็ “บ่มิไก๊”
** แต่เอาเถอะ... ถ้ามันจำเป็น ก็ต้องมี แต่ที่“ไม่เห็นด้วย”และคิดว่าเป็น “หัวใจสำคัญ”คือ มาตรา 41 ในสัดส่วนของกรรมการนั้น ยัดทะนาน“ตัวแทนภาครัฐ”เข้ามาเพียบ ดึงปลัดกระทรวงมานั่งถึง 4 กระทรวง ซึ่งน่าจะขัดแย้งกับ“เสรีภาพสื่อ”ตามรัฐธรรมนูญ ที่รัฐไม่ควรเข้าไปยุ่งย่ามจนเกินไป แถมในบทเฉพาะกาล มาตรา 92 คณะทำงานเพื่อเตรียมการตั้งสภาวิชาชีพฯ มี “ตัวแทนภาคสื่อ”แค่ 4 จาก 13 คน ไม่เท่านั้น ยังมาจากวิทยุโทรทัศน์ 2 คน หนังสือพิมพ์ 1 คน และออนไลน์ 1 คน ที่น่าสนใจคือ การไม่เปิดโอกาสให้ตัวแทนจาก“สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย”เข้าไปมีส่วนร่วม ทั้งที่เป็นองค์กรเก่าแก่ที่สุด และมีสมาชิกเป็นคนส่วนใหญ๋ในวิชาชีพนี้ ... เรื่องนี้ “นักข่าว”น่าจะต้องช่วยกันทวงสิทธิ์ของตัวเอง.