ผู้หญิงนับล้านๆ ออกมาชุมนุมเดินขบวนเต็มท้องถนนตามเมืองใหญ่ๆ ในสหรัฐฯ และตามนครหลายแห่งทั่วโลกเมื่อวันเสาร์ (21 ม.ค.) กลายเป็นกระแสการประท้วงระดับระหว่างประเทศอย่างชนิดไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยมุ่งต่อต้านคัดค้านประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ หลังจากเขาเพิ่งสาบานตัวเข้ารับตำแหน่งได้ 1 วัน
บรรดานักเคลื่อนไหวที่เป็นผู้หญิง ผู้รู้สึกโกรธเกรี้ยวจากการพูดจาและพฤติกรรมของทรัมป์ในช่วงระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของเขา ซึ่งพวกเธอพบว่ามีความเป็นปฏิปักษ์และดูถูกดูหมิ่นผู้หญิงมากเป็นพิเศษ กลายเป็นหัวหอกนำการประท้วงที่จัดขึ้นตามที่ต่างๆ หลายสิบแห่งในสหรัฐฯ ขณะเดียวกันก็มีผู้เห็นอกเห็นใจพวกเธอจัดการชุมนุมแสดงความสนับสนุนในหลายๆ เมืองทั่วโลก
พวกผู้จัดการประท้วงคราวนี้ระบุว่า การชุมนุมเดินขบวนทั้งหมดเหล่านี้สามารถเรียกผู้คนออกมาเข้าร่วมได้เกือบๆ 5 ล้านคน มากมายเกินกว่าที่คาดหมายกันเอาไว้
กระแสการชุมนุมเดินขบวนคราวนี้ยังเน้นย้ำให้เห็นถึงความไม่พอใจอย่างแรงกล้าที่มีต่อการแสดงความคิดเห็นและจุดยืนทางนโยบายของทรัมป์ ซึ่งมีลักษณะดูถูกเหยียดหยามผู้คนมากหน้าหลายกลุ่ม เป็นต้นว่า ผู้อพยพชาวเม็กซิโก, ชาวมุสลิม, คนพิการ, และนักสิ่งแวดล้อม
ตรงกันข้ามกับน้ำเสียงอันเผ็ดร้อนและแทรกไปด้วยเสียงกรีดร้องกราดเกรี้ยวอยู่บ่อยครั้งในการรณรงค์หาเสียงเป็นประธานาธิบดีของทรัมป์ ตลอดจนภาพลักษณ์แสนมืดมนของ “การฆ่าโหดชาวอเมริกัน” ซึ่งทรัมป์ปลุกปั่นขึ้นมาในคำปราศรัยระหว่างพิธีสาบานตัวของเขาเมื่อวันศุกร์ (20) อารมณ์ความรู้สึกของฝูงชนในการประท้วงวันเสาร์ (21) ส่วนใหญ่แล้วอยู่ในลักษณะชื่นบานมีความหวัง กระทั่งถึงกับรื่นเริงราวกับเป็นงานเทศกาล
ผู้ชุมนุมเดินขบวนพากันตะโกนร้องคำขวัญอย่างเช่น “เราต้องการผู้นำที่แท้จริง ไม่ใช่นักทวิตเตอร์น่าขยะแขยง” และ “เฮ-เฮ้ โฮโฮ่ โดนัลด์ ทรัมป์ ต้องออกไป” คนจำนวนมากสวมหมวกถักสีชมพูที่มีหูแมวยื่นออกมา ซึ่งเรียกขานกันว่า “พุชซี่ แฮต” (pussy hat) หรือ “หมวกโสเภณี” เพื่อแสดงการท้าทายและอ้างอิงถึงคำคุยโตของทรัมป์ ซึ่งปรากฏอยู่ในคลิปวิดีโอเมื่อปี 2005 แต่ถูกนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนไม่กี่สัปดาห์ก่อนวันเลือกตั้ง โดยที่เขาอวดว่าความเป็นคนดังของเขา ทำให้สามารถจับอวัยวะเพศของผู้หญิงคนไหนก็ได้ตามต้องการ
ขณะที่ส่วนประกอบมากมายของกลุ่มผู้ประท้วงคราวนี้เป็นผู้หญิง แต่พวกเธอก็มีสามี, เพื่อนชาย, และลูกๆ เคียงข้างเข้าร่วมด้วย
การชุมนุมที่เป็นศูนย์กลางของการประท้วงคราวนี้ตามที่วางแผนกันเอาไว้ ซึ่งก็คือการเดินขบวนในกรุงวอชิงตันที่ใช้ชื่อว่า “วีเมนส์ มาร์ช ออน วอชิงตัน” (Women's March on
Washington) ดูเหมือนสามารถเรียกฝูงชนให้เข้าร่วมได้เป็นจำนวนมากกว่าผู้คนซึ่งออกมาเป็นสักขีพยานการสาบานตัวขึ้นเป็นประธานาธิบดีของทรัมป์ เมื่อ 1 วันก่อนหน้า
จำนวนผู้ที่เข้าร่วมประท้วงในกรุงวอชิงตันคราวนี้ ไม่มีหน่วยงานรัฐใดประเมินเอาไว้ แต่เป็นที่ชัดเจนว่าเกินไปไกลกว่าตัวเลข 200,000 คนซึ่งคณะผู้จัดคาดหมายเอาไว้ล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้คนเต็มแน่นแออัดกันตามพื้นที่ช่องทางอันยาวเหยียดของย่านดาวน์ทาวน์เมืองหลวง รอบๆ ทำเนียบขาวและลานเนชั่นแนล มอลล์
ยังมีสตรีอีกหลายแสนคนออกไปรวมตัวกันในนครนิวยอร์ก, ลอสแองเจลีส, ชิคาโก, เดนเวอร์, และบอสตัน เป็นการเพิ่มเติมจำนวนมวลชนผู้ไม่พอใจและต่อต้านทรัมป์จนอยู่ในระดับที่แซงหน้าการชุมนุมเดินขบวนประท้วงเรียกร้องครั้งอื่นๆ ในประวัติศาสตร์การเมืองสมัยใหม่ของสหรัฐฯ
คณะผู้จัดการประท้วงที่ใช้ชื่อว่า “ซิสเตอร์ มาร์ช” (Sister March) ประมาณการว่ามีผู้เข้าร่วมราว 750,000 คนเต็มท้องถนนสายต่างๆ ของนครลอสแองเจลีส หนึ่งในจุดชุมนุมเมื่อวันเสาร์ (21) ซึ่งมีผู้เข้าร่วมมากที่สุด ตำรวจระบุว่าจำนวนผู้ที่ออกมาคราวนี้มีขนาดใหญ่พอๆ กันหรือใหญ่กว่าการเดินขบวนสนับสนุนผู้อพยพเมื่อปี 2006 ซึ่งเรียกผู้คนเข้าร่วมได้ 500,000 คน
สำหรับที่นครนิวยอร์ก มีผู้ชุมนุมเดินขบวนราว 400,000 คน ทั้งนี้ตามตัวเลขของนายกเทศมนตรี บิลล์ เดอ บลาซิโอ ถึงแม้คณะผู้จัดให้ตัวเลขว่าน่าจะถึง 600,000 คน
ในชิคาโก ผู้เข้าร่วมมีขนาดใหญ่โตจนกระทั่งคณะผู้จัดต้องเปลี่ยนให้กลายเป็นการชุมนุมอยู่กับที่เท่านั้น แทนที่จะมีการเดินขบวนไปทั่วเมืองตามแผนเดิม ทางตำรวจให้ตัวเลขว่ามีผู้มาชุมนุมกว่า 125,000 คน ขณะทีพวกผู้ให้การสนับสนุนประมาณว่ามีถึง 200,000 คน อันเป็นตัวเลขระดับเดียวกับที่พวกเขารายงานว่าเกิดขึ้นในบอสตันและเดนเวอร์
ยังมีการประท้วงระดับเล็กลงมาจัดขึ้นในเมืองต่างๆ อย่างเช่น ซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน, พอร์ตแลนด์ รัฐออริกอน, เมดิสัน รัฐวิสคอนซิน, และ บิสมาร์ค รัฐนอร์ทดาโคตา
การประท้วงเหล่านี้ ซึ่งส่วนใหญ่ที่สุดดำเนินไปอย่างสงบสันติ เป็นการวาดภาพให้เห็นความแยกแยกอย่างล้ำลึกในสหรัฐอเมริกา ที่ยังคงอยู่ในอาการโซซัดโซเซภายหลังการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งปี 2016 ซึ่งเต็มไปด้วยการต่อสู้อันขมขื่น และทรัมป์ทำให้โลกตะลึงด้วยการเอาชนะผู้สมัครของพรรคเดโมแครต ฮิลลารี คลินตัน โดยที่เธอเป็นสร้างประวัติศาสตร์ ในการเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับการเสนอชื่อจากพรรคการเมืองใหญ่ในสหรัฐฯ ให้เป็นตัวแทนเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี
ถึงแม้เวลานี้ พรรครีพับลิกันของทรัมป์ สามารถครอบครองทำเนียบขาวและมีเสียงข้างมากในสภาทั้งสองของรัฐสภา แต่การประท้วงครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ทรัมป์ต้องเผชิญกับการคัดค้านอย่างเหนียวแน่นของผู้คนภาคส่วนต่างๆ อย่างกว้างขวางในสังคม ตรงกันข้ามกับประธานาธิบดีคนใหม่คนอื่นๆ ซึ่งธรรมดาแล้วจะมีระยะฮันนีมูน ที่ประชาชนให้ความสนับสนุนสูงในช่วงแรกๆ ที่เข้ารับตำแหน่ง
ผลโพลของ เอบีซีนิวส์/วอชิงตันโพสต์ เมื่อเร็วๆ นี้พบว่า ทรัมป์ได้คะแนนความนิยมต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯผู้กำลังเข้ารับตำแหน่งใหม่ทั้งหลาย นับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา
การประท้วงต่อต้านทรัมป์คราวนี้ ยังเกิดขึ้นในซิดนีย์, ลอนดอน, โตเกียว, และอีกหลายๆ เมืองทั่วทั้งยุโรปและเอเชีย
พวกผู้สนับสนุนการชุมนุม “ซิสเตอร์ มาร์ช” คุยว่า มีการชุมนุมกันราว 670 จุดทั่วโลก เพื่อแสดงความสมานฉันท์กับเหตุการณ์ในกรุงวอชิงตัน พร้อมกับประมาณการว่าผู้ที่เข้าร่วมในทั่วโลกมีจำนวนรวมกันมากกว่า 4.6 ล้านคน ทั้งนี้โดยอิงอยู่กับตัวเลขผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมเดินขบวนผ่านออนไลน์ ถึงแม้ตัวเลขเหล่านี้ยังไม่สามารถหาผู้ยืนยันรับรองอย่างเป็นอิสระได้
สำหรับทรัมป์ เขาโพสต์ข้อความในทวิตเตอร์เมื่อวันเสาร์ (21) ว่า “ผมรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับใช้พวกคุณ ประชาชนชาวอเมริกันผู้ยิ่งใหญ่ ในฐานะประธานาธิบดีคนที่ 45 ของสหรัฐอเมริกาของพวกคุณ!”
เขาดูเหมือนไม่ได้เอ่ยถึงการประท้วงที่เกิดขึ้นคราวนี้แต่อย่างใด
แต่เขาโจมตีอย่างโกรธกริ้วต่อรายงานของสื่อต่างๆ รวมทั้งภาพและคลิปวิดิโอ ซึ่งมีการเปรียบเทียบแสดงให้เห็นว่า ฝูงชนที่เข้าร่วมพิธีสาบานตัวของเขาในวันศุกร์(20) มีขนาดเล็กกว่าอย่างเห็นชัดเจนกับในปี 2009 และ 2013 เมื่อ บารัค โอบามา สาบานตัวเข้ารับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีในสมัยแรกและสมัยที่สองของเขา
“ผมเป็นคนกล่าวปราศรัย ผมมองออกไป คนเต็มสนาม ดูเหมือนมีสัก 1 ล้าน ประชาชน 1 ล้านครึ่ง” ทรัมป์กล่าวเช่นนี้ระหว่างที่เขาไปตรวจเยี่ยมสำนักงานใหญ่ซีไอเอในวันเสาร์ (21) พร้อมกับโจมตีสื่อว่า “พวกเขาถ่ายภาพสนามตรงจุดที่ในทางปฏิบัติแล้วไม่มีใครไปยืนอยู่ตรงนั้นอยู่แล้ว”
บรรดานักเคลื่อนไหวที่เป็นผู้หญิง ผู้รู้สึกโกรธเกรี้ยวจากการพูดจาและพฤติกรรมของทรัมป์ในช่วงระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของเขา ซึ่งพวกเธอพบว่ามีความเป็นปฏิปักษ์และดูถูกดูหมิ่นผู้หญิงมากเป็นพิเศษ กลายเป็นหัวหอกนำการประท้วงที่จัดขึ้นตามที่ต่างๆ หลายสิบแห่งในสหรัฐฯ ขณะเดียวกันก็มีผู้เห็นอกเห็นใจพวกเธอจัดการชุมนุมแสดงความสนับสนุนในหลายๆ เมืองทั่วโลก
พวกผู้จัดการประท้วงคราวนี้ระบุว่า การชุมนุมเดินขบวนทั้งหมดเหล่านี้สามารถเรียกผู้คนออกมาเข้าร่วมได้เกือบๆ 5 ล้านคน มากมายเกินกว่าที่คาดหมายกันเอาไว้
กระแสการชุมนุมเดินขบวนคราวนี้ยังเน้นย้ำให้เห็นถึงความไม่พอใจอย่างแรงกล้าที่มีต่อการแสดงความคิดเห็นและจุดยืนทางนโยบายของทรัมป์ ซึ่งมีลักษณะดูถูกเหยียดหยามผู้คนมากหน้าหลายกลุ่ม เป็นต้นว่า ผู้อพยพชาวเม็กซิโก, ชาวมุสลิม, คนพิการ, และนักสิ่งแวดล้อม
ตรงกันข้ามกับน้ำเสียงอันเผ็ดร้อนและแทรกไปด้วยเสียงกรีดร้องกราดเกรี้ยวอยู่บ่อยครั้งในการรณรงค์หาเสียงเป็นประธานาธิบดีของทรัมป์ ตลอดจนภาพลักษณ์แสนมืดมนของ “การฆ่าโหดชาวอเมริกัน” ซึ่งทรัมป์ปลุกปั่นขึ้นมาในคำปราศรัยระหว่างพิธีสาบานตัวของเขาเมื่อวันศุกร์ (20) อารมณ์ความรู้สึกของฝูงชนในการประท้วงวันเสาร์ (21) ส่วนใหญ่แล้วอยู่ในลักษณะชื่นบานมีความหวัง กระทั่งถึงกับรื่นเริงราวกับเป็นงานเทศกาล
ผู้ชุมนุมเดินขบวนพากันตะโกนร้องคำขวัญอย่างเช่น “เราต้องการผู้นำที่แท้จริง ไม่ใช่นักทวิตเตอร์น่าขยะแขยง” และ “เฮ-เฮ้ โฮโฮ่ โดนัลด์ ทรัมป์ ต้องออกไป” คนจำนวนมากสวมหมวกถักสีชมพูที่มีหูแมวยื่นออกมา ซึ่งเรียกขานกันว่า “พุชซี่ แฮต” (pussy hat) หรือ “หมวกโสเภณี” เพื่อแสดงการท้าทายและอ้างอิงถึงคำคุยโตของทรัมป์ ซึ่งปรากฏอยู่ในคลิปวิดีโอเมื่อปี 2005 แต่ถูกนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนไม่กี่สัปดาห์ก่อนวันเลือกตั้ง โดยที่เขาอวดว่าความเป็นคนดังของเขา ทำให้สามารถจับอวัยวะเพศของผู้หญิงคนไหนก็ได้ตามต้องการ
ขณะที่ส่วนประกอบมากมายของกลุ่มผู้ประท้วงคราวนี้เป็นผู้หญิง แต่พวกเธอก็มีสามี, เพื่อนชาย, และลูกๆ เคียงข้างเข้าร่วมด้วย
การชุมนุมที่เป็นศูนย์กลางของการประท้วงคราวนี้ตามที่วางแผนกันเอาไว้ ซึ่งก็คือการเดินขบวนในกรุงวอชิงตันที่ใช้ชื่อว่า “วีเมนส์ มาร์ช ออน วอชิงตัน” (Women's March on
Washington) ดูเหมือนสามารถเรียกฝูงชนให้เข้าร่วมได้เป็นจำนวนมากกว่าผู้คนซึ่งออกมาเป็นสักขีพยานการสาบานตัวขึ้นเป็นประธานาธิบดีของทรัมป์ เมื่อ 1 วันก่อนหน้า
จำนวนผู้ที่เข้าร่วมประท้วงในกรุงวอชิงตันคราวนี้ ไม่มีหน่วยงานรัฐใดประเมินเอาไว้ แต่เป็นที่ชัดเจนว่าเกินไปไกลกว่าตัวเลข 200,000 คนซึ่งคณะผู้จัดคาดหมายเอาไว้ล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้คนเต็มแน่นแออัดกันตามพื้นที่ช่องทางอันยาวเหยียดของย่านดาวน์ทาวน์เมืองหลวง รอบๆ ทำเนียบขาวและลานเนชั่นแนล มอลล์
ยังมีสตรีอีกหลายแสนคนออกไปรวมตัวกันในนครนิวยอร์ก, ลอสแองเจลีส, ชิคาโก, เดนเวอร์, และบอสตัน เป็นการเพิ่มเติมจำนวนมวลชนผู้ไม่พอใจและต่อต้านทรัมป์จนอยู่ในระดับที่แซงหน้าการชุมนุมเดินขบวนประท้วงเรียกร้องครั้งอื่นๆ ในประวัติศาสตร์การเมืองสมัยใหม่ของสหรัฐฯ
คณะผู้จัดการประท้วงที่ใช้ชื่อว่า “ซิสเตอร์ มาร์ช” (Sister March) ประมาณการว่ามีผู้เข้าร่วมราว 750,000 คนเต็มท้องถนนสายต่างๆ ของนครลอสแองเจลีส หนึ่งในจุดชุมนุมเมื่อวันเสาร์ (21) ซึ่งมีผู้เข้าร่วมมากที่สุด ตำรวจระบุว่าจำนวนผู้ที่ออกมาคราวนี้มีขนาดใหญ่พอๆ กันหรือใหญ่กว่าการเดินขบวนสนับสนุนผู้อพยพเมื่อปี 2006 ซึ่งเรียกผู้คนเข้าร่วมได้ 500,000 คน
สำหรับที่นครนิวยอร์ก มีผู้ชุมนุมเดินขบวนราว 400,000 คน ทั้งนี้ตามตัวเลขของนายกเทศมนตรี บิลล์ เดอ บลาซิโอ ถึงแม้คณะผู้จัดให้ตัวเลขว่าน่าจะถึง 600,000 คน
ในชิคาโก ผู้เข้าร่วมมีขนาดใหญ่โตจนกระทั่งคณะผู้จัดต้องเปลี่ยนให้กลายเป็นการชุมนุมอยู่กับที่เท่านั้น แทนที่จะมีการเดินขบวนไปทั่วเมืองตามแผนเดิม ทางตำรวจให้ตัวเลขว่ามีผู้มาชุมนุมกว่า 125,000 คน ขณะทีพวกผู้ให้การสนับสนุนประมาณว่ามีถึง 200,000 คน อันเป็นตัวเลขระดับเดียวกับที่พวกเขารายงานว่าเกิดขึ้นในบอสตันและเดนเวอร์
ยังมีการประท้วงระดับเล็กลงมาจัดขึ้นในเมืองต่างๆ อย่างเช่น ซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน, พอร์ตแลนด์ รัฐออริกอน, เมดิสัน รัฐวิสคอนซิน, และ บิสมาร์ค รัฐนอร์ทดาโคตา
การประท้วงเหล่านี้ ซึ่งส่วนใหญ่ที่สุดดำเนินไปอย่างสงบสันติ เป็นการวาดภาพให้เห็นความแยกแยกอย่างล้ำลึกในสหรัฐอเมริกา ที่ยังคงอยู่ในอาการโซซัดโซเซภายหลังการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งปี 2016 ซึ่งเต็มไปด้วยการต่อสู้อันขมขื่น และทรัมป์ทำให้โลกตะลึงด้วยการเอาชนะผู้สมัครของพรรคเดโมแครต ฮิลลารี คลินตัน โดยที่เธอเป็นสร้างประวัติศาสตร์ ในการเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับการเสนอชื่อจากพรรคการเมืองใหญ่ในสหรัฐฯ ให้เป็นตัวแทนเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี
ถึงแม้เวลานี้ พรรครีพับลิกันของทรัมป์ สามารถครอบครองทำเนียบขาวและมีเสียงข้างมากในสภาทั้งสองของรัฐสภา แต่การประท้วงครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ทรัมป์ต้องเผชิญกับการคัดค้านอย่างเหนียวแน่นของผู้คนภาคส่วนต่างๆ อย่างกว้างขวางในสังคม ตรงกันข้ามกับประธานาธิบดีคนใหม่คนอื่นๆ ซึ่งธรรมดาแล้วจะมีระยะฮันนีมูน ที่ประชาชนให้ความสนับสนุนสูงในช่วงแรกๆ ที่เข้ารับตำแหน่ง
ผลโพลของ เอบีซีนิวส์/วอชิงตันโพสต์ เมื่อเร็วๆ นี้พบว่า ทรัมป์ได้คะแนนความนิยมต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯผู้กำลังเข้ารับตำแหน่งใหม่ทั้งหลาย นับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา
การประท้วงต่อต้านทรัมป์คราวนี้ ยังเกิดขึ้นในซิดนีย์, ลอนดอน, โตเกียว, และอีกหลายๆ เมืองทั่วทั้งยุโรปและเอเชีย
พวกผู้สนับสนุนการชุมนุม “ซิสเตอร์ มาร์ช” คุยว่า มีการชุมนุมกันราว 670 จุดทั่วโลก เพื่อแสดงความสมานฉันท์กับเหตุการณ์ในกรุงวอชิงตัน พร้อมกับประมาณการว่าผู้ที่เข้าร่วมในทั่วโลกมีจำนวนรวมกันมากกว่า 4.6 ล้านคน ทั้งนี้โดยอิงอยู่กับตัวเลขผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมเดินขบวนผ่านออนไลน์ ถึงแม้ตัวเลขเหล่านี้ยังไม่สามารถหาผู้ยืนยันรับรองอย่างเป็นอิสระได้
สำหรับทรัมป์ เขาโพสต์ข้อความในทวิตเตอร์เมื่อวันเสาร์ (21) ว่า “ผมรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับใช้พวกคุณ ประชาชนชาวอเมริกันผู้ยิ่งใหญ่ ในฐานะประธานาธิบดีคนที่ 45 ของสหรัฐอเมริกาของพวกคุณ!”
เขาดูเหมือนไม่ได้เอ่ยถึงการประท้วงที่เกิดขึ้นคราวนี้แต่อย่างใด
แต่เขาโจมตีอย่างโกรธกริ้วต่อรายงานของสื่อต่างๆ รวมทั้งภาพและคลิปวิดิโอ ซึ่งมีการเปรียบเทียบแสดงให้เห็นว่า ฝูงชนที่เข้าร่วมพิธีสาบานตัวของเขาในวันศุกร์(20) มีขนาดเล็กกว่าอย่างเห็นชัดเจนกับในปี 2009 และ 2013 เมื่อ บารัค โอบามา สาบานตัวเข้ารับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีในสมัยแรกและสมัยที่สองของเขา
“ผมเป็นคนกล่าวปราศรัย ผมมองออกไป คนเต็มสนาม ดูเหมือนมีสัก 1 ล้าน ประชาชน 1 ล้านครึ่ง” ทรัมป์กล่าวเช่นนี้ระหว่างที่เขาไปตรวจเยี่ยมสำนักงานใหญ่ซีไอเอในวันเสาร์ (21) พร้อมกับโจมตีสื่อว่า “พวกเขาถ่ายภาพสนามตรงจุดที่ในทางปฏิบัติแล้วไม่มีใครไปยืนอยู่ตรงนั้นอยู่แล้ว”