ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ถ้าโอกาสปฏิรูป พ.ร.บ.ปิโตรเลียม และ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม มาถึงในมือรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แล้วไม่ดำเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 และ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม 2514 ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แล้วยังไม่ฟังเสียงทักท้วงทั้งจากประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และ คณะกรรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่ต่างเห็นชอบในแนวทางของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) แล้ว ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง
เพราะจนถึงป่านนี้แล้ว ก็ยังไม่มีการแก้ไขในจุดอ่อนของกฎหมายปิโตรเลียมในส่วนของสัมปทานเลย ซึ่งนอกจากจะทำให้ไม่เกิดความเชื่อมั่นในความโปร่งใส สุจริต และเที่ยงธรรมแล้ว ยังอาจทำให้เกิดคำถามและความเคลือบแคลงสงสัยซ้ำรอยเดิมเหมือนการสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 19 ในสมัยรัฐบาลที่มาจากรัฐบาลคราวที่แล้วก็เป็นได้
ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นกรณีศึกษาเพื่อทำให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปกฎหมายปิโตรเลียมให้รัดกุมกว่านี้ หากรัฐบาลชุดนี้มีความจริงใจและเอาประโยชน์ของประเทศชาติเป็นตัวตั้ง
หนึ่งในผู้ที่เคยได้รับสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 19 คือบริษัท นอร์ธเทิร์น กัลฟ ออย (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งโดยบริษัท ออคซิเดนทัล เอ็กซ์โพลเรชั่น จำกัด (Occidental Exploration Pte Ltd) ซึ่งเป็นบริษัทที่นางแคทเธอรีน แคลร์ เย็นบำรุง เป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว
แคทเธอรีน แคลร์ เย็นบำรุงนั้น ก็คือภรรยาของนายชาติชาย เย็นบำรุง บุคคลซึ่งเคยมีความสัมพันธ์ในการช่วยเจรจาขายธุรกิจสมุดโทรศัพท์หน้าเหลืองให้กับ บริษัท ชินวัตร ไดเร็กทอรี่ส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และเป็นบริษัทที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เริ่มต้นเขาทำงาน
และภายหลังการเจรจาดังกล่าวสำเร็จ นายชาติชาย เย็นบำรุง จึงได้เข้าทำงานเป็นผู้จัดการทั่วไปของบริษัท ชินวัตร ไดเร็กทอรี่ส์ จำกัด จึงถือว่าเป็นผู้ที่มีความคุ้นเคยกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นอย่างดีในเวลานั้น
บริษัท ออคซิเดนทัล เอ็กซ์โพลเรชั่น จำกัด (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท นอร์ธเทิร์น กัลฟ์ ปิโตรเลียม จำกัด) มีการจดทะเบียนจัดตั้งที่ประเทศสิงคโปร์เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2547 อันเป็นช่วงเวลาก่อนหน้าที่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศเชิญชวนให้เอกชนสามารถยื่นสัมปทานรอบที่ 19 เพียง 6 เดือน โดยมีทุนจดทะเบียนเพียง 2.4 ล้านบาทเท่านั้น
หลังจากรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศเชิญชวนให้เอกชนสามารถยื่นสัมปทานรอบที่ 19 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ผ่านไปอีก 5 เดือนเศษ บริษัท ออคซิเดนทัล เอ็กซ์โพลเรชั่น จำกัด ก็ได้มีการจดทะเบียนบริษัท นอร์ธเทิร์น กัลฟ์ ออย (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 โดยมีทุนจดทะเบียนเพียง 100 ล้านบาท ซึ่งนับว่าเป็นเงินจำนวนเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณงานที่จะต้องดำเนินการตามสัมปทานสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
ทั้งนี้เดิมบริษัท นอร์ธเทิร์น กัลฟ์ ออย (ประเทศไทย) จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 50 โดยบริษัท ออคซิเดนทัล เอ็กซ์โพลเรชั่น จำกัด (Occidental Exporation Pte. Ltd.) และมีบริษัท สยาริกัต บอร์คอส ชิปปิ้ง จำกัด (Syarikat Borcos Shipping Sdn. Bhd.) ถือหุ้นอีกร้อยละ 49 โดยมีนายชาติชาย เย็นบำรุง เป็นกรรมการบริษัทด้วย
2 บริษัท ที่มาร่วมหุ้นกันครั้งนี้คือ บริษัท ออคซิเดนทัล เอ็กซ์โพลเรชั่น จำกัด และ บริษัท ซิยาริกัต บอร์คอส ชิปปิ้ง จำกัด ถูกตั้งข้อสงสัยและตั้งคำถามว่ามีคุณสมบัติที่จะได้รับสัมปทานการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบที่ 19 หรือไม่?
เพราะบริษัทบริษัท ออคซิเดนทัล เอ็กซ์โพลเรชั่น จำกัด ก็ไม่ได้แสดงให้เห็นว่ามีผลงานในเรื่องการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมาก่อน (เพราะเป็นบริษัทที่ตั้งใหม่มาได้ไม่นาน) ส่วนบริษัท สยาริกัต บอร์คอส ชิปปิ้ง จำกัด ที่ในเว็บไซต์ของบริษัทนี้ก็ระบุเอาไว้ว่าเป็นบริษัท เรือเดินสมุทรที่ให้บริการในการจัดหาน้ำมันและแก๊ส ยิ่งเมื่อดูทรัพย์สินแล้วก็ไม่ได้มีความชัดเจนว่าจะมีเครื่องไม้เครื่องมือที่จะสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เช่นกัน
แต่ใครจะคาดคิดว่าจะเกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เสียก่อน รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จึงไม่ได้อนุมัติให้ความเห็นชอบในการให้สัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 19 ด้วยมือตัวเอง
แต่เมื่อพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้เลือกให้นายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันท์ มาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2549
หลังนายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันท์ เริ่มเข้าปฏิบัติหน้าที่ได้เพียง 16 วันเท่านั้น ก็เร่งและเริ่มดำเนินการให้สัมปทานสำรวจและผลิตปิโตรเลียมทันที !!!?
การให้สัมปทานครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549 นายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีผ่านเลขาธิการคณะรัฐมนตรีให้สัมปทานแก่ บริษัท บริษัท ออคซิเดนทัล เอ็กซ์โพลเรชั่น จำกัด ร่วมกับ บริษัท สยาริกัต บอร์คอส ชิปปิ้ง จำกัด (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท นอร์ธเทิร์น กัลฟ์ ปิโตรเลียม จำกัด) ร่วมกันยื่นขอสัมปทาน และได้รับสัมปทานเลขที่ G1/48 พื้นที่ 17,700 ตารางกิโลเมตร จริงหรือไม่?
ต่อมาการให้สัมปทานครั้งที่สอง เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 นายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้เสนอเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีให้สัมปทานแก่ บริษัท นอร์ธเทิร์น กัลฟ์ ออย (ประเทศไทย) จำกัด สัมปทานเลขที่ G3/48 พื้นที่ 11,800 ตารางกิโลเมตร จริงหรือไม่?
และในวันเดียวกันนั้น นายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานก็ยังได้เสนอให้สัมปทานแก่บริษัท ออคซิเดนทัล เอ็กซ์โพลเรชั่น จำกัด (ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ บริษัท นอร์ธเทิรน์ กัลฟ ออย (ประเทศไทย) จำกัด) สัมปทานเลขที่ G6/48 พื้นที่อีก 2,280 ตารางกิโลเมตร ใช่หรือไม่?
รวม 3 พื้นที่สัมปทาน ซึ่งบริษัทที่เกี่ยวพันเหล่านี่ได้รับสัมปทานสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรวมกันทั้งสิ้น 31,780 ตารางกิโลเมตร !!!
อย่างไรก็ตามในมาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ได้บัญญัติคุณสมบัติของผู้รับสัมปทานเอาไว้อย่างชัดเจนว่า:
“มาตรา ๒๔ ผู้ขอรับสัมปทานต้อง
(๑)เป็นบริษัท และ
(๒)มีทุน เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ ผู้เชี่ยวชาญ เพียงพอที่จะสำรวจ ผลิต ขาย และจำหน่ายปิโตรเลียม
ในกรณีที่ผู้ขอสัมปทานไม่มีลักษณะครบถ้วนตาม (๒) ต้องมีบริษัทอื่นซึ่งรัฐบาลเชื่อถือและมีลักษณะตาม (๒) และมีความสัมพันธ์ในด้านทุนหรือการจัดการกับผู้ขอรับสัมปทานรับรองที่จะให้ทุน เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และผู้เชี่ยวชาญเพียงพอที่จะสำรวจและผลิต ขายและจำหน่ายปิโตรเลียม”
และในเมื่อ บริษัท ออคซิเดนทัล เอ็กซ์โพลเรชั่น จำกัด (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท นอร์ธเทิร์น กัลฟ์ ปิโตรเลียม จำกัด) และบริษัทบริษัท นอร์ธเทิร์น กัลฟ์ ปิโตรเลียม จำกัด คงได้ตระหนักแล้วว่าตนเองไม่ได้เป็นผู้มีลักษณะครบถ้วน จึงต้อหาบริษัทอื่นซึ่งรัฐบาลเชื่อถือ และมีลักษณะตาม (๒) คือ “มีทุน เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ ผู้เชี่ยวชาญ เพียงพอที่จะสำรวจ ผลิต ขาย และจำหน่ายปิโตรเลียม”
และ “ต้องมีความสัมพันธ์ในด้านทุนหรือการจัดการกับผู้ขอรับสัมปทานรับรองที่จะให้ทุน เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และผู้เชี่ยวชาญเพียงพอที่จะสำรวจและผลิตขายและจำหน่ายปิโตรเลียมได้”
ปรากฏว่า บริษัท ออคซิเดนทัล เอ็กซ์โพลเรชั่น จำกัด (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท นอร์ธเทิร์น กัลฟ์ ปิโตรเลียม จำกัด) และบริษัทบริษัท นอร์ธเทิร์น กัลฟ์ ปิโตรเลียม จำกัด ได้ระบุผู้รับรองเป็นธนาคารแห่งหนึ่งชื่อ แมคควารี่ ซึ่งสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย จริงหรือไม่?
ซึ่งประเด็นคำถามสำคัญคือหนังสือรับรองธนาคารดังที่ว่านั้นเป็นหนังสือรับรอง Letter of Guarantee เหมือนกับผู้รับสัมปทานรายอื่นๆหรือไม่ และมีการรับรองระบุข้อความที่จะให้ทุน เครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ และผู้เชี่ยวชาญเพียงพอที่จะสำรวจ ผลิตขาย และจำหน่ายปิโตรเลียม ให้แก่ผู้ขอรับสัมปทาน ตามที่มาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 กำหนดเอาไว้หรือไม่?
และถ้าไม่ได้เป็นไปตามคุณสมบัติที่รับรองเอาไว้ จะปล่อยผ่านให้สัมปทานได้อย่างไร? และถ้าเป็นเช่นนั้นมีการรายงานเท็จต่อคณะรัฐมนตรีว่าผู้รับสัมปทานมีคุณสมบัติครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่?
คำถามสำคัญคือหากผู้รับสัมปทานไม่มีคุณสมบัติที่จะทำได้แล้ว มีการดำเนินการให้สัมปทานแล้วทำตัวเป็นนายหน้า เพื่อส่งให้ผู้รับสัมปทานรายอื่นต่อโดยไม่มีเจตนาทำด้วยตัวเองหรือไม่?
เพราะในเวลาต่อมา หลังการได้รับสัมปทานเพียงแค่ 7 เดือน บริษัท ออคซิเดนทัล เอ็กซ์โพลเรชั่น จำกัด (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท นอร์ธเทิร์น กัลฟ์ ปิโตรเลียม จำกัด) บริษัท ซิยาริกัต บอร์คอส ชิปปิ้ง จำกัด บริษัท นอร์ธเทิร์น กัลฟ์ ปิโตรเลียม จำกัด ก็ได้ขออนุญาตโอนร้อยละ 60 ของสัมปทานทั้ง 3 แปลงนี้ไปให้แก่กลุ่มบริษัท เพิร์ล ออย คือ บริษัท เพิร์ล ออย (อมตะ) จำกัด และบริษัท เพิร์ล ออย (อ่าวไทย) จำกัด โดยนายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550
ส่งผลทำให้กลุ่มบริษัท เพิร์ล ออย ได้รับพื้นที่ส่วนใหญ่ของสัมปทานทั้ง 3 แปลงนี้ คิดเป็นพื้นที่รวม 19,068 ตารางกิโลเมตร !!!
ที่น่าสนใจคือ บริษัท สยาริกัต บอร์คอส ชิปปิ้ง จำกัด เมื่อได้สัมปทานมาแล้วกลับโอนสัดส่วนของบริษัทตัวเองทั้งหมดจึงไม่เหลือสัมปทานอีกต่อไป และยังได้โอนหุ้นในบริษัท นอร์ธเทิร์น กัลฟ์ ออยจำกัดให้แก่บริษัท ออคซิเดนทัล เอ็กซ์โพลเรชั่น จำกัด จริงหรือไม่?
ถ้าเป็นเช่นนั้นบทบาทของบริษัท สยาริกัต บอร์คอส ชิปปิ้ง จำกัด มีเจตนาที่จะเข้ามาสำรวจและผลิตปิโตรเลียมตั้งแต่แรกจริงหรือไม่? หรือเป็นหุ่นเชิดให้ใครหรือไม่?
นอกจากนั้นแล้วกลุ่ม บริษัท เพิร์ล ออย ยังได้รับสัมปทาน ยังได้รับสัมปทานไปมากกว่านั้นอีก เพราะ นายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ทำหนังสือเสนอคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ให้สัมปทานเลขที่ G10/48 แก่บริษัท เพิร์ล ออย จำกัด (ร้อยละ 50) ร่วมกับบริษัท ฮอไรสัน ออย (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ธนา ออย แอนด์ แก๊ส (ประเทศไทย) จำกัด คิดเป็นสัมปทานครอบคลุมพื้นที่ 18,780 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่คำนวณตามสัดส่วนความเป็นเจ้าของเฉพาะของกลุ่มบริษัท เพิร์ล ออย เท่ากับ 9,390 ตารางกิโลเมตร
และนอกจากนี้ยังให้สัมปทานเลขที่ G2/48 แก่บริษัท เพิร์ล ออย ออฟชอร์ จำกัด ซึ่งมีสัมปทานครอบคลุมพื้นที่ 19,040 ตารางกิโลเมตร
จึงเป็นผลทำให้กลุ่มบริษัท เพิร์ล ออย ได้รับสัมปทานทางตรงอีก 28,430 ตารางกิโลเมตร และเมื่อรวมกับที่ได้รับโอนมา 3 แปลงก่อนหน้านี้อีก 19,068 ตารางกิโลเมตร รวมทั้งสิ้น 47,498 ตารางกิโลเมตร
และประการสำคัญที่สุดมันเป็นความบังเอิญหรือไม่ ที่กลุ่มบริษัทเพิร์ล ออยนั้นได้ถูกซื้อกิจการโดย อะอาบาร์ อินเวสต์เมนท์ ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล ปิโตรเลียม อินเวสต์เมนต์ คอมพานี ซึ่งมีประธานบริษัทก็คือ ชีค มานซูร์ บิน ซาเยด อัล นาห์ยาน และเป็นเจ้าของบริษัท อาบู ดาบี ยูไนเต็ด อินเวสต์เมนต์ กรุ๊ป (เอดียูจี) มาซื้อทีมฟุตบอลแมนเชสเตอร์ ซิตี้ จาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 ในราคาสูงจนน่าผิดสังเกตหรือไม่?
และคนที่เห็นข้อผิดสังเกตนี้ก็มีนายสรรเสริญ สะมะลาภา อดีต ส.ส.พรรคประชาติปัตย์ ได้เคยอภิปรายไม่ไว้วางใจในรัฐสภาระบุว่า
“การซื้อสโมสรฟุตบอลนั้นไม่ใช่ซื้อแบบธรรมดา เพราะทักษิณซื้อมา 5,000 ล้าน แต่ขายให้ชีค มานซูร์ 10,000 ล้าน ทั้งๆที่บริหารมาประมาณ 1 ปี ขาดทุนเพิ่ม 1,700 ล้าน และมีหนี้เพิ่ม 3,900 ล้าน อย่างนี้ไม่เรียวกว่าต่างตอบแทนแล้วจะเรียกว่าอะไร?”
ข้อมูลของนายสรรเสริญ สะมะลาภาในเวลานั้น ก็ไดรับการยืนยันจากข้อมูลในนิตยสาร Forbes ของสหรัฐอเมริกา ที่จะทำการประเมินมูลค่าของสโมสรฟุตบอลต่างๆในยุโรปเป็นประจำทุกปี และล่าสุดก่อนหน้านั้น ในปี 2551 นิตยสารดังกล่าวได้เคยประเมินมูลค่าของสโมสรฟุตบอลนี้ไว้เพียง 191 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 5 พันล้านบาทเศษ
และถึงแม้สมมุติว่าจะมีการอำพรางด้วยการโอนหุ้นเพิร์ล ออยต่อไปให้บริษัทลูกของมูบาดาลาเพื่อให้ไกลจากการซื้อขายทีมฟุตบอลแมนซิตี้ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่บริษัทเหล่านั้นต่างล้วนมีรัฐอาบู ดาบี เป็นเจ้าของทั้งสิ้น และมีเชื้อสายสัมพันธ์กันระหว่างผู้บริหารในกลุ่มบริษัทนี้อยู่ดี
มาถึงตอนนี้หวังเพียงแต่ว่ารัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะได้ตาสว่างก่อนจะเร่งเปิดให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมโดยไม่อุดช่องโหว่ และดำเนินการแก้ไขกฎหมายเพื่อขจัดความเคลือบแคลงสงสัยเหล่านี้ได้หรือไม่ !!!?
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ถ้าโอกาสปฏิรูป พ.ร.บ.ปิโตรเลียม และ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม มาถึงในมือรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แล้วไม่ดำเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 และ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม 2514 ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แล้วยังไม่ฟังเสียงทักท้วงทั้งจากประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และ คณะกรรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่ต่างเห็นชอบในแนวทางของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) แล้ว ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง
เพราะจนถึงป่านนี้แล้ว ก็ยังไม่มีการแก้ไขในจุดอ่อนของกฎหมายปิโตรเลียมในส่วนของสัมปทานเลย ซึ่งนอกจากจะทำให้ไม่เกิดความเชื่อมั่นในความโปร่งใส สุจริต และเที่ยงธรรมแล้ว ยังอาจทำให้เกิดคำถามและความเคลือบแคลงสงสัยซ้ำรอยเดิมเหมือนการสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 19 ในสมัยรัฐบาลที่มาจากรัฐบาลคราวที่แล้วก็เป็นได้
ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นกรณีศึกษาเพื่อทำให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปกฎหมายปิโตรเลียมให้รัดกุมกว่านี้ หากรัฐบาลชุดนี้มีความจริงใจและเอาประโยชน์ของประเทศชาติเป็นตัวตั้ง
หนึ่งในผู้ที่เคยได้รับสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 19 คือบริษัท นอร์ธเทิร์น กัลฟ ออย (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งโดยบริษัท ออคซิเดนทัล เอ็กซ์โพลเรชั่น จำกัด (Occidental Exploration Pte Ltd) ซึ่งเป็นบริษัทที่นางแคทเธอรีน แคลร์ เย็นบำรุง เป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว
แคทเธอรีน แคลร์ เย็นบำรุงนั้น ก็คือภรรยาของนายชาติชาย เย็นบำรุง บุคคลซึ่งเคยมีความสัมพันธ์ในการช่วยเจรจาขายธุรกิจสมุดโทรศัพท์หน้าเหลืองให้กับ บริษัท ชินวัตร ไดเร็กทอรี่ส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และเป็นบริษัทที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เริ่มต้นเขาทำงาน
และภายหลังการเจรจาดังกล่าวสำเร็จ นายชาติชาย เย็นบำรุง จึงได้เข้าทำงานเป็นผู้จัดการทั่วไปของบริษัท ชินวัตร ไดเร็กทอรี่ส์ จำกัด จึงถือว่าเป็นผู้ที่มีความคุ้นเคยกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นอย่างดีในเวลานั้น
บริษัท ออคซิเดนทัล เอ็กซ์โพลเรชั่น จำกัด (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท นอร์ธเทิร์น กัลฟ์ ปิโตรเลียม จำกัด) มีการจดทะเบียนจัดตั้งที่ประเทศสิงคโปร์เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2547 อันเป็นช่วงเวลาก่อนหน้าที่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศเชิญชวนให้เอกชนสามารถยื่นสัมปทานรอบที่ 19 เพียง 6 เดือน โดยมีทุนจดทะเบียนเพียง 2.4 ล้านบาทเท่านั้น
หลังจากรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศเชิญชวนให้เอกชนสามารถยื่นสัมปทานรอบที่ 19 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ผ่านไปอีก 5 เดือนเศษ บริษัท ออคซิเดนทัล เอ็กซ์โพลเรชั่น จำกัด ก็ได้มีการจดทะเบียนบริษัท นอร์ธเทิร์น กัลฟ์ ออย (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 โดยมีทุนจดทะเบียนเพียง 100 ล้านบาท ซึ่งนับว่าเป็นเงินจำนวนเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณงานที่จะต้องดำเนินการตามสัมปทานสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
ทั้งนี้เดิมบริษัท นอร์ธเทิร์น กัลฟ์ ออย (ประเทศไทย) จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 50 โดยบริษัท ออคซิเดนทัล เอ็กซ์โพลเรชั่น จำกัด (Occidental Exporation Pte. Ltd.) และมีบริษัท สยาริกัต บอร์คอส ชิปปิ้ง จำกัด (Syarikat Borcos Shipping Sdn. Bhd.) ถือหุ้นอีกร้อยละ 49 โดยมีนายชาติชาย เย็นบำรุง เป็นกรรมการบริษัทด้วย
2 บริษัท ที่มาร่วมหุ้นกันครั้งนี้คือ บริษัท ออคซิเดนทัล เอ็กซ์โพลเรชั่น จำกัด และ บริษัท ซิยาริกัต บอร์คอส ชิปปิ้ง จำกัด ถูกตั้งข้อสงสัยและตั้งคำถามว่ามีคุณสมบัติที่จะได้รับสัมปทานการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบที่ 19 หรือไม่?
เพราะบริษัทบริษัท ออคซิเดนทัล เอ็กซ์โพลเรชั่น จำกัด ก็ไม่ได้แสดงให้เห็นว่ามีผลงานในเรื่องการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมาก่อน (เพราะเป็นบริษัทที่ตั้งใหม่มาได้ไม่นาน) ส่วนบริษัท สยาริกัต บอร์คอส ชิปปิ้ง จำกัด ที่ในเว็บไซต์ของบริษัทนี้ก็ระบุเอาไว้ว่าเป็นบริษัท เรือเดินสมุทรที่ให้บริการในการจัดหาน้ำมันและแก๊ส ยิ่งเมื่อดูทรัพย์สินแล้วก็ไม่ได้มีความชัดเจนว่าจะมีเครื่องไม้เครื่องมือที่จะสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เช่นกัน
แต่ใครจะคาดคิดว่าจะเกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เสียก่อน รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จึงไม่ได้อนุมัติให้ความเห็นชอบในการให้สัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 19 ด้วยมือตัวเอง
แต่เมื่อพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้เลือกให้นายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันท์ มาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2549
หลังนายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันท์ เริ่มเข้าปฏิบัติหน้าที่ได้เพียง 16 วันเท่านั้น ก็เร่งและเริ่มดำเนินการให้สัมปทานสำรวจและผลิตปิโตรเลียมทันที !!!?
การให้สัมปทานครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549 นายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีผ่านเลขาธิการคณะรัฐมนตรีให้สัมปทานแก่ บริษัท บริษัท ออคซิเดนทัล เอ็กซ์โพลเรชั่น จำกัด ร่วมกับ บริษัท สยาริกัต บอร์คอส ชิปปิ้ง จำกัด (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท นอร์ธเทิร์น กัลฟ์ ปิโตรเลียม จำกัด) ร่วมกันยื่นขอสัมปทาน และได้รับสัมปทานเลขที่ G1/48 พื้นที่ 17,700 ตารางกิโลเมตร จริงหรือไม่?
ต่อมาการให้สัมปทานครั้งที่สอง เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 นายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้เสนอเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีให้สัมปทานแก่ บริษัท นอร์ธเทิร์น กัลฟ์ ออย (ประเทศไทย) จำกัด สัมปทานเลขที่ G3/48 พื้นที่ 11,800 ตารางกิโลเมตร จริงหรือไม่?
และในวันเดียวกันนั้น นายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานก็ยังได้เสนอให้สัมปทานแก่บริษัท ออคซิเดนทัล เอ็กซ์โพลเรชั่น จำกัด (ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ บริษัท นอร์ธเทิรน์ กัลฟ ออย (ประเทศไทย) จำกัด) สัมปทานเลขที่ G6/48 พื้นที่อีก 2,280 ตารางกิโลเมตร ใช่หรือไม่?
รวม 3 พื้นที่สัมปทาน ซึ่งบริษัทที่เกี่ยวพันเหล่านี่ได้รับสัมปทานสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรวมกันทั้งสิ้น 31,780 ตารางกิโลเมตร !!!
อย่างไรก็ตามในมาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ได้บัญญัติคุณสมบัติของผู้รับสัมปทานเอาไว้อย่างชัดเจนว่า:
“มาตรา ๒๔ ผู้ขอรับสัมปทานต้อง
(๑)เป็นบริษัท และ
(๒)มีทุน เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ ผู้เชี่ยวชาญ เพียงพอที่จะสำรวจ ผลิต ขาย และจำหน่ายปิโตรเลียม
ในกรณีที่ผู้ขอสัมปทานไม่มีลักษณะครบถ้วนตาม (๒) ต้องมีบริษัทอื่นซึ่งรัฐบาลเชื่อถือและมีลักษณะตาม (๒) และมีความสัมพันธ์ในด้านทุนหรือการจัดการกับผู้ขอรับสัมปทานรับรองที่จะให้ทุน เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และผู้เชี่ยวชาญเพียงพอที่จะสำรวจและผลิต ขายและจำหน่ายปิโตรเลียม”
และในเมื่อ บริษัท ออคซิเดนทัล เอ็กซ์โพลเรชั่น จำกัด (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท นอร์ธเทิร์น กัลฟ์ ปิโตรเลียม จำกัด) และบริษัทบริษัท นอร์ธเทิร์น กัลฟ์ ปิโตรเลียม จำกัด คงได้ตระหนักแล้วว่าตนเองไม่ได้เป็นผู้มีลักษณะครบถ้วน จึงต้อหาบริษัทอื่นซึ่งรัฐบาลเชื่อถือ และมีลักษณะตาม (๒) คือ “มีทุน เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ ผู้เชี่ยวชาญ เพียงพอที่จะสำรวจ ผลิต ขาย และจำหน่ายปิโตรเลียม”
และ “ต้องมีความสัมพันธ์ในด้านทุนหรือการจัดการกับผู้ขอรับสัมปทานรับรองที่จะให้ทุน เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และผู้เชี่ยวชาญเพียงพอที่จะสำรวจและผลิตขายและจำหน่ายปิโตรเลียมได้”
ปรากฏว่า บริษัท ออคซิเดนทัล เอ็กซ์โพลเรชั่น จำกัด (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท นอร์ธเทิร์น กัลฟ์ ปิโตรเลียม จำกัด) และบริษัทบริษัท นอร์ธเทิร์น กัลฟ์ ปิโตรเลียม จำกัด ได้ระบุผู้รับรองเป็นธนาคารแห่งหนึ่งชื่อ แมคควารี่ ซึ่งสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย จริงหรือไม่?
ซึ่งประเด็นคำถามสำคัญคือหนังสือรับรองธนาคารดังที่ว่านั้นเป็นหนังสือรับรอง Letter of Guarantee เหมือนกับผู้รับสัมปทานรายอื่นๆหรือไม่ และมีการรับรองระบุข้อความที่จะให้ทุน เครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ และผู้เชี่ยวชาญเพียงพอที่จะสำรวจ ผลิตขาย และจำหน่ายปิโตรเลียม ให้แก่ผู้ขอรับสัมปทาน ตามที่มาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 กำหนดเอาไว้หรือไม่?
และถ้าไม่ได้เป็นไปตามคุณสมบัติที่รับรองเอาไว้ จะปล่อยผ่านให้สัมปทานได้อย่างไร? และถ้าเป็นเช่นนั้นมีการรายงานเท็จต่อคณะรัฐมนตรีว่าผู้รับสัมปทานมีคุณสมบัติครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่?
คำถามสำคัญคือหากผู้รับสัมปทานไม่มีคุณสมบัติที่จะทำได้แล้ว มีการดำเนินการให้สัมปทานแล้วทำตัวเป็นนายหน้า เพื่อส่งให้ผู้รับสัมปทานรายอื่นต่อโดยไม่มีเจตนาทำด้วยตัวเองหรือไม่?
เพราะในเวลาต่อมา หลังการได้รับสัมปทานเพียงแค่ 7 เดือน บริษัท ออคซิเดนทัล เอ็กซ์โพลเรชั่น จำกัด (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท นอร์ธเทิร์น กัลฟ์ ปิโตรเลียม จำกัด) บริษัท ซิยาริกัต บอร์คอส ชิปปิ้ง จำกัด บริษัท นอร์ธเทิร์น กัลฟ์ ปิโตรเลียม จำกัด ก็ได้ขออนุญาตโอนร้อยละ 60 ของสัมปทานทั้ง 3 แปลงนี้ไปให้แก่กลุ่มบริษัท เพิร์ล ออย คือ บริษัท เพิร์ล ออย (อมตะ) จำกัด และบริษัท เพิร์ล ออย (อ่าวไทย) จำกัด โดยนายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550
ส่งผลทำให้กลุ่มบริษัท เพิร์ล ออย ได้รับพื้นที่ส่วนใหญ่ของสัมปทานทั้ง 3 แปลงนี้ คิดเป็นพื้นที่รวม 19,068 ตารางกิโลเมตร !!!
ที่น่าสนใจคือ บริษัท สยาริกัต บอร์คอส ชิปปิ้ง จำกัด เมื่อได้สัมปทานมาแล้วกลับโอนสัดส่วนของบริษัทตัวเองทั้งหมดจึงไม่เหลือสัมปทานอีกต่อไป และยังได้โอนหุ้นในบริษัท นอร์ธเทิร์น กัลฟ์ ออยจำกัดให้แก่บริษัท ออคซิเดนทัล เอ็กซ์โพลเรชั่น จำกัด จริงหรือไม่?
ถ้าเป็นเช่นนั้นบทบาทของบริษัท สยาริกัต บอร์คอส ชิปปิ้ง จำกัด มีเจตนาที่จะเข้ามาสำรวจและผลิตปิโตรเลียมตั้งแต่แรกจริงหรือไม่? หรือเป็นหุ่นเชิดให้ใครหรือไม่?
นอกจากนั้นแล้วกลุ่ม บริษัท เพิร์ล ออย ยังได้รับสัมปทาน ยังได้รับสัมปทานไปมากกว่านั้นอีก เพราะ นายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ทำหนังสือเสนอคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ให้สัมปทานเลขที่ G10/48 แก่บริษัท เพิร์ล ออย จำกัด (ร้อยละ 50) ร่วมกับบริษัท ฮอไรสัน ออย (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ธนา ออย แอนด์ แก๊ส (ประเทศไทย) จำกัด คิดเป็นสัมปทานครอบคลุมพื้นที่ 18,780 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่คำนวณตามสัดส่วนความเป็นเจ้าของเฉพาะของกลุ่มบริษัท เพิร์ล ออย เท่ากับ 9,390 ตารางกิโลเมตร
และนอกจากนี้ยังให้สัมปทานเลขที่ G2/48 แก่บริษัท เพิร์ล ออย ออฟชอร์ จำกัด ซึ่งมีสัมปทานครอบคลุมพื้นที่ 19,040 ตารางกิโลเมตร
จึงเป็นผลทำให้กลุ่มบริษัท เพิร์ล ออย ได้รับสัมปทานทางตรงอีก 28,430 ตารางกิโลเมตร และเมื่อรวมกับที่ได้รับโอนมา 3 แปลงก่อนหน้านี้อีก 19,068 ตารางกิโลเมตร รวมทั้งสิ้น 47,498 ตารางกิโลเมตร
และประการสำคัญที่สุดมันเป็นความบังเอิญหรือไม่ ที่กลุ่มบริษัทเพิร์ล ออยนั้นได้ถูกซื้อกิจการโดย อะอาบาร์ อินเวสต์เมนท์ ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล ปิโตรเลียม อินเวสต์เมนต์ คอมพานี ซึ่งมีประธานบริษัทก็คือ ชีค มานซูร์ บิน ซาเยด อัล นาห์ยาน และเป็นเจ้าของบริษัท อาบู ดาบี ยูไนเต็ด อินเวสต์เมนต์ กรุ๊ป (เอดียูจี) มาซื้อทีมฟุตบอลแมนเชสเตอร์ ซิตี้ จาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 ในราคาสูงจนน่าผิดสังเกตหรือไม่?
และคนที่เห็นข้อผิดสังเกตนี้ก็มีนายสรรเสริญ สะมะลาภา อดีต ส.ส.พรรคประชาติปัตย์ ได้เคยอภิปรายไม่ไว้วางใจในรัฐสภาระบุว่า
“การซื้อสโมสรฟุตบอลนั้นไม่ใช่ซื้อแบบธรรมดา เพราะทักษิณซื้อมา 5,000 ล้าน แต่ขายให้ชีค มานซูร์ 10,000 ล้าน ทั้งๆที่บริหารมาประมาณ 1 ปี ขาดทุนเพิ่ม 1,700 ล้าน และมีหนี้เพิ่ม 3,900 ล้าน อย่างนี้ไม่เรียวกว่าต่างตอบแทนแล้วจะเรียกว่าอะไร?”
ข้อมูลของนายสรรเสริญ สะมะลาภาในเวลานั้น ก็ไดรับการยืนยันจากข้อมูลในนิตยสาร Forbes ของสหรัฐอเมริกา ที่จะทำการประเมินมูลค่าของสโมสรฟุตบอลต่างๆในยุโรปเป็นประจำทุกปี และล่าสุดก่อนหน้านั้น ในปี 2551 นิตยสารดังกล่าวได้เคยประเมินมูลค่าของสโมสรฟุตบอลนี้ไว้เพียง 191 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 5 พันล้านบาทเศษ
และถึงแม้สมมุติว่าจะมีการอำพรางด้วยการโอนหุ้นเพิร์ล ออยต่อไปให้บริษัทลูกของมูบาดาลาเพื่อให้ไกลจากการซื้อขายทีมฟุตบอลแมนซิตี้ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่บริษัทเหล่านั้นต่างล้วนมีรัฐอาบู ดาบี เป็นเจ้าของทั้งสิ้น และมีเชื้อสายสัมพันธ์กันระหว่างผู้บริหารในกลุ่มบริษัทนี้อยู่ดี
มาถึงตอนนี้หวังเพียงแต่ว่ารัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะได้ตาสว่างก่อนจะเร่งเปิดให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมโดยไม่อุดช่องโหว่ และดำเนินการแก้ไขกฎหมายเพื่อขจัดความเคลือบแคลงสงสัยเหล่านี้ได้หรือไม่ !!!?