**มาอีกแล้วกับมุก"ปรองดอง"หรือว่านิรโทษกรรม คราวนี้จะเรียกว่า"เล่นใหญ่" อีกรอบโดยคนที่ออกโรงคราวนี้ก็คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กันเลยทีเดียว อย่างไรก็ดี บรรยากาศเริ่ม "ทะแม่ง" และทำท่าเป็นเรื่องน่าตลกขบขันก็เมื่อมีการมอบหมายให้ "พี่ใหญ่" พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯฝ่ายความมั่นคง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มาเป็น "โต้โผ" คุมเกมเรื่องการปรองดอง
ล่าสุดถึงกับมีไอเดียให้แต่ละพรรคการเมือง หรือคู่ขัดแย้งมาเซ็น"เอ็มโอยู" หรือบันทึกความเข้าใจ เพื่อยุติปัญหาความขัดแย้งระหว่างกัน มันก็ยิ่งน่าขบขัน
อย่างไรก็ดี ก็ต้องย้อนรอยถึงที่มาที่ไปของแนวทางการปรองดองรอบใหม่ว่า ล่าสุดรัฐบาลโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ตั้งคณะกรรมการบริหารราชการเเผ่นดินตามกรอบปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ปยป.) โดยมีกรรมการชุดย่อย 4 ชุด ในจำนวนนี้ มีคณะกรรมการเตรียมการสร้างความสามัคคีปรองดอง โดยมีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับผิดชอบดูแลเพื่อสร้างความปรองดอง
**"ทราบว่าท่านมีเเนวคิดเบื้องต้นว่า ในเร็ววันนี้จะเชิญทุกฝ่าย ทุกพรรคการเมืองคู่ขัดเเย้งเข้ามาพูดคุยเพื่อคิดอ่านหาทางออกขจัดความขัดเเย้ง หลังจากนั้นจะทำเป็นข้อตกลงเอ็มโอยู เพื่อยุติและเดินหน้าไปสู่ความปรองดองก่อนการเลือกตั้งให้ได้ โดยข้อตกลงดังกล่าว จะไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องกฎหมาย แต่จะกระทำให้สังคมได้รับรู้อย่างเปิดเผย"
นั่นเป็นคำพูดของ พีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่บอกเล่าถึงแนวทาง และวิธีคิดดังกล่าวของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ โดยถึงกับบอกว่า "ท่าน(พล.อ.ประวิตร) มีความมุ่งมั่นในการสร้างความปรองดองในครั้งนี้มาก"
ขณะเดียวกัน มีรายงานว่าในวันจันทร์ที่ 16 มกราคมนี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินฯ เป็นนัดแรก
แน่นอนว่า นี่อาจเป็นความปราถนาดี ความหวังดีต่อบ้านเมืองก็ได้ ว่าไม่อยากให้บ้านเมืองมีความขัดแย้งอีกต่อไป เพราะเมื่อทุกฝ่ายมีความปรองดองกันแล้ว จะได้จับมือรวมพลังกันแล้วก้าวเดินไปข้างหน้าเพื่อสร้างสรรค์ประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรือง
**แต่ขอบอกว่าว่า นั่นคือ"ความฝัน"ไม่ต่างกับหนังการ์ตูน และเป็นมุมมองของพวกโลกสวยเท่านั้น เพราะในความเป็นจริงแล้วในบ้านเมืองนี้มัน "ไม่มีความข้ดแย้ง" ที่จะต้องถึงขั้นให้ปรองดอง แต่มีเพียงการ "ละเมิดกฎหมาย" ความพยายามทำตัวอยู่เหนือกฎหมายของคนบางคนและบางกลุ่มเท่านั้น ถามว่าชาวบ้านที่ออกมาเดินประท้วงนับล้านคน ในชื่อที่เรียกว่าอะไรก็แล้วแต่ เช่น ในนามของ กปปส. รับรองว่าพวกเขาไม่ได้มีความขัดแย้งเป็นการส่วนตัวกับ ทักษิณ ชินวัตร หรือขัดแย้งกับ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รวมไปถึงคนในครอบครัวนี้แน่นอน แต่พวกเขารับไม่ได้กับการใช้ "พวกมากลากไป" ลักหลับออกกฎหมายเพื่อช่วยเหลือคนผิด รับไม่ได้กับการ "ฟอกดำให้เป็นขาว"
ที่สำคัญมันไม่ได้เป็นความขัดแย้งระหว่างพรรคการเมือง ระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์ หรือว่าพรรคใดก็ตาม เพราะหากมีความขัดแย้งกันจริง ก็ให้ขัดแย้งทะเลาะกันไปเลย ทะเลาะตบตีกันให้ได้ตายไปเลย เพราะไม่ได้เกี่ยวข้องกับประเทศชาติบ้านเมืองแม้แต่น้อย เพราะหากมีจริง มันก็เป็นเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัวของนักการเมือง ขณะเดียวกันในความจริงแล้ว ความขัดแย้งแบบนี้ก็ไม่มีทางปรองดองกันได้ แต่ถ้าบอกว่านี่คือแนวทาง "ปาหี่" ก็ใช่เลย
อย่างไรก็ดี สิ่งที่จะสามารถสร้างความปรองดองแบบยั่งยืนและเห็นผลได้จริงก็คือ "เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม" ให้ทุกความขัดแย้งที่เป็นคดีให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด เหมือนกับที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เคยยืนยันก่อนหน้านี้ว่า ให้ทุกคดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ซึ่งที่ผ่านมาทุกอย่างก็เดินมาแบบเข้ารูปเข้ารอยกันดีอยู่แล้ว
ตัวอย่างเปรียบเทียบอย่างกรณีของ จตุพร พรหมพันธุ์ ที่ถูกถอนประกัน ซึ่งที่ผ่านมาก็ต้องยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวเกินกว่า 5 ครั้ง และล่าสุดก็ได้รับการประกันตัว โดยที่เจ้าตัวก็ยอมรับในคำสั่งศาลสัญญาที่จะระมัดระวังในการพูด และการเคลื่อนไหวไม่ให้ผิดเงื่อนไขของศาลอีก
รวมไปถึงคดีอื่นๆ ที่ในเวลานี้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล ก็ต้องปล่อยไปตามขั้นตอนให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดว่าถูกผิดแบบไหน จากนั้นค่อยมาว่ากันถึงกระบวนการนิรโทษปรองดอง ซึ่งหลายคดีก็เริ่มมีการทะยอยพิพากษาออกมาเรื่อยๆ อย่างไรก็ดี อาจมีข้อยกเว้นสำหรับคดีเล็กๆ น้อยๆ เช่นคดีที่ฝ่าฝืน พ.ร.บ.ความมั่นคง ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินระหว่างการเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองของชาวบ้าน แบบนี้สามารถยกเว้นได้ และเชื่อว่าสังคมไม่ข้ดข้อง ยกเว้นคดีอาญาอื่นๆ ที่ต้องว่ากันไปตามขั้นตอน
**แต่อีกด้านหนึ่ง สิ่งที่ชาวบ้านต้องการให้ดำเนินการอย่างเร่งด่วนกลับไม่มีความคืบหน้า นั่นคือ "การปฏิรูปตำรวจ" รวมทั้งกระบวรการยุติธรรมทั้งระบบ สิ่งที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ น่าจะเร่งผลักดันให้จริงจัง และเกิดขึ้นเป็นวาระเร่งด่วนกลับวางเฉย เพราะวาระการปฏิรูปนี่ต่างหาก คือความต้องการร่วมกัน ไม่ใช่การผลักดันเรื่องปรองดองที่ไม่มีอยู่จริง และหากเกิดขึ้นจริงด้วยการจับพรรคการเมืองมาเซ็นเอ็มโอยู เพื่อยุติความขัดแย้งมันก็เกิดคำถามตามมาว่า "มีเป้าหมายเพื่อให้เข้ามาร่วมรัฐบาลผสมในภายหน้าหรือไม่" หรือเพื่อเสียงสนับสนุน "ใคร" ที่อยากเป็นนายกฯ คนนอกหรือไม่ !!
ล่าสุดถึงกับมีไอเดียให้แต่ละพรรคการเมือง หรือคู่ขัดแย้งมาเซ็น"เอ็มโอยู" หรือบันทึกความเข้าใจ เพื่อยุติปัญหาความขัดแย้งระหว่างกัน มันก็ยิ่งน่าขบขัน
อย่างไรก็ดี ก็ต้องย้อนรอยถึงที่มาที่ไปของแนวทางการปรองดองรอบใหม่ว่า ล่าสุดรัฐบาลโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ตั้งคณะกรรมการบริหารราชการเเผ่นดินตามกรอบปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ปยป.) โดยมีกรรมการชุดย่อย 4 ชุด ในจำนวนนี้ มีคณะกรรมการเตรียมการสร้างความสามัคคีปรองดอง โดยมีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับผิดชอบดูแลเพื่อสร้างความปรองดอง
**"ทราบว่าท่านมีเเนวคิดเบื้องต้นว่า ในเร็ววันนี้จะเชิญทุกฝ่าย ทุกพรรคการเมืองคู่ขัดเเย้งเข้ามาพูดคุยเพื่อคิดอ่านหาทางออกขจัดความขัดเเย้ง หลังจากนั้นจะทำเป็นข้อตกลงเอ็มโอยู เพื่อยุติและเดินหน้าไปสู่ความปรองดองก่อนการเลือกตั้งให้ได้ โดยข้อตกลงดังกล่าว จะไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องกฎหมาย แต่จะกระทำให้สังคมได้รับรู้อย่างเปิดเผย"
นั่นเป็นคำพูดของ พีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่บอกเล่าถึงแนวทาง และวิธีคิดดังกล่าวของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ โดยถึงกับบอกว่า "ท่าน(พล.อ.ประวิตร) มีความมุ่งมั่นในการสร้างความปรองดองในครั้งนี้มาก"
ขณะเดียวกัน มีรายงานว่าในวันจันทร์ที่ 16 มกราคมนี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินฯ เป็นนัดแรก
แน่นอนว่า นี่อาจเป็นความปราถนาดี ความหวังดีต่อบ้านเมืองก็ได้ ว่าไม่อยากให้บ้านเมืองมีความขัดแย้งอีกต่อไป เพราะเมื่อทุกฝ่ายมีความปรองดองกันแล้ว จะได้จับมือรวมพลังกันแล้วก้าวเดินไปข้างหน้าเพื่อสร้างสรรค์ประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรือง
**แต่ขอบอกว่าว่า นั่นคือ"ความฝัน"ไม่ต่างกับหนังการ์ตูน และเป็นมุมมองของพวกโลกสวยเท่านั้น เพราะในความเป็นจริงแล้วในบ้านเมืองนี้มัน "ไม่มีความข้ดแย้ง" ที่จะต้องถึงขั้นให้ปรองดอง แต่มีเพียงการ "ละเมิดกฎหมาย" ความพยายามทำตัวอยู่เหนือกฎหมายของคนบางคนและบางกลุ่มเท่านั้น ถามว่าชาวบ้านที่ออกมาเดินประท้วงนับล้านคน ในชื่อที่เรียกว่าอะไรก็แล้วแต่ เช่น ในนามของ กปปส. รับรองว่าพวกเขาไม่ได้มีความขัดแย้งเป็นการส่วนตัวกับ ทักษิณ ชินวัตร หรือขัดแย้งกับ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รวมไปถึงคนในครอบครัวนี้แน่นอน แต่พวกเขารับไม่ได้กับการใช้ "พวกมากลากไป" ลักหลับออกกฎหมายเพื่อช่วยเหลือคนผิด รับไม่ได้กับการ "ฟอกดำให้เป็นขาว"
ที่สำคัญมันไม่ได้เป็นความขัดแย้งระหว่างพรรคการเมือง ระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์ หรือว่าพรรคใดก็ตาม เพราะหากมีความขัดแย้งกันจริง ก็ให้ขัดแย้งทะเลาะกันไปเลย ทะเลาะตบตีกันให้ได้ตายไปเลย เพราะไม่ได้เกี่ยวข้องกับประเทศชาติบ้านเมืองแม้แต่น้อย เพราะหากมีจริง มันก็เป็นเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัวของนักการเมือง ขณะเดียวกันในความจริงแล้ว ความขัดแย้งแบบนี้ก็ไม่มีทางปรองดองกันได้ แต่ถ้าบอกว่านี่คือแนวทาง "ปาหี่" ก็ใช่เลย
อย่างไรก็ดี สิ่งที่จะสามารถสร้างความปรองดองแบบยั่งยืนและเห็นผลได้จริงก็คือ "เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม" ให้ทุกความขัดแย้งที่เป็นคดีให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด เหมือนกับที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เคยยืนยันก่อนหน้านี้ว่า ให้ทุกคดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ซึ่งที่ผ่านมาทุกอย่างก็เดินมาแบบเข้ารูปเข้ารอยกันดีอยู่แล้ว
ตัวอย่างเปรียบเทียบอย่างกรณีของ จตุพร พรหมพันธุ์ ที่ถูกถอนประกัน ซึ่งที่ผ่านมาก็ต้องยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวเกินกว่า 5 ครั้ง และล่าสุดก็ได้รับการประกันตัว โดยที่เจ้าตัวก็ยอมรับในคำสั่งศาลสัญญาที่จะระมัดระวังในการพูด และการเคลื่อนไหวไม่ให้ผิดเงื่อนไขของศาลอีก
รวมไปถึงคดีอื่นๆ ที่ในเวลานี้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล ก็ต้องปล่อยไปตามขั้นตอนให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดว่าถูกผิดแบบไหน จากนั้นค่อยมาว่ากันถึงกระบวนการนิรโทษปรองดอง ซึ่งหลายคดีก็เริ่มมีการทะยอยพิพากษาออกมาเรื่อยๆ อย่างไรก็ดี อาจมีข้อยกเว้นสำหรับคดีเล็กๆ น้อยๆ เช่นคดีที่ฝ่าฝืน พ.ร.บ.ความมั่นคง ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินระหว่างการเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองของชาวบ้าน แบบนี้สามารถยกเว้นได้ และเชื่อว่าสังคมไม่ข้ดข้อง ยกเว้นคดีอาญาอื่นๆ ที่ต้องว่ากันไปตามขั้นตอน
**แต่อีกด้านหนึ่ง สิ่งที่ชาวบ้านต้องการให้ดำเนินการอย่างเร่งด่วนกลับไม่มีความคืบหน้า นั่นคือ "การปฏิรูปตำรวจ" รวมทั้งกระบวรการยุติธรรมทั้งระบบ สิ่งที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ น่าจะเร่งผลักดันให้จริงจัง และเกิดขึ้นเป็นวาระเร่งด่วนกลับวางเฉย เพราะวาระการปฏิรูปนี่ต่างหาก คือความต้องการร่วมกัน ไม่ใช่การผลักดันเรื่องปรองดองที่ไม่มีอยู่จริง และหากเกิดขึ้นจริงด้วยการจับพรรคการเมืองมาเซ็นเอ็มโอยู เพื่อยุติความขัดแย้งมันก็เกิดคำถามตามมาว่า "มีเป้าหมายเพื่อให้เข้ามาร่วมรัฐบาลผสมในภายหน้าหรือไม่" หรือเพื่อเสียงสนับสนุน "ใคร" ที่อยากเป็นนายกฯ คนนอกหรือไม่ !!