ป้อมพระอาทิตย์
โดย โสภณ องค์การณ์

เพิ่งจะพูดถึงสภาพของ “ความเส็งเคร็ง” ในประเทศไทยซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากกระบวนการยุติธรรมซึ่งต้องได้รับการปฏิรูปอย่างจริงจังในระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลาย น้ำ ก่อนจะมีเลือกตั้งเพื่อหวนคืนสู่ระบอบประชาธิปไตย ก็มีตัวอย่างให้เห็นชัด ประจานให้ เห็นชัดแจ้ง
ตอกย้ำให้เห็นถึงความเส็งเคร็งในพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่บ้านเมืองในกระบวนการ ยุติธรรม ทำให้ชาวบ้านผู้บริสุทธิ์ต้องรับเคราะห์กรรมติดคุกนาน 1 ปี 6 เดือน และผู้ทีควรต้องรับผิดชอบต่อความทุกข์ระทมยังอยู่ลอยหน้าลอยตาสบายไม่รู้สึกผิด หรืออับอาย
ทำให้คนดีๆ ไปติดคุก บ้านแตก ลูกไม่มีโอกาสได้เล่าเรียน สังคมรังเกียจ กว่าจะพิสูจน์ได้ว่าตัวเองเป็นผู้บริสุทธิ์ ความเป็นมนุษย์แทบไม่เหลือ ทุกวันนี้ยังรอการชดเชยเยียวยาตามกระบวนการซึ่งล่าช้า ตอกย้ำให้เห็นความอยุติธรรมซ้ำซากสำหรับคนไร้เส้น
ทั้งมีคำรำลือกันว่าต้องวิ่งเต้นจ่ายเงินให้เป่าคดีโดยเร็ว ถ้ามีคดีรถชนคนตาย!
ที่ร่ายยาวมาท่านผู้อ่านคงพอเดาได้ว่าผมพูดถึงกรณีอดีตครูหญิง “จอมทรัพย์ แสนเมืองโคตร” อ่ายุ 54 ปี อดีตครูโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสกลนคร รับราชการมา 31 ปี ถูกศาลตัดสินจำคุก 3 ปี 2 เดือน ในคดีขับรถโดยประมาททำให้ผู้อื่นเสียชีวิต เมื่อปี 2548
เธอถูกจำคุกในปี 2556 ก่อนได้รับอภัยโทษออกมาเมื่อปี 2558 รวมเวลาที่เธอต้องทนทุกข์อยู่ในคุกเป็นเวลา 1 ปี 6 เดือน ที่น่าอนาถก็คือความทุเรศของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคดี
รายละเอียดของคดีมีอยู่ในสื่อต่างๆ รวมทั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการฉบับวันที่ 12 เดือนนี้ ใครได้อ่านต้องอดตั้งคำถามไม่ได้ว่า ประเทศไทยของเรายังมีระบบเส็งเคร็งเฮงซวยห่วย แตกอย่างนี้แบบไม่มีวันลบล้างเลิกราไปได้สำเร็จ คนบริสุทธิ์ต้องโดนจับยัดคุกอยู่อีกหรือ
เริ่มที่นายตำรวจเจ้าของคดีไม่ใส่ใจค้นหาหลักฐาน ไม่สนใจคำให้การของครูจอมทรัพย์ ทั้งการอ้างสถานที่อยู่เวลาเกิดเหตุ พาหนะซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานอุบัติเหตุ ไม่พิจารณาหลักฐานอะไรทั้งนั้น ที่น่าทุเรศคือการลบคำว่า “ผู้ชาย” ออกจากเป็นผู้ต้องหา
ตั้งหน้าตั้งตาทำคดี เอาคุณครูส่งให้อัยการฟ้องศาลอาญา โดนตัดสินจำคุก ศาลอุทธรณ์สั่งยกฟ้อง แต่ญาติผู้เสียหายยืนฎีกา ผลสุดท้ายเธอโดนจำคุกตามศาลชั้นต้น
แปลก! คนขับรถชนคนตายโดยประมาทรายนี้ได้รับโทษจำคุก ต่างจากคดีอื่นๆ ซึ่งเป็นเรื่องขับรถชนคนตายเช่นกัน แต่มีความล่าช้า เลิกรากันไป รอลงอาญา คนขับไม่รับโทษ หรือผู้ต้องหาหนี มีความเหมือนกันคือผู้ต้องหามีเส้นสาย มีเงินจ่ายให้ญาติเจ้าทุกข์
ครูจอมทรัพย์บอกเพื่อนร่วมคุกว่าเธอไม่วิ่งเต้นจ่ายเงิน เพราะต้องการพิสูจน์ความบริสุทธิ์และความเที่ยงธรรมในกระบวนการยุติธรรม ผลสุดท้าย “ธรรม” ต้อง “ยุติ” เพราะเธอต้องการสู้คดีตามหลักฐานที่ปรากฏ ผลสุดท้าย ลงเอยด้วยการติดคุก เสียอนาคต
ถามว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายใดผิด ไม่ต้องพูดในอารมณ์เสียไปมากกว่านี้ เพียงแค่รับรู้รายละเอียดของคดี และผลสุดท้าย คนขับรถผู้ต้องหาตัวจริงถูกจับได้ พร้อมคำรับสารภาพ
มันจึงเป็นความเส็งเคร็งในกระบวนการยุติธรรมโดยแท้!
จะมีใครต้องรับผิดชอบเพราะการทำคดี เอาคนดีเข้าคุก ขัดกับหลักกฎหมายที่ว่า ปล่อยคนทำผิดให้รอดยังดีกว่าเอาคนไม่ผิดเข้าคุก แต่กรณีได้เห็นความพยายามเอาคนบริสุทธิ์ยัดคุก น่าจะเข้าข่ายเจตนา ไม่ใช่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จากการทำหน้าที่
ไปลบคำว่า “ผู้ชาย” ออกไป แม้ครูจอมทรัพย์จะทักท้วง ตำรวจยังทำไม่ทุกข์ร้อน!
ยัดข้อหา! บิดคดี! ทำกันได้ถึงเพียงนี้ นอกจากต้องไม่ให้เป็นตำรวจอีกต่อไป ต้องถูกไล่ออกจากราชการ จับกุมถูกดำเนินคดีเอาตัวเข้าคุก โทษยาวนานกว่าที่ครูได้รับด้วย
ไม่ควรได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมายเพราะการใช้ “ดุลพินิจ” อีกด้วย!
อยากให้ครูจอมทรัพย์ได้ทนายความเก่งๆ ไล่ฟ้องทั้งคดีอาญาและคดีแพ่ง พวกเจ้าหน้าที่ตำรวจ ญาติผู้เสียหาย ใครก็ตามที่ให้การปรักปรำ เล่นงานทุกราย
ความยุติธรรมที่แท้จริงคือ คนขับรถตัวจริงต้องเข้าคุก เจ้าหน้าที่ซึ่งเจตนาให้เธอต้องติดคุกต้องได้รับโทษ ต้องเสียเงิน รัฐต้องไม่จ่ายเงินภาษีเพื่อเยียวยาฝ่ายเดียว ต้องให้พวกตัวแสบในขบวนการเส็งเคร็งยัดข้อหารับโทษทุกอย่างให้สาสมด้วย จึงจะเป็นการเยียวยา
ครูจอมทรัพย์ต้องเผชิญทุกข์สารพัด ต้องออกจากราชการ สามีทิ้ง ลูกไม่ได้เรียนมหาวิทยาลัย เส้นทางอนาคตได้รับผลกระทบเมื่อขาดคนส่งเสียให้เรียนต่อ
อยากรู้ว่าองค์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมในคดีนี้มีมาตรการหรือทำอะไรกับบุคคลที่เกียวข้องบ้างในการเชื่อหลักฐานเท็จทำโดยตำรวจจนอัยการฟ้อง ศาลตัดสินจำคุก
น่าทุเรศสุดๆ ก็คือ คนที่เกี่ยวข้องพิจารณาคดีนั้นไม่ได้รู้สึก “เอะใจ” ในหลักฐาน หรือ “ใส่ใจ” รับฟังคำให้การของผู้ต้องหา หรือจำเลย ในคดี โดยเฉพาะการที่ไม่ปรากฏร่องรอยการชนที่รถของครูจอมทรัพย์ และรถที่ชนก็คนละสี คนขับเป็นเพศชายสูงใหญ่
เมื่อไม่มีใคร “เอะใจ” และ “ใส่ใจ” จึงบังเกิดความทุเรศ สะท้อนให้เห็นความเส็งเคร็ง ทำให้ครูคนหนึ่งต้องติดคุกโดยไม่มีความผิด! นายตำรวจคนทำคดีแบบพิสดารยังอยู่ดีกินดี นอนหลับสบาย จิตสำนึกไม่ถูกรบกวน ระบบและเจ้านายปกป้องให้ไม่ต้องโดนคดีใช่มั้ย
การใช้ “ดุลพินิจ” จึงเป็นส่วนหนึ่งของความเส็งเคร็งเรื้อรังด้วย ใช่หรือไม่? เป็นปัจจัยสำคัญปกป้องให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งชั่วร้ายได้กระทำความผิด ไม่ต้องรับโทษ ใช่หรือไม่?
แล้วคุณท่านผู้นำลุงตู่ ผู้ประกาศว่าต้องมีการปฏิรูป จะจัดการอย่างไรหรือไม่? การใช้ “ดุลพินิจ” โดยขาดความรอบคอบ ต้องเป็นความประมาท เลินเล่อ ใช่หรือไม่? ต้องแต่งตั้งนักกฎหมายมือระดับอรหันต์ทองคำดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจังเพื่อปฏิรูปด้วยมั้ง
ทั้งนี้เพื่อไม่ให้การใช้ “ดุลพินิจ” เป็นช่องทางทำมาหากินในการ “สั่งฟ้อง” หรือ “สั่งไม่ฟ้อง” รวมทั้งชั้นอุทธรณ์ ฎีกา ด้วยเช่นกัน! ตัวอย่างมีให้เห็นเยอะแล้ว พูดไปก็เท่านั้น
ถ้าไม่ทำเช่นนี้ก่อนปฏิรูป ระบบนิติรัฐของเราไม่เพียง “ล้มเหลว” อย่างเดียว ยังตกอยู่ในสภาพ “เส็งเคร็ง” ขั้นอภิมหาอมตะนิรันดรกาล ไม่ได้ผุดได้เกิด อีกด้วย!
สังคมที่พัฒนาแล้วไม่ยอมให้ระบบเส็งเคร็งลงรากลึกอยู่ยาวได้หรอกครับ!
โดย โสภณ องค์การณ์
เพิ่งจะพูดถึงสภาพของ “ความเส็งเคร็ง” ในประเทศไทยซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากกระบวนการยุติธรรมซึ่งต้องได้รับการปฏิรูปอย่างจริงจังในระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลาย น้ำ ก่อนจะมีเลือกตั้งเพื่อหวนคืนสู่ระบอบประชาธิปไตย ก็มีตัวอย่างให้เห็นชัด ประจานให้ เห็นชัดแจ้ง
ตอกย้ำให้เห็นถึงความเส็งเคร็งในพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่บ้านเมืองในกระบวนการ ยุติธรรม ทำให้ชาวบ้านผู้บริสุทธิ์ต้องรับเคราะห์กรรมติดคุกนาน 1 ปี 6 เดือน และผู้ทีควรต้องรับผิดชอบต่อความทุกข์ระทมยังอยู่ลอยหน้าลอยตาสบายไม่รู้สึกผิด หรืออับอาย
ทำให้คนดีๆ ไปติดคุก บ้านแตก ลูกไม่มีโอกาสได้เล่าเรียน สังคมรังเกียจ กว่าจะพิสูจน์ได้ว่าตัวเองเป็นผู้บริสุทธิ์ ความเป็นมนุษย์แทบไม่เหลือ ทุกวันนี้ยังรอการชดเชยเยียวยาตามกระบวนการซึ่งล่าช้า ตอกย้ำให้เห็นความอยุติธรรมซ้ำซากสำหรับคนไร้เส้น
ทั้งมีคำรำลือกันว่าต้องวิ่งเต้นจ่ายเงินให้เป่าคดีโดยเร็ว ถ้ามีคดีรถชนคนตาย!
ที่ร่ายยาวมาท่านผู้อ่านคงพอเดาได้ว่าผมพูดถึงกรณีอดีตครูหญิง “จอมทรัพย์ แสนเมืองโคตร” อ่ายุ 54 ปี อดีตครูโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสกลนคร รับราชการมา 31 ปี ถูกศาลตัดสินจำคุก 3 ปี 2 เดือน ในคดีขับรถโดยประมาททำให้ผู้อื่นเสียชีวิต เมื่อปี 2548
เธอถูกจำคุกในปี 2556 ก่อนได้รับอภัยโทษออกมาเมื่อปี 2558 รวมเวลาที่เธอต้องทนทุกข์อยู่ในคุกเป็นเวลา 1 ปี 6 เดือน ที่น่าอนาถก็คือความทุเรศของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคดี
รายละเอียดของคดีมีอยู่ในสื่อต่างๆ รวมทั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการฉบับวันที่ 12 เดือนนี้ ใครได้อ่านต้องอดตั้งคำถามไม่ได้ว่า ประเทศไทยของเรายังมีระบบเส็งเคร็งเฮงซวยห่วย แตกอย่างนี้แบบไม่มีวันลบล้างเลิกราไปได้สำเร็จ คนบริสุทธิ์ต้องโดนจับยัดคุกอยู่อีกหรือ
เริ่มที่นายตำรวจเจ้าของคดีไม่ใส่ใจค้นหาหลักฐาน ไม่สนใจคำให้การของครูจอมทรัพย์ ทั้งการอ้างสถานที่อยู่เวลาเกิดเหตุ พาหนะซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานอุบัติเหตุ ไม่พิจารณาหลักฐานอะไรทั้งนั้น ที่น่าทุเรศคือการลบคำว่า “ผู้ชาย” ออกจากเป็นผู้ต้องหา
ตั้งหน้าตั้งตาทำคดี เอาคุณครูส่งให้อัยการฟ้องศาลอาญา โดนตัดสินจำคุก ศาลอุทธรณ์สั่งยกฟ้อง แต่ญาติผู้เสียหายยืนฎีกา ผลสุดท้ายเธอโดนจำคุกตามศาลชั้นต้น
แปลก! คนขับรถชนคนตายโดยประมาทรายนี้ได้รับโทษจำคุก ต่างจากคดีอื่นๆ ซึ่งเป็นเรื่องขับรถชนคนตายเช่นกัน แต่มีความล่าช้า เลิกรากันไป รอลงอาญา คนขับไม่รับโทษ หรือผู้ต้องหาหนี มีความเหมือนกันคือผู้ต้องหามีเส้นสาย มีเงินจ่ายให้ญาติเจ้าทุกข์
ครูจอมทรัพย์บอกเพื่อนร่วมคุกว่าเธอไม่วิ่งเต้นจ่ายเงิน เพราะต้องการพิสูจน์ความบริสุทธิ์และความเที่ยงธรรมในกระบวนการยุติธรรม ผลสุดท้าย “ธรรม” ต้อง “ยุติ” เพราะเธอต้องการสู้คดีตามหลักฐานที่ปรากฏ ผลสุดท้าย ลงเอยด้วยการติดคุก เสียอนาคต
ถามว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายใดผิด ไม่ต้องพูดในอารมณ์เสียไปมากกว่านี้ เพียงแค่รับรู้รายละเอียดของคดี และผลสุดท้าย คนขับรถผู้ต้องหาตัวจริงถูกจับได้ พร้อมคำรับสารภาพ
มันจึงเป็นความเส็งเคร็งในกระบวนการยุติธรรมโดยแท้!
จะมีใครต้องรับผิดชอบเพราะการทำคดี เอาคนดีเข้าคุก ขัดกับหลักกฎหมายที่ว่า ปล่อยคนทำผิดให้รอดยังดีกว่าเอาคนไม่ผิดเข้าคุก แต่กรณีได้เห็นความพยายามเอาคนบริสุทธิ์ยัดคุก น่าจะเข้าข่ายเจตนา ไม่ใช่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จากการทำหน้าที่
ไปลบคำว่า “ผู้ชาย” ออกไป แม้ครูจอมทรัพย์จะทักท้วง ตำรวจยังทำไม่ทุกข์ร้อน!
ยัดข้อหา! บิดคดี! ทำกันได้ถึงเพียงนี้ นอกจากต้องไม่ให้เป็นตำรวจอีกต่อไป ต้องถูกไล่ออกจากราชการ จับกุมถูกดำเนินคดีเอาตัวเข้าคุก โทษยาวนานกว่าที่ครูได้รับด้วย
ไม่ควรได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมายเพราะการใช้ “ดุลพินิจ” อีกด้วย!
อยากให้ครูจอมทรัพย์ได้ทนายความเก่งๆ ไล่ฟ้องทั้งคดีอาญาและคดีแพ่ง พวกเจ้าหน้าที่ตำรวจ ญาติผู้เสียหาย ใครก็ตามที่ให้การปรักปรำ เล่นงานทุกราย
ความยุติธรรมที่แท้จริงคือ คนขับรถตัวจริงต้องเข้าคุก เจ้าหน้าที่ซึ่งเจตนาให้เธอต้องติดคุกต้องได้รับโทษ ต้องเสียเงิน รัฐต้องไม่จ่ายเงินภาษีเพื่อเยียวยาฝ่ายเดียว ต้องให้พวกตัวแสบในขบวนการเส็งเคร็งยัดข้อหารับโทษทุกอย่างให้สาสมด้วย จึงจะเป็นการเยียวยา
ครูจอมทรัพย์ต้องเผชิญทุกข์สารพัด ต้องออกจากราชการ สามีทิ้ง ลูกไม่ได้เรียนมหาวิทยาลัย เส้นทางอนาคตได้รับผลกระทบเมื่อขาดคนส่งเสียให้เรียนต่อ
อยากรู้ว่าองค์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมในคดีนี้มีมาตรการหรือทำอะไรกับบุคคลที่เกียวข้องบ้างในการเชื่อหลักฐานเท็จทำโดยตำรวจจนอัยการฟ้อง ศาลตัดสินจำคุก
น่าทุเรศสุดๆ ก็คือ คนที่เกี่ยวข้องพิจารณาคดีนั้นไม่ได้รู้สึก “เอะใจ” ในหลักฐาน หรือ “ใส่ใจ” รับฟังคำให้การของผู้ต้องหา หรือจำเลย ในคดี โดยเฉพาะการที่ไม่ปรากฏร่องรอยการชนที่รถของครูจอมทรัพย์ และรถที่ชนก็คนละสี คนขับเป็นเพศชายสูงใหญ่
เมื่อไม่มีใคร “เอะใจ” และ “ใส่ใจ” จึงบังเกิดความทุเรศ สะท้อนให้เห็นความเส็งเคร็ง ทำให้ครูคนหนึ่งต้องติดคุกโดยไม่มีความผิด! นายตำรวจคนทำคดีแบบพิสดารยังอยู่ดีกินดี นอนหลับสบาย จิตสำนึกไม่ถูกรบกวน ระบบและเจ้านายปกป้องให้ไม่ต้องโดนคดีใช่มั้ย
การใช้ “ดุลพินิจ” จึงเป็นส่วนหนึ่งของความเส็งเคร็งเรื้อรังด้วย ใช่หรือไม่? เป็นปัจจัยสำคัญปกป้องให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งชั่วร้ายได้กระทำความผิด ไม่ต้องรับโทษ ใช่หรือไม่?
แล้วคุณท่านผู้นำลุงตู่ ผู้ประกาศว่าต้องมีการปฏิรูป จะจัดการอย่างไรหรือไม่? การใช้ “ดุลพินิจ” โดยขาดความรอบคอบ ต้องเป็นความประมาท เลินเล่อ ใช่หรือไม่? ต้องแต่งตั้งนักกฎหมายมือระดับอรหันต์ทองคำดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจังเพื่อปฏิรูปด้วยมั้ง
ทั้งนี้เพื่อไม่ให้การใช้ “ดุลพินิจ” เป็นช่องทางทำมาหากินในการ “สั่งฟ้อง” หรือ “สั่งไม่ฟ้อง” รวมทั้งชั้นอุทธรณ์ ฎีกา ด้วยเช่นกัน! ตัวอย่างมีให้เห็นเยอะแล้ว พูดไปก็เท่านั้น
ถ้าไม่ทำเช่นนี้ก่อนปฏิรูป ระบบนิติรัฐของเราไม่เพียง “ล้มเหลว” อย่างเดียว ยังตกอยู่ในสภาพ “เส็งเคร็ง” ขั้นอภิมหาอมตะนิรันดรกาล ไม่ได้ผุดได้เกิด อีกด้วย!
สังคมที่พัฒนาแล้วไม่ยอมให้ระบบเส็งเคร็งลงรากลึกอยู่ยาวได้หรอกครับ!