“หนึ่งความคิด”
โดย “สุรวิชช์ วีรวรรณ”
ตอนที่ สนช.ออกมาพูดเรื่องการเลือกตั้งไปกลางปี 2561แล้วมีเสียงของคสช.ออกมาสำทับว่า ยังไงโรดแมปก็เหมือนเดิมหลายคนอาจจะสับสนว่า ตกลงจะเอาอย่างไรแน่ เพราะถ้าโรดแมปเหมือนเดิมก็น่าจะเป็นไปอย่างที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เคยพูดหลายครั้งว่าจะเลือกตั้งในปลายปี 2560
แต่มีคนบอกว่าจริงๆสิ่งที่ สนช.พูดนั้นไม่ได้อยู่บนความเลื่อนลอยแต่อยู่บนข้อเท็จจริง และก็อยู่บนโรดแมปนั้นแหละ เพราะเอาเข้าจริงแล้วเมื่อเอาตารางเวลาที่กำหนดไว้ตามรัฐธรรมนูญมาดูไม่มีทางที่จะเลือกตั้งในปี 2560ได้เลย
เพราะร่างรัฐธรรมนูญ 2559 เขียนไว้ชัดว่าในมาตรา 267ว่า หลังจากรัฐธรรมนูญประกาศใช้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจะจัดทำร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวขึ้นใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมก็ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้ สอดคล้องกับบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และต้องมุ่งหมายให้มีการขจัดการทุจริต และประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ และต้องทำให้แล้วเสร็จภายในสองร้อยสี่สิบวัน
ตัวเลขแรกจึงอยู่ที่ 240 วันหลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ซึ่งก็คือ 8 เดือนนั่นเอง
ตอนนี้ร่างรัฐธรรมนูญยังไม่ประกาศใช้นะครับ จากที่จะครบ 90 วันในเดือนกุมภาพันธ์ที่ทูลเกล้าฯ ขึ้นไปต้องเลื่อนไปก่อน เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แถลงว่าองคมนตรี ได้มาพบ ได้มีเรื่องของเนื่องจากทางสำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง ได้ทำเรื่องมาที่รัฐบาล ว่ามีประเด็นที่ต้องหารือในเรื่องรัฐธรรมนูญหมวดพระมหากษัตริย์ ซึ่งทางฝ่ายองคมนตรีได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายไปแล้ว และมีพระราชกระแสลงมาว่ามี 3 - 4 รายการ ที่จำเป็นต้องแก้ไขให้เป็นไปตามพระราชอำนาจของพระองค์ท่าน ซึ่งเรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่เป็นเรื่องพระราชอำนาจของพระองค์ท่าน ซึ่งเราก็รับสนองพระบรมราชโองการ
พล.อ.ประยุทธ์บอกว่า การแก้ไขใช้เวลาประมาณ 1 เดือน น่าจะเสร็จได้ ไม่เกิน 2 - 3 เดือนข้างหน้านี้ จะได้เสนอโปรดเกล้าฯ มาอีกครั้ง
2-3 เดือนข้างหน้านี้ก็น่าจะเป็นอย่างเร็วเดือนมีนาคม
หากรัฐธรรมนูญโปรดเกล้าฯลงมาแล้วนะครับจึงจะเริ่มนับ 240 วันหลังจากนั้น ก็จะตกไปประมาณเดือนพฤศจิกายน
จากนั้น รัฐธรรมนูญมาตรา 267 วรรค 4 บอกต่อว่า
ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่ง เมื่อได้รับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจากคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญแล้ว สภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ ในกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใดไม่แล้วเสร็จภายในเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับนั้นตามที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเสนอ
ตรงนี้อีก 60 วันซึ่งก็คือ 2 เดือน นับต่อไปจากเดือนพฤศจิกายนก็เป็นมกราคม 2561 ข้ามไปปีหน้าแล้ว
จากนั้น มาตรา 267 วรรค 5 เขียนไว้ว่า เมื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ ให้ส่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นให้ศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณา ถ้าศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง หรือคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ดังกล่าวไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ให้แจ้งให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติทราบ ภายในสิบวัน
บวกเพิ่มไปอีก 10 วัน ถ้าศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระไม่ติดใจขั้นตอนนี้ก็จบ จากนั้นให้ไปตามมาตรา 268 ที่ว่า ให้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญนี้ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามมาตรา 267 (1) (2) (3) และ (4) มีผลใช้บังคับแล้ว
จะเห็นว่าตรงนี้บวกมาอีก 150 วันคือ 5 เดือน นับง่ายๆจากเดือนมกราคมไปอีก 5เดือนก็จะเป็นเดือนมิถุนายนหรือเอาเป็นว่าประมาณกลางปี2561อย่างที่สนช.แถลงนั่นแหละครับจึงจะมีการเลือกตั้ง
แต่ก็ไม่แน่เสมอไปนะครับว่าจะได้เลือกตั้งในประมาณกลางปี2561
ถ้าเกิดเหตุดังนี้ ย้อนกลับไปที่รัฐธรรมนูญมาตรา 267วรรค 5 บอกนะครับว่า ถ้าใน 10 วันที่ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระพิจารณาแล้วเกิดมีความเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ดังกล่าวไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ จะต้องตั้ง กมธ.วิสามัญขึ้นคณะหนึ่งมีจำนวนสิบเอ็ดคน ประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือประธานองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และกรรมการร่างรัฐธรรมนูญซึ่งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญมอบหมาย ฝ่ายละห้าคน เพื่อพิจารณาแล้วเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง เพื่อให้ความเห็นชอบ
คือสรุปว่า ถ้าองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญติดใจกฎหมายลูกขั้นตอน 150 วันที่จะไปสู่การเลือกตั้งก็ยังไม่เริ่มต้องรอไปอีก 15 วัน
เมื่อ กมธ.วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้วใน15วันก็ส่งให้ สนช.ถ้า สนช.มีมติไม่เห็นชอบด้วยคะแนนเสียงเกินสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไป ในกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติไม่ถึงสองในสามดังกล่าว ให้ถือว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบตามร่างที่คณะกรรมาธิการวิสามัญเสนอ
มาเริ่มนับเวลากันใหม่นะครับ ถ้า 10 วันของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระไม่ติดใจก็เริ่มไปสู่การเลือกตั้งใน150 วัน แต่ถ้าติดใจก็รอไปอีก 15 วัน แล้วให้สนช.พิจารณาถ้าผ่าน 2 ใน 3 ก็ไปนับ 150 วันอาจจะเลยมิถุนายน 61ไปบ้างก็ไม่มากอาจเป็นกรกฎาคม 61
ถ้าทุกอย่างไม่มีปัญหาเราก็ยังจะได้เลือกตั้งในกลางปี2561
แต่อีกนะครับ ถ้า สนช.มีมติไม่ถึง 2 ใน 3ก็ต้องไปเริ่มทำกฎหมายลูกกันใหม่ การนับไปสู่วันเลือกตั้ง 150 วันที่จะตกกลางปี 61 ก็ต้องรอไปก่อน ซึ่งไม่แน่นะครับว่าอาจจะเกิดขึ้นได้เพราะกว่าจะถึงเวลานั้นมันอยู่ที่เงื่อนไขที่เราไม่อาจคาดคิด
ทีนี้ไปดูว่าถ้า สนช.มีมติไม่ถึง 2 ใน 3 แล้วต้องไปทำอย่างไร กฎหมายบอกว่า ต้องไปสู่การพิจารณาของ สนช.ใหม่นั่นก็คือ ต้องไปร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญกันใหม่ ก็ต้องไปใช้รัฐธรรมนูญ 2559 มาตรา 132 เขาบอกว่าให้รัฐสภาพิจารณาใน 180 วัน หลังจากพิจารณาแล้วต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระภายใน 50 วันแล้วให้เวลาศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระพิจารณา ภายใน 10 วัน ถ้าศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระไม่ติดใจก็เสร็จแต่ถ้าติดใจก็ให้แก้ไขภายใน 30 วัน ดังนั้น 30 วันหลังอาจจะเกิดหรือไม่เกิดก็ได้
ตัวเลขตรงนี้คือ 180+50+10+(30) ในวงเล็บนี้ก็หมายถึงที่บอกคือจะมีหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นน่าจะอยู่ที่ 8(9)เดือน
ทีนี้มานับกันใหม่ก็เกิดกรณีสนช.ไม่รับ 2 ใน 3 อย่างที่ว่า เริ่มจากเดือนมกราคมบวกไปอีก 8(9) เดือน แสดงว่าเราอาจจะได้เลือกตั้งในเดือนกันยายนหรือตุลาคม2561เลยทีเดียว ซึ่งคิดว่าคงจะไม่เกิดแต่ก็คิดให้ดูว่ามันเป็นไปได้ในทางทฤษฎีที่เราอาจจะเลือกตั้งช้าไปเกือบปลายปี 2561 เผลอๆได้รัฐบาลใหม่ก็ปี2562
ผมเลยอยากจะบอกว่า เมื่อไล่เวลาตามรัฐธรรมนูญ ถ้าเราได้เลือกตั้งประมาณกลางปี 2561 ก็ถือว่าเร็วแล้ว
ที่สำคัญก็ต้องไม่ลืมว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 265 เขียนไว้เลยว่า ให้หัวหน้า คสช.และคสช.มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว2557ไปจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่นั่นก็คือ พล.อ.ประยุทธ์ยังมีอำนาจตามมาตรา 44 อยู่ในมือ ถึงเวลานั้นหลังเลือกตั้งแล้วถ้าไม่เป็นไปตามที่คาดหมายมาตรา 44 ก็อาจจะออกฤทธิ์
มาตรา 44 นี่เปลี่ยนฟ้าดินได้ ก็คงเป็นไปอย่างที่โหรฟองสนาน จามรจันทร์ ทำนายไว้แหละว่า ดวงเมืองหลัง 21 เมษายน 2561 ถึง 21 เมษายน 2564 จะเปลี่ยนแปลงแต่จะเป็นไปในทางที่ดีมากกว่าร้าย-ว่าด้วยเรื่องตัวเลขทางกฎหมายและจบลงด้วยโหราพยากรณ์เสียอย่างนั้น
...ติดตามผู้เขียนได้ที่ http://www.facebook.com/.surawich.verawan
โดย “สุรวิชช์ วีรวรรณ”
ตอนที่ สนช.ออกมาพูดเรื่องการเลือกตั้งไปกลางปี 2561แล้วมีเสียงของคสช.ออกมาสำทับว่า ยังไงโรดแมปก็เหมือนเดิมหลายคนอาจจะสับสนว่า ตกลงจะเอาอย่างไรแน่ เพราะถ้าโรดแมปเหมือนเดิมก็น่าจะเป็นไปอย่างที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เคยพูดหลายครั้งว่าจะเลือกตั้งในปลายปี 2560
แต่มีคนบอกว่าจริงๆสิ่งที่ สนช.พูดนั้นไม่ได้อยู่บนความเลื่อนลอยแต่อยู่บนข้อเท็จจริง และก็อยู่บนโรดแมปนั้นแหละ เพราะเอาเข้าจริงแล้วเมื่อเอาตารางเวลาที่กำหนดไว้ตามรัฐธรรมนูญมาดูไม่มีทางที่จะเลือกตั้งในปี 2560ได้เลย
เพราะร่างรัฐธรรมนูญ 2559 เขียนไว้ชัดว่าในมาตรา 267ว่า หลังจากรัฐธรรมนูญประกาศใช้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจะจัดทำร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวขึ้นใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมก็ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้ สอดคล้องกับบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และต้องมุ่งหมายให้มีการขจัดการทุจริต และประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ และต้องทำให้แล้วเสร็จภายในสองร้อยสี่สิบวัน
ตัวเลขแรกจึงอยู่ที่ 240 วันหลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ซึ่งก็คือ 8 เดือนนั่นเอง
ตอนนี้ร่างรัฐธรรมนูญยังไม่ประกาศใช้นะครับ จากที่จะครบ 90 วันในเดือนกุมภาพันธ์ที่ทูลเกล้าฯ ขึ้นไปต้องเลื่อนไปก่อน เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แถลงว่าองคมนตรี ได้มาพบ ได้มีเรื่องของเนื่องจากทางสำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง ได้ทำเรื่องมาที่รัฐบาล ว่ามีประเด็นที่ต้องหารือในเรื่องรัฐธรรมนูญหมวดพระมหากษัตริย์ ซึ่งทางฝ่ายองคมนตรีได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายไปแล้ว และมีพระราชกระแสลงมาว่ามี 3 - 4 รายการ ที่จำเป็นต้องแก้ไขให้เป็นไปตามพระราชอำนาจของพระองค์ท่าน ซึ่งเรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่เป็นเรื่องพระราชอำนาจของพระองค์ท่าน ซึ่งเราก็รับสนองพระบรมราชโองการ
พล.อ.ประยุทธ์บอกว่า การแก้ไขใช้เวลาประมาณ 1 เดือน น่าจะเสร็จได้ ไม่เกิน 2 - 3 เดือนข้างหน้านี้ จะได้เสนอโปรดเกล้าฯ มาอีกครั้ง
2-3 เดือนข้างหน้านี้ก็น่าจะเป็นอย่างเร็วเดือนมีนาคม
หากรัฐธรรมนูญโปรดเกล้าฯลงมาแล้วนะครับจึงจะเริ่มนับ 240 วันหลังจากนั้น ก็จะตกไปประมาณเดือนพฤศจิกายน
จากนั้น รัฐธรรมนูญมาตรา 267 วรรค 4 บอกต่อว่า
ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่ง เมื่อได้รับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจากคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญแล้ว สภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ ในกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใดไม่แล้วเสร็จภายในเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับนั้นตามที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเสนอ
ตรงนี้อีก 60 วันซึ่งก็คือ 2 เดือน นับต่อไปจากเดือนพฤศจิกายนก็เป็นมกราคม 2561 ข้ามไปปีหน้าแล้ว
จากนั้น มาตรา 267 วรรค 5 เขียนไว้ว่า เมื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ ให้ส่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นให้ศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณา ถ้าศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง หรือคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ดังกล่าวไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ให้แจ้งให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติทราบ ภายในสิบวัน
บวกเพิ่มไปอีก 10 วัน ถ้าศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระไม่ติดใจขั้นตอนนี้ก็จบ จากนั้นให้ไปตามมาตรา 268 ที่ว่า ให้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญนี้ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามมาตรา 267 (1) (2) (3) และ (4) มีผลใช้บังคับแล้ว
จะเห็นว่าตรงนี้บวกมาอีก 150 วันคือ 5 เดือน นับง่ายๆจากเดือนมกราคมไปอีก 5เดือนก็จะเป็นเดือนมิถุนายนหรือเอาเป็นว่าประมาณกลางปี2561อย่างที่สนช.แถลงนั่นแหละครับจึงจะมีการเลือกตั้ง
แต่ก็ไม่แน่เสมอไปนะครับว่าจะได้เลือกตั้งในประมาณกลางปี2561
ถ้าเกิดเหตุดังนี้ ย้อนกลับไปที่รัฐธรรมนูญมาตรา 267วรรค 5 บอกนะครับว่า ถ้าใน 10 วันที่ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระพิจารณาแล้วเกิดมีความเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ดังกล่าวไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ จะต้องตั้ง กมธ.วิสามัญขึ้นคณะหนึ่งมีจำนวนสิบเอ็ดคน ประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือประธานองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และกรรมการร่างรัฐธรรมนูญซึ่งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญมอบหมาย ฝ่ายละห้าคน เพื่อพิจารณาแล้วเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง เพื่อให้ความเห็นชอบ
คือสรุปว่า ถ้าองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญติดใจกฎหมายลูกขั้นตอน 150 วันที่จะไปสู่การเลือกตั้งก็ยังไม่เริ่มต้องรอไปอีก 15 วัน
เมื่อ กมธ.วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้วใน15วันก็ส่งให้ สนช.ถ้า สนช.มีมติไม่เห็นชอบด้วยคะแนนเสียงเกินสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไป ในกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติไม่ถึงสองในสามดังกล่าว ให้ถือว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบตามร่างที่คณะกรรมาธิการวิสามัญเสนอ
มาเริ่มนับเวลากันใหม่นะครับ ถ้า 10 วันของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระไม่ติดใจก็เริ่มไปสู่การเลือกตั้งใน150 วัน แต่ถ้าติดใจก็รอไปอีก 15 วัน แล้วให้สนช.พิจารณาถ้าผ่าน 2 ใน 3 ก็ไปนับ 150 วันอาจจะเลยมิถุนายน 61ไปบ้างก็ไม่มากอาจเป็นกรกฎาคม 61
ถ้าทุกอย่างไม่มีปัญหาเราก็ยังจะได้เลือกตั้งในกลางปี2561
แต่อีกนะครับ ถ้า สนช.มีมติไม่ถึง 2 ใน 3ก็ต้องไปเริ่มทำกฎหมายลูกกันใหม่ การนับไปสู่วันเลือกตั้ง 150 วันที่จะตกกลางปี 61 ก็ต้องรอไปก่อน ซึ่งไม่แน่นะครับว่าอาจจะเกิดขึ้นได้เพราะกว่าจะถึงเวลานั้นมันอยู่ที่เงื่อนไขที่เราไม่อาจคาดคิด
ทีนี้ไปดูว่าถ้า สนช.มีมติไม่ถึง 2 ใน 3 แล้วต้องไปทำอย่างไร กฎหมายบอกว่า ต้องไปสู่การพิจารณาของ สนช.ใหม่นั่นก็คือ ต้องไปร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญกันใหม่ ก็ต้องไปใช้รัฐธรรมนูญ 2559 มาตรา 132 เขาบอกว่าให้รัฐสภาพิจารณาใน 180 วัน หลังจากพิจารณาแล้วต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระภายใน 50 วันแล้วให้เวลาศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระพิจารณา ภายใน 10 วัน ถ้าศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระไม่ติดใจก็เสร็จแต่ถ้าติดใจก็ให้แก้ไขภายใน 30 วัน ดังนั้น 30 วันหลังอาจจะเกิดหรือไม่เกิดก็ได้
ตัวเลขตรงนี้คือ 180+50+10+(30) ในวงเล็บนี้ก็หมายถึงที่บอกคือจะมีหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นน่าจะอยู่ที่ 8(9)เดือน
ทีนี้มานับกันใหม่ก็เกิดกรณีสนช.ไม่รับ 2 ใน 3 อย่างที่ว่า เริ่มจากเดือนมกราคมบวกไปอีก 8(9) เดือน แสดงว่าเราอาจจะได้เลือกตั้งในเดือนกันยายนหรือตุลาคม2561เลยทีเดียว ซึ่งคิดว่าคงจะไม่เกิดแต่ก็คิดให้ดูว่ามันเป็นไปได้ในทางทฤษฎีที่เราอาจจะเลือกตั้งช้าไปเกือบปลายปี 2561 เผลอๆได้รัฐบาลใหม่ก็ปี2562
ผมเลยอยากจะบอกว่า เมื่อไล่เวลาตามรัฐธรรมนูญ ถ้าเราได้เลือกตั้งประมาณกลางปี 2561 ก็ถือว่าเร็วแล้ว
ที่สำคัญก็ต้องไม่ลืมว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 265 เขียนไว้เลยว่า ให้หัวหน้า คสช.และคสช.มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว2557ไปจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่นั่นก็คือ พล.อ.ประยุทธ์ยังมีอำนาจตามมาตรา 44 อยู่ในมือ ถึงเวลานั้นหลังเลือกตั้งแล้วถ้าไม่เป็นไปตามที่คาดหมายมาตรา 44 ก็อาจจะออกฤทธิ์
มาตรา 44 นี่เปลี่ยนฟ้าดินได้ ก็คงเป็นไปอย่างที่โหรฟองสนาน จามรจันทร์ ทำนายไว้แหละว่า ดวงเมืองหลัง 21 เมษายน 2561 ถึง 21 เมษายน 2564 จะเปลี่ยนแปลงแต่จะเป็นไปในทางที่ดีมากกว่าร้าย-ว่าด้วยเรื่องตัวเลขทางกฎหมายและจบลงด้วยโหราพยากรณ์เสียอย่างนั้น
...ติดตามผู้เขียนได้ที่ http://www.facebook.com/.surawich.verawan