เราได้อะไรจากเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่?
ก่อนที่จะตอบปัญหาดังกล่าวข้างต้น ควรจะทำความเข้าใจคำว่า อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกาลเวลา ตามนัยแห่งความไม่เที่ยงหรือที่เรียกว่า อนิจจตา ตามแนวทางแห่งคำสอนของพระพุทธศาสนาเสียก่อน
คำว่า อดีต ก็คือปัจจุบันที่ผ่านไป ปัจจุบันก็คือเวลาที่สรรพสิ่งทั้งหลาย รวมทั้งเราท่านทั้งหลายดำรงอยู่ ส่วนอนาคตนั้นก็คือปัจจุบันที่ยังมาไม่ถึงนั่นเอง
ด้วยเหตุนี้ จึงน่าจะให้ความหมาย 3 คำนี้ด้วยนัยแห่งปรัชญาได้ว่า อดีตคือความฝัน ปัจจุบันคือความจริง อนาคตเป็นเพียงความหลังเท่านั้น
ด้วยคำนิยายและคำอธิบายขยายความดังกล่าวข้างต้น ปี พ.ศ. 2559 ที่เพิ่งผ่านพ้นไปก็คืออดีต พ.ศ. 2560 ก็คือปัจจุบัน และ พ.ศ. 2561 ก็คืออนาคต
ดังนั้น คำตอบที่ว่าเราได้อะไรจากปี พ.ศ. 2559 ซึ่งเป็นปีเก่า และเป็นอดีตไปแล้ว ก็จะเห็นได้ชัดเจนจากเหตุการณ์ทั้งหลาย ทั้งร้าย และดี ซึ่งได้เกิดขึ้นในปีเก่าซึ่งอาจรวมเป็นประเด็นในแต่ละด้านดังนี้
1. ในด้านสังคม
ประการแรก ประเทศไทย และคนไทยโดยรวมได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับความทุกข์ ความเดือดร้อน ซึ่งได้เกิดขึ้นแก่สังคมไทยเช่น ในรอบ 7 วันอันตรายในเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ได้เกิดอุบัติเหตุมากมายตายนับร้อย และบาดเจ็บนับพันมากกว่าปีก่อน ย้อนไป 4 ปีทั้งๆ ที่ถ้าดูจากมาตรการที่รัฐบาลนำมาใช้ เพื่อป้องกันแล้วไม่น่าจะเกิดเพิ่มขึ้น และในทางกลับกันควรจะลดลงด้วยซ้ำ
ดังนั้น จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่า อะไรคือเหตุทำให้เหตุการณ์ในลักษณะนี้ และถ้าหาคำตอบได้ก็จะเป็นบทเรียนประการแรกที่ได้
ประการที่สอง ในทางด้านสังคมที่คนไทยทั้งประเทศสนใจ และติดตามอย่างใกล้ชิดก็คือ กรณีของวัดพระธรรมกาย ซึ่งมีพระธัมมชโยเป็นตัวละครตัวเอก และมีเหล่าบริวารทั้งที่อยู่ในเพศบรรพชิต และคฤหัสถ์เป็นตัวละครตัวรอง ในกรณีที่ตกเป็นผู้ต้องหานับร้อยคดี และแถมตัวพระธัมมชโย ยังมีอธิกรณ์ติดตัวถึงขั้นถูกโจทย์ด้วยอาบัติปาราชิกถึงสองสิกขาบทคือ ถือเอาทรัพย์สินของผู้อื่นที่เจ้าของมิได้ให้มีราคา 5 มาสก (ประมาณ 300 บาทขึ้นไป) และเสพเมถุน ถ้าพิจารณาดูจากข่าวที่ปรากฏทั้งข้อหาทางกฎหมาย และข้อหาทางพระวินัย ถือได้ว่าพระธัมมชโยวันนี้ขาดจากภาวะความเป็นภิกษุแล้ว และจะบวชใหม่อีกไม่ได้ตลอดชีวิต
แต่จนบัดนี้ทั้งฝ่ายสงฆ์ และฝ่ายรัฐไม่สามารถจัดการใดๆ กับพระธัมมชโย และองค์กรวัดพระธรรมกายได้ และที่น่าผิดหวังยิ่งกว่านี้ก็คือ มีข่าวว่าทั้งพระธัมมชโย และบริวารซึ่งอยู่ในข่ายผิดกฎหมายได้หลบหนีไปจากวัดแล้ว ถ้าข่าวนี้เป็นความจริงก็จะถือเป็นบทเรียนประการที่สองได้ว่า การที่จะดำเนินคดีทางกฎหมายกับภิกษุ ถ้าฝ่ายสงฆ์ไม่ให้ความร่วมมือแล้วทำได้ยาก
ประการที่สาม ในด้านสังคมเห็นจะได้แก่กรณีเกิดอุบัติเหตุรถตู้โดยสารข้ามเกาะกลางถนนไปชนรถปิกอัพ เป็นเหตุให้มีคนเสียชีวิต 25 คน
จากข่าวที่เผยแพร่ออกมาระบุชัดว่า รถตู้เป็นฝ่ายผิด และสาเหตุแห่งความผิดน่าจะเกิดจากคนขับมีสภาพร่างกายไม่พร้อมที่จะขับรถ เนื่องจากทำงานหนัก พักผ่อนไม่เพียงพอ จึงเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าว ซึ่งถือเป็นบทเรียนได้ว่าในการทำงานบริการประเภทมีความเสี่ยงต่อผู้รับบริการ เช่น ขับรถ และขับเรือ เป็นต้น บุคลากรผู้ให้บริการจะต้องมีความพร้อมทั้งร่างกาย และจิตใจ ที่สำคัญที่สุดก็คือ จะต้องมีความรับผิดชอบต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้มาใช้บริการ รวมไปถึงเพื่อนร่วมทางด้วย
2. ในด้านเศรษฐกิจ
ในปี พ.ศ. 2559 คนไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกษตรกรและผู้ใช้แรงงานซึ่งมีรายได้น้อย ได้ความทุกข์ ความเดือดร้อนจากข้าวของแพง มีรายได้ไม่พอใช้ ถึงแม้จะมีมาตรการช่วยเหลือในหลายๆ รูปแบบ เช่น ช่วยให้ชาวนาขายข้าวได้ราคาสูงขึ้น และช่วยเหลือโดยใช้มาตรการทางด้านการเงินและภาษี เพื่อให้คนจนหรือผู้มีรายได้น้อยมีกำลังซื้อ ก็เป็นเพียงช่วยบรรเทาความเดือดร้อนเล็กๆ น้อยๆ มิได้ช่วยให้ความยากจนหมดไปได้อย่างถาวร เนื่องจากเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ส่วนเหตุที่แท้จริง เช่น ต้นทุนการทำเกษตรสูง แต่ขายได้ราคาต่ำ เป็นต้น ยังไม่ได้แก้ให้หมดไป
จากปัญหาและการแก้ปัญหาของภาครัฐ ทำให้ถือเป็นบทเรียนได้ปัญหาแบบเดิมๆ และแก้แบบเดิมๆ เหมือนทุกปีที่ผ่านมา ไม่ต่างอะไรกับปวดหัวและแก้ด้วยการให้ยาระงับปวดโดยไม่ระงับเหตุที่ทำให้ปวด เมื่อยาหมดฤทธิ์ก็ปวดเหมือนเดิม
ที่ยกมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของบทเรียนที่ได้จากปี 2559 ส่วนได้แล้วจะแก้ไขอย่างไรในปี 2560 นั้นก็จะต้องคอยดูกันต่อไป
ก่อนที่จะตอบปัญหาดังกล่าวข้างต้น ควรจะทำความเข้าใจคำว่า อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกาลเวลา ตามนัยแห่งความไม่เที่ยงหรือที่เรียกว่า อนิจจตา ตามแนวทางแห่งคำสอนของพระพุทธศาสนาเสียก่อน
คำว่า อดีต ก็คือปัจจุบันที่ผ่านไป ปัจจุบันก็คือเวลาที่สรรพสิ่งทั้งหลาย รวมทั้งเราท่านทั้งหลายดำรงอยู่ ส่วนอนาคตนั้นก็คือปัจจุบันที่ยังมาไม่ถึงนั่นเอง
ด้วยเหตุนี้ จึงน่าจะให้ความหมาย 3 คำนี้ด้วยนัยแห่งปรัชญาได้ว่า อดีตคือความฝัน ปัจจุบันคือความจริง อนาคตเป็นเพียงความหลังเท่านั้น
ด้วยคำนิยายและคำอธิบายขยายความดังกล่าวข้างต้น ปี พ.ศ. 2559 ที่เพิ่งผ่านพ้นไปก็คืออดีต พ.ศ. 2560 ก็คือปัจจุบัน และ พ.ศ. 2561 ก็คืออนาคต
ดังนั้น คำตอบที่ว่าเราได้อะไรจากปี พ.ศ. 2559 ซึ่งเป็นปีเก่า และเป็นอดีตไปแล้ว ก็จะเห็นได้ชัดเจนจากเหตุการณ์ทั้งหลาย ทั้งร้าย และดี ซึ่งได้เกิดขึ้นในปีเก่าซึ่งอาจรวมเป็นประเด็นในแต่ละด้านดังนี้
1. ในด้านสังคม
ประการแรก ประเทศไทย และคนไทยโดยรวมได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับความทุกข์ ความเดือดร้อน ซึ่งได้เกิดขึ้นแก่สังคมไทยเช่น ในรอบ 7 วันอันตรายในเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ได้เกิดอุบัติเหตุมากมายตายนับร้อย และบาดเจ็บนับพันมากกว่าปีก่อน ย้อนไป 4 ปีทั้งๆ ที่ถ้าดูจากมาตรการที่รัฐบาลนำมาใช้ เพื่อป้องกันแล้วไม่น่าจะเกิดเพิ่มขึ้น และในทางกลับกันควรจะลดลงด้วยซ้ำ
ดังนั้น จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่า อะไรคือเหตุทำให้เหตุการณ์ในลักษณะนี้ และถ้าหาคำตอบได้ก็จะเป็นบทเรียนประการแรกที่ได้
ประการที่สอง ในทางด้านสังคมที่คนไทยทั้งประเทศสนใจ และติดตามอย่างใกล้ชิดก็คือ กรณีของวัดพระธรรมกาย ซึ่งมีพระธัมมชโยเป็นตัวละครตัวเอก และมีเหล่าบริวารทั้งที่อยู่ในเพศบรรพชิต และคฤหัสถ์เป็นตัวละครตัวรอง ในกรณีที่ตกเป็นผู้ต้องหานับร้อยคดี และแถมตัวพระธัมมชโย ยังมีอธิกรณ์ติดตัวถึงขั้นถูกโจทย์ด้วยอาบัติปาราชิกถึงสองสิกขาบทคือ ถือเอาทรัพย์สินของผู้อื่นที่เจ้าของมิได้ให้มีราคา 5 มาสก (ประมาณ 300 บาทขึ้นไป) และเสพเมถุน ถ้าพิจารณาดูจากข่าวที่ปรากฏทั้งข้อหาทางกฎหมาย และข้อหาทางพระวินัย ถือได้ว่าพระธัมมชโยวันนี้ขาดจากภาวะความเป็นภิกษุแล้ว และจะบวชใหม่อีกไม่ได้ตลอดชีวิต
แต่จนบัดนี้ทั้งฝ่ายสงฆ์ และฝ่ายรัฐไม่สามารถจัดการใดๆ กับพระธัมมชโย และองค์กรวัดพระธรรมกายได้ และที่น่าผิดหวังยิ่งกว่านี้ก็คือ มีข่าวว่าทั้งพระธัมมชโย และบริวารซึ่งอยู่ในข่ายผิดกฎหมายได้หลบหนีไปจากวัดแล้ว ถ้าข่าวนี้เป็นความจริงก็จะถือเป็นบทเรียนประการที่สองได้ว่า การที่จะดำเนินคดีทางกฎหมายกับภิกษุ ถ้าฝ่ายสงฆ์ไม่ให้ความร่วมมือแล้วทำได้ยาก
ประการที่สาม ในด้านสังคมเห็นจะได้แก่กรณีเกิดอุบัติเหตุรถตู้โดยสารข้ามเกาะกลางถนนไปชนรถปิกอัพ เป็นเหตุให้มีคนเสียชีวิต 25 คน
จากข่าวที่เผยแพร่ออกมาระบุชัดว่า รถตู้เป็นฝ่ายผิด และสาเหตุแห่งความผิดน่าจะเกิดจากคนขับมีสภาพร่างกายไม่พร้อมที่จะขับรถ เนื่องจากทำงานหนัก พักผ่อนไม่เพียงพอ จึงเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าว ซึ่งถือเป็นบทเรียนได้ว่าในการทำงานบริการประเภทมีความเสี่ยงต่อผู้รับบริการ เช่น ขับรถ และขับเรือ เป็นต้น บุคลากรผู้ให้บริการจะต้องมีความพร้อมทั้งร่างกาย และจิตใจ ที่สำคัญที่สุดก็คือ จะต้องมีความรับผิดชอบต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้มาใช้บริการ รวมไปถึงเพื่อนร่วมทางด้วย
2. ในด้านเศรษฐกิจ
ในปี พ.ศ. 2559 คนไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกษตรกรและผู้ใช้แรงงานซึ่งมีรายได้น้อย ได้ความทุกข์ ความเดือดร้อนจากข้าวของแพง มีรายได้ไม่พอใช้ ถึงแม้จะมีมาตรการช่วยเหลือในหลายๆ รูปแบบ เช่น ช่วยให้ชาวนาขายข้าวได้ราคาสูงขึ้น และช่วยเหลือโดยใช้มาตรการทางด้านการเงินและภาษี เพื่อให้คนจนหรือผู้มีรายได้น้อยมีกำลังซื้อ ก็เป็นเพียงช่วยบรรเทาความเดือดร้อนเล็กๆ น้อยๆ มิได้ช่วยให้ความยากจนหมดไปได้อย่างถาวร เนื่องจากเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ส่วนเหตุที่แท้จริง เช่น ต้นทุนการทำเกษตรสูง แต่ขายได้ราคาต่ำ เป็นต้น ยังไม่ได้แก้ให้หมดไป
จากปัญหาและการแก้ปัญหาของภาครัฐ ทำให้ถือเป็นบทเรียนได้ปัญหาแบบเดิมๆ และแก้แบบเดิมๆ เหมือนทุกปีที่ผ่านมา ไม่ต่างอะไรกับปวดหัวและแก้ด้วยการให้ยาระงับปวดโดยไม่ระงับเหตุที่ทำให้ปวด เมื่อยาหมดฤทธิ์ก็ปวดเหมือนเดิม
ที่ยกมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของบทเรียนที่ได้จากปี 2559 ส่วนได้แล้วจะแก้ไขอย่างไรในปี 2560 นั้นก็จะต้องคอยดูกันต่อไป