ผู้จัดการรายวัน 360- รัชกาลที่ 10 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ราชสกุล-ภาคเอกชน ร่วมเป็นเจ้าภาพในการบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมพระบรมศพ "พล.อ.ธนะศักดิ์" นำปักหมุด 9 จุดสนามหลวงก่อสร้างพระเมรุมาศ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวง ร.9 โดยใช้ไม้มงคลปักหมุด 9 จุด
สำนักพระราชวัง แจ้งว่า ตามที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ราชสกุล องคมนตรี คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม องค์กรอิสระ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ร่วมเป็นเจ้าภาพในการบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และถวายเป็นพระราชกุศล โดยกำหนดให้แสดงความจำนงขอร่วมเป็นเจ้าภาพ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.2559 ถึงวันที่ 28 ก.พ.2560 นั้น ขณะนี้ ได้มีผู้แสดงความจำนงขอร่วมเป็นเจ้าภาพจำนวนมาก สำนักพระราชวังจึงปิดรับการขอร่วมเป็นเจ้าภาพ ถึงวันที่ 26 ธ.ค.2559 เท่านั้น เพื่อจะได้จัดลำดับได้ครบถ้วนทุกรายตามที่ได้ยื่นแสดงความจำนงไว้ต่อไป โดยสำนักพระราชวังจะส่งหนังสือตอบรับและแจ้งรายละเอียดการเป็นเจ้าภาพให้ทราบ ก่อนวันและเวลาที่กำหนดให้เป็นเจ้าภาพล่วงหน้า 15 วัน
วันเดียวกันนี้ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานในพิธีปักหมุดการก่อสร้างพระเมรุมาศ ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยพิธีเริ่มขึ้นเวลา 15.59 น. พล.อ.ธนะศักดิ์ ได้จุดธูปเทียนบูชาเครื่องสังเวยที่โต๊ะเครื่องบวงสรวง พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ วิบูลย์เวทย์บรมหงส์ พรหมพงศ์ พฤฒาจาริย์ อ่านโองการบวงสรวง ประธานโปรยข้าวตอกดอกไม้ที่เครื่องสังเวย จากนั้นประธานในพิธี รวมถึงผู้ปักหมุดได้เดินไปประจำหลักหมุด
เวลา 16.19 น.ซึ่งเป็นฤกษ์ปักหมุดพระเมรุมาศ พล.อ.ธนะศักดิ์ ประธานในพิธี พร้อมผู้ปักหมุดอีก 8 จุดได้เดินไปประจำหลักหมุดและพราหมณ์เป่าสังข์แตรให้สัญญาณเริ่มปักหมุดพระเมรุมาศโดยใช้ไม้มงคลปักหมุดจำนวน 9 จุด ประกอบด้วยหมุดหลัก (ไม้ทองหลาง) ทำการฝังโดย พล.อ.ธนะศักดิ์ ส่วนหมุดรองจำนวน 8 จุด (ไม้พะยูง) ได้แก่นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม, ปักหมุดหลักที่ 2 นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร ราชเลขาธิการ, ปักหมุดหลักที่ 3 นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา เลขาธิการพระราชวัง, ปักหมุดหลักที่ 4 ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ รองราชเลขาธิการ, ปักหมุดหลักที่ 5 นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัด วธ., ปักหมุดหลักที่ 6 นายจิรชัย ทองมูลโร่ย ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี, ปักหมุดหลักที่ 7 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม., ปักหมุดหลักที่ 8 และนายเดโช สวนานนท์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ปักหมุดหลักที่ 9 ซึ่งหลังพิธีปักหมุดแล้ว จะมีพิธีบวงสรวง และยกเสาพระเมรุมาศ คาดว่าจะมีพิธีใน มี.ค.2560
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 17.20 น. นางบุญมา ศรีจันทร์ อายุ 77 ปี ชาวบ้านหนองบัว หมู่ 9 ต.ดอนกอก อ.นาโพ จ.บุรีรัมย์ ที่เคยได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในงานกาชาดประจำปี 2547 ได้นำผ้าสไบห่มไหล่ ซึ่งทอด้วยไหมมัดหมี่สีดำเป็นรูปคุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยงมาทูลเกล้าฯ ถวายจำนวน 2 ผืน ซึ่งเป็นของตนเองและบุตรสาวบุญธรรม โดยมีข้อความเขียน "ถวายแด่ในหลวง ร.9"
นางบุญมา เล่าถึงความประทับใจเมื่อครั้งเฝ้าฯ รับเสด็จฯว่า เกิดขึ้นขณะนำผ้าไหมมัดหมี่มาวางจำหน่ายที่ร้านภูฟ้าในงานกาชาดโดยลายผ้าเป็นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง มีการทำนา ทำไร่ เลี้ยงปลา หมู ไก่ และมีกระท่อมปลายนา ซึ่งตอนทอได้เห็นพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวง ร. 9 ทรงอุ้มคุณทองแดงไว้ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้นำภาพคุณทองแดงมาเพิ่มในลายผ้า เมื่อในหลวง ร. 9 เสด็จฯผ่านได้ทอดพระเนตรเห็น ทรงยิ้ม และทรงมีรับสั่งว่า "คุณทองแดง" แต่ไม่ได้ตรัสถามอะไรต่อ และเสด็จฯผ่านไป จากนั้นผ่านไป 15 นาทีได้มีเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังมาเชิญยายไป ยายตกใจกลัวว่าทำอะไรผิด หยิกตัวเองก็ไม่เจ็บ เสื้อเปียกชุ่มไปหมด ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่มาเชิญให้ไปเข้าเฝ้าฯในหลวง ร.9 มีรับสั่งด้วยพระเมตตาว่า "ให้ยายนำลายหมู ลายไก่ออก ให้เหลือคุณทองแดงตัวเดียว เพราะเขาชอบอยู่แบบสง่างาม" หลังจากนั้นยายก็ทอลายนี้ขายมาตลอด แต่ละผืนก็ทอนานกว่า 2 วัน
สำนักพระราชวัง แจ้งว่า ตามที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ราชสกุล องคมนตรี คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม องค์กรอิสระ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ร่วมเป็นเจ้าภาพในการบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และถวายเป็นพระราชกุศล โดยกำหนดให้แสดงความจำนงขอร่วมเป็นเจ้าภาพ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.2559 ถึงวันที่ 28 ก.พ.2560 นั้น ขณะนี้ ได้มีผู้แสดงความจำนงขอร่วมเป็นเจ้าภาพจำนวนมาก สำนักพระราชวังจึงปิดรับการขอร่วมเป็นเจ้าภาพ ถึงวันที่ 26 ธ.ค.2559 เท่านั้น เพื่อจะได้จัดลำดับได้ครบถ้วนทุกรายตามที่ได้ยื่นแสดงความจำนงไว้ต่อไป โดยสำนักพระราชวังจะส่งหนังสือตอบรับและแจ้งรายละเอียดการเป็นเจ้าภาพให้ทราบ ก่อนวันและเวลาที่กำหนดให้เป็นเจ้าภาพล่วงหน้า 15 วัน
วันเดียวกันนี้ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานในพิธีปักหมุดการก่อสร้างพระเมรุมาศ ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยพิธีเริ่มขึ้นเวลา 15.59 น. พล.อ.ธนะศักดิ์ ได้จุดธูปเทียนบูชาเครื่องสังเวยที่โต๊ะเครื่องบวงสรวง พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ วิบูลย์เวทย์บรมหงส์ พรหมพงศ์ พฤฒาจาริย์ อ่านโองการบวงสรวง ประธานโปรยข้าวตอกดอกไม้ที่เครื่องสังเวย จากนั้นประธานในพิธี รวมถึงผู้ปักหมุดได้เดินไปประจำหลักหมุด
เวลา 16.19 น.ซึ่งเป็นฤกษ์ปักหมุดพระเมรุมาศ พล.อ.ธนะศักดิ์ ประธานในพิธี พร้อมผู้ปักหมุดอีก 8 จุดได้เดินไปประจำหลักหมุดและพราหมณ์เป่าสังข์แตรให้สัญญาณเริ่มปักหมุดพระเมรุมาศโดยใช้ไม้มงคลปักหมุดจำนวน 9 จุด ประกอบด้วยหมุดหลัก (ไม้ทองหลาง) ทำการฝังโดย พล.อ.ธนะศักดิ์ ส่วนหมุดรองจำนวน 8 จุด (ไม้พะยูง) ได้แก่นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม, ปักหมุดหลักที่ 2 นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร ราชเลขาธิการ, ปักหมุดหลักที่ 3 นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา เลขาธิการพระราชวัง, ปักหมุดหลักที่ 4 ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ รองราชเลขาธิการ, ปักหมุดหลักที่ 5 นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัด วธ., ปักหมุดหลักที่ 6 นายจิรชัย ทองมูลโร่ย ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี, ปักหมุดหลักที่ 7 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม., ปักหมุดหลักที่ 8 และนายเดโช สวนานนท์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ปักหมุดหลักที่ 9 ซึ่งหลังพิธีปักหมุดแล้ว จะมีพิธีบวงสรวง และยกเสาพระเมรุมาศ คาดว่าจะมีพิธีใน มี.ค.2560
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 17.20 น. นางบุญมา ศรีจันทร์ อายุ 77 ปี ชาวบ้านหนองบัว หมู่ 9 ต.ดอนกอก อ.นาโพ จ.บุรีรัมย์ ที่เคยได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในงานกาชาดประจำปี 2547 ได้นำผ้าสไบห่มไหล่ ซึ่งทอด้วยไหมมัดหมี่สีดำเป็นรูปคุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยงมาทูลเกล้าฯ ถวายจำนวน 2 ผืน ซึ่งเป็นของตนเองและบุตรสาวบุญธรรม โดยมีข้อความเขียน "ถวายแด่ในหลวง ร.9"
นางบุญมา เล่าถึงความประทับใจเมื่อครั้งเฝ้าฯ รับเสด็จฯว่า เกิดขึ้นขณะนำผ้าไหมมัดหมี่มาวางจำหน่ายที่ร้านภูฟ้าในงานกาชาดโดยลายผ้าเป็นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง มีการทำนา ทำไร่ เลี้ยงปลา หมู ไก่ และมีกระท่อมปลายนา ซึ่งตอนทอได้เห็นพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวง ร. 9 ทรงอุ้มคุณทองแดงไว้ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้นำภาพคุณทองแดงมาเพิ่มในลายผ้า เมื่อในหลวง ร. 9 เสด็จฯผ่านได้ทอดพระเนตรเห็น ทรงยิ้ม และทรงมีรับสั่งว่า "คุณทองแดง" แต่ไม่ได้ตรัสถามอะไรต่อ และเสด็จฯผ่านไป จากนั้นผ่านไป 15 นาทีได้มีเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังมาเชิญยายไป ยายตกใจกลัวว่าทำอะไรผิด หยิกตัวเองก็ไม่เจ็บ เสื้อเปียกชุ่มไปหมด ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่มาเชิญให้ไปเข้าเฝ้าฯในหลวง ร.9 มีรับสั่งด้วยพระเมตตาว่า "ให้ยายนำลายหมู ลายไก่ออก ให้เหลือคุณทองแดงตัวเดียว เพราะเขาชอบอยู่แบบสง่างาม" หลังจากนั้นยายก็ทอลายนี้ขายมาตลอด แต่ละผืนก็ทอนานกว่า 2 วัน