นิด้าโพลชี้ พฤติกรรมกลุ่มเครือข่ายพลเมืองชาวเน็ต และแนวร่วม ในการประกาศสงครามไซเบอร์ และแฮกเจาะข้อมูลเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐ เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม จะทำให้ประเทศชาติเสียหาย แนะรัฐเร่งชี้แจง พ.ร.บ.คอมพ์ ให้ชัดเจน จะช่วยลดข้อขัดแย้งลง
"นิด้าโพล" เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง "สงครามไซเบอร์" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 21-23 ธ.ค.ที่ผ่านมา จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทุกระดับการศึกษา รวมทั้งสิ้น1,501 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการต่อต้าน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ของกลุ่มเครือข่ายพลเมืองชาวเน็ต และแนวร่วมอีกหลายกลุ่ม ด้วยการประกาศสงครามไซเบอร์ และแฮกเจาะข้อมูลเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐหลายแห่ง
จากการสำรวจ เมื่อถามถึงพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของประชาชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 64.62 ระบุว่า ใช้อินเทอร์เน็ต ขณะที่ ร้อยละ 35.38 ระบุว่าไม่ได้ใช้อินเทอร์เน็ต
ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการต่อต้าน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ของกลุ่มเครือข่ายพลเมืองชาวเน็ต และแนวร่วมอีกหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มพลเมืองต่อต้าน Single Gateway ด้วยการประกาศสงครามไซเบอร์ และแฮกเจาะข้อมูลเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐหลายแห่ง ซึ่งในจำนวนผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ต พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 36.39 ระบุว่า เป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสม เพราะจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย รองลงมาร้อยละ 19.90 ระบุว่า เป็นการพิสูจน์ศักยภาพหน่วยงานภาครัฐ ว่าจะสามารถรับมือ สงครามไซเบอร์ ได้แค่ไหน ร้อยละ 17.11 เป็นวิธีการที่เหมาะสม เพราะรัฐไม่ยอมฟังเสียงต้านของประชาชนบางส่วน ร้อยละ 11.44 ระบุว่า มีการเมืองอยู่เบื้องหลังกลุ่มต่อต้าน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
ร้อยละ 7.53 ระบุว่า เป็นแค่เรื่องของเด็กเกรียนต้องการแสดงศักยภาพของตัวเอง ร้อยละ 1.96 ระบุอื่นๆ ได้แก่ เป็นเรื่องของผลประโยชน์ และเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม แต่ยังไม่มีผลกระทบที่ชัดเจน และข้อกฎหมายยังคลุมเครือ เป็นการแก้ไขปัญหาที่ไม่ถูกวิธี , ขณะที่บางส่วนระบุว่า รัฐบาลไม่ควรปิดกั้นข้อมูลข่าวสารและละเมิดสิทธิ เสรีภาพ และความคิดเห็นของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต , บางส่วนระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับกลุ่มต่อต้าน เพราะ พ.ร.บ.ฉบับใหม่จะช่วยคัดกรองข้อมูลหรือเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กและเยาวชน และร้อยละ 22.27 ไม่ระบุ/เฉยๆ
เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชน ต่อการดำเนินการของภาครัฐต่อสงครามไซเบอร์ ในครั้งนี้ พบว่า ในจำนวนผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ต ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 47.53 ระบุว่า รัฐเร่งชี้แจงพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ให้ชัดเจน จะได้ช่วยลดข้อขัดแย้งลง รองลงมา ร้อยละ 30.62 ระบุว่า หาวิธีการป้องกันการแฮกเจาะข้อมูลเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐ ร้อยละ 25.46 ระบุว่า ควรสืบสวนสอบสวนหาตัวผู้กระทำผิดดำเนินคดีตามกฎหมาย ร้อยละ 15.98 ระบุว่า ยอมอ่อนข้อประนีประนอม โดยยอมทบทวนกฎหมาย ร้อยละ 3.61 ระบุว่า ไม่ต้องสนใจอะไร และเดินหน้าประกาศใช้กฎหมาย ร้อยละ 0.82 ระบุอื่นๆ ได้แก่ รัฐบาลควรเจรจา และควรรับฟังเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน และควรใช้กฎหมายไปในทิศทางที่ถูกต้องตามหลักของธรรมาภิบาล และร้อยละ 12.89 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ/เฉยๆ
"นิด้าโพล" เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง "สงครามไซเบอร์" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 21-23 ธ.ค.ที่ผ่านมา จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทุกระดับการศึกษา รวมทั้งสิ้น1,501 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการต่อต้าน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ของกลุ่มเครือข่ายพลเมืองชาวเน็ต และแนวร่วมอีกหลายกลุ่ม ด้วยการประกาศสงครามไซเบอร์ และแฮกเจาะข้อมูลเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐหลายแห่ง
จากการสำรวจ เมื่อถามถึงพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของประชาชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 64.62 ระบุว่า ใช้อินเทอร์เน็ต ขณะที่ ร้อยละ 35.38 ระบุว่าไม่ได้ใช้อินเทอร์เน็ต
ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการต่อต้าน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ของกลุ่มเครือข่ายพลเมืองชาวเน็ต และแนวร่วมอีกหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มพลเมืองต่อต้าน Single Gateway ด้วยการประกาศสงครามไซเบอร์ และแฮกเจาะข้อมูลเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐหลายแห่ง ซึ่งในจำนวนผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ต พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 36.39 ระบุว่า เป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสม เพราะจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย รองลงมาร้อยละ 19.90 ระบุว่า เป็นการพิสูจน์ศักยภาพหน่วยงานภาครัฐ ว่าจะสามารถรับมือ สงครามไซเบอร์ ได้แค่ไหน ร้อยละ 17.11 เป็นวิธีการที่เหมาะสม เพราะรัฐไม่ยอมฟังเสียงต้านของประชาชนบางส่วน ร้อยละ 11.44 ระบุว่า มีการเมืองอยู่เบื้องหลังกลุ่มต่อต้าน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
ร้อยละ 7.53 ระบุว่า เป็นแค่เรื่องของเด็กเกรียนต้องการแสดงศักยภาพของตัวเอง ร้อยละ 1.96 ระบุอื่นๆ ได้แก่ เป็นเรื่องของผลประโยชน์ และเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม แต่ยังไม่มีผลกระทบที่ชัดเจน และข้อกฎหมายยังคลุมเครือ เป็นการแก้ไขปัญหาที่ไม่ถูกวิธี , ขณะที่บางส่วนระบุว่า รัฐบาลไม่ควรปิดกั้นข้อมูลข่าวสารและละเมิดสิทธิ เสรีภาพ และความคิดเห็นของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต , บางส่วนระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับกลุ่มต่อต้าน เพราะ พ.ร.บ.ฉบับใหม่จะช่วยคัดกรองข้อมูลหรือเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กและเยาวชน และร้อยละ 22.27 ไม่ระบุ/เฉยๆ
เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชน ต่อการดำเนินการของภาครัฐต่อสงครามไซเบอร์ ในครั้งนี้ พบว่า ในจำนวนผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ต ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 47.53 ระบุว่า รัฐเร่งชี้แจงพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ให้ชัดเจน จะได้ช่วยลดข้อขัดแย้งลง รองลงมา ร้อยละ 30.62 ระบุว่า หาวิธีการป้องกันการแฮกเจาะข้อมูลเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐ ร้อยละ 25.46 ระบุว่า ควรสืบสวนสอบสวนหาตัวผู้กระทำผิดดำเนินคดีตามกฎหมาย ร้อยละ 15.98 ระบุว่า ยอมอ่อนข้อประนีประนอม โดยยอมทบทวนกฎหมาย ร้อยละ 3.61 ระบุว่า ไม่ต้องสนใจอะไร และเดินหน้าประกาศใช้กฎหมาย ร้อยละ 0.82 ระบุอื่นๆ ได้แก่ รัฐบาลควรเจรจา และควรรับฟังเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน และควรใช้กฎหมายไปในทิศทางที่ถูกต้องตามหลักของธรรมาภิบาล และร้อยละ 12.89 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ/เฉยๆ