** เชื่อว่าหลายคนเริ่มรู้สึกหงุดหงิดรำคาญกับการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับคดีที่ พระเทพญาณมหามุนี หรือ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ หรือ ธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ที่ตกเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับอย่างน้อย 3 คดีในเวลานี้ นั่นคือ คดีบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ 2 คดี และ คดีร่วมกันฟอกเงินและรับของโจร ซึ่งล่าสุดทางสำนักงานอัยการสูงสุดได้เห็นควรสั่งฟ้องไปแล้ว
ในเรื่องรายละเอียดของแต่ละคดี เชื่อว่าหลายคนในสังคมนี้ได้รับรู้รับทราบกันไปแล้ว แต่เวลานี้สิ่งที่คนทั่วไปอยากรู้ก็คือ มาตรฐานในการบังคับใช้กฎหมายมันเป็นแบบนี้ได้อย่างไร หรือว่าการ "จับกุม" คุมขังใช้ได้เฉพาะกับบางคนเท่านั้น ขณะที่บางคนกลับได้รับการยกเว้น หรือแม้แต่ผู้กระทำผิด นอนกระดิกเท้าท้าทายกฎหมายและอำนาจรัฐอยู่กลางเมืองได้ด้วยหรือ
คำถามก็คือ การบังคับใช้กฎหมายในประเทศนี้มันผิดเพี้ยนไปแล้วจริงๆ หรือ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในเวลานี้ กับคดีของธัมมชโย เจ้าหน้าที่รับผิดชอบไม่ว่าจะเป็นกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กลับไม่ (กล้า) จับกุมผู้ต้องหา ทั้งที่รู้ว่าผู้ต้องหารายนี้กบดานอยู่ภายในวัดพระธรรมกาย ซึ่งอยู่กลางเมือง แม้ว่าจะคนสงสัยกันว่า ผู้ต้องหาหลบหนีออกไปแล้วก็ตาม แต่ก็มีเสียงยืนยันว่ายังอยู่ ยังไม่ได้หลบหนีไปไหน
**แต่เวลาผ่านมาสี่ห้าเดือนแล้ว ตั้งแต่ถูกออกหมายจับคดีแรกมาจนถึงคดีที่สาม มาจนถึงวันนี้ ก็ยังไม่ได้จับกุม
ก่อนหน้านี้ ทั้งพล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้รับผิดชอบคดีในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่เกี่ยวกับคดีบุกรุกป่าสงวน และ พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ที่รับผิดชอบคดีร่วมกันฟอกเงินและรับของโจร กล่าวทำนองเดียวกันว่า การจับกุม ธัมมชโย เป็นเรื่อง "ละเอียดอ่อน" ต้องพิจารณาให้รอบคอบ ซึ่งแน่นอนว่าคงไม่มีใครเถียง เพราะเห็นแล้วว่าผู้ต้องหารายนี้มีฤทธิ์เดชมาก มีลูกศิษย์บริวารมากมาย การบุกเข้าไปจับกุมไม่ใช่เรื่องง่าย
แต่ขณะเดียวกัน หากพิจารณาในแง่ของกระบวนการทางกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายต้องเสมอภาคกัน จะเลือกปฏิบัติ หรือเลือกดำเนินคดีกับ"บางคน" บางกลุ่มบางพวกเท่านั้น การรีรอหรือเตะถ่วงไม่ดำเนินการให้ครบถ้วนตามกฎหมาย ก็จะยิ่งก่อให้เกิดปัญหาอื่นตามมาอีก รวมไปถึงความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนที่มีต่อรัฐ ต่อเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ต้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ก็จะยิ่งลดน้อยถอยลงไปอีก
แน่นอนว่าการบุกเข้าจับกุม ธัมมชโย ถึงในวัดพระธรรมกาย ไม่ใช่เรื่องง่าย อาจเกิดปัญหาการขัดขืน ขัดขวางจากบรรดาพวกลูกศิษย์ และบริวาร ซึ่งพิจารณาจากท่าทีและความเคลื่อนไหวที่ผ่านมาแล้วก็มีความเป็นไปได้ว่า อาจเกิดความวุ่นวาย หรือเหตุการณ์ไม่คาดหมายได้เหมือนกัน แต่ถึงอย่างไรก็ไม่มีทางเลือกเป็นอย่างอื่น นั่นคือ หากไม่ยอมมอบตัว ก็ต้องเข้าจับกุมสถานเดียวเท่านั้น
จากการให้สัมภาษณ์ก่อนหน้านี้ของ พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่ระบุว่าจะให้เวลา ธัมมชโย มอบตัวภายใน 5 วัน ซึ่งในตอนนั้น ก็คงหมายถึงวันที่ 30 พ.ย.นี้ หากพ้นกำหนดแล้วก็คงบุกเข้าไปจับ แม้จะเคยกล่าวว่า การจับกุมผู้ต้องหารายนี้เป็นเรื่อง "ละเอียดอ่อน" ก็ตาม
ขณะเดียวกันท่าทีจาก พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่งถือว่านาทีนี้เป็นเจ้าของเรื่องโดยตรง เนื่องจากทางสำนักงานอัยการสูงสุดได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าสมควรสั่งฟ้อง ธัมมชโยกับพวกรวม 5 ราย ในคดีร่วมกันรับของโจรและร่วมกันฟอกเงิน แม้ว่าในคำสั่งของพนักงานอัยการ จะมีติ่งห้อยเอาไว้ว่า ให้นำตัวผู้ต้องหามาฟ้องศาล ภายใน 15 ปี ก่อนหมดอายุความ แต่นั่นไม่ใช่หมายความว่า ต้องรอไปถึงสิบๆ ปีไม่ ในเมื่อรู้กันอยู่ว่าผู้ต้องหาหลบหนีหรือกบดานอยู่ที่ใด หากไม่ดำเนินการ มันก็เหมือนกับการ "ละเว้น" การปฏิบัติหน้าที่
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาจากความเป็นไปได้ และจากแรงกดดันจากสังคมที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ทำให้มั่นใจมากขึ้นว่าในที่สุดหาก ธัมมชโย ไม่ยอมมอบตัวเจ้าหน้าที่คงต้องบุกเข้าจับกุมแน่นอน คงไม่มีทางเลือกอื่น เพราะหากไม่ดำเนินการตามกฎหมาย ก็จะทำลายกระบวนการยุติธรรม ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายก็จะเสื่อมถอยลง เพราะนั่นหมายถึงการเลือกปฏิบัติ และไร้มาตรฐาน ถูกมองว่ากฎหมายเลือกใช้บังคับกับคนบางคน หรือบางพวกเท่านั้น
สำหรับ ธัมมชโย ก็เช่นเดียวกัน นาทีนี้ก็หมดเวลาที่จะยื้อเวลาอีกต่อไปไม่ได้แล้ว มีทางเลือกเดียวเท่านั้น คือ มอบตัว หากไม่ยอมมอบตัว ก็ต้องถูกจับกุม จะอ้างเหตุผลอื่นไม่ได้อีกต่อไปแล้ว เพราะนี่คือกระบวนการตามกฎหมาย ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ตามสถานะก็ยังไม่ถือว่ามีความผิดจนกว่าศาลจะตัดสิน แต่เมื่อถูกออกหมายจับโดยศาลถึง 3 ฉบับ ก็ต้องมาต่อสู้กันด้วยพยานหลักฐาน ไม่ใช่อ้างว่าตัวเองไม่มีผิดอยู่ร่ำไปแบบนี้
ดังนั้น หากพิจารณาจากความเคลื่อนไหวที่เป็นอยู่ ก็มีความเป็นไปได้อย่างยิ่งว่าจะต้องมีการจับกุม ธัมมชโย อย่างแน่นอน หากยังไม่ยอมมอบตัว เนื่องจากหมดเวลาและเงื่อนไขในการยื้อออกไปอีกแล้ว ขณะเดียวกันหากจับกุมคราวนี้น่า จะเป็นการสนธิกำลังกันระหว่างกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กับ ตำรวจ ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นหลังวันที่ 30 พฤศจิกายน เพราะไม่มีทางเลือกอย่างอื่นแล้ว
**ขณะเดียวกัน หากมีการขัดขืน หรือเกิดเหตุการณ์วุ่นวายระหว่างนั้นฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบและมีความผิดเพิ่มเติมอีกนั้นต้องพิจารณากันอีกเรื่องหนึ่ง แต่การที่ พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ย้ำว่า "ใครขวางจับหมด" ก็อยากรู้เหมือนกันว่า จะมีใครขวางหรือไม่ ซึ่งเชื่อว่าสังคมเฝ้ามองดูอยู่ตลอดเวลา !!
ในเรื่องรายละเอียดของแต่ละคดี เชื่อว่าหลายคนในสังคมนี้ได้รับรู้รับทราบกันไปแล้ว แต่เวลานี้สิ่งที่คนทั่วไปอยากรู้ก็คือ มาตรฐานในการบังคับใช้กฎหมายมันเป็นแบบนี้ได้อย่างไร หรือว่าการ "จับกุม" คุมขังใช้ได้เฉพาะกับบางคนเท่านั้น ขณะที่บางคนกลับได้รับการยกเว้น หรือแม้แต่ผู้กระทำผิด นอนกระดิกเท้าท้าทายกฎหมายและอำนาจรัฐอยู่กลางเมืองได้ด้วยหรือ
คำถามก็คือ การบังคับใช้กฎหมายในประเทศนี้มันผิดเพี้ยนไปแล้วจริงๆ หรือ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในเวลานี้ กับคดีของธัมมชโย เจ้าหน้าที่รับผิดชอบไม่ว่าจะเป็นกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กลับไม่ (กล้า) จับกุมผู้ต้องหา ทั้งที่รู้ว่าผู้ต้องหารายนี้กบดานอยู่ภายในวัดพระธรรมกาย ซึ่งอยู่กลางเมือง แม้ว่าจะคนสงสัยกันว่า ผู้ต้องหาหลบหนีออกไปแล้วก็ตาม แต่ก็มีเสียงยืนยันว่ายังอยู่ ยังไม่ได้หลบหนีไปไหน
**แต่เวลาผ่านมาสี่ห้าเดือนแล้ว ตั้งแต่ถูกออกหมายจับคดีแรกมาจนถึงคดีที่สาม มาจนถึงวันนี้ ก็ยังไม่ได้จับกุม
ก่อนหน้านี้ ทั้งพล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้รับผิดชอบคดีในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่เกี่ยวกับคดีบุกรุกป่าสงวน และ พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ที่รับผิดชอบคดีร่วมกันฟอกเงินและรับของโจร กล่าวทำนองเดียวกันว่า การจับกุม ธัมมชโย เป็นเรื่อง "ละเอียดอ่อน" ต้องพิจารณาให้รอบคอบ ซึ่งแน่นอนว่าคงไม่มีใครเถียง เพราะเห็นแล้วว่าผู้ต้องหารายนี้มีฤทธิ์เดชมาก มีลูกศิษย์บริวารมากมาย การบุกเข้าไปจับกุมไม่ใช่เรื่องง่าย
แต่ขณะเดียวกัน หากพิจารณาในแง่ของกระบวนการทางกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายต้องเสมอภาคกัน จะเลือกปฏิบัติ หรือเลือกดำเนินคดีกับ"บางคน" บางกลุ่มบางพวกเท่านั้น การรีรอหรือเตะถ่วงไม่ดำเนินการให้ครบถ้วนตามกฎหมาย ก็จะยิ่งก่อให้เกิดปัญหาอื่นตามมาอีก รวมไปถึงความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนที่มีต่อรัฐ ต่อเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ต้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ก็จะยิ่งลดน้อยถอยลงไปอีก
แน่นอนว่าการบุกเข้าจับกุม ธัมมชโย ถึงในวัดพระธรรมกาย ไม่ใช่เรื่องง่าย อาจเกิดปัญหาการขัดขืน ขัดขวางจากบรรดาพวกลูกศิษย์ และบริวาร ซึ่งพิจารณาจากท่าทีและความเคลื่อนไหวที่ผ่านมาแล้วก็มีความเป็นไปได้ว่า อาจเกิดความวุ่นวาย หรือเหตุการณ์ไม่คาดหมายได้เหมือนกัน แต่ถึงอย่างไรก็ไม่มีทางเลือกเป็นอย่างอื่น นั่นคือ หากไม่ยอมมอบตัว ก็ต้องเข้าจับกุมสถานเดียวเท่านั้น
จากการให้สัมภาษณ์ก่อนหน้านี้ของ พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่ระบุว่าจะให้เวลา ธัมมชโย มอบตัวภายใน 5 วัน ซึ่งในตอนนั้น ก็คงหมายถึงวันที่ 30 พ.ย.นี้ หากพ้นกำหนดแล้วก็คงบุกเข้าไปจับ แม้จะเคยกล่าวว่า การจับกุมผู้ต้องหารายนี้เป็นเรื่อง "ละเอียดอ่อน" ก็ตาม
ขณะเดียวกันท่าทีจาก พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่งถือว่านาทีนี้เป็นเจ้าของเรื่องโดยตรง เนื่องจากทางสำนักงานอัยการสูงสุดได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าสมควรสั่งฟ้อง ธัมมชโยกับพวกรวม 5 ราย ในคดีร่วมกันรับของโจรและร่วมกันฟอกเงิน แม้ว่าในคำสั่งของพนักงานอัยการ จะมีติ่งห้อยเอาไว้ว่า ให้นำตัวผู้ต้องหามาฟ้องศาล ภายใน 15 ปี ก่อนหมดอายุความ แต่นั่นไม่ใช่หมายความว่า ต้องรอไปถึงสิบๆ ปีไม่ ในเมื่อรู้กันอยู่ว่าผู้ต้องหาหลบหนีหรือกบดานอยู่ที่ใด หากไม่ดำเนินการ มันก็เหมือนกับการ "ละเว้น" การปฏิบัติหน้าที่
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาจากความเป็นไปได้ และจากแรงกดดันจากสังคมที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ทำให้มั่นใจมากขึ้นว่าในที่สุดหาก ธัมมชโย ไม่ยอมมอบตัวเจ้าหน้าที่คงต้องบุกเข้าจับกุมแน่นอน คงไม่มีทางเลือกอื่น เพราะหากไม่ดำเนินการตามกฎหมาย ก็จะทำลายกระบวนการยุติธรรม ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายก็จะเสื่อมถอยลง เพราะนั่นหมายถึงการเลือกปฏิบัติ และไร้มาตรฐาน ถูกมองว่ากฎหมายเลือกใช้บังคับกับคนบางคน หรือบางพวกเท่านั้น
สำหรับ ธัมมชโย ก็เช่นเดียวกัน นาทีนี้ก็หมดเวลาที่จะยื้อเวลาอีกต่อไปไม่ได้แล้ว มีทางเลือกเดียวเท่านั้น คือ มอบตัว หากไม่ยอมมอบตัว ก็ต้องถูกจับกุม จะอ้างเหตุผลอื่นไม่ได้อีกต่อไปแล้ว เพราะนี่คือกระบวนการตามกฎหมาย ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ตามสถานะก็ยังไม่ถือว่ามีความผิดจนกว่าศาลจะตัดสิน แต่เมื่อถูกออกหมายจับโดยศาลถึง 3 ฉบับ ก็ต้องมาต่อสู้กันด้วยพยานหลักฐาน ไม่ใช่อ้างว่าตัวเองไม่มีผิดอยู่ร่ำไปแบบนี้
ดังนั้น หากพิจารณาจากความเคลื่อนไหวที่เป็นอยู่ ก็มีความเป็นไปได้อย่างยิ่งว่าจะต้องมีการจับกุม ธัมมชโย อย่างแน่นอน หากยังไม่ยอมมอบตัว เนื่องจากหมดเวลาและเงื่อนไขในการยื้อออกไปอีกแล้ว ขณะเดียวกันหากจับกุมคราวนี้น่า จะเป็นการสนธิกำลังกันระหว่างกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กับ ตำรวจ ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นหลังวันที่ 30 พฤศจิกายน เพราะไม่มีทางเลือกอย่างอื่นแล้ว
**ขณะเดียวกัน หากมีการขัดขืน หรือเกิดเหตุการณ์วุ่นวายระหว่างนั้นฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบและมีความผิดเพิ่มเติมอีกนั้นต้องพิจารณากันอีกเรื่องหนึ่ง แต่การที่ พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ย้ำว่า "ใครขวางจับหมด" ก็อยากรู้เหมือนกันว่า จะมีใครขวางหรือไม่ ซึ่งเชื่อว่าสังคมเฝ้ามองดูอยู่ตลอดเวลา !!