วานนี้ (24 พ.ย.) ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาให้ นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี อธิบดีกรมชลประทาน และรมว.เกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-4 ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการ หรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพของประชาชนในชุมชน (EHIA)ตามขั้นตอนของ มาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญปี 50 (ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ) ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ก่อนอนุมัติเปิดโครงการเขื่อนแม่วงก์
ทั้งนี้ คดีดังกล่าวสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กับพวกรวม 151 คนได้ยื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องที่ 1-4 ต่อศาลปกครองกลาง ขอให้ศาลเพิกถอนมติครม.เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 55 ที่เห็นชอบการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ พร้อมกับให้ผู้ถูกฟ้องคดีร่วมกันจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศอย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการ โดยการจัดทำประชามติ ตามมาตรา 165 ของรธน.50 รวมทั้งให้ดำเนินการตาม มาตรา 57 ,58 ,67, 85,87 ของรธน.50 ให้ครบถ้วนเสียก่อนการดำเนินโครงการเกี่ยวกับแผนงานการก่อสร้างเขื่อน
ส่วนที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าว ระบุว่า ครม.ได้มีมติเห็นชอบในหลักการการดำเนินงานโครงการเขื่อนแม่วงก์ โดยให้กระทรวงเกษตรฯ จัดทำรายละเอียดต่างๆ ของโครงการ แล้วนำเสนอ คณะกรรมการบริหารน้ำและอุทกภัย (กบอ.) พิจารณาตามขั้นตอน ตามนัยระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยการบริหารน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2555 โดยให้ดำเนินการจัดเตรียมความพร้อมของโครงการคู่ขนานกันไป มติครม.ดังกล่าว จึงไม่ใช่การเห็นชอบ และอนุมัติให้เปิดโครงการเขื่อนแม่วงก์ ตามมาตรา 57 วรรคหนึ่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
นอกจากนี้ การที่ครม.จะมีมติเห็นชอบ และอนุมัติให้เปิดโครงการเขื่อนแม่วงก์ได้ ก็ต่อเมื่อโครงการดังกล่าวได้มีการจัดทำ EHIA ตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรธน.ปี 50 โดยผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก). และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล) แล้ว แต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ปัจจุบันโครงการเขื่อนแม่วงก์ ยังอยู่ในขั้นตอนของคชก. พิจารณารายงานการ EHIA ซึ่งยังไม่ปรากฏว่า คชก. จะเห็นชอบต่อรายงาน EHIA ดังกล่าวหรือไม่ หรืออธิบดีกรมชลประทาน จะต้องปรับปรุงแก้ไข และเสนอข้อมูลเพิ่มเติมต่อ คชก. อีกหรือไม่
กรณีจึงต้องถือว่า มติครม. เมื่อวันที่ 10 เม.ย 55 เป็นเพียงขั้นตอนเตรียมการเพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติให้เปิดดำเนินโครงการเขื่อนแม่วงก์เท่านั้น อีกทั้งยังปรากฏข้อเท็จจริงว่าปัจจุบัน อธิบดีกรมชลประทาน ยังมิได้เสนอเรื่องขออนุมัติเปิดโครงการเขื่อนแม่วงก์ ต่อครม.แต่อย่างใด ดังนั้นการที่ครม.มีมติ เมื่อวันที่ 10 เม.ย.55 เกี่ยวกับการเห็นชอบการดำเนินโครงการเขื่อนแม่วงก์ จึงเป็นการกระทำที่เป็นไปตามตามขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ไม่ถือเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่มีกรณีที่ครม.จะต้องเพิกถอนมติดังกล่าว
ส่วนในประเด็นว่านายกรัฐมนตรี ต้องจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศอย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการโดยการจัดทำประชามติตาม มาตรา165 ของ รธน. 50 ตามพ.ร.ป.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2552 หรือไม่ เห็นว่า ในการจะจัดให้มีการออกเสียงประชามติ ได้ถูกกำหนดอยู่ในหมวดที่ 7 ของรธน.50 อันเป็นเรื่องของการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน โดยรายละเอียดของการลงประชามติ ถูกกำหนดไว้ใน พ.ร.ป.ว่าด้วย การออกเสียงประชามติ พ.ศ.2552 ซึ่งการจะดําเนินการจัดทําประชามติตาม มาตรา 165 ของรธน.50 ได้กำหนดให้นายกฯ โดยความเห็นชอบของครม.ประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีการออกเสียงประชามติ
แต่เมื่อปัจจุบันยังไม่ปรากฏกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีการออกเสียงประชามติเกี่ยวกับการสร้างเขื่อน ประกอบกับโครงการเขื่อนแม่วงก์ เป็นประเภทโครงการที่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ก่อนมีการดำเนินการตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนจะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2553 ซึ่งประกาศดังกล่าว เป็นไปตามบทบัญญัติ มาตรา 67 วรรคสอง ของรธน.50 โครงการเขื่อนแม่วงก์ จึงไม่ใช่โครงการที่ต้องให้จัดทำประชามติตาม มาตรา 165 ของรธน. 50
สำหรับผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ ต้องปฏิบัติ หรือดำเนินการตาม มาตรา 57 ,58 ,67, 85,87 ของรธน.50 ให้ครบถ้วนเสียก่อนการดำเนินโครงการเกี่ยวกับแผนงานการก่อสร้างเขื่อนหรือไม่ ศาลเห็นว่า อธิบดีกรมชลประทาน และ รมว.เกษตรฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ ได้ดำเนินการตามขั้นตอนการพิจารณาตามนัย มาตรา 67 วรรคสอง ของรธน.50 แล้ว แต่ขั้นตอนตาม มาตรา 67 วรรคสองดังกล่าว ยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ เนื่องจากเมื่อรายงาน EHIA หากผ่านความเห็นชอบของ คชก. และ กก.วล. แล้ว สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะต้องส่งรายงาน EHIA ให้องค์กรอิสระพิจารณาให้ความเห็นต่อโครงการด้วย ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย ก่อนที่จะเสนอครม.อนุมัติต่อไป เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า อธิบดีกรมชลประทานได้ดำเนินการจัดส่งรายงาน EHIA เสนอต่อสำนักนโยบายและ แผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่อเสนอต่อ คชก. และ กก.วล. แล้วก็ตาม แต่รายงาน EHIAยังคงอยู่ขั้นตอนการพิจารณาของคชก. ซึ่งยังไม่อาจคาดการณ์ได้ว่า รายงาน EHIA จะผ่านความเห็นชอบของ คชก. และกก.วล. หรือไม่ อีกทั้งยังมีขั้นตอนที่ต้องส่งรายงาน EHIA ให้องค์การอิสระฯ พิจารณาให้ความเห็นประกอบก่อนเสนอครม. พิจารณาอนุมัติต่อไปอีก จึงถือว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ ดำเนินการตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรธน.50 ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์
ทั้งนี้ คดีดังกล่าวสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กับพวกรวม 151 คนได้ยื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องที่ 1-4 ต่อศาลปกครองกลาง ขอให้ศาลเพิกถอนมติครม.เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 55 ที่เห็นชอบการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ พร้อมกับให้ผู้ถูกฟ้องคดีร่วมกันจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศอย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการ โดยการจัดทำประชามติ ตามมาตรา 165 ของรธน.50 รวมทั้งให้ดำเนินการตาม มาตรา 57 ,58 ,67, 85,87 ของรธน.50 ให้ครบถ้วนเสียก่อนการดำเนินโครงการเกี่ยวกับแผนงานการก่อสร้างเขื่อน
ส่วนที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าว ระบุว่า ครม.ได้มีมติเห็นชอบในหลักการการดำเนินงานโครงการเขื่อนแม่วงก์ โดยให้กระทรวงเกษตรฯ จัดทำรายละเอียดต่างๆ ของโครงการ แล้วนำเสนอ คณะกรรมการบริหารน้ำและอุทกภัย (กบอ.) พิจารณาตามขั้นตอน ตามนัยระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยการบริหารน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2555 โดยให้ดำเนินการจัดเตรียมความพร้อมของโครงการคู่ขนานกันไป มติครม.ดังกล่าว จึงไม่ใช่การเห็นชอบ และอนุมัติให้เปิดโครงการเขื่อนแม่วงก์ ตามมาตรา 57 วรรคหนึ่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
นอกจากนี้ การที่ครม.จะมีมติเห็นชอบ และอนุมัติให้เปิดโครงการเขื่อนแม่วงก์ได้ ก็ต่อเมื่อโครงการดังกล่าวได้มีการจัดทำ EHIA ตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรธน.ปี 50 โดยผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก). และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล) แล้ว แต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ปัจจุบันโครงการเขื่อนแม่วงก์ ยังอยู่ในขั้นตอนของคชก. พิจารณารายงานการ EHIA ซึ่งยังไม่ปรากฏว่า คชก. จะเห็นชอบต่อรายงาน EHIA ดังกล่าวหรือไม่ หรืออธิบดีกรมชลประทาน จะต้องปรับปรุงแก้ไข และเสนอข้อมูลเพิ่มเติมต่อ คชก. อีกหรือไม่
กรณีจึงต้องถือว่า มติครม. เมื่อวันที่ 10 เม.ย 55 เป็นเพียงขั้นตอนเตรียมการเพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติให้เปิดดำเนินโครงการเขื่อนแม่วงก์เท่านั้น อีกทั้งยังปรากฏข้อเท็จจริงว่าปัจจุบัน อธิบดีกรมชลประทาน ยังมิได้เสนอเรื่องขออนุมัติเปิดโครงการเขื่อนแม่วงก์ ต่อครม.แต่อย่างใด ดังนั้นการที่ครม.มีมติ เมื่อวันที่ 10 เม.ย.55 เกี่ยวกับการเห็นชอบการดำเนินโครงการเขื่อนแม่วงก์ จึงเป็นการกระทำที่เป็นไปตามตามขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ไม่ถือเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่มีกรณีที่ครม.จะต้องเพิกถอนมติดังกล่าว
ส่วนในประเด็นว่านายกรัฐมนตรี ต้องจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศอย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการโดยการจัดทำประชามติตาม มาตรา165 ของ รธน. 50 ตามพ.ร.ป.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2552 หรือไม่ เห็นว่า ในการจะจัดให้มีการออกเสียงประชามติ ได้ถูกกำหนดอยู่ในหมวดที่ 7 ของรธน.50 อันเป็นเรื่องของการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน โดยรายละเอียดของการลงประชามติ ถูกกำหนดไว้ใน พ.ร.ป.ว่าด้วย การออกเสียงประชามติ พ.ศ.2552 ซึ่งการจะดําเนินการจัดทําประชามติตาม มาตรา 165 ของรธน.50 ได้กำหนดให้นายกฯ โดยความเห็นชอบของครม.ประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีการออกเสียงประชามติ
แต่เมื่อปัจจุบันยังไม่ปรากฏกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีการออกเสียงประชามติเกี่ยวกับการสร้างเขื่อน ประกอบกับโครงการเขื่อนแม่วงก์ เป็นประเภทโครงการที่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ก่อนมีการดำเนินการตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนจะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2553 ซึ่งประกาศดังกล่าว เป็นไปตามบทบัญญัติ มาตรา 67 วรรคสอง ของรธน.50 โครงการเขื่อนแม่วงก์ จึงไม่ใช่โครงการที่ต้องให้จัดทำประชามติตาม มาตรา 165 ของรธน. 50
สำหรับผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ ต้องปฏิบัติ หรือดำเนินการตาม มาตรา 57 ,58 ,67, 85,87 ของรธน.50 ให้ครบถ้วนเสียก่อนการดำเนินโครงการเกี่ยวกับแผนงานการก่อสร้างเขื่อนหรือไม่ ศาลเห็นว่า อธิบดีกรมชลประทาน และ รมว.เกษตรฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ ได้ดำเนินการตามขั้นตอนการพิจารณาตามนัย มาตรา 67 วรรคสอง ของรธน.50 แล้ว แต่ขั้นตอนตาม มาตรา 67 วรรคสองดังกล่าว ยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ เนื่องจากเมื่อรายงาน EHIA หากผ่านความเห็นชอบของ คชก. และ กก.วล. แล้ว สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะต้องส่งรายงาน EHIA ให้องค์กรอิสระพิจารณาให้ความเห็นต่อโครงการด้วย ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย ก่อนที่จะเสนอครม.อนุมัติต่อไป เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า อธิบดีกรมชลประทานได้ดำเนินการจัดส่งรายงาน EHIA เสนอต่อสำนักนโยบายและ แผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่อเสนอต่อ คชก. และ กก.วล. แล้วก็ตาม แต่รายงาน EHIAยังคงอยู่ขั้นตอนการพิจารณาของคชก. ซึ่งยังไม่อาจคาดการณ์ได้ว่า รายงาน EHIA จะผ่านความเห็นชอบของ คชก. และกก.วล. หรือไม่ อีกทั้งยังมีขั้นตอนที่ต้องส่งรายงาน EHIA ให้องค์การอิสระฯ พิจารณาให้ความเห็นประกอบก่อนเสนอครม. พิจารณาอนุมัติต่อไปอีก จึงถือว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ ดำเนินการตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรธน.50 ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์