นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ ประธานสภาพัฒนาการเมือง (สพม.) กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดทำประเด็น และสาระสำคัญของ ร่าง พ.ร.ป.ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งทั้ง 4 ฉบับ เพื่อเสนอต่อ กรธ.ว่า ทางสพม.ได้ดำเนินการใน 3 ส่วน ประกอบด้วยการร่วมมือกับทางนิด้าโพล ในการไปสอบถามคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ ร่างฯ พ.ร.ป.ทั้ง 4 ฉบับ จำนวน 7,500 ชุด โดยจะสรุปผลในวันที่ 11พ.ย.นี้ รวมถึงการรับฟังความคิดเห็นประชาชนซึ่งดำเนินการโดยคณะกรรมประสานงานระดับกลุ่มจังหวัด 18 กลุ่ม ก็จะมีการสรุปผลกลับมาในวันที่11 พ.ย. เช่นกัน
นอกจากนี้จะมีการจัดกิจกรรมโฟกัสกรุ๊ป เพื่อระดมความเห็นจากบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งนักการเมือง อดีต ส.ว. องค์กรอิสระ ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน ที่จะจัดในวันที่ 14 พ.ย. เวลา 09.00 น. เมื่อได้ข้อสรุปแล้วก็จะมีการนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมสพม. เพื่อรับทราบ ก่อนนำเสนอต่อ กรธ.ต่อไป
เมื่อถามว่า การเขียนกฎหมายของกรธ. ที่มีลักษณะจำกัด และคุมเข้มกลุ่มการเมือง จะส่งผลดีต่อการเมืองในอนาคตอย่างไร นายธีรภัทร์ กล่าวว่า ตนยังไม่รู้ว่ามีการจำกัดไว้อย่างไรบ้าง ซึ่งในเรื่องนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่เราได้ไปสอบถามประชาชน และจะนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการทำโฟกัสกรุ๊ปที่ สพม.จะจัดขึ้นด้วย ส่วนการกำหนดบทลงโทษถึงขั้นตัดสิทธิ์ทางการเมืองนั้น เรื่องนี้ต้องดูระดับความรุนแรงว่ามีการกำหนดไว้มากน้อยเพียงใด แต่ที่ผ่านมามีการกำหนดโทษไว้ 5 ปี ก็ดูเหมือนนักการเมืองจะไม่เข็ด การจะมากำหนดเพิ่มถึงขั้นตัดสิทธิ์ทางการเมืองควรต้องดูขนาดความรุนแรง ว่าเราจะให้โอกาสคนขนาดไหน
"ส่วนตัวผมมองว่า ใครที่จะมาเป็น ส.ส. ,ส.ว. หรือ รัฐมนตรี ควรที่จะเข้ามาด้วยความสุจริต ทั้งทางกาย ใจ และวาจา ไม่ควรมาเพื่อวางแผนหรือกอบโกย ถ้าการได้มาซึ่งตำแหน่งหน้าที่โดยไม่สุจริต ก็ไม่ควรเข้ามา เพราะจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเมือง" นายธีรภัทร์ กล่าว
สำหรับแนวคิดในการเซตซีโร องค์กรอิสระนั้น ตนยังไม่รู้ว่ารธน.ใหม่ เมื่อมีผลใช้บังคับ จะมีผลอย่างไรกับผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ถ้ามีการกำหนดคุณสมบัติ อำนาจหน้าที่ใหม่ และมีผลต่อคุณสมบัติของผู้ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ ก็อาจจะต้องเซตซีโร แต่ถ้าไม่ได้มีอะไรที่มีผลกับผู้ที่ทำหน้าที่อยู่ ก็ไม่จำเป็นต้องเซตซีโร แต่ทั้งนี้ก็คงต้องไปดูในหลักการและแนวทางที่กำหนดไว้
นอกจากนี้จะมีการจัดกิจกรรมโฟกัสกรุ๊ป เพื่อระดมความเห็นจากบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งนักการเมือง อดีต ส.ว. องค์กรอิสระ ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน ที่จะจัดในวันที่ 14 พ.ย. เวลา 09.00 น. เมื่อได้ข้อสรุปแล้วก็จะมีการนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมสพม. เพื่อรับทราบ ก่อนนำเสนอต่อ กรธ.ต่อไป
เมื่อถามว่า การเขียนกฎหมายของกรธ. ที่มีลักษณะจำกัด และคุมเข้มกลุ่มการเมือง จะส่งผลดีต่อการเมืองในอนาคตอย่างไร นายธีรภัทร์ กล่าวว่า ตนยังไม่รู้ว่ามีการจำกัดไว้อย่างไรบ้าง ซึ่งในเรื่องนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่เราได้ไปสอบถามประชาชน และจะนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการทำโฟกัสกรุ๊ปที่ สพม.จะจัดขึ้นด้วย ส่วนการกำหนดบทลงโทษถึงขั้นตัดสิทธิ์ทางการเมืองนั้น เรื่องนี้ต้องดูระดับความรุนแรงว่ามีการกำหนดไว้มากน้อยเพียงใด แต่ที่ผ่านมามีการกำหนดโทษไว้ 5 ปี ก็ดูเหมือนนักการเมืองจะไม่เข็ด การจะมากำหนดเพิ่มถึงขั้นตัดสิทธิ์ทางการเมืองควรต้องดูขนาดความรุนแรง ว่าเราจะให้โอกาสคนขนาดไหน
"ส่วนตัวผมมองว่า ใครที่จะมาเป็น ส.ส. ,ส.ว. หรือ รัฐมนตรี ควรที่จะเข้ามาด้วยความสุจริต ทั้งทางกาย ใจ และวาจา ไม่ควรมาเพื่อวางแผนหรือกอบโกย ถ้าการได้มาซึ่งตำแหน่งหน้าที่โดยไม่สุจริต ก็ไม่ควรเข้ามา เพราะจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเมือง" นายธีรภัทร์ กล่าว
สำหรับแนวคิดในการเซตซีโร องค์กรอิสระนั้น ตนยังไม่รู้ว่ารธน.ใหม่ เมื่อมีผลใช้บังคับ จะมีผลอย่างไรกับผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ถ้ามีการกำหนดคุณสมบัติ อำนาจหน้าที่ใหม่ และมีผลต่อคุณสมบัติของผู้ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ ก็อาจจะต้องเซตซีโร แต่ถ้าไม่ได้มีอะไรที่มีผลกับผู้ที่ทำหน้าที่อยู่ ก็ไม่จำเป็นต้องเซตซีโร แต่ทั้งนี้ก็คงต้องไปดูในหลักการและแนวทางที่กำหนดไว้