ผู้จัดการรายวัน 360 - ผบ.ทบ.เปิดป้าย “ศูนย์ไซเบอร์กองทัพบก” หวังปกป้องหน่วยงานถูกแฮกเกอร์แทรกแซง พร้อมเกาะติดพวกบิดเบือน เตือนชาวบ้านแชร์ไลน์ต่อทำชาติเสียหาย ลั่นเรื่องไหนหมิ่นสถาบันฯ ต้องดำเนินการตาม ม.112 ขณะที่ “ทูตดอน” เชื่อ “ยูเอ็น” ไม่ปกป้องแก๊งหมิ่น แจงแต่ละชาติมีขั้นตอนส่งผู้ร้ายข้ามแดน
วานนี้ (1 พ.ย.) เมื่อเวลา 07.30 น. ที่ กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) ถ.ราชดำเนิน พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เป็นประธานพิธีเปิดแพรคลุมป้าย “ศูนย์ไซเบอร์กองทัพบก” ซึ่งเปลี่ยนชื่อจากเดิมคือ ศูนย์เทคโนโลยีทางทหาร โดยพล.อ.เฉลิมชัย กล่าวว่า กองทัพบกให้ความสำคัญเรื่องการดูแลภัยคุกคามด้านไซเบอร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานพัฒนากองทัพบกให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับหน่วยอื่น อีกทั้งยังเป็นการปกป้องหน่วยงาน โดยเฉพาะการถูกแฮกเกอร์ต่างๆ แทรกแซง รวมถึงเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับกองอำนวยการข่าวสารที่มีการแต่งตั้งไว้แล้ว และยังมีเรื่องที่น่าเป็นห่วงคือการเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงซึ่งเป็นลักษณะของการประชาสัมพันธ์จากฝ่ายตรงข้ามจนมีการนำไปสื่อสารกันต่อโดยขาดข้อเท็จจริง
เมื่อถามถึงการติดตามกลุ่มคนที่โพสต์ข้อความเข้าข่ายผิดกฎหมายประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 พล.อ.เฉลิมชัยกล่าวว่า ศูนย์ไซเบอร์กองทัพบก จะทำหน้าที่ติดตามการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของผู้ที่บิดเบือนทั้งภายในและภายนอกประเทศซึ่งพบว่ายังมีอยู่มาก ดังนั้นจึงต้องใช้กลไกดังกล่าวในการสร้างความเข้าใจให้พี่น้องประชาชน
“อยากให้ประชาชนตระหนักเรื่องการรับฟังข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะการแชร์และส่งต่อข้อมูลบางครั้งอาจไม่ใช่ข้อเท็จจริง และจะไปสร้างความเสียหายให้บุคคลและประเทศชาติ โดยเฉพาะการใช้แอปพลิเคชันไลน์ที่ต้องใช้วิจารณญาณในการไตร่ตรอง” พล.อ.เฉลิมชัย ระบุ
** “ดอน” ชี้นานาชาติรังเกียจแก๊งหมิ่นฯ
ด้าน นายดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.ต่างประเทศ ในฐานะคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาคดีความมั่นคงในราชอาณาจักร หรือคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงการประสานกับต่างประเทศเรื่องขอส่งตัวผู้ที่กระทำความผิดคดีหมิ่นสถาบันฯว่า ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของประเทศนั้นๆ ว่าจะใช้เวลาพิจารณามากน้อยเพียงใด รวมถึงมีขั้นตอนการดำเนินการเรื่องต่างๆอย่างไร หากประเทศไทยและประเทศนั้นๆ มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนร่วมกันก็จะทำให้การดำเนินการง่ายขึ้น แต่ในความเป็นจริงไม่ได้ง่ายนัก เพราะยังต้องผ่านกระบวนการพิจารณาตามขั้นตอนอีกมาก แต่ตนเชื่อว่าไม่มีประเทศใดอยากให้คนที่มีปัญหามีอยู่ในบ้านเมืองของเขา โดยเฉพาะถ้ามาอยู่แล้วสร้างปัญหาเพิ่มเติม
“คนที่สร้างปัญหาภายใต้เงื่อนไขของปัญหานี้เป็นคนเพียงหยิบมือเดียว เพราะฉะนั้นเวทีโลกอย่างองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เขารู้ดี และไม่ได้คิดจะปกป้องคนเหล่านี้ แต่ต้องดำเนินการตามขั้นตอนและกฎหมายซึ่งหลายๆ ประเทศมีสิทธิสัญญากฎหมายส่งผู้ร้าย กฎหมายอาญา กฎหมายแลกเปลี่ยนนักโทษ ฉะนั้นแต่ละฝ่ายจึงต้องร่วมมือกัน” นายดอน กล่าว
เมื่อถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่กัมพูชาจะเป็นประเทศแรกที่ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนให้ไทย นายดอน ตอบว่า เรื่องดังกล่าวคงต้องถามทางกัมพูชา ส่วนเราก็ทำงานของเราอยู่ คงไม่ไปอ่านเกมล่วงหน้าว่าประเทศใดจะเป็นประเทศแรกที่ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนให้เราและไม่อยากให้โยงเรื่องภาวะบ้านเมืองเราในขณะนี้ที่เกิดการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ แล้วประเทศเหล่านั้นต้องให้ความร่วมมือ เพราะเรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นก่อนหน้านี้มานานแล้ว
** “เฟซบุ๊ก” ตอบรับแล้ว-รอนัดคุย
ด้าน พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าในการขอความร่วมมือไปยังผู้บริหารทางเฟซบุ๊กในการดำเนินการเพื่อหาแนวทางการป้องกันและปราบปรามการโพสต์ข้อความที่หมิ่นสถาบันและกระทบต่อความมั่นคง หลังผู้ประกอบการโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คหลายราย อาทิ กูเกิล ยูทูป และแอปพิเคชั่นไลน์ ให้ความร่วมมือมาแล้วว่า ขณะนี้ทาง เฟซบุ๊ก ได้ส่งจดหมายตอบกลับในเชิงบวกมาแล้วและจะมีการนัดหมายวันเวลาและสถานที่เพื่อหารือร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง
วานนี้ (1 พ.ย.) เมื่อเวลา 07.30 น. ที่ กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) ถ.ราชดำเนิน พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เป็นประธานพิธีเปิดแพรคลุมป้าย “ศูนย์ไซเบอร์กองทัพบก” ซึ่งเปลี่ยนชื่อจากเดิมคือ ศูนย์เทคโนโลยีทางทหาร โดยพล.อ.เฉลิมชัย กล่าวว่า กองทัพบกให้ความสำคัญเรื่องการดูแลภัยคุกคามด้านไซเบอร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานพัฒนากองทัพบกให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับหน่วยอื่น อีกทั้งยังเป็นการปกป้องหน่วยงาน โดยเฉพาะการถูกแฮกเกอร์ต่างๆ แทรกแซง รวมถึงเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับกองอำนวยการข่าวสารที่มีการแต่งตั้งไว้แล้ว และยังมีเรื่องที่น่าเป็นห่วงคือการเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงซึ่งเป็นลักษณะของการประชาสัมพันธ์จากฝ่ายตรงข้ามจนมีการนำไปสื่อสารกันต่อโดยขาดข้อเท็จจริง
เมื่อถามถึงการติดตามกลุ่มคนที่โพสต์ข้อความเข้าข่ายผิดกฎหมายประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 พล.อ.เฉลิมชัยกล่าวว่า ศูนย์ไซเบอร์กองทัพบก จะทำหน้าที่ติดตามการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของผู้ที่บิดเบือนทั้งภายในและภายนอกประเทศซึ่งพบว่ายังมีอยู่มาก ดังนั้นจึงต้องใช้กลไกดังกล่าวในการสร้างความเข้าใจให้พี่น้องประชาชน
“อยากให้ประชาชนตระหนักเรื่องการรับฟังข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะการแชร์และส่งต่อข้อมูลบางครั้งอาจไม่ใช่ข้อเท็จจริง และจะไปสร้างความเสียหายให้บุคคลและประเทศชาติ โดยเฉพาะการใช้แอปพลิเคชันไลน์ที่ต้องใช้วิจารณญาณในการไตร่ตรอง” พล.อ.เฉลิมชัย ระบุ
** “ดอน” ชี้นานาชาติรังเกียจแก๊งหมิ่นฯ
ด้าน นายดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.ต่างประเทศ ในฐานะคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาคดีความมั่นคงในราชอาณาจักร หรือคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงการประสานกับต่างประเทศเรื่องขอส่งตัวผู้ที่กระทำความผิดคดีหมิ่นสถาบันฯว่า ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของประเทศนั้นๆ ว่าจะใช้เวลาพิจารณามากน้อยเพียงใด รวมถึงมีขั้นตอนการดำเนินการเรื่องต่างๆอย่างไร หากประเทศไทยและประเทศนั้นๆ มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนร่วมกันก็จะทำให้การดำเนินการง่ายขึ้น แต่ในความเป็นจริงไม่ได้ง่ายนัก เพราะยังต้องผ่านกระบวนการพิจารณาตามขั้นตอนอีกมาก แต่ตนเชื่อว่าไม่มีประเทศใดอยากให้คนที่มีปัญหามีอยู่ในบ้านเมืองของเขา โดยเฉพาะถ้ามาอยู่แล้วสร้างปัญหาเพิ่มเติม
“คนที่สร้างปัญหาภายใต้เงื่อนไขของปัญหานี้เป็นคนเพียงหยิบมือเดียว เพราะฉะนั้นเวทีโลกอย่างองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เขารู้ดี และไม่ได้คิดจะปกป้องคนเหล่านี้ แต่ต้องดำเนินการตามขั้นตอนและกฎหมายซึ่งหลายๆ ประเทศมีสิทธิสัญญากฎหมายส่งผู้ร้าย กฎหมายอาญา กฎหมายแลกเปลี่ยนนักโทษ ฉะนั้นแต่ละฝ่ายจึงต้องร่วมมือกัน” นายดอน กล่าว
เมื่อถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่กัมพูชาจะเป็นประเทศแรกที่ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนให้ไทย นายดอน ตอบว่า เรื่องดังกล่าวคงต้องถามทางกัมพูชา ส่วนเราก็ทำงานของเราอยู่ คงไม่ไปอ่านเกมล่วงหน้าว่าประเทศใดจะเป็นประเทศแรกที่ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนให้เราและไม่อยากให้โยงเรื่องภาวะบ้านเมืองเราในขณะนี้ที่เกิดการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ แล้วประเทศเหล่านั้นต้องให้ความร่วมมือ เพราะเรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นก่อนหน้านี้มานานแล้ว
** “เฟซบุ๊ก” ตอบรับแล้ว-รอนัดคุย
ด้าน พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าในการขอความร่วมมือไปยังผู้บริหารทางเฟซบุ๊กในการดำเนินการเพื่อหาแนวทางการป้องกันและปราบปรามการโพสต์ข้อความที่หมิ่นสถาบันและกระทบต่อความมั่นคง หลังผู้ประกอบการโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คหลายราย อาทิ กูเกิล ยูทูป และแอปพิเคชั่นไลน์ ให้ความร่วมมือมาแล้วว่า ขณะนี้ทาง เฟซบุ๊ก ได้ส่งจดหมายตอบกลับในเชิงบวกมาแล้วและจะมีการนัดหมายวันเวลาและสถานที่เพื่อหารือร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง