จากกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ได้มี คำสั่ง คสช.ที่ 54/2559 เรื่องการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสภาการศึกษาโรงเรียนนายร้อยตำรวจ (รร.นรต.) และการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจ ซึ่งมีสาระสำคัญในการแต่งตั้งคณะกรรมการสภาการศึกษาชุดใหม่ เมื่อวันที่ 9 ก.ย.ที่ผ่านมานั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มบุคคลในนาม“ผู้ไม่ได้มีส่วนได้เสีย”ได้มีการตั้งข้อสังเกตว่า พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสภาการศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของ รร.นรต. ในครั้งนี้ด้วย อาจขาดคุณสมบัติการดำรงตำแหน่งรองประธาน กสทช.และประธาน กทค. ตามที่พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ระบุไว้ในมาตรา 8 ว่า กรรมการ กสทช. ต้อง 1.ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ 2. ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น และไม่เป็นกรรมการหรือที่ปรึกษาของรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานของรัฐ 3. ไม่ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอิสระอื่นใดที่มีส่วนได้เสียหรือมีผลประโยชน์ขัดแย้งไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมกับการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งกรรมการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การที่ พ.อ.เศรษฐพงค์ รับตำแหน่ง กรรมการสภาการศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของรร.นรต. จึงเข้าข่าย ขัดมาตรา 8 ของ พ.ร.บ.กสทช. ทั้งในข้อ 2 ที่ว่า ต้องไม่เป็นกรรมการ หรือที่ปรึกษาของรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานของรัฐ อีกทั้งที่ผ่านมารร.นรต. โดย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ก็มีการขออนุญาตใช้คลื่นความถี่ จาก กสทช.ใช้งานโดยตลอด จึงอาจส่งผลให้มีผลประโยชน์โดยตรงโดยอ้อมระหว่าง 2 หน่วยงานได้
ทั้งนี้ได้มีการทำหนังสือยื่นไปถึง พล.อ.ประยุทธ์ เพื่อให้ทบทวนการแต่งตั้ง พ.อ.เศรษฐพงศ์ เป็นกรรมการสภาการศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของ รร.นรต.แล้ว โดยหนังสือได้ลงท้ายว่า “แค่อยากเห็นนายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ตรวจสอบบุคคลให้รอบด้านก่อนแต่งตั้ง เพื่อความเหมาะสมและชอบธรรม”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มบุคคลในนาม“ผู้ไม่ได้มีส่วนได้เสีย”ได้มีการตั้งข้อสังเกตว่า พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสภาการศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของ รร.นรต. ในครั้งนี้ด้วย อาจขาดคุณสมบัติการดำรงตำแหน่งรองประธาน กสทช.และประธาน กทค. ตามที่พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ระบุไว้ในมาตรา 8 ว่า กรรมการ กสทช. ต้อง 1.ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ 2. ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น และไม่เป็นกรรมการหรือที่ปรึกษาของรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานของรัฐ 3. ไม่ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอิสระอื่นใดที่มีส่วนได้เสียหรือมีผลประโยชน์ขัดแย้งไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมกับการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งกรรมการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การที่ พ.อ.เศรษฐพงค์ รับตำแหน่ง กรรมการสภาการศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของรร.นรต. จึงเข้าข่าย ขัดมาตรา 8 ของ พ.ร.บ.กสทช. ทั้งในข้อ 2 ที่ว่า ต้องไม่เป็นกรรมการ หรือที่ปรึกษาของรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานของรัฐ อีกทั้งที่ผ่านมารร.นรต. โดย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ก็มีการขออนุญาตใช้คลื่นความถี่ จาก กสทช.ใช้งานโดยตลอด จึงอาจส่งผลให้มีผลประโยชน์โดยตรงโดยอ้อมระหว่าง 2 หน่วยงานได้
ทั้งนี้ได้มีการทำหนังสือยื่นไปถึง พล.อ.ประยุทธ์ เพื่อให้ทบทวนการแต่งตั้ง พ.อ.เศรษฐพงศ์ เป็นกรรมการสภาการศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของ รร.นรต.แล้ว โดยหนังสือได้ลงท้ายว่า “แค่อยากเห็นนายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ตรวจสอบบุคคลให้รอบด้านก่อนแต่งตั้ง เพื่อความเหมาะสมและชอบธรรม”