ในสภาพปัจจุบันความเชื่อมั่น เชื่อใจ เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้การทำงานของรัฐบาลผ่านไปได้อย่างบรรลุผล ที่ผ่านมารัฐบาลภายใต้การดูแลของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องประสบกับปัญหาหลายๆ เหตุการณ์ล้วนมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่น และเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ต่อการบริหารงานของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนสู่“รัฐบาล”ซึ่งเป็นหลักในการบริหารประเทศ "สวนดุสิตโพล"ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,287 คน ระหว่างวันที่ 3-8 ต.ค.59 สรุปผลได้ ดังนี้
1. สิ่งที่ประชาชน “เชื่อใจ”รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ คือ อันดับ 1 ตัวนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 74.36% เพราะ มีความเป็นผู้นำ ซื่อสัตย์ จงรักภักดี พูดจริงทำจริง มีความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อประโยชน์ของบ้านเมืองและส่วนรวม ฯลฯ อันดับ 2 การแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน จัดระเบียบสังคม 72.57% เพราะ มีผลงานให้เห็นต่อเนื่อง เห็นถึงความตั้งใจในการทำงาน เจ้าหน้าที่เคร่งครัด ปัญหาที่สะสมมานานถูกแก้ไข มีอำนาจพิเศษ ฯลฯ อันดับ 3เป็นรัฐบาลทหารที่ไม่มีนักการเมืองมาร่วม 61.85% เพราะไม่มีนักการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำงานสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีความเด็ดขาด ทำงานเพื่อประเทศชาติและประชาชน ฯลฯ
ส่วนที่ประชาชน “เชื่อใจ”และ “ไม่เชื่อ”อะไร ? ในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ นั้น
2. สิ่งที่ประชาชน“ไม่เชื่อใจ”รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ คือ อันดับ 1ยังไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ 78.09% เพราะ ธุรกิจการค้า การลงทุนซบเซา ประชาชนยังมีความเป็นอยู่ลำบาก ต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ข้าวของแพง ฯลฯ อันดับ 2 การสร้างความปรองดองในบ้านเมือง 67.60% เพราะ เป็นปัญหาที่สะสมมานาน แก้ไขได้ยาก ยังมีความขัดแย้งให้เห็น มีการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกัน มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ฯลฯ อันดับ 3 ความซื่อสัตย์สุจริต65.73% เพราะ มีข่าวให้เห็นมากขึ้นเกี่ยวกับการทุจริต การใช้จ่ายงบประมาณที่ไม่เหมาะสม เช่น โครงการอุทยานราชภักดิ์ ทริปฮาวาย ฯลฯ อันดับ 4การใช้อำนาจพิเศษ 55.94% เพราะ มีการใช้มาตรา 44 บ่อยครั้ง เกิดความไม่เป็นธรรม กังวลว่าอาจกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ บางเรื่องอาจไม่ได้มีการตรวจสอบเพียงพอ ฯลฯ
3.โดยภาพรวมแล้วประชาชน“เชื่อใจ”รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ มากน้อยเพียงใด อันดับ 1 ค่อนข้างเชื่อใจ 40.56% เพราะ รัฐบาลมุ่งมั่นในการบริหารประเทศ ตั้งใจแก้ปัญหาบ้านเมือง มีคณะทำงานที่มีความรู้ความสามารถ เชื่อใจในตัวนายกฯ มีความเด็ดขาด ฯลฯ อันดับ 2ไม่ค่อยเชื่อใจ 24.01% เพราะ สถานการณ์บ้านเมืองยังไม่ดีขึ้น มีแต่ความขัดแย้งและหวังผลประโยชน์ ยังไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ ประชาชนเดือดร้อน ค่าครองชีพสูง ฯลฯ อันดับ 3เชื่อใจ 20.51% เพราะ มีผลงานให้เห็นเป็นรูปธรรม แก้ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น จัดระเบียบสังคม รัฐบาลมีเสถียรภาพ กำลังจะมีการเลือกตั้ง ฯลฯ อันดับ 4 ไม่เชื่อใจ 14.92% เพราะเป็นรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ไม่สามารถตรวจสอบได้ มีกระแสข่าวเชิงลบ เช่น การใช้งบประมาณต่าง ๆ ฯลฯ
**นายกฯเปิดประชุมภาคธุกิจเอซีดี
วานนี้ (9ต.ค.) ที่โรงแรมพลาซ่าแอทธินี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. เป็นประธานเปิดการประชุมภาคธุรกิจในกรอบความร่วมมือเอเชียครั้งแรก(ACD Connect 2016)ในหัวข้อบทบาทสำคัญของภาคธุรกิจต่อวิวัฒนาการของ ACD โดยมีตัวแทนภาคเอกชนประเทศสมาชิกเข้าร่วม
นายกฯ กล่าว ตอนหนึ่งว่า ในนามรัฐบาล คนไทยทั้งประเทศ ขอต้อนรับสมาชิก 34 ประเทศ มาพูดคุยเรื่องธุรกิจ นำจุดแข็งที่หลากหลายของเอเชีย ผนึกพลังขับเคลื่อนอย่างยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ภาคเอกชนถือเป็นพลังสำคัญในการสร้างพลวัตใหม่ ท่ามกลางความผันผวนและความท้าทายต่างๆ ต้องดึงเอาศักยภาพที่หลากหลายของเอเชียออกมาอย่างสร้างสรรค์ เชื่อมโยงระหว่างประชาชนกับประชาชน นำสู่การปฏิบัติให้เร็วที่สุด โดยกำหนดโรดแมป หากิจกรรมเริ่มต้นให้ได้ ในปีนี้ และอีก 20 ปีข้างหน้า ถ้าเราถอดสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ก็จะเหมือนเดิม ประชุมไปไม่ได้ผลเชิงปฏิบัติ ก็ไม่เกิดความร่วมมือ เกิดความขัดแย้ง จะทำอะไรไม่ได้เลย ดังนั้น บนความคิดที่แตกต่าง ต้องทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการแก้ไข และการปฏิรูป
ทั้งนี้ ไม่มีประเทศไหนขับเคลื่อนได้เพียงรัฐบาล ต้องมีภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมโดยรัฐบาลอำนวยความสะดวก กฎ กติกา ระเบียบ กำจัดอุปสรรค เปิดเส้นทางการค้ากับประเทศต่างๆ หากิจกรรมให้เจอไม่มองการแข่งขันอย่างเดียว การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นการลงทุนในระยะยาวที่มีผลตอบแทนชัดเจน ในการลดต้นทุนการขนส่งสินค้า และคน เผยแพร่ความรู้ การกระจายสวัสดิการ ยกระดับความเป็นอยู่อย่างทั่วถึง และลดความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาประเทศ ดึงดูดเงินทุนที่มีอยู่มากในเอเชียเพื่อตอบโจทย์ความต้องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคได้อย่างเพียงพอ สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละประเทศ ข้อจำกัดของพื้นที่ สำหรับเรื่องประชาธิปไตย ประเทศอื่นเขาผ่านมาก่อนประเทศไทย และขณะที่ประเทศไทยยังก้าวข้ามไม่พ้นกับดักรายได้ปานกลาง ซึ่งติดกับดักทั้งในและต่างประเทศ ทุกประเทศที่พัฒนาแล้วก็มีปัญหา เพราะการบริหารราชการแผ่นดินมีความแตกต่างหลายระบอบ หลายวิธีการ แต่ปัญหาอยู่ที่ประชาชนจะร่วมมือหรือไม่เท่านั้น
**ตั้งเป้าอนาคตไทยเป็นสังคมไร้เงินสด
ประเทศไทยมีแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งให้ความสำคัญกับการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ผ่านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อยกระดับภาคการผลิต และบริการไปสู่ประเทศไทย 4.0 กำหนดสาขาอุตสาหกรรมแห่งอนาคต จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปรับปรุงระบบ บริหารราชการ และปฏิรูปกฎระเบียบต่างๆ ไปพร้อมกับการเร่งยกระดับความเชื่อมโยงทางโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้ครอบคลุม ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ทั้งภายในประเทศและเชื่อมโยงกับประเทศสมาชิก ACD โดยได้จัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย วงเงิน 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อระดมทุนจากภาคเอกชนและเป็นแหล่งเงินทุนในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ สำหรับประเทศไทยยังเป็น 3.0 และยังมี 1.0 และ 2.0 อยู่ด้วย ในหลักเศรษฐศาสตร์ ถือเป็นประเทศปานกลาง แต่ทั้งหมดกำลังมุ่งไปสู่ 4.0 โดยต้องแก้กิจกรรมในทุกระดับให้ชัดเจน ในแผนแม่บทว่าทำอะไรเพื่อใคร
การเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และนวัตกรรมได้ช่วยให้เกิดความเชื่อมโยงด้านเงินทุน และการเงินในเอเชียยิ่งขึ้น นวัตกรรม และเทคโนโลยีสมัยใหม่ฟินเทคได้เปลี่ยนโฉมและกำลังเปลี่ยนโฉมภาคการเงินใน ACD หลายประเทศ ประเทศไทยเองก็ใช้ประโยชน์จากฟินเทค และได้ประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ ตั้งเป้าให้ไทยเป็นสังคมไร้เงินสดในอนาคต ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการบริหารจัดการเงินสดลงถึงกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี เมื่อปีที่แล้วเอเชียได้สร้างแรงกระเพื่อมให้กับโลกด้วยการลงทุนด้านฟินเทคเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า คิดเป็นมูลค่าถึง 4.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพราะฟินเทคได้เปลี่ยนแปลงชีวิตชาวเอเชียให้สะดวก และมีโอกาสเข้าถึงบริการทางการเงินและเงินทุนยิ่งขึ้น ในอนาคตชาวเอเชียทุกคนอาจไม่จำเป็นต้องถือเงินสดหรือบัตรเครดิตอยู่ในมือก็ซื้อของได้ ส่งเงินกลับประเทศได้ โดยค่าบริการที่ไม่แพง เข้าถึงแหล่งทุน และเปิดธุรกิจได้ด้วยการระดมทุนจากผู้ที่เชื่อในธุรกิจ บนพื้นฐานของระบบที่เชื่อถือได้ มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย
สำหรับความท้าทายต่างๆ ทั้งในแง่ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานของแต่ละประเทศไม่เท่ากัน เพราะขีดความสามารถต่างกัน ไปจนถึงกฎระเบียบกติกาที่จะรองรับ แต่จะเท่าเทียมกันด้วยกฎหมายและกติกาอันเดียวกัน ต้องกำกับดูแลให้อยู่ในระเบียบ มีความปลอดภัยของระบบข้อมูล ซึ่งต้องหาแนวทางร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสร้างความรู้ความเข้าใจและหาแนวทางจัดการกับประเด็นความท้าทายต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยไม่ขัดขวางการพัฒนา แต่ส่งเสริมการเรียนรู้และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเอื้อต่อการพัฒนาความเชื่อมโยงทางการเงินโยงใยครอบคลุมได้ทั่วเอเชียและโลกโดยประเทศไทยกำลังทำอยู่
**ต้องเลิกขัดแย้งหันมาสร้างความเข้าใจ
วันนี้มีผู้แทนภาคการเงินธนาคาร ฝ่ายผู้กำกับดูแล และฝ่ายผู้ต้องการใช้ประโยชน์ฟินเทคมารวมตัวกัน จึงเป็นโอกาสดีที่จะมาเล่าประสบการณ์ และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับโอกาส และความท้าทายที่ตามมาร่วมกัน โดยมุ่งใช้ประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีเพื่อร่วมกันวางรากฐานความเชื่อมโยงทางการเงินในเอเชีย ขอให้ทุกท่านใช้ประโยชน์สูงสุดจากเวที ACD Connect 2016 ในวันนี้ระดมสมอง และสร้างเครือข่ายระหว่างกัน ACD ควรเป็นแกนนำผลักดันการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการพัฒนาและการเข้าถึงทางการเงินของเอเชีย ตนชื่นชมการประชุม ACD Connect จะเป็นวิวัฒนาการสำคัญของ ACD และเป็นกลไกที่ยั่งยืนของภาคเอกชนในครอบครัว ACD ต่อไป เพื่อที่ภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศสมาชิก ACD จะได้ร่วมกันสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของเอเชีย และขับเคลื่อนเอเชียสู่ความรุ่งเรืองอย่างยั่งยืน
นายกฯ กล่าวว่า ที่พูดนาน เพราะทุกคนคือเพื่อน คือครอบครัว ที่พูดวันนี้ก็เหมือนพูดกับเพื่อน ไม่ว่าประเทศไหนก็คือเพื่อนกัน วันนี้เราขัดแย้งกันไม่ได้ เพราะเรามีอุปสรรคทั้งภัยธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงของโลก วันนี้ทำอะไรไม่มีคนเห็นด้วย 100 เปอร์เซ็นต์ จึงต้องพูดสร้างความเข้าใจให้ได้ในวันนี้ ประเทศไทยจะขัดแย้งกันไม่ได้อีกแล้ว ต้องแก้ด้วยความเข้าใจ และการพัฒนา วันนี้พูดอะไรไปก็อย่าโกรธเคือง และรำคาญ ตนรักทุกคนเหมือนเพื่อน และมองเป็นครอบครัว ACD ที่ต้องรัก และปรารถนาดีต่อกัน ไม่ได้หวังให้ไทยเป็นผู้นำ แต่เราต้องนำไปด้วยกันตามศักยภาพ โอกาสนี้ขอเชิญชวนให้ทุกประเทศกลับมาท่องเที่ยวในประเทศไทยอีกในโอกาสต่อไป เหมือนกับตนที่อยากไปหลายประเทศบ่อย ๆ แต่ยังไปไม่ได้ในวันนี้เพราะกำลังปฏิรูปทั้งหมด และขอให้ทุกคนมีความสุขในดินแดนแห่งรอยยิ้ม ซึ่งวันนี้ตนจะยิ้มเป็นตัวอย่าง.
1. สิ่งที่ประชาชน “เชื่อใจ”รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ คือ อันดับ 1 ตัวนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 74.36% เพราะ มีความเป็นผู้นำ ซื่อสัตย์ จงรักภักดี พูดจริงทำจริง มีความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อประโยชน์ของบ้านเมืองและส่วนรวม ฯลฯ อันดับ 2 การแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน จัดระเบียบสังคม 72.57% เพราะ มีผลงานให้เห็นต่อเนื่อง เห็นถึงความตั้งใจในการทำงาน เจ้าหน้าที่เคร่งครัด ปัญหาที่สะสมมานานถูกแก้ไข มีอำนาจพิเศษ ฯลฯ อันดับ 3เป็นรัฐบาลทหารที่ไม่มีนักการเมืองมาร่วม 61.85% เพราะไม่มีนักการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำงานสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีความเด็ดขาด ทำงานเพื่อประเทศชาติและประชาชน ฯลฯ
ส่วนที่ประชาชน “เชื่อใจ”และ “ไม่เชื่อ”อะไร ? ในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ นั้น
2. สิ่งที่ประชาชน“ไม่เชื่อใจ”รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ คือ อันดับ 1ยังไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ 78.09% เพราะ ธุรกิจการค้า การลงทุนซบเซา ประชาชนยังมีความเป็นอยู่ลำบาก ต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ข้าวของแพง ฯลฯ อันดับ 2 การสร้างความปรองดองในบ้านเมือง 67.60% เพราะ เป็นปัญหาที่สะสมมานาน แก้ไขได้ยาก ยังมีความขัดแย้งให้เห็น มีการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกัน มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ฯลฯ อันดับ 3 ความซื่อสัตย์สุจริต65.73% เพราะ มีข่าวให้เห็นมากขึ้นเกี่ยวกับการทุจริต การใช้จ่ายงบประมาณที่ไม่เหมาะสม เช่น โครงการอุทยานราชภักดิ์ ทริปฮาวาย ฯลฯ อันดับ 4การใช้อำนาจพิเศษ 55.94% เพราะ มีการใช้มาตรา 44 บ่อยครั้ง เกิดความไม่เป็นธรรม กังวลว่าอาจกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ บางเรื่องอาจไม่ได้มีการตรวจสอบเพียงพอ ฯลฯ
3.โดยภาพรวมแล้วประชาชน“เชื่อใจ”รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ มากน้อยเพียงใด อันดับ 1 ค่อนข้างเชื่อใจ 40.56% เพราะ รัฐบาลมุ่งมั่นในการบริหารประเทศ ตั้งใจแก้ปัญหาบ้านเมือง มีคณะทำงานที่มีความรู้ความสามารถ เชื่อใจในตัวนายกฯ มีความเด็ดขาด ฯลฯ อันดับ 2ไม่ค่อยเชื่อใจ 24.01% เพราะ สถานการณ์บ้านเมืองยังไม่ดีขึ้น มีแต่ความขัดแย้งและหวังผลประโยชน์ ยังไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ ประชาชนเดือดร้อน ค่าครองชีพสูง ฯลฯ อันดับ 3เชื่อใจ 20.51% เพราะ มีผลงานให้เห็นเป็นรูปธรรม แก้ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น จัดระเบียบสังคม รัฐบาลมีเสถียรภาพ กำลังจะมีการเลือกตั้ง ฯลฯ อันดับ 4 ไม่เชื่อใจ 14.92% เพราะเป็นรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ไม่สามารถตรวจสอบได้ มีกระแสข่าวเชิงลบ เช่น การใช้งบประมาณต่าง ๆ ฯลฯ
**นายกฯเปิดประชุมภาคธุกิจเอซีดี
วานนี้ (9ต.ค.) ที่โรงแรมพลาซ่าแอทธินี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. เป็นประธานเปิดการประชุมภาคธุรกิจในกรอบความร่วมมือเอเชียครั้งแรก(ACD Connect 2016)ในหัวข้อบทบาทสำคัญของภาคธุรกิจต่อวิวัฒนาการของ ACD โดยมีตัวแทนภาคเอกชนประเทศสมาชิกเข้าร่วม
นายกฯ กล่าว ตอนหนึ่งว่า ในนามรัฐบาล คนไทยทั้งประเทศ ขอต้อนรับสมาชิก 34 ประเทศ มาพูดคุยเรื่องธุรกิจ นำจุดแข็งที่หลากหลายของเอเชีย ผนึกพลังขับเคลื่อนอย่างยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ภาคเอกชนถือเป็นพลังสำคัญในการสร้างพลวัตใหม่ ท่ามกลางความผันผวนและความท้าทายต่างๆ ต้องดึงเอาศักยภาพที่หลากหลายของเอเชียออกมาอย่างสร้างสรรค์ เชื่อมโยงระหว่างประชาชนกับประชาชน นำสู่การปฏิบัติให้เร็วที่สุด โดยกำหนดโรดแมป หากิจกรรมเริ่มต้นให้ได้ ในปีนี้ และอีก 20 ปีข้างหน้า ถ้าเราถอดสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ก็จะเหมือนเดิม ประชุมไปไม่ได้ผลเชิงปฏิบัติ ก็ไม่เกิดความร่วมมือ เกิดความขัดแย้ง จะทำอะไรไม่ได้เลย ดังนั้น บนความคิดที่แตกต่าง ต้องทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการแก้ไข และการปฏิรูป
ทั้งนี้ ไม่มีประเทศไหนขับเคลื่อนได้เพียงรัฐบาล ต้องมีภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมโดยรัฐบาลอำนวยความสะดวก กฎ กติกา ระเบียบ กำจัดอุปสรรค เปิดเส้นทางการค้ากับประเทศต่างๆ หากิจกรรมให้เจอไม่มองการแข่งขันอย่างเดียว การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นการลงทุนในระยะยาวที่มีผลตอบแทนชัดเจน ในการลดต้นทุนการขนส่งสินค้า และคน เผยแพร่ความรู้ การกระจายสวัสดิการ ยกระดับความเป็นอยู่อย่างทั่วถึง และลดความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาประเทศ ดึงดูดเงินทุนที่มีอยู่มากในเอเชียเพื่อตอบโจทย์ความต้องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคได้อย่างเพียงพอ สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละประเทศ ข้อจำกัดของพื้นที่ สำหรับเรื่องประชาธิปไตย ประเทศอื่นเขาผ่านมาก่อนประเทศไทย และขณะที่ประเทศไทยยังก้าวข้ามไม่พ้นกับดักรายได้ปานกลาง ซึ่งติดกับดักทั้งในและต่างประเทศ ทุกประเทศที่พัฒนาแล้วก็มีปัญหา เพราะการบริหารราชการแผ่นดินมีความแตกต่างหลายระบอบ หลายวิธีการ แต่ปัญหาอยู่ที่ประชาชนจะร่วมมือหรือไม่เท่านั้น
**ตั้งเป้าอนาคตไทยเป็นสังคมไร้เงินสด
ประเทศไทยมีแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งให้ความสำคัญกับการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ผ่านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อยกระดับภาคการผลิต และบริการไปสู่ประเทศไทย 4.0 กำหนดสาขาอุตสาหกรรมแห่งอนาคต จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปรับปรุงระบบ บริหารราชการ และปฏิรูปกฎระเบียบต่างๆ ไปพร้อมกับการเร่งยกระดับความเชื่อมโยงทางโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้ครอบคลุม ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ทั้งภายในประเทศและเชื่อมโยงกับประเทศสมาชิก ACD โดยได้จัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย วงเงิน 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อระดมทุนจากภาคเอกชนและเป็นแหล่งเงินทุนในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ สำหรับประเทศไทยยังเป็น 3.0 และยังมี 1.0 และ 2.0 อยู่ด้วย ในหลักเศรษฐศาสตร์ ถือเป็นประเทศปานกลาง แต่ทั้งหมดกำลังมุ่งไปสู่ 4.0 โดยต้องแก้กิจกรรมในทุกระดับให้ชัดเจน ในแผนแม่บทว่าทำอะไรเพื่อใคร
การเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และนวัตกรรมได้ช่วยให้เกิดความเชื่อมโยงด้านเงินทุน และการเงินในเอเชียยิ่งขึ้น นวัตกรรม และเทคโนโลยีสมัยใหม่ฟินเทคได้เปลี่ยนโฉมและกำลังเปลี่ยนโฉมภาคการเงินใน ACD หลายประเทศ ประเทศไทยเองก็ใช้ประโยชน์จากฟินเทค และได้ประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ ตั้งเป้าให้ไทยเป็นสังคมไร้เงินสดในอนาคต ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการบริหารจัดการเงินสดลงถึงกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี เมื่อปีที่แล้วเอเชียได้สร้างแรงกระเพื่อมให้กับโลกด้วยการลงทุนด้านฟินเทคเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า คิดเป็นมูลค่าถึง 4.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพราะฟินเทคได้เปลี่ยนแปลงชีวิตชาวเอเชียให้สะดวก และมีโอกาสเข้าถึงบริการทางการเงินและเงินทุนยิ่งขึ้น ในอนาคตชาวเอเชียทุกคนอาจไม่จำเป็นต้องถือเงินสดหรือบัตรเครดิตอยู่ในมือก็ซื้อของได้ ส่งเงินกลับประเทศได้ โดยค่าบริการที่ไม่แพง เข้าถึงแหล่งทุน และเปิดธุรกิจได้ด้วยการระดมทุนจากผู้ที่เชื่อในธุรกิจ บนพื้นฐานของระบบที่เชื่อถือได้ มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย
สำหรับความท้าทายต่างๆ ทั้งในแง่ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานของแต่ละประเทศไม่เท่ากัน เพราะขีดความสามารถต่างกัน ไปจนถึงกฎระเบียบกติกาที่จะรองรับ แต่จะเท่าเทียมกันด้วยกฎหมายและกติกาอันเดียวกัน ต้องกำกับดูแลให้อยู่ในระเบียบ มีความปลอดภัยของระบบข้อมูล ซึ่งต้องหาแนวทางร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสร้างความรู้ความเข้าใจและหาแนวทางจัดการกับประเด็นความท้าทายต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยไม่ขัดขวางการพัฒนา แต่ส่งเสริมการเรียนรู้และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเอื้อต่อการพัฒนาความเชื่อมโยงทางการเงินโยงใยครอบคลุมได้ทั่วเอเชียและโลกโดยประเทศไทยกำลังทำอยู่
**ต้องเลิกขัดแย้งหันมาสร้างความเข้าใจ
วันนี้มีผู้แทนภาคการเงินธนาคาร ฝ่ายผู้กำกับดูแล และฝ่ายผู้ต้องการใช้ประโยชน์ฟินเทคมารวมตัวกัน จึงเป็นโอกาสดีที่จะมาเล่าประสบการณ์ และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับโอกาส และความท้าทายที่ตามมาร่วมกัน โดยมุ่งใช้ประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีเพื่อร่วมกันวางรากฐานความเชื่อมโยงทางการเงินในเอเชีย ขอให้ทุกท่านใช้ประโยชน์สูงสุดจากเวที ACD Connect 2016 ในวันนี้ระดมสมอง และสร้างเครือข่ายระหว่างกัน ACD ควรเป็นแกนนำผลักดันการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการพัฒนาและการเข้าถึงทางการเงินของเอเชีย ตนชื่นชมการประชุม ACD Connect จะเป็นวิวัฒนาการสำคัญของ ACD และเป็นกลไกที่ยั่งยืนของภาคเอกชนในครอบครัว ACD ต่อไป เพื่อที่ภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศสมาชิก ACD จะได้ร่วมกันสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของเอเชีย และขับเคลื่อนเอเชียสู่ความรุ่งเรืองอย่างยั่งยืน
นายกฯ กล่าวว่า ที่พูดนาน เพราะทุกคนคือเพื่อน คือครอบครัว ที่พูดวันนี้ก็เหมือนพูดกับเพื่อน ไม่ว่าประเทศไหนก็คือเพื่อนกัน วันนี้เราขัดแย้งกันไม่ได้ เพราะเรามีอุปสรรคทั้งภัยธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงของโลก วันนี้ทำอะไรไม่มีคนเห็นด้วย 100 เปอร์เซ็นต์ จึงต้องพูดสร้างความเข้าใจให้ได้ในวันนี้ ประเทศไทยจะขัดแย้งกันไม่ได้อีกแล้ว ต้องแก้ด้วยความเข้าใจ และการพัฒนา วันนี้พูดอะไรไปก็อย่าโกรธเคือง และรำคาญ ตนรักทุกคนเหมือนเพื่อน และมองเป็นครอบครัว ACD ที่ต้องรัก และปรารถนาดีต่อกัน ไม่ได้หวังให้ไทยเป็นผู้นำ แต่เราต้องนำไปด้วยกันตามศักยภาพ โอกาสนี้ขอเชิญชวนให้ทุกประเทศกลับมาท่องเที่ยวในประเทศไทยอีกในโอกาสต่อไป เหมือนกับตนที่อยากไปหลายประเทศบ่อย ๆ แต่ยังไปไม่ได้ในวันนี้เพราะกำลังปฏิรูปทั้งหมด และขอให้ทุกคนมีความสุขในดินแดนแห่งรอยยิ้ม ซึ่งวันนี้ตนจะยิ้มเป็นตัวอย่าง.