วานนี้ (18ส.ค.) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมหารือ เรื่องการบังคับใช้กฎหมายในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ โดยมีหน่วยงานเกี่ยวข้องเข้าร่วม ประกอบด้วย พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม ตัวแทนตำรวจ อัยการ ศาล กระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมง
นายวิษณุ กล่าวภายหลังการหารือว่าที่ประชุมหารือ ประเด็นมิติทางกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องค้ามนุษย์ ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ให้การบ้านมาว่า เกิดปัญหาในเชิงกฎหมาย ซึ่งเป็นปัญหาที่รัฐบาลตั้งข้อสังเกตขึ้น และต้องการทราบความชัดเจนเพื่อนำไปตอบกับหน่วยงานจากต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องค้ามนุษย์ ตามที่ไทยได้ให้สัญญาไว้ ในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ประจำปี 2558 ว่า จะทำอะไรบ้าง เพื่อแก้ปัญหา และเตรียมรายงานต่อคณะทำงานตรวจสอบตามวงรอบในปีนี้ โดยเฉพาะเรื่องกฎหมาย และการบริหารงานยุติธรรม การคุ้มครองพยาน การดูแลเหยื่อ ที่ยังมีปัญหาซับซ้อน เนื่องจากเพราะเวลาไปจับคนที่ทำผิดในข้อหาค้ามนุษย์ แต่พบว่ามีความผิดอย่างอื่นรวมอยู่ด้วย เช่น กรณีเจ้าหน้าที่อาจทำผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 157 หรือ ผิดกฎหมายแรงงาน กฎหมายเกี่ยวกับการค้าประเวณี เรื่องยาเสพติด เป็นต้น
นายวิษณุ กล่าวอีกว่า สมมติว่าไปตั้งข้อหาค้าประเวณี จะทำให้ข้อหาค้ามนุษย์หายไป ทางเอ็นจีโอ และต่างประเทศจะโวยวายว่า ทำให้สถิติการค้ามนุษย์ลดไปเหมือนไม่มี ทั้งที่ความจริงมีรวมอยู่ในคนเดียว รัฐบาลจึงมีนโยบายว่า สามารถตั้งได้ทุกข้อหา เรียกว่า กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท หลายประเภท ผิด พ.ร.บ.หลายฉบับ เพราะเรื่องค้ามนุษย์ถือเป็นข้อหาครอบจักรวาล ที่เดิมเป็นการกระทำความผิดในฐานต่างๆ รวมกัน 5 ฐาน เช่น ผิดกฎหมายแรงงาน ค้าประเวณี เมื่อเรานำมาครอบรวมไว้ด้วยกันแล้วเรียกว่าค้ามนุษย์
"ที่ผ่านมา มีคำสั่งหัวหน้าคสช. หลายฉบับ และภายใน 1-2 วันนี้ จะมีคำสั่งออกมาอีก เพื่อจัดการกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐ ตำรวจ ฝ่ายปกครอง ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องค้ามนุษย์ แม้เพียงเล็กน้อย จะถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะถ้าไม่มีบุคคลเหล่านี้ร่วมมือ การค้ามนุษย์จะเกิดยาก และจะตามจัดการได้หมด แต่ที่จัดการไม่ได้ เพราะเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปมีส่วนอยู่ด้วย ดังนั้น เราตั้งเป้ากำราบพวกนี้เป็นพิเศษ โดยเริ่มต้นใช้ มาตรา 157 เอาผิดได้ เช่น คำสั่ง คสช. 33/2559 คดีสถานบริการนาตารี ที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจถูกดำเนินการ กว่า 20 คน รวมทั้งฝ่ายปกครอง ผู้ว่าราชการจังหวัด เพราะเข้าไปเกี่ยวพันกับเรื่องนี้" นายวิษณุ กล่าว
สำหรับความคืบหน้าการแก้ปัญหาค้ามนษุย์ของไทย พบว่า คดีค้ามนุษย์ที่ค้างมาตั้งแต่ปี 57 ดำเนินการส่งฟ้องในศาล 100 เปอร์เซ็นต์ ส่วนปี 58 เหลือค้าง 10 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือ 90 เปอร์เซ็นต์ สั่งฟ้องดำเนินคดีเรียบร้อย ขณะที่ปี 59 ยังไม่ได้รวบรวม และเมื่อรวบรวมเสร็จ ตนจะเสนอรายงาน ให้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ผู้รับผิดชอบในคณะใหญ่ เป็นผู้ชี้แจงให้สาธารณะรับทราบต่อไป
นายวิษณุ กล่าวภายหลังการหารือว่าที่ประชุมหารือ ประเด็นมิติทางกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องค้ามนุษย์ ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ให้การบ้านมาว่า เกิดปัญหาในเชิงกฎหมาย ซึ่งเป็นปัญหาที่รัฐบาลตั้งข้อสังเกตขึ้น และต้องการทราบความชัดเจนเพื่อนำไปตอบกับหน่วยงานจากต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องค้ามนุษย์ ตามที่ไทยได้ให้สัญญาไว้ ในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ประจำปี 2558 ว่า จะทำอะไรบ้าง เพื่อแก้ปัญหา และเตรียมรายงานต่อคณะทำงานตรวจสอบตามวงรอบในปีนี้ โดยเฉพาะเรื่องกฎหมาย และการบริหารงานยุติธรรม การคุ้มครองพยาน การดูแลเหยื่อ ที่ยังมีปัญหาซับซ้อน เนื่องจากเพราะเวลาไปจับคนที่ทำผิดในข้อหาค้ามนุษย์ แต่พบว่ามีความผิดอย่างอื่นรวมอยู่ด้วย เช่น กรณีเจ้าหน้าที่อาจทำผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 157 หรือ ผิดกฎหมายแรงงาน กฎหมายเกี่ยวกับการค้าประเวณี เรื่องยาเสพติด เป็นต้น
นายวิษณุ กล่าวอีกว่า สมมติว่าไปตั้งข้อหาค้าประเวณี จะทำให้ข้อหาค้ามนุษย์หายไป ทางเอ็นจีโอ และต่างประเทศจะโวยวายว่า ทำให้สถิติการค้ามนุษย์ลดไปเหมือนไม่มี ทั้งที่ความจริงมีรวมอยู่ในคนเดียว รัฐบาลจึงมีนโยบายว่า สามารถตั้งได้ทุกข้อหา เรียกว่า กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท หลายประเภท ผิด พ.ร.บ.หลายฉบับ เพราะเรื่องค้ามนุษย์ถือเป็นข้อหาครอบจักรวาล ที่เดิมเป็นการกระทำความผิดในฐานต่างๆ รวมกัน 5 ฐาน เช่น ผิดกฎหมายแรงงาน ค้าประเวณี เมื่อเรานำมาครอบรวมไว้ด้วยกันแล้วเรียกว่าค้ามนุษย์
"ที่ผ่านมา มีคำสั่งหัวหน้าคสช. หลายฉบับ และภายใน 1-2 วันนี้ จะมีคำสั่งออกมาอีก เพื่อจัดการกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐ ตำรวจ ฝ่ายปกครอง ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องค้ามนุษย์ แม้เพียงเล็กน้อย จะถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะถ้าไม่มีบุคคลเหล่านี้ร่วมมือ การค้ามนุษย์จะเกิดยาก และจะตามจัดการได้หมด แต่ที่จัดการไม่ได้ เพราะเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปมีส่วนอยู่ด้วย ดังนั้น เราตั้งเป้ากำราบพวกนี้เป็นพิเศษ โดยเริ่มต้นใช้ มาตรา 157 เอาผิดได้ เช่น คำสั่ง คสช. 33/2559 คดีสถานบริการนาตารี ที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจถูกดำเนินการ กว่า 20 คน รวมทั้งฝ่ายปกครอง ผู้ว่าราชการจังหวัด เพราะเข้าไปเกี่ยวพันกับเรื่องนี้" นายวิษณุ กล่าว
สำหรับความคืบหน้าการแก้ปัญหาค้ามนษุย์ของไทย พบว่า คดีค้ามนุษย์ที่ค้างมาตั้งแต่ปี 57 ดำเนินการส่งฟ้องในศาล 100 เปอร์เซ็นต์ ส่วนปี 58 เหลือค้าง 10 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือ 90 เปอร์เซ็นต์ สั่งฟ้องดำเนินคดีเรียบร้อย ขณะที่ปี 59 ยังไม่ได้รวบรวม และเมื่อรวบรวมเสร็จ ตนจะเสนอรายงาน ให้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ผู้รับผิดชอบในคณะใหญ่ เป็นผู้ชี้แจงให้สาธารณะรับทราบต่อไป