วานนี้ (16ส.ค.) นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินงาน โครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ ว่า เป็นการประชุมโครงการสนับสนุนช่วยเหลือกองทุนหมู่บ้าน กองทุนละ 5 แสนบาท ซึ่งมีการพิจาณาโครงการที่เสนอเข้ามาทั้งหมด 2,100 โครงการ งบฯ 1,000 ล้านบาท ซึ่งความคืบหน้าในการดำเนินการในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา มีการอนุมัติแล้ว 63,000 กองทุน จาก 79,000 กองทุน งบประมาณ 31,000 ล้านบาท จากงบฯที่รัฐบาลให้มา 35,000 ล้านบาท ถือว่าทำได้ตามเป้า 80 เปอร์เซ็นต์
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้พบปัญหาเรื่องการโอนเงิน และการเบิกจ่ายงบฯ เนื่องจากสมาชิกกองทุนยังไม่สามารถเบิกเงินได้ตามหลักเกณฑ์ ทำให้เกิดความล่าช้า ซึ่งตนได้สั่งการให้สำนักงานกองทุนหมู่บ้านประสานงานกับประธานเครือข่ายฯ ในทุกพื้นที่ เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายและโอนเงินได้อย่างรวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง ก็มีปัญหาเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่าย กับกรมสรรพากร เนื่องจากกองทุนไม่คุ้นเคย ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร ก็ได้มอบหมายให้ทางสำนักงานกองทุน หารือกับกรมสรรพากร เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ส่วนเรื่องปัญหาเรื่องการทุจริตนั้น ขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงาน แต่กองทุนหมู่บ้าน จะมีหลักเกณฑ์ที่กรรมการกองทุนได้กำหนด โครงการที่เสนอจะต้องผ่านการทำประชาคมของสมาชิก และสมาชิกส่วนใหญ่จะต้องเห็นชอบด้วยจึงจะเสนอโครงการขึ้นมาได้ รวมถึงการดำเนินการตามโครงการหลังจากได้รับเงินไปแล้ว จะต้องมีกรรมการหลายฝ่ายกันตรวจสอบ ซึ่งกรรมการจะเป็นชาวบ้านในพื้นที่ บริหารจัดการกันเอง จะทำให้เรื่องความไม่โปร่งใส เรื่องการทุจริตลดลงได้
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้พบปัญหาเรื่องการโอนเงิน และการเบิกจ่ายงบฯ เนื่องจากสมาชิกกองทุนยังไม่สามารถเบิกเงินได้ตามหลักเกณฑ์ ทำให้เกิดความล่าช้า ซึ่งตนได้สั่งการให้สำนักงานกองทุนหมู่บ้านประสานงานกับประธานเครือข่ายฯ ในทุกพื้นที่ เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายและโอนเงินได้อย่างรวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง ก็มีปัญหาเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่าย กับกรมสรรพากร เนื่องจากกองทุนไม่คุ้นเคย ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร ก็ได้มอบหมายให้ทางสำนักงานกองทุน หารือกับกรมสรรพากร เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ส่วนเรื่องปัญหาเรื่องการทุจริตนั้น ขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงาน แต่กองทุนหมู่บ้าน จะมีหลักเกณฑ์ที่กรรมการกองทุนได้กำหนด โครงการที่เสนอจะต้องผ่านการทำประชาคมของสมาชิก และสมาชิกส่วนใหญ่จะต้องเห็นชอบด้วยจึงจะเสนอโครงการขึ้นมาได้ รวมถึงการดำเนินการตามโครงการหลังจากได้รับเงินไปแล้ว จะต้องมีกรรมการหลายฝ่ายกันตรวจสอบ ซึ่งกรรมการจะเป็นชาวบ้านในพื้นที่ บริหารจัดการกันเอง จะทำให้เรื่องความไม่โปร่งใส เรื่องการทุจริตลดลงได้