นายหัสฎิณ ปิ่นประชาสรร ผอ.เขตคลองสามวา ในฐานะประธาน ผอ.เขตกทม. กล่าวชี้แจงกรณีที่ นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ระบุว่า มีการสั่งให้ข้าราชการ ขอเงินสนับสนุนหรือขอสปอนเซอร์ จากผู้ประกอบการรายละ 5,000 บาท เพื่อจัดทำป้ายรณรงค์ออกเสียงประชามติ วันที่ 7 ส.ค.59 ว่า ที่ผ่านมากกต. จัดงบประมาณสำหรับประชาสัมพันธ์ให้กับเขต แต่น้อยมาก และให้ป้ายมา 6 ป้าย ขนาด 1 คูณ 4 เมตร และเพิ่งจัดส่งมาให้ไม่นาน
ขณะที่ทางกทม. ก็มีการจัดงบประมาณให้กับ 50 เขต จำนวน 23.77 ล้านบาท แต่เป็นค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าอาหาร และให้มาเพียง 1 ป้ายเท่านั้น ขณะที่มีการตั้งเป้า ต้องเชิญชวนประชาชน ออกมาลงคะแนนถึง 80 เปอร์เซนต์ ดังนั้นทางเขตจึงต้องพยายามรณรงค์ให้มากที่สุด ซึ่งยอมรับว่ามีการขอสปอนเซอร์จริง แต่เป็นความสมัครใจ เพราะไม่ได้ไปรบกวนบ่อยๆ นานๆ มีกิจกรรมสำคัญถึงขอความร่วมมือ ไม่ได้ไปบังคับ โดยอาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัว พรรคพวกเพื่อนฝูง หรือคนที่รู้จักเท่านั้น ซึ่งก็ได้รับความร่วมมืออย่างดี
"ยืนยันว่าไม่มีการใช้ลูกน้องไปรีดไถ อย่างที่กล่าวหา ประเภทเดินเข้าไปแล้วขอให้สนับสนุนรายละ 5 พันบาท อย่างที่กล่าวหานั้น ไม่น่าเป็นไปได้ หมดสมัยแล้ว ไม่เหมือนสมัยก่อนที่นึกอยากจะทำ ก็ทำ ชาวบ้านเขาไม่ยอมแน่ ถ้ามีรีดไถจริง ไม่ต้องรอให้นายวัชระ มาบอกหรอก ชาวบ้านเขาโวยกันเองแล้ว นอกจาจะไม่ได้รับความร่วมมือแล้วยังจะถูกร้องเรียนหรือฟ้องดำเนินคดีได้ง่ายๆ และเมื่อได้เงินมาเราก็มีการหนังสือขอบคุณให้ไปด้วย ถือเป็นการกล่าวหาที่เลื่อนลอย"
นายหัสฎิณ กล่าวด้วยว่า งบที่ได้รับการจัดสรรมา หากจะมองว่าพอ มันก็พอ อยู่ที่มุมมองของแต่ละเขต หากเห็นว่าติดไป1-2 ป้ายเพียงพอแล้ว ก็ไม่มีปัญหา แต่ส่วนใหญ่มองว่า แต่ละเขตมีพื้นที่กว้างขวาง หากจะให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์ถึง 80 เปอร์เซนต์ ในความเป็นจริงนั้นมันยากมาก เพราะขนาดเลือกตั้งทั่วไปยังได้แค่ 50 กว่าเปอร์เซนต์เท่านั้น หากมีคนออกมาน้อย เราก็จะถูกตำหนิว่าไม่ช่วยรณรงค์ หรือปล่อยเกียร์ว่าง
"จะมองว่ามีงบ100 ก็ทำแค่นั้น ไม่ควรทำ 300 มันก็ได้ แต่เวลาคนมาใช้สิทธิ์น้อย ก็อย่ามาโทษพวกเราแล้วกัน เพราะต้องยอมรับว่าการเชิญชวนประชาชนออกมาลงคะแนนเสียงประชามติครั้งนี้ ยากกว่าการลงคะแนนเลือกตั้ง เพราะไม่มีนักการเมือง หรือหัวคะแนนมาทำ มีแต่ฝ่ายข้าราชการ ที่สำคัญเราไม่มีอำนาจไปควบคุมผู้ประกอบการ เพราะมีกฎหมายปกครองควบคลุมอย่างเคร่งครัด ถ้าไปข่มขู่ ก็มีแต่จะตาย" ประธาน ผอ.เขตกทม. กล่าว และยอมรับว่า จากที่ได้ลงพื้นที่ตามจุดต่างๆ มีความหนักใจ และเกรงว่าประชาชนจะออกมาใช้สิทธิ์น้อย
ขณะที่ทางกทม. ก็มีการจัดงบประมาณให้กับ 50 เขต จำนวน 23.77 ล้านบาท แต่เป็นค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าอาหาร และให้มาเพียง 1 ป้ายเท่านั้น ขณะที่มีการตั้งเป้า ต้องเชิญชวนประชาชน ออกมาลงคะแนนถึง 80 เปอร์เซนต์ ดังนั้นทางเขตจึงต้องพยายามรณรงค์ให้มากที่สุด ซึ่งยอมรับว่ามีการขอสปอนเซอร์จริง แต่เป็นความสมัครใจ เพราะไม่ได้ไปรบกวนบ่อยๆ นานๆ มีกิจกรรมสำคัญถึงขอความร่วมมือ ไม่ได้ไปบังคับ โดยอาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัว พรรคพวกเพื่อนฝูง หรือคนที่รู้จักเท่านั้น ซึ่งก็ได้รับความร่วมมืออย่างดี
"ยืนยันว่าไม่มีการใช้ลูกน้องไปรีดไถ อย่างที่กล่าวหา ประเภทเดินเข้าไปแล้วขอให้สนับสนุนรายละ 5 พันบาท อย่างที่กล่าวหานั้น ไม่น่าเป็นไปได้ หมดสมัยแล้ว ไม่เหมือนสมัยก่อนที่นึกอยากจะทำ ก็ทำ ชาวบ้านเขาไม่ยอมแน่ ถ้ามีรีดไถจริง ไม่ต้องรอให้นายวัชระ มาบอกหรอก ชาวบ้านเขาโวยกันเองแล้ว นอกจาจะไม่ได้รับความร่วมมือแล้วยังจะถูกร้องเรียนหรือฟ้องดำเนินคดีได้ง่ายๆ และเมื่อได้เงินมาเราก็มีการหนังสือขอบคุณให้ไปด้วย ถือเป็นการกล่าวหาที่เลื่อนลอย"
นายหัสฎิณ กล่าวด้วยว่า งบที่ได้รับการจัดสรรมา หากจะมองว่าพอ มันก็พอ อยู่ที่มุมมองของแต่ละเขต หากเห็นว่าติดไป1-2 ป้ายเพียงพอแล้ว ก็ไม่มีปัญหา แต่ส่วนใหญ่มองว่า แต่ละเขตมีพื้นที่กว้างขวาง หากจะให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์ถึง 80 เปอร์เซนต์ ในความเป็นจริงนั้นมันยากมาก เพราะขนาดเลือกตั้งทั่วไปยังได้แค่ 50 กว่าเปอร์เซนต์เท่านั้น หากมีคนออกมาน้อย เราก็จะถูกตำหนิว่าไม่ช่วยรณรงค์ หรือปล่อยเกียร์ว่าง
"จะมองว่ามีงบ100 ก็ทำแค่นั้น ไม่ควรทำ 300 มันก็ได้ แต่เวลาคนมาใช้สิทธิ์น้อย ก็อย่ามาโทษพวกเราแล้วกัน เพราะต้องยอมรับว่าการเชิญชวนประชาชนออกมาลงคะแนนเสียงประชามติครั้งนี้ ยากกว่าการลงคะแนนเลือกตั้ง เพราะไม่มีนักการเมือง หรือหัวคะแนนมาทำ มีแต่ฝ่ายข้าราชการ ที่สำคัญเราไม่มีอำนาจไปควบคุมผู้ประกอบการ เพราะมีกฎหมายปกครองควบคลุมอย่างเคร่งครัด ถ้าไปข่มขู่ ก็มีแต่จะตาย" ประธาน ผอ.เขตกทม. กล่าว และยอมรับว่า จากที่ได้ลงพื้นที่ตามจุดต่างๆ มีความหนักใจ และเกรงว่าประชาชนจะออกมาใช้สิทธิ์น้อย