วานนี้ (16มิ.ย.) ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้พิจารณา ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ... โดยสาระสำคัญคือ การจัดตั้งศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง โดยยกฐานะแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ ในศาลอาญาขึ้นเป็นศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง และเมื่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเปิดทำการแล้ว ห้ามมิให้ศาลชั้นต้นอื่นรับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบไว้พิจารณาพิพากษา และกำหนดนิยาม คำว่า "คดีทุจริตและประพฤติมิชอบ" ที่อยู่ในอำนาจของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ให้มีความหมายครอบคลุมดังนี้
1.คดีอาญาที่ฟ้องให้ลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ ตามกฎหมายอื่น หรือความผิดอื่นอันเนื่องมาจากการประพฤติมิชอบ
2.คดีอาญาที่ฟ้องให้ลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐ หรือบุคคลที่กระทำความผิดฐานฟอกเงิน หรือกระทาความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ กฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หรือกฎหมายอื่น ที่มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ
3. คดีอาญาที่ฟ้องให้ลงโทษบุคคลให้ ความผิดเกี่ยวกับการเรียก รับ ยอมจะรับ หรือ ให้ ขอให้ รับว่าจะให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด หรือการใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือใช้อิทธิพลเพื่อจูงใจ หรือข่มขืนใจให้เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการ ไม่กระทำการ หรือประวิงการกระทำใดตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกฎหมายอื่น
4. คดีอาญาที่ฟ้องขอให้ลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลตามกฎหมายที่กำหนดให้เป็นคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
5. คดีเกี่ยวกับการจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบ หรือจงใจยื่นบัญชีและเอกสารดังกล่าวด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ
6. คดีร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะเหตุร่ำรวยผิดปกติ หรือทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
ทั้งนี้ สมาชิกได้มติเอกฉันท์ 160 คะแนน เห็นชอบในวาระ 2 และ 3 เพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
ฟัน"สุกำพล" แทรกแซงตั้งปลัดกห.
**ป.ป.ช.สั่งเชือด”สุกำพล”
ในวันเดียวกันนี้ ที่ประชุม สนช. ยังได้รับทราบรายงาน ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ยื่นให้ถอดถอน พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต อดีต รมว.กลาโหม ออกจากตำแหน่ง ในข้อหาก้าวก่ายแทรกแซงการแต่งตั้งนายทหาร ชั้นนายพล ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหมโดยมิชอบ โดย ป.ป.ช.มีมติเสียงข้างมากว่า พฤติการณ์ของ พล.อ.อ.สุกำพล เป็นการใช้สถานะ หรือตำแหน่งรมว.กลาโหม เข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงการปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินงานในหน้าที่ประจำของคณะกรรมการปลัดกระทรวงกลาโหม ในการบรรจุแต่งตั้งโยกย้ายโอน เลื่อนตำแหน่ง เลื่อนเงินเดือน ของข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งเป็นข้าราชการประจำ และไม่ใช่ข้าราชการของกระทรวงกลาโหม เพื่อประโยชน์ของตนเอง ของผู้อื่น และพรรคการเมือง ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งขัดต่อรธน.ปี 50 มาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (1) (2) และฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ประมวลจริยธรรมข้าราชการการเมือง ข้อ 15 พ.ศ. 2551 มีมูลส่อว่า จงใจในการใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรธน.ปี 50 และขัดต่อมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรง จึงเป็นเหตุให้ถูกถอดถอน ตามพ.ร.บ. ป.ป.ช. 2542
ส่วนความผิดทางอาญาป.ป.ช. มีมติด้วยเสียงข้างมากว่า ข้อกล่าวหาไม่มีมูล จึงทำให้ข้อหาตกไป ส่วนข้อกล่าวหาที่ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ ขัดต่อรธน.ปี 50 มาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (3) จงใจใช้อำนาจหน้าที่ ออกคำสั่งให้ทหารชั้นนายพลไปช่วยราชการโดยมิชอบ ป.ป.ช. มีมติเป็นเอกฉันท์ ว่าฟังไม่ได้ว่า พล.อ.อ.สุกำพล มีพฤติการณ์ ตามที่กล่าวหาจึงให้ข้อกล่าวหาตกไป
ส่วนข้อกล่าวหา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ป.ป.ช. มีมติ ให้ข้อกล่าวหาตกไป เพราะไม่ปรากฏข้อเท็จจริงไม่มีมูล ทั้งกรณีที่เพิกเฉยไม่ดำเนินการไต่สวนหนังสือร้องทุกข์ของปลัดกระทรวงกลาโหม และยังนำความกราบบังคับทูล เพื่อให้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม ทั้งที่ทราบดีว่า พล.อ.อ.สุกำพล เข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงการแต่งตั้งปลัดกระทรวงกลาโหม และปล่อยให้ใช้อำนาจหน้าที่ออกคำสั่งให้นายทหารไปปฏิบัติหน้าที่ในการโดยมิชอบ
นายพรเพชร กล่าวว่า ตามข้อบังคับเมื่อประธานสภาได้รับรายงานจาก ป.ป.ช.ว่ามีมติชี้มูลกล่าวหาผู้ใดต้อง นัดประชุมนัดแรก ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับรายงาน ซึ่งป.ป.ช.ได้ส่งรายงานและความเห็นถอดถอน พล.อ.อ.สุกำพล เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. จะครบ 30 วัน ในวันที่ 12 ก.ค. ดังนั้นตนขอกำหนดประชุมนัดแรก เพื่อกำหนดวันแถลงเปิดคดีของป.ป.ช.และผู้ถูกกล่าวหา และการขอเพิ่มพยานหลักฐานของผู้ถูกกล่าวหาจึงนัดประชุม ในวันที่ 7 ก.ค.นี้
1.คดีอาญาที่ฟ้องให้ลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ ตามกฎหมายอื่น หรือความผิดอื่นอันเนื่องมาจากการประพฤติมิชอบ
2.คดีอาญาที่ฟ้องให้ลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐ หรือบุคคลที่กระทำความผิดฐานฟอกเงิน หรือกระทาความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ กฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หรือกฎหมายอื่น ที่มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ
3. คดีอาญาที่ฟ้องให้ลงโทษบุคคลให้ ความผิดเกี่ยวกับการเรียก รับ ยอมจะรับ หรือ ให้ ขอให้ รับว่าจะให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด หรือการใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือใช้อิทธิพลเพื่อจูงใจ หรือข่มขืนใจให้เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการ ไม่กระทำการ หรือประวิงการกระทำใดตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกฎหมายอื่น
4. คดีอาญาที่ฟ้องขอให้ลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลตามกฎหมายที่กำหนดให้เป็นคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
5. คดีเกี่ยวกับการจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบ หรือจงใจยื่นบัญชีและเอกสารดังกล่าวด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ
6. คดีร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะเหตุร่ำรวยผิดปกติ หรือทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
ทั้งนี้ สมาชิกได้มติเอกฉันท์ 160 คะแนน เห็นชอบในวาระ 2 และ 3 เพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
ฟัน"สุกำพล" แทรกแซงตั้งปลัดกห.
**ป.ป.ช.สั่งเชือด”สุกำพล”
ในวันเดียวกันนี้ ที่ประชุม สนช. ยังได้รับทราบรายงาน ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ยื่นให้ถอดถอน พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต อดีต รมว.กลาโหม ออกจากตำแหน่ง ในข้อหาก้าวก่ายแทรกแซงการแต่งตั้งนายทหาร ชั้นนายพล ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหมโดยมิชอบ โดย ป.ป.ช.มีมติเสียงข้างมากว่า พฤติการณ์ของ พล.อ.อ.สุกำพล เป็นการใช้สถานะ หรือตำแหน่งรมว.กลาโหม เข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงการปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินงานในหน้าที่ประจำของคณะกรรมการปลัดกระทรวงกลาโหม ในการบรรจุแต่งตั้งโยกย้ายโอน เลื่อนตำแหน่ง เลื่อนเงินเดือน ของข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งเป็นข้าราชการประจำ และไม่ใช่ข้าราชการของกระทรวงกลาโหม เพื่อประโยชน์ของตนเอง ของผู้อื่น และพรรคการเมือง ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งขัดต่อรธน.ปี 50 มาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (1) (2) และฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ประมวลจริยธรรมข้าราชการการเมือง ข้อ 15 พ.ศ. 2551 มีมูลส่อว่า จงใจในการใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรธน.ปี 50 และขัดต่อมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรง จึงเป็นเหตุให้ถูกถอดถอน ตามพ.ร.บ. ป.ป.ช. 2542
ส่วนความผิดทางอาญาป.ป.ช. มีมติด้วยเสียงข้างมากว่า ข้อกล่าวหาไม่มีมูล จึงทำให้ข้อหาตกไป ส่วนข้อกล่าวหาที่ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ ขัดต่อรธน.ปี 50 มาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (3) จงใจใช้อำนาจหน้าที่ ออกคำสั่งให้ทหารชั้นนายพลไปช่วยราชการโดยมิชอบ ป.ป.ช. มีมติเป็นเอกฉันท์ ว่าฟังไม่ได้ว่า พล.อ.อ.สุกำพล มีพฤติการณ์ ตามที่กล่าวหาจึงให้ข้อกล่าวหาตกไป
ส่วนข้อกล่าวหา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ป.ป.ช. มีมติ ให้ข้อกล่าวหาตกไป เพราะไม่ปรากฏข้อเท็จจริงไม่มีมูล ทั้งกรณีที่เพิกเฉยไม่ดำเนินการไต่สวนหนังสือร้องทุกข์ของปลัดกระทรวงกลาโหม และยังนำความกราบบังคับทูล เพื่อให้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม ทั้งที่ทราบดีว่า พล.อ.อ.สุกำพล เข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงการแต่งตั้งปลัดกระทรวงกลาโหม และปล่อยให้ใช้อำนาจหน้าที่ออกคำสั่งให้นายทหารไปปฏิบัติหน้าที่ในการโดยมิชอบ
นายพรเพชร กล่าวว่า ตามข้อบังคับเมื่อประธานสภาได้รับรายงานจาก ป.ป.ช.ว่ามีมติชี้มูลกล่าวหาผู้ใดต้อง นัดประชุมนัดแรก ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับรายงาน ซึ่งป.ป.ช.ได้ส่งรายงานและความเห็นถอดถอน พล.อ.อ.สุกำพล เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. จะครบ 30 วัน ในวันที่ 12 ก.ค. ดังนั้นตนขอกำหนดประชุมนัดแรก เพื่อกำหนดวันแถลงเปิดคดีของป.ป.ช.และผู้ถูกกล่าวหา และการขอเพิ่มพยานหลักฐานของผู้ถูกกล่าวหาจึงนัดประชุม ในวันที่ 7 ก.ค.นี้