นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงระเบียบของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ออกมา 3 ฉบับว่า ยังไม่เห็นเนื้อหา ซึ่งกกต. อาจจะต้องส่งระเบียบดังกล่าวลงราชกิจจานุเบกษาก่อน จากนั้นตนคงขอดูรายละเอียดอีกครั้ง
ส่วนระเบียบของ กกต.ที่จะแสดงความเห็นในช่วงประชามติ ผ่านสื่อ ติดป้าย รวมถึงส่งข้อความผ่านทางโซเซียลมีเดียได้นั้น เป็นสิ่งที่เราขอให้ กกต.ระบุมาให้ชัดเจนว่า อะไรสีดำ สีขาว หรือ สีเทา แต่กกต.ไม่จำเป็นต้องส่งหลักเกณฑ์อะไรมาให้รัฐบาลตรวจทาน เพราะเป็นความรับผิดชอบของ กกต. และเป็นผู้มีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆได้อยู่แล้ว
เมื่อถามว่า เรื่องที่ กกต.ระบุให้ทำได้ในช่วงประชามติ อาจขัดคำสั่งของคสช. ทั้งเรื่องการแสดงความเห็น การชุมนุม นายวิษณุ กล่าวว่า เป็นสิ่งที่ กกต. สั่งตามบริบทของ พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ แต่หากมีส่วนใดที่ผิดตามคำสั่งคสช. ถือเป็นอีกเรื่อง ขณะที่คำสั่ง คสช. กับ พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติฯ นั้น สามารถใช้ควบคู่กันได้ โดยไม่มีอะไรใหญ่ไปกว่ากัน เพราะเป็นคนละกรณี ซึ่งอะไรที่หลุดจากกฎหมายหนึ่ง อาจไปเจอคำสั่งคสช. ก็ได้ แต่ในกรณีที่ปลุกระดมในเวทีแสดงความเห็น ย่อมผิดตาม มาตรา 61 พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติฯอยู่แล้ว แต่ถามว่า ปลุกระดม คืออะไร กกต. ต้องอธิบายได้
นายวิษณุ กล่าวถึงกรณีที่ กลุ่มนปช. และ กลุ่ม กปปส. ออกมาแถลงจุดยืนต่อร่างรัฐธรรมนูญในทำนองไม่เห็นด้วย และเห็นด้วย ว่า ไม่ขอตอบว่า การกระทำของทั้ง 2 กลุ่ม จะขัด พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติฯ หรือไม่ เพราะเป็นการวินิจฉัยการกระทำสิ่งนั้น ควรให้ตำรวจ อัยการ ศาล เป็นผู้วินิจฉัย ตนจะบอกว่าผิด จึงไปจับ หรือบอกว่าไม่ผิด จึงไม่จับ ก็คงไม่ใช่ ยอมรับว่าหากเรื่องนี้ไม่มีความชัดเจน ก็จะมีกรณีอื่นๆตามมาได้ ทางที่ดีไม่ควรทำอะไรที่เสี่ยง ล่อแหลม ในระยะนี้เพราะไม่ใช่เหตุที่คสช. จะตระหนก ตกใจ ลุกขึ้นทำอะไรโดยไม่มีเหตุ เมื่อทราบสาเหตุ ก็ต้องมีการปรามไว้ก่อน ในระยะนี้ซึ่งมีความเคลื่อนไหวผิดปกติ
พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม กล่าวถึง พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ กับคำสั่งหัวหน้าคสช. ควรยึดอะไรเป็นหลักว่า "คุณว่าอันไหนแรงกว่าล่ะ มันดีทั้งคู่นั่นแหล่ะ ถ้าปฏิบัติได้มันก็ดี คนไม่ชอบก็บอกว่าไม่ดี" เมื่อถามว่า คิดว่าตอนนี้กลุ่มการเมืองควรอยู่เฉยๆ หรือไม่ พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า นายกฯ ตอบไปแล้ว ตนไม่พูดแล้ว
นายดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีการจ้างล็อบบี้ยิสต์ ของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ในการโจมตีประเทศไทย ว่า ไม่ขอพูดเรื่องดังกล่าว เมื่อถามย้ำว่า ประเทศไทยเคยคิดใช้ล็อบบี้ยิสต์บ้างหรือไม่ นายดอน กล่าวว่า คสช. อยู่มา 2 ปี โดยไม่มีล็อบบี้ยิสต์ยังอยู่ได้ เพราะเราตั้งใจในการทำงาน หากจะใช้ จะมีการเปิดเผย และหลายประเทศเขาก็ใช้กัน ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ
" เวลานี้เราเอาความจริงเข้าสู้ เหมือนที่ผ่านมา ซึ่งก่อนหน้านี้ประมาณ 1 ปี ผมก็เป็นคนหนึ่งที่เคยชักชวนอย่างไม่เป็นทางการ แต่ผู้ใหญ่บอกว่า เอาไว้ก่อน และเราก็สู้ด้วยการทำงาน และความจริงล็อบบี้ยิสต์ช่วยให้เรามีแรง เป็นปากเป็นเสียงที่เป็นชาวต่างชาติ ให้มาทำอะไรแทนเราได้ แต่วันนี้เราใช้คนไทยด้วยกันเองทำทุกอย่าง ซึ่งถือเป็นความภูมิใจ" นายดอน กล่าว
ส่วนระเบียบของ กกต.ที่จะแสดงความเห็นในช่วงประชามติ ผ่านสื่อ ติดป้าย รวมถึงส่งข้อความผ่านทางโซเซียลมีเดียได้นั้น เป็นสิ่งที่เราขอให้ กกต.ระบุมาให้ชัดเจนว่า อะไรสีดำ สีขาว หรือ สีเทา แต่กกต.ไม่จำเป็นต้องส่งหลักเกณฑ์อะไรมาให้รัฐบาลตรวจทาน เพราะเป็นความรับผิดชอบของ กกต. และเป็นผู้มีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆได้อยู่แล้ว
เมื่อถามว่า เรื่องที่ กกต.ระบุให้ทำได้ในช่วงประชามติ อาจขัดคำสั่งของคสช. ทั้งเรื่องการแสดงความเห็น การชุมนุม นายวิษณุ กล่าวว่า เป็นสิ่งที่ กกต. สั่งตามบริบทของ พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ แต่หากมีส่วนใดที่ผิดตามคำสั่งคสช. ถือเป็นอีกเรื่อง ขณะที่คำสั่ง คสช. กับ พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติฯ นั้น สามารถใช้ควบคู่กันได้ โดยไม่มีอะไรใหญ่ไปกว่ากัน เพราะเป็นคนละกรณี ซึ่งอะไรที่หลุดจากกฎหมายหนึ่ง อาจไปเจอคำสั่งคสช. ก็ได้ แต่ในกรณีที่ปลุกระดมในเวทีแสดงความเห็น ย่อมผิดตาม มาตรา 61 พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติฯอยู่แล้ว แต่ถามว่า ปลุกระดม คืออะไร กกต. ต้องอธิบายได้
นายวิษณุ กล่าวถึงกรณีที่ กลุ่มนปช. และ กลุ่ม กปปส. ออกมาแถลงจุดยืนต่อร่างรัฐธรรมนูญในทำนองไม่เห็นด้วย และเห็นด้วย ว่า ไม่ขอตอบว่า การกระทำของทั้ง 2 กลุ่ม จะขัด พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติฯ หรือไม่ เพราะเป็นการวินิจฉัยการกระทำสิ่งนั้น ควรให้ตำรวจ อัยการ ศาล เป็นผู้วินิจฉัย ตนจะบอกว่าผิด จึงไปจับ หรือบอกว่าไม่ผิด จึงไม่จับ ก็คงไม่ใช่ ยอมรับว่าหากเรื่องนี้ไม่มีความชัดเจน ก็จะมีกรณีอื่นๆตามมาได้ ทางที่ดีไม่ควรทำอะไรที่เสี่ยง ล่อแหลม ในระยะนี้เพราะไม่ใช่เหตุที่คสช. จะตระหนก ตกใจ ลุกขึ้นทำอะไรโดยไม่มีเหตุ เมื่อทราบสาเหตุ ก็ต้องมีการปรามไว้ก่อน ในระยะนี้ซึ่งมีความเคลื่อนไหวผิดปกติ
พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม กล่าวถึง พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ กับคำสั่งหัวหน้าคสช. ควรยึดอะไรเป็นหลักว่า "คุณว่าอันไหนแรงกว่าล่ะ มันดีทั้งคู่นั่นแหล่ะ ถ้าปฏิบัติได้มันก็ดี คนไม่ชอบก็บอกว่าไม่ดี" เมื่อถามว่า คิดว่าตอนนี้กลุ่มการเมืองควรอยู่เฉยๆ หรือไม่ พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า นายกฯ ตอบไปแล้ว ตนไม่พูดแล้ว
นายดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีการจ้างล็อบบี้ยิสต์ ของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ในการโจมตีประเทศไทย ว่า ไม่ขอพูดเรื่องดังกล่าว เมื่อถามย้ำว่า ประเทศไทยเคยคิดใช้ล็อบบี้ยิสต์บ้างหรือไม่ นายดอน กล่าวว่า คสช. อยู่มา 2 ปี โดยไม่มีล็อบบี้ยิสต์ยังอยู่ได้ เพราะเราตั้งใจในการทำงาน หากจะใช้ จะมีการเปิดเผย และหลายประเทศเขาก็ใช้กัน ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ
" เวลานี้เราเอาความจริงเข้าสู้ เหมือนที่ผ่านมา ซึ่งก่อนหน้านี้ประมาณ 1 ปี ผมก็เป็นคนหนึ่งที่เคยชักชวนอย่างไม่เป็นทางการ แต่ผู้ใหญ่บอกว่า เอาไว้ก่อน และเราก็สู้ด้วยการทำงาน และความจริงล็อบบี้ยิสต์ช่วยให้เรามีแรง เป็นปากเป็นเสียงที่เป็นชาวต่างชาติ ให้มาทำอะไรแทนเราได้ แต่วันนี้เราใช้คนไทยด้วยกันเองทำทุกอย่าง ซึ่งถือเป็นความภูมิใจ" นายดอน กล่าว