ปชป. ยื่นข้อเสนอ"บิ๊กตู่" จับมือร่วมทุนรถไฟไทย-จีน หวั่นความเสี่ยงไทยต้องแบกรับภาระทางการเงิน ด้านอดีตหอฯ อีสานเชียร์นักลงทุนไทยร่วมลงขัน
เมื่อเวลา 09.30 น.วานนี้ (28มี.ค.) ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) นายกรณ์ จาติกวณิช อดีต รมว.คลัง พร้อมคณะ เป็นตัวแทน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยื่นหนังสือผ่านศูนย์บริการประชาชน ถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. เพื่อเสนอข้อคิดเห็นต่อกรณีความร่วมมือด้านการพัฒนากิจการรถไฟไทย-จีน
นายกรณ์ กล่าวว่า ตนในฐานะตัวแทนนายอภิสิทธิ์ และพรรคประชาธิปัตย์ มีข้อเสนอแนะต่อแผนก่อสร้างเร็วไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ดังนี้
1. เส้นทางดังกล่าวจะไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และอาจซ้ำซ้อนกับโครงการรถไฟทางคู่ ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย จะพัฒนา
2. โครงการมีความเสี่ยงทางการเงิน มากกว่าที่ไทยจะแบกรับภาระไว้ได้ ในฐานะผู้ลงทุนแต่เพียงผู้เดียว
3. การลงทุน การบริหาร และการดูแลกิจการรถไฟความเร็วสูง ควรดำเนินการโดยบริษัทร่วมทุนที่จัดตั้งใหม่ เนื่องจากการรถไฟแห่งประเทศไทย มีภาระมากอยู่แล้ว และยังจำเป็นต้องมีการปฏิรูปการบริหารการรถไฟ เพื่อเพิ่มประสิทธิ์ภาพการทำงานขององค์กร
4. การลงทุนควรผ่านการพิจารณาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และประชาชนอย่างรอบคอบตามกฎหมาย
5. มั่นใจว่าการเจรจากับรัฐบาลจีน จะลุล่วงต่อเมื่อนายกรัฐมนตรี เป็นผู้เจรจาโดยตรงกับรัฐบาลจีนเท่านั้น
6. การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ควรให้ความสำคัญเรื่องการพัฒนาระบบโลจิสติกส์อย่างเร่งด่วน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ขณะที่นายทวิสันต์ โลณานุรักษ์ อดีตเลขาธิการหอการค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แสดงความเห็นส่วนตัวถึงกรณีรัฐบาลจะเข้ามาลงทุนเองว่า แล้วคิดว่าการที่รัฐบาลต้องตัดสินใจเช่นนี้ เนื่องจากจีนเป็นผู้ออกเงินลงทุน แต่มีการขอสิทธิประโยชน์มากมายตามมา รวมทั้งรัฐบาลชุดนี้ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะเร่งทำเมกะโปรเจกต์ แต่มีเวลาเหลืออยู่อีกแค่ 1 ปีกว่าเท่านั้น ทำให้รัฐบาลไม่มีทางเลือกอื่น จึงต้องรีบตัดสินใจอนุมัติโครงการเมกะโปรเจกต์ให้ได้สัก 1 โครงการ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับประชาชน โดยรัฐบาลยังคงใช้เทคโนโลยีของจีนในการสร้าง ทำให้มีราคาถูกและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็ยังดีอยู่
สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมานี้ ตนก็มองว่ามีความเหมาะสม เนื่องจากมีปัจจัยที่ได้เปรียบอยู่ 3 ประการ ได้แก่ (1. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด มีประชากรรวมกันแล้วมากกว่า 20 ล้านคน (2. ในแต่ละปีบนถนนสายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นมากที่สุด โดยเฉพาะช่วงเทศกาลต่างๆ (3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ไปยังประเทศในแถบอาเซียนได้หลายประเทศอีกด้วยแต่การลงทุนสร้างรถไฟความเร็วสูงในครั้งนี้ มีมูลค่าสูงถึง 1.7 แสนล้านบาท ทำให้หลายฝ่ายรู้สึกเป็นห่วงว่ารัฐบาลจะทำไม่ได้ ซึ่งตนมองว่าเรื่องการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่เช่นนี้ เราต้องมองไปที่นักลงทุนในประเทศก่อน เนื่องจากที่ผ่านมาเราจะเห็นว่านักธุรกิจ นักลงทุนของไทยนั้นมีศักยภาพมาก
ดังนั้น หากรัฐบาลจะเปิดโอกาสให้นักลงทุนของไทย เข้ามาร่วมลงทุนก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ก็มีความเป็นไปได้แน่นอน โดยเฉพาะนักลงทุนชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งตนเชื่อว่ามีศักยภาพเพียงพอ หากจะให้นักลงทุนในแต่ละจังหวัด ร่วมลงขันจังหวัดละ 5,000 ล้านบาท 20 จังหวัด ก็ได้เงิน 100,000 ล้านบาทแล้ว ที่เหลือก็ให้กลุ่มทุนส่วนกลางที่สนใจเข้ามาร่วมแจมอีกส่วนหนึ่ง.
เมื่อเวลา 09.30 น.วานนี้ (28มี.ค.) ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) นายกรณ์ จาติกวณิช อดีต รมว.คลัง พร้อมคณะ เป็นตัวแทน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยื่นหนังสือผ่านศูนย์บริการประชาชน ถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. เพื่อเสนอข้อคิดเห็นต่อกรณีความร่วมมือด้านการพัฒนากิจการรถไฟไทย-จีน
นายกรณ์ กล่าวว่า ตนในฐานะตัวแทนนายอภิสิทธิ์ และพรรคประชาธิปัตย์ มีข้อเสนอแนะต่อแผนก่อสร้างเร็วไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ดังนี้
1. เส้นทางดังกล่าวจะไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และอาจซ้ำซ้อนกับโครงการรถไฟทางคู่ ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย จะพัฒนา
2. โครงการมีความเสี่ยงทางการเงิน มากกว่าที่ไทยจะแบกรับภาระไว้ได้ ในฐานะผู้ลงทุนแต่เพียงผู้เดียว
3. การลงทุน การบริหาร และการดูแลกิจการรถไฟความเร็วสูง ควรดำเนินการโดยบริษัทร่วมทุนที่จัดตั้งใหม่ เนื่องจากการรถไฟแห่งประเทศไทย มีภาระมากอยู่แล้ว และยังจำเป็นต้องมีการปฏิรูปการบริหารการรถไฟ เพื่อเพิ่มประสิทธิ์ภาพการทำงานขององค์กร
4. การลงทุนควรผ่านการพิจารณาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และประชาชนอย่างรอบคอบตามกฎหมาย
5. มั่นใจว่าการเจรจากับรัฐบาลจีน จะลุล่วงต่อเมื่อนายกรัฐมนตรี เป็นผู้เจรจาโดยตรงกับรัฐบาลจีนเท่านั้น
6. การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ควรให้ความสำคัญเรื่องการพัฒนาระบบโลจิสติกส์อย่างเร่งด่วน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ขณะที่นายทวิสันต์ โลณานุรักษ์ อดีตเลขาธิการหอการค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แสดงความเห็นส่วนตัวถึงกรณีรัฐบาลจะเข้ามาลงทุนเองว่า แล้วคิดว่าการที่รัฐบาลต้องตัดสินใจเช่นนี้ เนื่องจากจีนเป็นผู้ออกเงินลงทุน แต่มีการขอสิทธิประโยชน์มากมายตามมา รวมทั้งรัฐบาลชุดนี้ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะเร่งทำเมกะโปรเจกต์ แต่มีเวลาเหลืออยู่อีกแค่ 1 ปีกว่าเท่านั้น ทำให้รัฐบาลไม่มีทางเลือกอื่น จึงต้องรีบตัดสินใจอนุมัติโครงการเมกะโปรเจกต์ให้ได้สัก 1 โครงการ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับประชาชน โดยรัฐบาลยังคงใช้เทคโนโลยีของจีนในการสร้าง ทำให้มีราคาถูกและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็ยังดีอยู่
สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมานี้ ตนก็มองว่ามีความเหมาะสม เนื่องจากมีปัจจัยที่ได้เปรียบอยู่ 3 ประการ ได้แก่ (1. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด มีประชากรรวมกันแล้วมากกว่า 20 ล้านคน (2. ในแต่ละปีบนถนนสายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นมากที่สุด โดยเฉพาะช่วงเทศกาลต่างๆ (3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ไปยังประเทศในแถบอาเซียนได้หลายประเทศอีกด้วยแต่การลงทุนสร้างรถไฟความเร็วสูงในครั้งนี้ มีมูลค่าสูงถึง 1.7 แสนล้านบาท ทำให้หลายฝ่ายรู้สึกเป็นห่วงว่ารัฐบาลจะทำไม่ได้ ซึ่งตนมองว่าเรื่องการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่เช่นนี้ เราต้องมองไปที่นักลงทุนในประเทศก่อน เนื่องจากที่ผ่านมาเราจะเห็นว่านักธุรกิจ นักลงทุนของไทยนั้นมีศักยภาพมาก
ดังนั้น หากรัฐบาลจะเปิดโอกาสให้นักลงทุนของไทย เข้ามาร่วมลงทุนก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ก็มีความเป็นไปได้แน่นอน โดยเฉพาะนักลงทุนชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งตนเชื่อว่ามีศักยภาพเพียงพอ หากจะให้นักลงทุนในแต่ละจังหวัด ร่วมลงขันจังหวัดละ 5,000 ล้านบาท 20 จังหวัด ก็ได้เงิน 100,000 ล้านบาทแล้ว ที่เหลือก็ให้กลุ่มทุนส่วนกลางที่สนใจเข้ามาร่วมแจมอีกส่วนหนึ่ง.