ผู้จัดการรายวัน 360 - ครม.ไฟเขียว “บ้านประชารัฐ” เปิดโอกาสประชาชน ข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ บุคลากรทางการศึกษา ซื้อบ้านหลังแรก ไม่กำหนดเพดานรายได้ โยน ธอส. ออมสิน กรุงไทยปล่อยกู้วงเงิน 7 หมื่นล้านบาท กำหนดเอกชนรับภาระภาษี 3% ส่วนลดเพิ่ม 2% ด้าน ธอส.-ออมสิน รับลูกให้กู้ดอกเบี้ยต่ำเริ่มเปิดรับคำขอสินเชื่อ 23 มี.ค.
นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (22 มี.ค.) เห็นชอบโครงการบ้านประชารัฐตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมอบหมายให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.), ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย(KTB) ให้สินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรน ทั้งสินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการและสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยหรือซ่อมแซมต่อเติม มีระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ ครม.มีมติเห็นชอบ
สำหรับคุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการฯ ต้องเป็นผู้มีรายได้น้อยครอบคลุมทั้งผู้มีรายได้ประจำ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ และบุคลากรทางการศึกษา และผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นอนหรืออาชีพอิสระที่ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยมาก่อน ยกเว้นกรณีการซ่อมแซม และ/หรือต่อเติมที่อยู่อาศัย ทั้งนี้มูลค่ารวมของที่ดินและที่อยู่อาศัยที่จะเข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีมูลค่าไม่เกิน 1.5 ล้านบาทต่อหน่วย โดยให้ ธอส. และธนาคารออมสิน ทำหน้าที่คัดกรองคุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการฯ
ขณะที่เอกชนเข้าร่วมพัฒนาโครงการฯ ต้องรับภาระค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์ 2% ของราคาที่อยู่อาศัย และค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการจำนอง 1% ของมูลค่าจำนอง เป็นระยะเวลา 2 ปี และรับภาระค่าใช้จ่ายส่วนกลางในปีที่ 1 รวมทั้งให้ส่วนลดพิเศษไม่น้อยกว่า 2% จากราคาขายสุทธิหลังหักส่วนลดปกติแล้ว
***ธอส.พร้อมปล่อยกู้วันนี้ (23 มี.ค.)
นางไลวรรณ ปองเสงี่ยม รองกรรมการผู้จัดการ รักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กล่าวว่า ธอส. ได้รับมอบหมายจากภาครัฐให้สนับสนุนสินเชื่อ “โครงการบ้านประชารัฐ” วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 1.สินเชื่อพัฒนาโครงการ วงเงิน 10,000 ล้านบาท ให้กู้สำหรับผู้ประกอบการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อเข้าร่วมโครงการบ้านประชารัฐ อัตราดอกเบี้ยคงที่ปีที่ 1-2 เท่ากับ 4 % ต่อปี ปีที่ 3 จนถึงตลอดอายุสัญญาเงินกู้ อัตราดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่า MLR - 1% ต่อปี (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MLR อยู่ที่ 6.65% ต่อปี)
2.สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชนทั่วไป วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน แบ่งเป็น 1. วงเงินกู้เพื่อซื้อหรือก่อสร้างที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 700,000 บาท หรือกรณีกู้เพื่อซ่อมแซมหรือต่อเติมวงเงินไม่เกิน 500,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย 0% นาน 1 ปีแรก ปีที่ 2 - 3 อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี ปีที่ 4-6 อัตราดอกเบี้ย 5% ต่อปี และปีที่ 7 จนถึงตลอดอายุสัญญา อัตราดอกเบี้ย MRR-0.75% ต่อปี (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MRR อยู่ที่ 6.75% ต่อปี)
2. วงเงินกู้เพื่อซื้อหรือก่อสร้างที่อยู่อาศัยราคามากกว่า 700,000 บาทแต่ไม่เกิน 1.5 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ปีที่ 1-3 เท่ากับ 3% ต่อปี ปีที่ 4-6 อัตราดอกเบี้ย 5% ต่อปี และปีที่ 7 จนถึงตลอดอายุสัญญา กรณีลูกค้าสวัสดิการ อัตราดอกเบี้ย MRR-1% ต่อปี และกรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไป อัตราดอกเบี้ย MRR-0.75% ต่อปี โดยผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการจะต้องไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยมาก่อน ยกเว้นกรณีซ่อมแซมหรือต่อเติมที่อยู่อาศัย ซึ่งมูลค่ารวมของที่ดินและที่อยู่อาศัย ที่จะขอกู้เพื่อซ่อมแซมหรือต่อเติมต้องไม่เกิน 1.5 ล้านบาท
นอกจากนี้ ธอส.ยังได้ผ่อนปรนสัดส่วนความสามารถชำระหนี้ต่อรายได้ (Debt Service Ratio หรือ DSR) เพิ่มเป็นสูงสุดไม่เกิน 50% ของรายได้สุทธิต่อเดือนกรณีลูกค้ารายย่อย กรณีลูกค้าสวัสดิการที่ทำข้อตกลงหักเงินเดือนกับธนาคารจะใช้ DSR ที่ 80% ของรายได้สุทธิ ผ่อนชำระนานสูงสุด 30 ปี ซึ่งจะทำให้วงเงินกู้ของลูกค้าเพิ่มสูงขึ้น และอัตราผ่อนชำระรายเดือนลดลง อาทิ กรณีวงกู้ไม่เกิน 700,000 บาท เริ่มต้นผ่อนชำระ 3 ปีแรกเพียง 3,000 บาท/เดือน วงเงินกู้ 1.5 ล้านบาท เริ่มต้นผ่อนชำระ 7,200 บาท/เดือน กรณีกู้ซ่อมแซม / ต่อเติม วงเงินกู้ไม่เกิน 500,000 บาท เริ่มต้นผ่อนชำระ 2,100 บาท/เดือน นอกจากนี้ ธอส.ยังมีทรัพย์ NPA ที่เข้าร่วมโครงการกว่า 2,300 รายการ ลูกค้าที่สนใจสามารถติดต่อยื่นคำขอกู้ได้ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2559 เป็นต้นไป ที่ ธอส.ทุกสาขาทั่วประเทศ
***ออมสินคาดปชช.แห่ขอสินเชื่อกว่า 20,000 ราย
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ธนาคารออมสินได้จัดสรรวงเงินสำหรับโครงการบ้านประชารัฐจำนวน 20,000 ล้านบาท ระยะเวลาโครงการไม่เกิน 2 ปี หลักเกณฑ์ปล่อยสินเชื่อแบบมาก่อนได้ก่อน เมื่อหมดวงเงินถือว่าสิ้นสุดโครงการ ซึ่งธนาคารฯ ไม่จำกัดรายได้ผู้กู้ แต่สัดส่วนภาระผ่อนชำระหนี้รวมต่อรายได้สุทธิรวม (DTI) ต้องไม่เกิน 50% กำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่เป็นขั้นบันไดในช่วง 6 ปีแรก ผ่อนนาน 30 ปี โดยปีที่ 7 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย MRR-1.475 ถึง MRR-1.725% เงินงวด 7,900 - 9,100 บาท ทั้งนี้คาดว่าจะปล่อยสินเชื่อให้ผู้มีรายได้น้อยราว 2 หมื่นราย หรือเฉลี่ยรายละประมาณ 1 ล้านบาท
***เอกชนหนุนบ้านประชารัฐคาดดันตลาดโต 5%
นายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า โครงการบ้านประชารัฐจะช่วยให้ตลาดบ้านราคาต่ำกว่า 1.5 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มนี้มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ราว 15-20% เติบโตขึ้นมาก โดยเฉพาะในต่างจังหวัดที่มีจำนวนบ้านราคาไม่เกิน 1.5 ล้านบาทจำนวนมาก แม้ว่าผู้บริโภคในต่างจังหวัดจะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและภัยแล้งก็ตาม แม้ว่าตลาดดังกล่าวจะเติบโตมากแต่เนื่องจากบ้านกลุ่มนี้มีส่วนแบ่งตลาดน้อยจึงทำให้ตลาดอสังหาฯโดยรวมเติบโตได้ประมาณ 5% เท่านั้น อย่างไรก็ตามมาตรการดังกล่าวจะช่วยสร้างความคึกคักให้แก่ตลาดอสังหาฯโดยรวมได้เป็นอย่างดี
นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (22 มี.ค.) เห็นชอบโครงการบ้านประชารัฐตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมอบหมายให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.), ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย(KTB) ให้สินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรน ทั้งสินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการและสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยหรือซ่อมแซมต่อเติม มีระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ ครม.มีมติเห็นชอบ
สำหรับคุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการฯ ต้องเป็นผู้มีรายได้น้อยครอบคลุมทั้งผู้มีรายได้ประจำ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ และบุคลากรทางการศึกษา และผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นอนหรืออาชีพอิสระที่ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยมาก่อน ยกเว้นกรณีการซ่อมแซม และ/หรือต่อเติมที่อยู่อาศัย ทั้งนี้มูลค่ารวมของที่ดินและที่อยู่อาศัยที่จะเข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีมูลค่าไม่เกิน 1.5 ล้านบาทต่อหน่วย โดยให้ ธอส. และธนาคารออมสิน ทำหน้าที่คัดกรองคุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการฯ
ขณะที่เอกชนเข้าร่วมพัฒนาโครงการฯ ต้องรับภาระค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์ 2% ของราคาที่อยู่อาศัย และค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการจำนอง 1% ของมูลค่าจำนอง เป็นระยะเวลา 2 ปี และรับภาระค่าใช้จ่ายส่วนกลางในปีที่ 1 รวมทั้งให้ส่วนลดพิเศษไม่น้อยกว่า 2% จากราคาขายสุทธิหลังหักส่วนลดปกติแล้ว
***ธอส.พร้อมปล่อยกู้วันนี้ (23 มี.ค.)
นางไลวรรณ ปองเสงี่ยม รองกรรมการผู้จัดการ รักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กล่าวว่า ธอส. ได้รับมอบหมายจากภาครัฐให้สนับสนุนสินเชื่อ “โครงการบ้านประชารัฐ” วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 1.สินเชื่อพัฒนาโครงการ วงเงิน 10,000 ล้านบาท ให้กู้สำหรับผู้ประกอบการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อเข้าร่วมโครงการบ้านประชารัฐ อัตราดอกเบี้ยคงที่ปีที่ 1-2 เท่ากับ 4 % ต่อปี ปีที่ 3 จนถึงตลอดอายุสัญญาเงินกู้ อัตราดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่า MLR - 1% ต่อปี (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MLR อยู่ที่ 6.65% ต่อปี)
2.สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชนทั่วไป วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน แบ่งเป็น 1. วงเงินกู้เพื่อซื้อหรือก่อสร้างที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 700,000 บาท หรือกรณีกู้เพื่อซ่อมแซมหรือต่อเติมวงเงินไม่เกิน 500,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย 0% นาน 1 ปีแรก ปีที่ 2 - 3 อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี ปีที่ 4-6 อัตราดอกเบี้ย 5% ต่อปี และปีที่ 7 จนถึงตลอดอายุสัญญา อัตราดอกเบี้ย MRR-0.75% ต่อปี (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MRR อยู่ที่ 6.75% ต่อปี)
2. วงเงินกู้เพื่อซื้อหรือก่อสร้างที่อยู่อาศัยราคามากกว่า 700,000 บาทแต่ไม่เกิน 1.5 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ปีที่ 1-3 เท่ากับ 3% ต่อปี ปีที่ 4-6 อัตราดอกเบี้ย 5% ต่อปี และปีที่ 7 จนถึงตลอดอายุสัญญา กรณีลูกค้าสวัสดิการ อัตราดอกเบี้ย MRR-1% ต่อปี และกรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไป อัตราดอกเบี้ย MRR-0.75% ต่อปี โดยผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการจะต้องไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยมาก่อน ยกเว้นกรณีซ่อมแซมหรือต่อเติมที่อยู่อาศัย ซึ่งมูลค่ารวมของที่ดินและที่อยู่อาศัย ที่จะขอกู้เพื่อซ่อมแซมหรือต่อเติมต้องไม่เกิน 1.5 ล้านบาท
นอกจากนี้ ธอส.ยังได้ผ่อนปรนสัดส่วนความสามารถชำระหนี้ต่อรายได้ (Debt Service Ratio หรือ DSR) เพิ่มเป็นสูงสุดไม่เกิน 50% ของรายได้สุทธิต่อเดือนกรณีลูกค้ารายย่อย กรณีลูกค้าสวัสดิการที่ทำข้อตกลงหักเงินเดือนกับธนาคารจะใช้ DSR ที่ 80% ของรายได้สุทธิ ผ่อนชำระนานสูงสุด 30 ปี ซึ่งจะทำให้วงเงินกู้ของลูกค้าเพิ่มสูงขึ้น และอัตราผ่อนชำระรายเดือนลดลง อาทิ กรณีวงกู้ไม่เกิน 700,000 บาท เริ่มต้นผ่อนชำระ 3 ปีแรกเพียง 3,000 บาท/เดือน วงเงินกู้ 1.5 ล้านบาท เริ่มต้นผ่อนชำระ 7,200 บาท/เดือน กรณีกู้ซ่อมแซม / ต่อเติม วงเงินกู้ไม่เกิน 500,000 บาท เริ่มต้นผ่อนชำระ 2,100 บาท/เดือน นอกจากนี้ ธอส.ยังมีทรัพย์ NPA ที่เข้าร่วมโครงการกว่า 2,300 รายการ ลูกค้าที่สนใจสามารถติดต่อยื่นคำขอกู้ได้ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2559 เป็นต้นไป ที่ ธอส.ทุกสาขาทั่วประเทศ
***ออมสินคาดปชช.แห่ขอสินเชื่อกว่า 20,000 ราย
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ธนาคารออมสินได้จัดสรรวงเงินสำหรับโครงการบ้านประชารัฐจำนวน 20,000 ล้านบาท ระยะเวลาโครงการไม่เกิน 2 ปี หลักเกณฑ์ปล่อยสินเชื่อแบบมาก่อนได้ก่อน เมื่อหมดวงเงินถือว่าสิ้นสุดโครงการ ซึ่งธนาคารฯ ไม่จำกัดรายได้ผู้กู้ แต่สัดส่วนภาระผ่อนชำระหนี้รวมต่อรายได้สุทธิรวม (DTI) ต้องไม่เกิน 50% กำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่เป็นขั้นบันไดในช่วง 6 ปีแรก ผ่อนนาน 30 ปี โดยปีที่ 7 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย MRR-1.475 ถึง MRR-1.725% เงินงวด 7,900 - 9,100 บาท ทั้งนี้คาดว่าจะปล่อยสินเชื่อให้ผู้มีรายได้น้อยราว 2 หมื่นราย หรือเฉลี่ยรายละประมาณ 1 ล้านบาท
***เอกชนหนุนบ้านประชารัฐคาดดันตลาดโต 5%
นายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า โครงการบ้านประชารัฐจะช่วยให้ตลาดบ้านราคาต่ำกว่า 1.5 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มนี้มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ราว 15-20% เติบโตขึ้นมาก โดยเฉพาะในต่างจังหวัดที่มีจำนวนบ้านราคาไม่เกิน 1.5 ล้านบาทจำนวนมาก แม้ว่าผู้บริโภคในต่างจังหวัดจะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและภัยแล้งก็ตาม แม้ว่าตลาดดังกล่าวจะเติบโตมากแต่เนื่องจากบ้านกลุ่มนี้มีส่วนแบ่งตลาดน้อยจึงทำให้ตลาดอสังหาฯโดยรวมเติบโตได้ประมาณ 5% เท่านั้น อย่างไรก็ตามมาตรการดังกล่าวจะช่วยสร้างความคึกคักให้แก่ตลาดอสังหาฯโดยรวมได้เป็นอย่างดี