นายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึงข้อเสนอของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่จะให้มีส.ว.สรรหา ในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปีว่า ยังไม่เห็นมีหนังสือมา ถ้าส่งมาเป็นลายลักษณ์อักษร เราก็พร้อมจะพิจารณา ซึ่งตนไม่หนักใจกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ไว้ดูเอาก็แล้วกัน
** "บิ๊กป้อม"แบะท่าให้คสช.เป็นส.ว.สรรหา
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงข้อเสนอให้มีส.ว.สรรหา ในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปีว่า เรื่องนี้ถ้าคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ไม่เห็นด้วย ก็เป็นเรื่องของเขา เป็นความคิดส่วนตัวของตน ซึ่งเป็นรองหัวหน้าคสช. เพียงคนเดียว ไม่ใช่มติ คสช. เพราะมองว่าเรื่องนี้ มีความสำคัญ ต่อไปถ้าส.ว.สรรหา ทำงานร่วมกับส.ส. เลือกตั้ง จะพูดจากันได้มากขึ้น อนาคตของประเทศต้องร่วมมือกัน ถ้ามัวแต่ทะเลาะกัน มันไปไม่ได้ ต่อไปอาจเป็นส.ว.สรรหาตลอดไปก็ได้ ที่สุดแล้วรัฐธรรมนูญ เขียนอย่างไรก็ว่าไป แต่นี่เป็นบทเฉพาะกาล ที่ตนเสนอไป ขอแค่ 5 ปี เท่านั้น พร้อมทั้งยืนยันว่า ส.ว.สรรหาไม่เกี่ยวกับการเลือกนายกฯ เพียงแต่ทำงานร่วมกับส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้ง ส.ส.ทำอะไร ส.ว.ทำอะไร มีอำนาจอย่างไร ก็ว่าไป โดยส.ว.สรรหา จะเน้นไปที่การปฏิรูป และยุทธศาสตร์ชาติ ให้เดินหน้า
เมื่อถามว่า มีข้อสงสัยว่าพอคสช. หมดไป จะกลายสภาพมาเป็นส.ว.สรรหา พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ก็ไม่แน่ จะผิดตรงไหน ทางคสช.เข้าใจเรื่องเหล่านี้ ก็ไปคุยกัน ไม่เห็นผิด เมื่อถามย้ำว่าจะเป็นการสืบทอดอำนาจหรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า อำนาจ คือ ตำแหน่งหน้าที่ผู้บริหาร แต่ส.ว.สรรหาไม่ได้เข้าไปอยู่ในครม. ไม่ได้เข้ามาใช้อำนาจ แต่เข้ามาใช้ความคิด
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีพล.อ.ประวิตร ระบุว่า คสช.น่าเข้าเป็นไป ส.ว.สรรหาได้ว่า ภาษาพูด กับเวลาที่ไปสื่อสาร ความชัดเจนอาจแตกต่างกัน ถ้าเริ่มต้นว่า ห้าม คสช.ไปเป็น ตนเชื่อว่าพล.อ.ประวิตร จะตอบว่าไม่ควรจะห้าม หรือไม่น่าห้าม สิ่งที่ พล.อ.ประวิตร พูดน่าจะความหมายอย่างนั้น และเมื่อไม่ห้าม จะเป็น หรือไม่เป็นก็ได้ แต่ไม่ใช่ไปเป็นโดยอัตโนมัติ ซึ่งไม่เหมือนกับ คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูป และการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) ที่ระบุเลยว่า ใครมาเป็น คปป. ทั้งนี้คำพูดของพล.อ.ประวิตร ก็เหมือนกับการเปิดว่า คสช. จะมาเป็นหรือไม่เป็นก็ได้ และการมาเป็น ส.ว.สรรหาไม่ใช่ดีอะไรนักหนา เพราะต้องถูกตรวจสอบบัญชีทรัพย์สิน และไม่สามารถทำอะไรได้อีกหลายอย่าง
เมื่อถามว่า หากให้ คสช.มาเป็น ส.ว.สรรหาได้ กลัวหรือไม่ว่าจะถูกมองเป็นการสืบทอดอำนาจ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ใช่อยากเป็นแล้วเป็นได้เลย ต้องมีการสรรหา
เมื่อถามว่า ใครควรเป็นผู้สรรหาส.ว. นายวิษณุ ตอบว่าไม่มีใครรู้ แม้แต่ พล.อ.ประวิตร ที่เสนอความเห็นนี้ และก็ไม่รู้ว่า นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. ได้ข้อยุติเรื่อง ส.ว.สรรหาแล้วหรือยัง ซึ่งตนอาจเดาใจนายมีชัยถูก แต่กรรมการ กรธ. อีก 20 คน ตนเดาใจไม่ถูก
**ส.ว.สรรหาต้องไม่มีอำนาจเหนือรัฐบาล
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีความเห็นของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ที่ต้องการให้มี ส.ว.สรรหา แต่จะไม่ให้มีอำนาจโหวตนายกรัฐมนตรี ว่า ก็จะทำให้แรงเสียดทานลดลง แต่ต้องรวมอำนาจหน้าที่ ว่าจะเป็นอย่างไร เพราะสำหรับตนไม่ว่าจะเป็นการสรรหา แต่งตั้ง เลือกโดยอ้อม หรือเลือกไขว้ ประชาชนก็ไม่มีส่วนร่วมอยู่แล้ว
ส่วนที่บอกว่าต้องการให้ ส.ว. มีอำนาจในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศนั้น หากเป็นการขับเคลื่อนเหมือนสภาปฏิรูปประเทศปัจจุบัน ก็ไม่มีปัญหาอะไร หรือต้องการให้มีองค์กรที่เตือนรัฐบาล เพื่อไม่ให้การปฏิรูปชะงัก ก็คงไม่เป็นปัญหา แต่ต้องไม่ไปไกลถึงขั้นจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล เพราะจะกลายเป็นเรื่องการเมือง จึงต้องดูว่าจะมีการวางกลไกนี้อย่างไร ในช่วงเปลี่ยนผ่าน
ทั้งนี้ ส่วนตัวเห็นว่าควรจะมีบทบาทในการกระตุ้นเตือนรัฐบาล แต่ไม่ใช่มีอำนาจเหนือรัฐบาล หรือสภาผู้แทนฯ ไม่เช่นนั้นจะเป็นปัญหา เพราะขณะนี้ยังไม่ชัดเจนเรื่องทิศทาง เช่น การพูดถึงแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี ตามหลักรัฐธรรมนูญ ก็ระบุว่า ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม ดังนั้นรัฐบาลที่เข้ามา ก็มีสิทธิทบทวนได้ แต่ส่วนตัวไม่เห็นประโยชน์ที่จะร่างแผนดังกล่าว เพราะปัจจุบันมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจทุก 5 ปี นับวันก็ถูกลดความสำคัญลง
เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้น ระยะยาวก็มีในแนวนโยบายแห่งรัฐอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องทำแผนหรือออกกฎหมาย เพราะจะเป็นการเพิ่มความซับซ้อน สร้างความยุ่งยากในระบบราชการ
ส่วนจะเป็นรัฐซ้อนรัฐหรือไม่ ขึ้นอยู่กับอำนาจของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ ถ้ามีอำนาจเหนือรัฐบาลก็ไม่ถูกต้องอยู่แล้ว
"สิ่งที่จะเป็นหลักประกันในการปฎิรูปประเทศ ไม่ใช่การเขียนกฎหมาย หรือเขียนแผนบนแผ่นกระดาษ ต้องให้สังคมสนับสนุน เช่น ถ้ามียุทธศาสตร์ให้เด็กไทยรับการศึกษา15 ปี ก็ต้องประกาศให้สังคมรับรู้ เพื่อจะเป็นตัวบีบให้รัฐบาลต้องทำ อย่างผมเคยเสนอให้ทำประชามติปฏิรูปตำรวจ ซึ่งคสช. ยอมรับว่าถ้ามติออกว่าต้องทำ ก็จะทำงานไม่ได้ เพราะประเด็นที่มีแรงเสียดทานมากๆ จะไม่สามารถปฏิรูปได้ วิธีการเดียวที่จะเอาชนะ คือ เสียงของประชาชนหรือสังคม" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
** "บิ๊กป้อม"แบะท่าให้คสช.เป็นส.ว.สรรหา
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงข้อเสนอให้มีส.ว.สรรหา ในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปีว่า เรื่องนี้ถ้าคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ไม่เห็นด้วย ก็เป็นเรื่องของเขา เป็นความคิดส่วนตัวของตน ซึ่งเป็นรองหัวหน้าคสช. เพียงคนเดียว ไม่ใช่มติ คสช. เพราะมองว่าเรื่องนี้ มีความสำคัญ ต่อไปถ้าส.ว.สรรหา ทำงานร่วมกับส.ส. เลือกตั้ง จะพูดจากันได้มากขึ้น อนาคตของประเทศต้องร่วมมือกัน ถ้ามัวแต่ทะเลาะกัน มันไปไม่ได้ ต่อไปอาจเป็นส.ว.สรรหาตลอดไปก็ได้ ที่สุดแล้วรัฐธรรมนูญ เขียนอย่างไรก็ว่าไป แต่นี่เป็นบทเฉพาะกาล ที่ตนเสนอไป ขอแค่ 5 ปี เท่านั้น พร้อมทั้งยืนยันว่า ส.ว.สรรหาไม่เกี่ยวกับการเลือกนายกฯ เพียงแต่ทำงานร่วมกับส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้ง ส.ส.ทำอะไร ส.ว.ทำอะไร มีอำนาจอย่างไร ก็ว่าไป โดยส.ว.สรรหา จะเน้นไปที่การปฏิรูป และยุทธศาสตร์ชาติ ให้เดินหน้า
เมื่อถามว่า มีข้อสงสัยว่าพอคสช. หมดไป จะกลายสภาพมาเป็นส.ว.สรรหา พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ก็ไม่แน่ จะผิดตรงไหน ทางคสช.เข้าใจเรื่องเหล่านี้ ก็ไปคุยกัน ไม่เห็นผิด เมื่อถามย้ำว่าจะเป็นการสืบทอดอำนาจหรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า อำนาจ คือ ตำแหน่งหน้าที่ผู้บริหาร แต่ส.ว.สรรหาไม่ได้เข้าไปอยู่ในครม. ไม่ได้เข้ามาใช้อำนาจ แต่เข้ามาใช้ความคิด
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีพล.อ.ประวิตร ระบุว่า คสช.น่าเข้าเป็นไป ส.ว.สรรหาได้ว่า ภาษาพูด กับเวลาที่ไปสื่อสาร ความชัดเจนอาจแตกต่างกัน ถ้าเริ่มต้นว่า ห้าม คสช.ไปเป็น ตนเชื่อว่าพล.อ.ประวิตร จะตอบว่าไม่ควรจะห้าม หรือไม่น่าห้าม สิ่งที่ พล.อ.ประวิตร พูดน่าจะความหมายอย่างนั้น และเมื่อไม่ห้าม จะเป็น หรือไม่เป็นก็ได้ แต่ไม่ใช่ไปเป็นโดยอัตโนมัติ ซึ่งไม่เหมือนกับ คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูป และการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) ที่ระบุเลยว่า ใครมาเป็น คปป. ทั้งนี้คำพูดของพล.อ.ประวิตร ก็เหมือนกับการเปิดว่า คสช. จะมาเป็นหรือไม่เป็นก็ได้ และการมาเป็น ส.ว.สรรหาไม่ใช่ดีอะไรนักหนา เพราะต้องถูกตรวจสอบบัญชีทรัพย์สิน และไม่สามารถทำอะไรได้อีกหลายอย่าง
เมื่อถามว่า หากให้ คสช.มาเป็น ส.ว.สรรหาได้ กลัวหรือไม่ว่าจะถูกมองเป็นการสืบทอดอำนาจ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ใช่อยากเป็นแล้วเป็นได้เลย ต้องมีการสรรหา
เมื่อถามว่า ใครควรเป็นผู้สรรหาส.ว. นายวิษณุ ตอบว่าไม่มีใครรู้ แม้แต่ พล.อ.ประวิตร ที่เสนอความเห็นนี้ และก็ไม่รู้ว่า นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. ได้ข้อยุติเรื่อง ส.ว.สรรหาแล้วหรือยัง ซึ่งตนอาจเดาใจนายมีชัยถูก แต่กรรมการ กรธ. อีก 20 คน ตนเดาใจไม่ถูก
**ส.ว.สรรหาต้องไม่มีอำนาจเหนือรัฐบาล
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีความเห็นของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ที่ต้องการให้มี ส.ว.สรรหา แต่จะไม่ให้มีอำนาจโหวตนายกรัฐมนตรี ว่า ก็จะทำให้แรงเสียดทานลดลง แต่ต้องรวมอำนาจหน้าที่ ว่าจะเป็นอย่างไร เพราะสำหรับตนไม่ว่าจะเป็นการสรรหา แต่งตั้ง เลือกโดยอ้อม หรือเลือกไขว้ ประชาชนก็ไม่มีส่วนร่วมอยู่แล้ว
ส่วนที่บอกว่าต้องการให้ ส.ว. มีอำนาจในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศนั้น หากเป็นการขับเคลื่อนเหมือนสภาปฏิรูปประเทศปัจจุบัน ก็ไม่มีปัญหาอะไร หรือต้องการให้มีองค์กรที่เตือนรัฐบาล เพื่อไม่ให้การปฏิรูปชะงัก ก็คงไม่เป็นปัญหา แต่ต้องไม่ไปไกลถึงขั้นจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล เพราะจะกลายเป็นเรื่องการเมือง จึงต้องดูว่าจะมีการวางกลไกนี้อย่างไร ในช่วงเปลี่ยนผ่าน
ทั้งนี้ ส่วนตัวเห็นว่าควรจะมีบทบาทในการกระตุ้นเตือนรัฐบาล แต่ไม่ใช่มีอำนาจเหนือรัฐบาล หรือสภาผู้แทนฯ ไม่เช่นนั้นจะเป็นปัญหา เพราะขณะนี้ยังไม่ชัดเจนเรื่องทิศทาง เช่น การพูดถึงแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี ตามหลักรัฐธรรมนูญ ก็ระบุว่า ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม ดังนั้นรัฐบาลที่เข้ามา ก็มีสิทธิทบทวนได้ แต่ส่วนตัวไม่เห็นประโยชน์ที่จะร่างแผนดังกล่าว เพราะปัจจุบันมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจทุก 5 ปี นับวันก็ถูกลดความสำคัญลง
เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้น ระยะยาวก็มีในแนวนโยบายแห่งรัฐอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องทำแผนหรือออกกฎหมาย เพราะจะเป็นการเพิ่มความซับซ้อน สร้างความยุ่งยากในระบบราชการ
ส่วนจะเป็นรัฐซ้อนรัฐหรือไม่ ขึ้นอยู่กับอำนาจของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ ถ้ามีอำนาจเหนือรัฐบาลก็ไม่ถูกต้องอยู่แล้ว
"สิ่งที่จะเป็นหลักประกันในการปฎิรูปประเทศ ไม่ใช่การเขียนกฎหมาย หรือเขียนแผนบนแผ่นกระดาษ ต้องให้สังคมสนับสนุน เช่น ถ้ามียุทธศาสตร์ให้เด็กไทยรับการศึกษา15 ปี ก็ต้องประกาศให้สังคมรับรู้ เพื่อจะเป็นตัวบีบให้รัฐบาลต้องทำ อย่างผมเคยเสนอให้ทำประชามติปฏิรูปตำรวจ ซึ่งคสช. ยอมรับว่าถ้ามติออกว่าต้องทำ ก็จะทำงานไม่ได้ เพราะประเด็นที่มีแรงเสียดทานมากๆ จะไม่สามารถปฏิรูปได้ วิธีการเดียวที่จะเอาชนะ คือ เสียงของประชาชนหรือสังคม" นายอภิสิทธิ์ กล่าว