ผู้จัดการรายวัน360 - 6 แบงก์พร้อมสนับสนุนกลุ่มทรู ออกหนังสือค้ำประกัน 73,036 ล้านบาท เพื่อชำระค่า 4 G พร้อมที่จะชำระเงินงวดแรก 8,040 ล้านบาท ภายใน 2 สัปดาห์ วางเป้าให้บริการโครงการ 900 MHz ให้ครอบคลุมภายในเดือนพ.ค.นี้ ด้านแบงก์กรุงเทพเผย JASยังไม่คืบหน้าในการออกแบงก์การันตีให้
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2559กลุ่มทรู ได้มีการจัดพิธีลงนามความร่วมมือกับ 6 ธนาคาร ที่สนับสนุนหนังสือค้ำประกันวงเงิน 73,036.06 ล้านบาท (แบงก์การันตี) 'ศุภชัย' ยืนยันพร้อมจ่ายเงินค่าใบอนุญาต 900 MHz แก่กสทช.ภายใน 2 สัปดาห์ พร้อมตั้งเป้าขึ้นเป็นผู้นำในแง่คุณภาพโครงข่าย และบริการ
นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทางกลุ่มทรูพร้อมแสดงความชัดเจนที่จะเข้าไปยื่นหนังสือวงเงินค้ำประกัน 73,036.06 ล้านบาท พร้อมกับชำระค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่ 900 MHzงวดแรกเป็นเงิน 8,040ล้านบาท ภายใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า โดยเชื่อว่าช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ในระยะเวลาที่เหมาะสม
'การให้บริการโครงข่าย 900 MHz ของทรูจะทยอยเริ่มให้บริการในเดือนมีนาคม และจะครอบคลมุทั่วประเทศภายในเดือนพฤษภาคมคิดเป็น 97% ของประชากร ซึ่งเทียบเท่าหรือมากกว่าของเดิมที่ให้บริการ โดยความถี่ 900 MHzจะนำมาให้บริการในทั้ง 3 ระบบ คือทั้ง 2G ,3G และ 4G เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภคที่ใช้งานเครือข่าย 2G น้อยที่สุด'
ส่วนกรณีที่ก่อนหน้านี้ ทางกลุ่มทรู มีการยื่นหนังสือสอบถามไปยังกสทช. ถึงความชัดเจนหากอีกค่ายที่ประมูลไปไม่มาชำระค่าใบอนุญาต ก็ได้หนังสือตอบกลับมาชัดเจนในแนวทาง 5 ข้อว่า 1.หากมีการประมูลคลื่น 900 MHz ใหม่จะเริ่มต้นที่ราคาเดิมจากผู้ชนะการประมูลครั้งที่แล้ว 2.กลุ่มทรูสามารถเข้าไปร่วมประมูลได้ถ้าต้องการ 3.หากไม่มีผู้ประมูลก็จะนำคลื่นดังกล่าวออกจากตลาดไปไม่ได้ต่ำ 12 เดือน ก่อนนำมาประมูลอีกครั้งในราคาขั้นต่ำเท่ากับที่แจสประมูลชนะไป 4.ผู้ชนะที่ไม่นำเงินมาชำระจะโดนริบหลักประกัน และเรียกร้องค่าเสียหายตามกฏหมายหรือประกาศที่กำหนดไว้ 5.ผู้ชนะประมูลสามารถนำเงินมาชำระได้จนถึงวันที่ 21 มีนาคม 2559
ส่วนกรณีที่กลุ่มทรูมีแผนการดึงฐานลูกค้า 2G ที่ยังมีความต้องการใช้งานอยู่นั้น ศุภชัยเชื่อว่าผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในคุณภาพบริการของโครงข่ายทรูมูฟ เอช เพราะช่วงเวลาที่ผ่านมา 2-3 ปี กลุ่มทรูมีการเติบโตที่ดี จากการลงทุนสร้างโครงข่ายที่มีคุณภาพ และมีคลื่นความถี่เพียงพอ ในการให้บริการทั้ง 3G ครอบคลุมทั่วประเทศ และ4G ครอบคลุม 80% ก่อนจะครอบคลุมเป็น 98% ของประชากรทั้งประเทศ ที่ถือเป็นพื้นฐานสำคัญ
'ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า 2G ,3G หรือ4G ที่ลูกค้าต้องการคือโครงข่าย และบริการที่มีประสิทธิภาพ ที่สำคัญคือกลุ่มทรูยังเป็นรายแรก และรายเดียว ที่ให้บริการ 4G Advanced ที่ต้องมีความถี่มากกว่า 40 MHz ขึ้นไป ที่จะให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ ดังนั้นถ้าลูกค้าในระบบ 2G ที่ยังอยากใช้งานบนคลื่น 900 MHz ก็สามารถย้ายเข้ามาได้'
ในส่วนของงบการลงทุนโครงข่ายในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้าจะอยู่ที่ 57,000 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุน 36,000 ล้านบาท บนคลื่น 900 MHz ในปีนี้ ซึ่งส่วนใหญ่จะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม ที่เหลือทยอยลงทุนบนคลื่น 1800 MHz และ 2100 MHz
สำหรับ 6 ธนาคารที่ร่วมกับทางทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น (TUC) ประกอบไปด้วย ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารเกียรตินาคิน เป็นมูลค่าวงเงินหนังสือค้ำประกัน (แบงก์การันตี) 73,036.06 ล้านบาท โดยธนาคารไอซีบีซี เป็นผู้สนับสนุนวงเงินหนังสือค้ำประกันสูงสุดเกือบ50% ของมูลค่าวงเงินทั้งหมด ราว 35,000 ล้านบาท
นายศุภชัย กล่าวว่าแผนการเงินภายใน 3 ปี จะสร้างส่วนแบ่งตลาดให้ได้ถึง 1 ใน 3 ของอุตสาหกรรม จากปัจจุบันอยู่ที่ราว 21%
**แบงก์กรุงเทพเผยJASยังไม่คืบหน้า
ด้านนายชาญศักดิ์ เฟื่องฟู กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวถึงการออกหนังสือค้ำประกันสำหรับใบอนุญาตคลื่น 900 MHz ให้กับ jas ว่า ยังไม่มีความคืบหน้าใน เนื่องจากธนาคารได้ให้บริษัทไปทำแผนงานที่ชัดเจนก่อน ซึ่งก็ต้องดูถึงโมเดลธุรกิจของjas ด้วย
ส่วนกระแสข่าวการเพิ่มทุนของ jas นั้น นายชาญศักดิ์กล่าวว่า เป็นเรื่องที่เขาควรจะทำ เนื่องจากวงเงินที่ขอมาจำนวน 40,000 ล้านบาทไม่เพียงพอกับราคาที่ประมูล จึงต้องมีแผนเพิ่มเติมให้ชัดเจนถึงส่วนที่เพิ่มเติมมาด้วย.
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2559กลุ่มทรู ได้มีการจัดพิธีลงนามความร่วมมือกับ 6 ธนาคาร ที่สนับสนุนหนังสือค้ำประกันวงเงิน 73,036.06 ล้านบาท (แบงก์การันตี) 'ศุภชัย' ยืนยันพร้อมจ่ายเงินค่าใบอนุญาต 900 MHz แก่กสทช.ภายใน 2 สัปดาห์ พร้อมตั้งเป้าขึ้นเป็นผู้นำในแง่คุณภาพโครงข่าย และบริการ
นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทางกลุ่มทรูพร้อมแสดงความชัดเจนที่จะเข้าไปยื่นหนังสือวงเงินค้ำประกัน 73,036.06 ล้านบาท พร้อมกับชำระค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่ 900 MHzงวดแรกเป็นเงิน 8,040ล้านบาท ภายใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า โดยเชื่อว่าช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ในระยะเวลาที่เหมาะสม
'การให้บริการโครงข่าย 900 MHz ของทรูจะทยอยเริ่มให้บริการในเดือนมีนาคม และจะครอบคลมุทั่วประเทศภายในเดือนพฤษภาคมคิดเป็น 97% ของประชากร ซึ่งเทียบเท่าหรือมากกว่าของเดิมที่ให้บริการ โดยความถี่ 900 MHzจะนำมาให้บริการในทั้ง 3 ระบบ คือทั้ง 2G ,3G และ 4G เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภคที่ใช้งานเครือข่าย 2G น้อยที่สุด'
ส่วนกรณีที่ก่อนหน้านี้ ทางกลุ่มทรู มีการยื่นหนังสือสอบถามไปยังกสทช. ถึงความชัดเจนหากอีกค่ายที่ประมูลไปไม่มาชำระค่าใบอนุญาต ก็ได้หนังสือตอบกลับมาชัดเจนในแนวทาง 5 ข้อว่า 1.หากมีการประมูลคลื่น 900 MHz ใหม่จะเริ่มต้นที่ราคาเดิมจากผู้ชนะการประมูลครั้งที่แล้ว 2.กลุ่มทรูสามารถเข้าไปร่วมประมูลได้ถ้าต้องการ 3.หากไม่มีผู้ประมูลก็จะนำคลื่นดังกล่าวออกจากตลาดไปไม่ได้ต่ำ 12 เดือน ก่อนนำมาประมูลอีกครั้งในราคาขั้นต่ำเท่ากับที่แจสประมูลชนะไป 4.ผู้ชนะที่ไม่นำเงินมาชำระจะโดนริบหลักประกัน และเรียกร้องค่าเสียหายตามกฏหมายหรือประกาศที่กำหนดไว้ 5.ผู้ชนะประมูลสามารถนำเงินมาชำระได้จนถึงวันที่ 21 มีนาคม 2559
ส่วนกรณีที่กลุ่มทรูมีแผนการดึงฐานลูกค้า 2G ที่ยังมีความต้องการใช้งานอยู่นั้น ศุภชัยเชื่อว่าผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในคุณภาพบริการของโครงข่ายทรูมูฟ เอช เพราะช่วงเวลาที่ผ่านมา 2-3 ปี กลุ่มทรูมีการเติบโตที่ดี จากการลงทุนสร้างโครงข่ายที่มีคุณภาพ และมีคลื่นความถี่เพียงพอ ในการให้บริการทั้ง 3G ครอบคลุมทั่วประเทศ และ4G ครอบคลุม 80% ก่อนจะครอบคลุมเป็น 98% ของประชากรทั้งประเทศ ที่ถือเป็นพื้นฐานสำคัญ
'ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า 2G ,3G หรือ4G ที่ลูกค้าต้องการคือโครงข่าย และบริการที่มีประสิทธิภาพ ที่สำคัญคือกลุ่มทรูยังเป็นรายแรก และรายเดียว ที่ให้บริการ 4G Advanced ที่ต้องมีความถี่มากกว่า 40 MHz ขึ้นไป ที่จะให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ ดังนั้นถ้าลูกค้าในระบบ 2G ที่ยังอยากใช้งานบนคลื่น 900 MHz ก็สามารถย้ายเข้ามาได้'
ในส่วนของงบการลงทุนโครงข่ายในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้าจะอยู่ที่ 57,000 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุน 36,000 ล้านบาท บนคลื่น 900 MHz ในปีนี้ ซึ่งส่วนใหญ่จะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม ที่เหลือทยอยลงทุนบนคลื่น 1800 MHz และ 2100 MHz
สำหรับ 6 ธนาคารที่ร่วมกับทางทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น (TUC) ประกอบไปด้วย ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารเกียรตินาคิน เป็นมูลค่าวงเงินหนังสือค้ำประกัน (แบงก์การันตี) 73,036.06 ล้านบาท โดยธนาคารไอซีบีซี เป็นผู้สนับสนุนวงเงินหนังสือค้ำประกันสูงสุดเกือบ50% ของมูลค่าวงเงินทั้งหมด ราว 35,000 ล้านบาท
นายศุภชัย กล่าวว่าแผนการเงินภายใน 3 ปี จะสร้างส่วนแบ่งตลาดให้ได้ถึง 1 ใน 3 ของอุตสาหกรรม จากปัจจุบันอยู่ที่ราว 21%
**แบงก์กรุงเทพเผยJASยังไม่คืบหน้า
ด้านนายชาญศักดิ์ เฟื่องฟู กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวถึงการออกหนังสือค้ำประกันสำหรับใบอนุญาตคลื่น 900 MHz ให้กับ jas ว่า ยังไม่มีความคืบหน้าใน เนื่องจากธนาคารได้ให้บริษัทไปทำแผนงานที่ชัดเจนก่อน ซึ่งก็ต้องดูถึงโมเดลธุรกิจของjas ด้วย
ส่วนกระแสข่าวการเพิ่มทุนของ jas นั้น นายชาญศักดิ์กล่าวว่า เป็นเรื่องที่เขาควรจะทำ เนื่องจากวงเงินที่ขอมาจำนวน 40,000 ล้านบาทไม่เพียงพอกับราคาที่ประมูล จึงต้องมีแผนเพิ่มเติมให้ชัดเจนถึงส่วนที่เพิ่มเติมมาด้วย.